SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 34
Baixar para ler offline
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 1
เงินงอก…เงื่อนไขเดียวของการลงทุน
เล่มนี้ที่บอกไปว่า ตระเตรียมข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์มานาน แต่ไม่ได้ลงมือเขียน
อย่างเอาเป็นเอาตายซักที ไม่ใช่เพราะอะไร นอกจากเบื่อเหลือเกินกับการเขียน
ทฤษฎีทางการเงินที่ใช้เพื่อการลงทุน ทั้งนี้เพราะผมต้องพูดและสอนหนังสืออยู่กับ
ไอ้แต่เรื่องแบบนี้จนเบื่อหน่าย มันเป็นการพูดซ้้าๆ กับไอ้เรื่องที่ตัวเองจ้าเจ นี่ก็เลย
เป็นสาเหตุที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้รับการละเลงให้แล้วเสร็จเสียที
เอาล่ะ… ผมจะตั้งใจกับมันและท้ามันให้ส้าเร็จ
ถ้าท่านหลับตาแล้วนึกย้อนหลังไปในสมัยเมื่อซัก 300 ปีที่ผ่านมาเห็นจะได้ คนในสมัยนู๊นเขาท้า
การค้ากันแบบไม่ได้มีทฤษฎีอะไรมากมาย เขาตัดสินใจลงทุนท้าการค้ากัน …แว่วเสียงที่ผมได้ยินจากการ
นั่งสมาธิย้อนอดีตไปไกล ได้ยินค้าว่า ถั่วงอก …เออไม่ใช่ซิครับ เงินงอก
เงินงอกเกณฑ์การตัดสินใจลงทุน
คนโบราณเขาไม่รู้จักทฤษฎีทางการเงินบ้าบอคอแตกแบบในปัจจุบันหรอกครับ พวกเขาในอดีต
ตัดสินใจลงทุนจากการเทียบเคียงเงินลงทุนที่ลงไป ว่าหลังจากการลงทุนไปแล้ว 1.0 ล้านบาท จะเกิดเงิน
งอกขึ้นมาอีกเท่าไร …เงินงอกนี้มีความหมายว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนจะได้กลับคืนมาทั้งหมด เช่น
ลงทุนไป 1.0 ล้านบาท ก็จะได้รับเงินลงทุนคืนกลับ 1.0 ล้านบาท แถมยังได้เงินงอกกลับมาอีก 0.2 ล้าน
บาท กรณีแบบนี้เงินงอกเป็น 0.2 ล้านบาท ครับ …ใครๆ ที่ไหนก็อยากลงทุนกันทั้งนั้น ผียังอยากกลับมา
เกิดเป็นคน แล้วลุยลงทุนเลยครับ
การตัดสินใจลงทุนที่เกิดเงินงอกเท่านั้นได้กลายมาเป็นเงื่อนไขที่นักลงทุนปกติ (ไม่สติเสีย) ท้า
การลงทุนกัน …คราวนี้มาลองพิจารณากรณีโครงการลงทุนไป 1.0 ล้านบาท พอครบก้าหนดระยะเวลา
ลงทุนปรากฏว่าเกิดเงินหายไป 0.2 ล้านบาท ไอ้เงินหายนี้จะกินลึกเข้าไปในทุน 1.0 ล้านบาท ท้าให้ทุนหด
หายไป 0.2 ล้านบาท เหลือเงินลงทุนกลับมา 0.8 ล้านบาท กรณีแบบนี้เขาเรียกว่าการลงทุนท้าให้เกิดเงิน
หด แบบนี้ไม่มีใครคิดที่จะลงทุนกันหรอกครับ เพราะลงทุนไปแล้วท้าให้เรายากจนลง
หลักการง่ายๆ ที่ว่า ได้ทุนคืนแล้วเกิดเงินงอก ได้ใช้ต่อเนื่องยาวนานมาจนเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาเห็น
จะได้ หลักการของเงินงอกจึงถูกปรับปรุงให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ
หนังสือ
โอ…พระเจ้าได้โปรดเอื้ออาทรต่อมนุษย์โลกด้วยเถิด การเกิดเงินงอกยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ
ลงทุน เพราะเกิดปีศาจตนหนึ่งขึ้นบนโลกใบนี้
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 2
---- ความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน ----
ตนนี้อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้เมื่อไร ไม่มีใครจดบันทึกเอาไว้ เอาว่าแต่ว่าเมื่อปีศาจตนนี้
มาเยือนโลก ปีศาจตนนี้ได้เปลี่ยนคนบางคนให้กลายเป็นพ่อมด …ท่านพอคุ้นหูแล้วรึ
ยังกับค้าว่า พ่อมดทางการเงิน
ใช่ครับพ่อมดทางการเงินได้ถือก้าเนิดขึ้นมาดูโลกด้วยการอาศัยความโลภที่ปรากฏ
อยู่ในจิตใจของนักลงทุนทุกผู้คนเป็นยานพาหนะ มันเดินทางมาบอกคนบนโลกใบนี้ว่า คนแต่ละคนนั้นคิด
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คนรู้ความลับมากก็คิดอีกแบบหนึ่ง คนรู้ความลับน้อยก็คิดอีกแบบหนึ่ง ด้วยเหตุที่รู้
ความลับต่างกันนี่เองจึงเกิดการหลอกลวงและเอารัดเอาเปรียบ การลงทุนจึงเป็นเรื่องของคนคนหนึ่งได้ คน
คนหนึ่งเสียไม่มีทางที่จะ WIN WIN ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความโลภ และเห็นแก่ตัว
ทาความเข้าใจความลับของความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน
เวลาที่ผมสอนหนังสือให้กับนักธุรกิจ และใครๆ ในเรื่องของความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน อันเป็นมูล
ฐานส้าคัญในการลงทุน และในการหาผลประโยชน์ทางธุรกิจการเงิน ผมมักจะยกตัวอย่างนี้ให้พวกเขาฟัง
“สมมติท่านตื่นขึ้นมาในเช้าวันที่แจ่มใสเหลือเกิน ท่านแต่งตัวอย่างสุดเท่ห์ และดูหล่อเหลือเกิน
ส้าหรับวันนี้ ท่านแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวติดกระดุมที่ปลายข้อมือ แถมยังผูกเนคไทอีกต่างหาก ท่านออก
จากบ้านแล้วเดินต่อไปยังถนนใหญ่ที่ห่างจากซอยออกไปประมาณ 100 เมตร พลันทันใดนั้นท่านก็เหลือบ
ตาไปเห็นเหรียญ 10 บาทตกอยู่ในท่อระบายน้้าตรงริมซอย มันเป็นท่อระบายน้้าที่มีน้้าลึกซักประมาณครึ่ง
ฟุตเห็นจะได้ …ในกรณีที่ท่านจะหยิบเหรียญ 10 บาท ท่านก็เพียงแต่ปลดกระดุมที่ปลายแขนเสื้อแล้วถลก
มันขึ้น หลังจากนั้นท่านก็เอื้อมมือลงไปหยิบมันท่านก็จะได้เหรียญ 10 บาท ซึ่งเป็นเงินสามารถจะน้าไป
ปีศาจ
จับจ่ายใช้สอยได้ กรณีเหตุการณ์อย่างนี้หากเกิดขึ้นกับท่าน ท่านจะหยิบเหรียญ 10 บาทในท่อหรือเปล่า
ครับ”
“หยิบ”
“ไม่หยิบ”
ค้าเฉลยก็คงเป็นไปได้ทั้งมีคนตอบว่า หยิบและมีคนตอบว่า ไม่หยิบ …ระหว่างที่ท่านก้าลัง
ตัดสินใจว่าจะหยิบดีหรือไม่หยิบดีนั้น ซาเล้งรับซื้อของเก่าเหลือบเห็นเหรียญ 10 บาทนี้แต่ไกลเหมือนกัน
เขากลัวเหลือเกินที่หากท่านหยิบเหรียญในท่อ ตัวซาเล้งเองก็จะชวดโอกาสในการได้โชคลาภส้าหรับเช้า
วันนี้ โชคลาภที่หากจะหาเงินได้ 10 บาท จะต้องหาหนังสือพิมพ์เก่าๆ ให้ได้ถึง 10 กิโล โอ้ย มันเป็นอะไรที่
เงิน 10 บาท ส้าหรับซาเล้งนั้นมีความหมายซะเหลือเกิน
ยังไม่ทันที่ท่านจะตัดสินใจได้เลย ซาเล้งก็รีบกระโดดลงจากรถถีบ แล้วพุ่งตรงไปที่เงิน 10 บาทใน
ท่อทันที ซาเล้งได้เงิน แล้วหันมาพูดกับท่านว่า วันนี้เขาโชคดีจริงๆ ส่วนท่านท่านก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไร ท่านก็แค่
เพียงเดินต่อไปยังหน้าซอยแล้วก็ขึ้นรถไปท้างาน โดยไม่ได้จดจ้าเรื่องของเงิน 10 บาทที่ชวดไป เพราะมีซา
เล้งมือดีแย่งมาตัดหน้าเอาไปก่อน
เรื่องราวของเหรียญ 10 บาทในท่อ ท่านเห็นแล้วรึยังครับ ว่าทั้งซาเล้งและท่านรู้สึกกับ 10 บาทไม่
เท่ากัน ซาเล้งรู้สึกเห็นคุณค่าของเงินมากเหลือเกิน แต่กับท่านท่านรู้สึกถึงค่าของเงิน 10 บาท เพียงน้อยนิด
หรือไม่รู้สึกกับมันเลย
ความรู้สึกต่อค่าเงินที่แตกต่างนาไปสู่โอกาสทางธุรกิจมากมาย
เมื่อท่านเข้าใจว่าคนแต่ละคนจะรู้สึกกับค่าเงินต่างกันออกไป ถ้าจะให้สรุปก็คงจะพูดได้ว่า คนจน
รู้สึกต่อค่าเงินมากกว่าคนรวย เช่น ซาเล้งกับตัวท่าน กับเงิน 10 บาท ด้วยเหตุฉะนี้หากท่านจะบริจาคเงิน
เพื่อท้าบุญทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หรือช่วยผู้ประสบภัยจากน้้าท่วม เช่นท่านบริจาคช่วยผู้ประสบภัยจากน้้า
ท่วม 10,000 บาท ในขณะที่เดือนนั้นท่านมีรายได้ 100,000 บาท ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คงเท่ากับ 10%
ของรายได้ที่ท่านท้ามาหาได้ …บังเอิญเหลือเกินการช่วยของท่านนั้นเป็นการบริจาคผ่านรายการการกุศล
ซึ่งเผยแพร่ทางทีวีไปทั่วประเทศ ปรากฏตัววิ่งเป็นชื่อของท่าน พร้อมเงินบริจาคจ้านวน 10,000 บาท ซึ่งซา
เล้งหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการท้างานตลอดทั้งวันก็ได้ตั้งวงกินข้าวกับเมียและลูกตัวน้อยๆ 2 คน …ซา
เล้งเหลือบไปเห็นชื่อของท่านพร้อมเงินบริจาคจ้านวน 10,000 บาท ซาเล้งถึงกับตะลึงและกินข้าวไม่อร่อย
อีกต่อไป ซาเล้งคิดค้านวณถึงการท้ามาหาได้ในแต่ละเดือนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง และหากจะเก็บเงินให้ได้
10,000 บาทจริงๆ จะต้องใช้เวลาไม่ต่้ากว่า 3 ปี ซาเล้งจึงจะมีเงิน 10,000 บาท แต่เอ๊ะนี่มันอะไรกัน ท้าไม
คนคนนี้ร่้ารวยเงินทองมาจากการใด สามารถบริจาคได้ตั้ง 10,000 บาท …เยอะจริงๆ
กลับมาสู่เหตุการณ์ในเมืองในห้องนอนของท่านที่ท่านก็เตรียมดูรายการนี้อย่างใจจดใจจ่อ ท่าน
เฝ้าดูว่า ตัววิ่งจะขึ้นชื่อท่านพร้อมเงินบริจาคเมื่อไร ท่านเฝ้าดูด้วยความตื่นเต้นที่ในครั้งนี้ถือเป็นการให้ทาน
ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านในชีวิตทีเดียว …พอตัววิ่งได้ขึ้นชื่อท่านพร้อมเงินบริจาค ท่านก็ส่งเสียงเฮดังลั่นจนลูกๆ
ต้องตะโกนถามท่านว่า พ่อเป็นบ้าไปแล้วเหรอ และถัดจากตัววิ่งของท่านที่ก้าลังจะวิ่งหายไปจากหน้าจอทีวี
กลับปรากฏข้อความนี้วิ่งต่อจากชื่อของท่าน ความว่า
“ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม บริจาค 1,000,000 บาท (สะกดว่าหนึ่งล้านบาท)”
ท่านได้เห็นดังนั้นก็รู้สึกไม่ต่างจากซาเล้ง ที่รู้สึกว่าท่านบริจาค 10,000 บาทนั้นรวยเหลือเกิน ส่วน
ท่านท่านก็รู้สึกว่าไอ้คนบริจาคที่ไม่ประสงค์ออกนามบริจาค 1.0 ล้านบาท มันช่างรวยเหลือเกิน และมันรวย
แบบไม่ธรรมดาอีกต่างหาก เพราะ 1.0 ล้านบาท มันมากกว่า 10,000 บาท มันมากกว่ากันเป็นไหนๆ …ไอ้
บ้าที่บริจาคนี่มันต้องโคตรรวยเป็นแน่แท้
กลับมาสู่เหตุการณ์ในป่าเขาที่เป็นส้านักสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมของคนเมืองที่ค้นหาความหมายแห่ง
การมีชีวิตอยู่ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนนั้นก้าลังนั่งสมาธิไม่ได้สนใจต่อข่าวการบริจาคที่ตัวของเขาเองได้
บริจาคไป 1.0 ล้านบาท เพื่อช่วยน้้าท่วม เขาได้แต่มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ให้ได้
…ประวัติของคนคนนี้ เขามีหนี้สินมากมาย ถ้าจะพูดไปแล้วหนี้สินของเขามีมากกว่าสินทรัพย์ เขาก้าลังจะ
ถูกฟ้อง ล้มละลาย เงิน 1.0 ล้านบาทที่เขาบริจาคไปเมื่อเทียบกับภาระหนี้ 1,000 ล้านบาท มันเป็นแค่เศษ
เสี้ยวของเงินเล็กน้อย เขารู้สึกว่า 1.0 ล้านบาทเป็นแค่เศษเงินและไม่ได้สนใจเงินทองอีกต่อไป เงิน 1.0 ล้าน
บาทเป็นเรื่องขี้หมาส้าหรับเขาเหลือเกิน เขากลับจะอิจฉาคนที่บริจาคได้ 10,000 บาท แต่ยังมีทรัพย์สิน
เหลืออยู่ ในขณะที่เขาบริจาค 1.0 ล้านบาท คือบริจาคจากหนี้สินของคนอื่น แบบนี้ถามท่าน ว่าใครรวยกว่า
กันในเชิงรูปธรรม งานนี้ย่อมต้องตอบว่า คนบริจาค 10,000 บาท รวยกว่าคนบริจาค 1.0 ล้านบาท แน่นอน
เพราะบริจาค 10,000 บาท บริจาคจากเงินที่เหลือจริงๆ แต่บริจาค 1.0 ล้านบาท บริจาคจากหนี้ เอาเงิน
ของชาวบ้านมาบริจาค แต่ถ้าหากจะถามว่า ใครเข้าใจชีวิตมากกว่ากัน ตรงนี้ไม่สามารถจะตอบได้เลย
โอกาสธุรกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร
คนบริจาคเงินช่วยน้้าท่วม 10,000 บาท รู้สึกว่าผู้ไม่ประสงค์จะออกนามที่บริจาค 1.0 ล้านบาท
รวยเหลือเกิน เพราะคิดไปว่า 10,000 บาท ต่างกับ 1.0 ล้านบาท แต่ถ้าหากคิดให้ละเอียดและวิเคราะห์ให้
ซึ้งจริงๆ คนบริจาค 10,000 บาท บริจาค 10% จากรายได้ที่ตัวเองมี แต่คนบริจาค 1.0 ล้านบาท ไม่ได้
บริจาคจากรายได้ เอาเงินของคนอื่นมาบริจาค เอาหนี้มาบริจาค และอีกไม่นานตัวเองก็จะถูกฟ้อง
ล้มละลาย คนบริจาค 1.0 ล้านบาทจึงไม่แคร์และไม่ได้สนใจกับจ้านวนเงิน เขาไม่รู้สึกกับมันเสียด้วยซ้้าไป
ว่าเงินนั้นมันมีความหมายส้าหรับเขา
ถ้าเราเปลี่ยนคนที่จะถูกฟ้องล้มละลายเป็นคนที่ไม่ถูกฟ้องล้มละลาย และกลับจะเป็นคนมีฐานะ
คือสามารถหารายได้มาได้เดือนละ 10 ล้านบาท จากการท้าธุรกิจ และในเดือนนั้นเขาได้บริจาคช่วยน้้า
ท่วม 1.0 ล้านบาท คิดเป็นเงินบริจาค 10% ของรายได้ …ผมถามท่านว่า ถ้าในกรณีแบบนี้คนบริจาค
10,000 บาท กับคนบริจาค 1.0 ล้านบาท รวยเท่ากันหรือเปล่าครับ
“รวยเท่ากัน ถ้าพิจารณาในเชิงเปอร์เซ็นต์ของการบริจาคเมื่อเทียบกับรายได้ คนสอง
คนนี้บริจาค 10% เท่ากัน”
“รวยไม่เท่ากัน ถ้าพิจารณาในเชิงปริมาณเงิน เพราะ 10,000 บาท กับ 1.0 ล้านบาท
มันต่างกันคนละเรื่อง”
การตั้งค้าถามต่อเรื่องราวที่ว่าใครรวยกว่ากัน ในกรณีของนักการเงิน นักการเงินจะบอกว่า คน
สองคนรวยเท่ากัน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย คนสองคนนี้จะรู้สึกกับค่าเงินที่เท่ากัน ไม่ได้ต่างกัน
ปัญหาพิศวงอย่างกรณีที่ผมอธิบายไปข้างต้นหลายคนก็รู้สึกจะเข้าใจยาก แต่ถ้าท่านใคร่ครวญ
พิจารณาไปเรื่อยๆ ท่านจะรู้สึกถึงความจริงที่ผมอธิบายให้ท่านไป ท่านจะเข้าใจว่า อ๋อ คนมีเงิน 10 ล้าน
บาท แล้วพอ กับคนมีเงิน 1,000 ล้านบาท แล้วก็ยังไม่พอ คนมีเงิน 10 ล้านบาท อาจรวยกว่าคนมีเงิน
1,000 ล้านบาทครับ เพราะเขาเริ่มรู้สึกกับค่าเงินที่น้อยลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกกับค่าเงินอีกต่อไป …
ไม่ต่างจากคนล้มละลายที่ 1.0 ล้านบาทอาจไม่มีความหมายส้าหรับเขาเลย มันเป็นเพียงแค่ตัวเลข ด้วย
เหตุนี้หากท่านเชิญชวนคนที่ไม่รู้สึกกับเงิน 1.0 ล้านบาท ให้เขาเอาเงิน 1.0 ล้านบาทมาลงทุนร่วมกับท่าน
เขาจะปล่อยให้ท่านจัดการการลงทุน โดยไม่ได้สนใจว่าจะต้องมายุ่งเกี่ยวในการบริหาร และจัดการ เขาจะ
เอาเวลาอันมีค่าของเขาไปยุ่งอยู่กับโครงการลงทุน 100 ล้านบาท 1,000 ล้านบาทที่เขารู้สึกกับมันดีกว่า แต่
ถ้าหากท่านเชิญชวนเพื่อนของท่านที่ชั่วชีวิตเก็บเงินเอาไว้ได้ 1.0 ล้านบาท และให้เขาเอาเงิน 1.0 ล้านบาท
มาลงทุนในธุรกิจร่วมกับท่าน ท่านจะพบว่าเพื่อนของท่านจะยุ่งและวุ่นวายกับธุรกิจของท่านน่าดู ไม่ใช่
เพราะอะไร เพราะเงิน 1.0 ล้านบาทของเพื่อนท่านมันมีความหมายกับเขามากเหลือเกิน
ท่านเห็นรึยังครับว่า ถ้าใครเข้าใจเรื่องความรู้สึกที่มีต่อค่าเงินของคนแต่ละคน คนคนนั้นก็
จะไม่ติดกับดักของปริมาณเงิน คนคนนั้นจะโลดแล่นเชิญชวนคนหลายๆ คนให้เข้าลงทุน โดย
ไม่ได้สนใจว่า ตัวข้านั้นยากจน แต่เขาจะสนใจแค่เพียงเป้าหมายของนักลงทุนที่ถูกเชิญให้เข้ามาลงทุน ว่า
นักลงทุนจะรู้สึกต่อค่าเงินอย่างไร ถ้านักลงทุนรู้สึกกับค่าเงินน้อยๆ เขาก็จะเชิญชวนให้ลงทุนในโครงการ
ยักษ์ๆ ใหญ่ๆ แต่ถ้ารู้สึกต่อค่าเงินมาก เขาก็จะเชิญชวนให้ลงทุนในโครงการเล็กๆ แบบนี้เป็นต้น
สรุปความของบทนี้ก็คือ คนที่คิดจะเป็นนักลงทุนจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ของคนที่มีเงิน
ว่าเขาคิดต่อเงินที่เขามีอย่างไร เพื่อประโยชน์ต่อการลงทุนที่จะอธิบายในบทต่อไป …ใครที่เข้าใจเรื่องที่
เขียนอธิบายในบทนี้ก็จะเริ่มใจใหญ่ เห็นภาพของความเป็นไปได้ในการระดมทุนกับหลากหลายผู้คน โดย
ไม่ได้มีข้อจ้ากัดอีกต่อไปว่า ตัวเขาเองนั้นไม่มีเงิน ยากจน เขาไม่จ้าเป็นต้องเป็นคนรวยมาก่อนจึงจะลงทุน
ได้ เขาต้องเป็นคนที่เข้าใจความรู้สึกของคนที่มีต่อค่าเงินต่างหาก จึงจะเป็นบทเริ่มต้นของการลงทุนใน
โครงการ
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 3
มูลค่าของเมูลค่าของเงินตราที่เปลี่ยนไปตามเวลางินตราที่เปลี่ยนไปตามเวลา
ที่ใครคนหนึ่งจะกลายพันธุ์มาเป็นนักลงทุนมืออาชีพได้นั้น มีเรื่องเรื่องหนึ่งที่เขาจาเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องรู้ให้ได้ เรื่องที่ว่าก็คือ เรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา หลายคน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็งง แต่อย่าเพิ่งตกใจครับ เดี๋ยวท่านก็จะไม่งงแล้ว
เรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลานี้ หากจะเปรียบเทียบกับกรณีซาเล้งที่ปั่นสามล้อถีบอย่าง
สุดแรงเกิดเพื่อที่จะแย่งครอบครองเงิน 10 บาท ในท่อตัดหน้าท่านไปนิดเดียว อาจหยิบมาอธิบายค่าของ
เงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ครับ
มูลค่าอนาคตของเงิน
หลังจากที่ซาเล้งคว้าเหรียญ 10 บาท จากท่อได้สาเร็จ ซาเล้งก็นาไปผสมรวมกับเงินที่ซาเล้ง
อุตส่าห์หามาได้รวมกันเป็นจานวน 1,000 บาท ซาเล้งไม่รีรอที่จะนาเงิน 1,000 บาทนี้ไปฝากธนาคาร
มันเป็นวันที่สุดแสนจะภาคภูมิใจที่สุดที่ซาเล้งได้มีเงินฝากในธนาคารสาเร็จเขาฝากเงินธนาคารได้
1,000 บาท แต่…แต่
ในวันต่อมาเขาถูกรถสิบล้อเกี่ยวแล้วล้มลงกองกับพื้นถนนใกล้กับฟุธบาท เขาสลบแน่นิ่ง โดยไม่มี
คนสนใจใยดี จน 5 นาทีผ่านไปเห็นจะได้จึงมีพลเมืองดีที่เป็นวินมอเตอร์ไซด์ นาร่างที่ไร้สติส่ง
โรงพยาบาล
เสียงร้องไห้ระงมไปทั่วห้องฉุกเฉิน ซาเล้งที่เมื่อวันก่อนกระโดดเก็บเงิน 10 บาท เพื่อหวังว่า
ตัวเองจะมีเงินมีทองเอามาส่งเสียลูกตัวน้อยๆ ให้ได้มีโอกาสเหมือนกับใครๆ มาวันนี้เขาจากไปไกลแสน
ไกล ทิ้งให้เด็กตัวน้อยๆ ยืนร้องไห้กอดกันกลมกับแม่ ที่ไม่รู้ว่าชีวิตในวันพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร
การ
การจากไปของซาเล้งสร้างความสะเทือนใจให้กับโลกใบนี้ทั้งใบ …ไม่มีใครรู้ว่าซาเล้งเพิ่งฝากเงิน
กับธนาคารจบไปหมาดๆ เมื่อวานนี้เอง
ผ่านไป 1 ปี ธนาคารให้ดอกเบี้ย 10% จากยอดเงินฝาก 1,000 บาท หรือคิดเป็นเงิน 100
บาท
ซาเล้งก็ไม่ยอมมาถอนเงินซักที จนในที่สุดธนาคารก็นาเงิน 100 บาทที่เป็นดอกเบี้ยรวมกับเงิน
ต้น 1,000 บาท ฝากต่อให้ซาเล้งในปีที่ 2 งานนี้เงินฝากกลายเป็น 1,100 บาท ครบสิ้นปีที่ 2 ได้
ดอกเบี้ยอีก 10% หรือคิดเป็นเงิน 110 บาท
ซาเล้งก็ยังไม่ยอมมาถอนเงินซักที จนในที่สุดธนาคารก็ตัดสินใจนาดอกเบี้ยเงินฝากของปีที่ 2
จานวน 110 บาท ฝากรวมกับเงินต้น 1,100 บาท กลายเป็น 1,210 บาท ฝากต่อให้กับซาเล้งในต้น
ปีที่ 3 พอครบปีที่ 3 ดอกเบี้ยร้อยละ 10 งอกออกมาอีกหรือคิดเป็นเงิน 121 บาท
ในปีที่ 4 ธนาคารก็จาต้องเอาดอกเบี้ยจานวน 121 บาท ฝากรวมกับเงินต้นจานวน 1,210
บาท กลายเป็นเงินฝากใหม่จานวน 1,331 บาท
ธนาคารทาแบบนี้เรื่อยมาจนโลกใบนี้ถึงกาลอวสาน และจะด้วยเหตุบังเอิญหรือไม่ก็ไม่สามารถหา
คาตอบได้ ปรากฏมีใครก็ไม่รู้ผ่านมาได้ยินเรื่องราวของซาเล้งที่ไม่ยอมมาถอนเงินเลย เป็นเรื่องที่ถูกเล่าขาน
กันในวันนี้ ว่าเมื่อ 20 ปีก่อนมีเหตุการณ์แบบที่เล่าให้ท่านฟังเกิดขึ้น ชายคนนี้ก็เกิดคาถามขึ้นในใจว่า เงิน
ฝาก 1,000 บาท หากซาเล้งยังอยู่ (ไม่ตาย) และฝากธนาคารโดยไม่ได้ถอนเงินเลยแม้บาทเดียว ภายใต้
อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี หากฝากครบ 20 ปี ซาเล้งจะมีเงินเท่าไร
ชายคนนี้หมดเหล้าไปหลายขวด เขาเป็นคนเดียวบนโลกใบนี้ในเวลานั้นที่พยายามจะหาว่าเงินฝาก
ของซาเล้งจะเป็นเท่าไร จนในที่สุดเขาก็ได้คาตอบว่า เงินของซาเล้งที่เริ่มต้นฝาก 1,000 บาท ในอัตรา
ดอกเบี้ย 10% ต่อปี ฝากโดยไม่ถอน และธนาคารทบดอกเบี้ยไปรวมเป็นเงินฝาก แล้วฝากต่อไปเรื่อยๆ
จะมีมูลค่าของเงินทั้งสิ้น 6,730 บาท
เอ…แล้วถ้าซาเล้งฝากไม่ใช่ 1,000 บาทล่ะ แต่ฝาก 1,000,000 บาท ครบ 20 ปี เงินจะมี
มูลค่าทั้งสิ้นเท่าไร 6,730,000 บาท
โอ้โห วันที่ซาเล้งตาย ซาเล้งอายุแค่ 28 ปี ถ้าซาเล้งอยู่ได้มาถึงวันนี้ที่อายุ 48 ปี ซาเล้งจะสบาย
เหลือเกิน …น่าเสียดายจริงๆ ชายคนนั้นที่หาค้าตอบได้ยังนึกเสียดายอยู่ในใจ
สูตรของมูลค่าเงินในอนาคต
ชายคนนั้นที่พยายามพิสูจน์เงินฝากของซาเล้ง แกเขียนวิธีการคานวณเอาไว้ในเศษกระดาษอันยับยู่
ยี่ใบหนึ่ง …แกเขียนเอาไว้ว่า
ข้าค้านวณได้จากสมการนี้ …ข้าคิดออกในวันที่พระจันทร์เต็มดวงตอนที่ลมหนาวมาเยือนอย่างหนักในเดือน
พฤศจิกายนของปี
FV = PV X (1 + r)t
FV คือมูลค่าของเงินในอนาคต
PV คือมูลค่าของเงินในวันนี้
r คืออัตราผลตอบแทนคิดเป็นร้อยละต่อปี
t คือระยะเวลาเป็นปี
ตัวอย่างมูลค่าอนาคตกับการลงทุน
ต่อแต่นี้ไปผมคงขอหยิบยืมสูตรในการคานวณหาเงินฝากของซาเล้งในปีที่ 20 มาใช้เพื่ออธิบายให้
ท่านเข้าใจว่า นักลงทุนมืออาชีพเกี่ยวข้องกับสูตรนี้อย่างไร
ผมขอยกเหตุการณ์เหตุการณ์หนึ่ง ในค่าคืนที่สุดแสนจะหนาวเย็น ท่านถูกเพื่อนของท่านเชิญชวน
ให้ลงทุนในกิจการหนึ่ง มันเป็นกิจการที่ลงทุนครั้งเดียว แล้วให้ผลตอบแทน 30% ต่อปี โดยเมื่อครบ
กาหนดการลงทุนที่ 3 ปี ท่านจะได้คืนเงินต้น
งานนี้ก็ไม่ยากไม่ใช่เหรอที่ถ้าหากว่า เพื่อนจะเอาเงินของท่านไปลงทุน 1.0 ล้านบาท ครบ 3 ปี ท่านจะมีเงินกลับคืนมา
เท่ากับ
FV = PV X (1 + r)t
= 1.0 X (1 + 0.30)3
= 2.197 ล้านบาท
ใน 2.197 ล้านบาท ที่จะได้คืนมาในปีที่ 3 จะแบ่งออกเป็นเงินลงทุน 1.0 ล้านบาท และอีก 1.197 ล้านบาท
คืออัตราดอกเบี้ย 30% ที่มีลักษณะของการทบรวมเข้ากับเงินต้น แล้วน้าไปลงทุนตลอดระยะเวลา 3 ปี ด้วย
เหตุนี้เองจึงท้าให้พลังของการลงทุนมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับกรณีของซาเล้งที่น้าเงินไป
ฝากธนาคาร 1,000 บาท แล้วได้ดอกเบี้ย แต่กลับไม่ได้น้าดอกเบี้ยออกมาใช้ กลับจะน้าไปลงทุนเพิ่มอีกท้า
ให้เงินลงทุนใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่ 1,000 บาทในปีที่ 1 เป็น 1,100 บาทในปีที่ 2 (ดอกเบี้ย 10% น้าไป
ลงทุนต่ออีก)
1
(1 + r)t
มูลค่าปัจจุบันของเงินอนาคต
การลงทุนตามตัวอย่างที่ได้อธิบายให้ท่านเข้าใจ ผมว่าหากท่านไล่ตัวอย่างดีๆ ท่านจะเข้าใจได้ไม่
ยาก ว่าเพื่อนรักของท่านชวนท่าน ลงทุนด้วยเงิน 1.0 ล้านบาท บอกกับท่านว่าท่านจะได้รับผลตอบแทน
30% และเมื่อครบ 3 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะจบลงคือ ท่านจะได้เงินลงทุนพร้อมผลตอบแทนคืน งานนี้
ท่านสามารถคานวณหาเงินที่จะได้ในอนาคตได้เท่ากับ 2.197 ล้านบาท
คราวนี้มาดูตัวอย่างของกรณีที่ถ้าหากท่านอยู่ไม่ถึงปีที่ 3 ก็มีความหมายว่าไอ้เงิน 2.197 ล้าน
บาท คงไม่ได้มีความหมายอะไรสาหรับท่าน เพราะท่านไม่ได้มีโอกาสใช้มัน
การไม่ได้ใช้เงินในอนาคตนั้นคือประเด็นที่หนึ่งที่หากท่านอยู่ไม่ถึง 3 ปี และอีกประเด็นหนึ่งที่
หากจะไม่พิจารณาเลย มันก็เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดภาพลวงตาทางการเงินได้ มันอาจจะเป็นภาพของการ
ตัดสินใจลงทุนที่ผิดเพี้ยนไป คือใช้เงินลงทุน 1.0 ล้านบาทในวันนี้ และได้เงินลงทุนและผลตอบแทนคืน
กลับที่ 2.197 ล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า ท่านสังเกตเห็นหรือเปล่าว่าการตัดสินใจลงทุนในกรณีแบบนี้
เกิดมาตรฐานของเวลาที่ต่างกัน มันเป็นการหักกลบลบกันของผลประโยชน์ในอนาคตและเงินลงทุนใน
ปัจจุบัน ซึ่งต่างช่วงเวลากัน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการค้นหาว่า หากจะตัดสินใจลงทุนกันจริงๆ มาตรฐานของ
เวลาน่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน คือเงินลงทุนลงทุนไปในวันนี้ ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นก็ต้องคิดให้ได้ว่าเป็น
ผลตอบแทนในวันนี้
เมื่อมีการหยิบยกประเด็นของมาตรฐานเวลาที่ควรจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมาอธิบาย เพื่อให้ภาพ
ของการลงทุนมีเหตุมีผลและสมจริงสมจังมากขึ้น ใครคนหนึ่งที่ไม่ได้ปรากฏว่ามีการบันทึกเอาไว้ในหน้า
ประวัติศาสตร์ของโลกที่บังเอิญเหลือเกินไปพบสูตรในการคานวณหาค่าของมูลค่าอนาคตที่ค้นหาและสรุป
กันขึ้นเพื่อจะหาคาตอบให้กับเงินฝากของซาเล้งที่ตายไป ใครคนนั้นนั่งเพ่งดูสมการที่เกิดจากความจริงที่
พิสูจน์ได้ว่า มูลค่าอนาคต (FV) เท่ากับมูลค่าของเงินปัจจุบัน (PV) คูณด้วย (1 + r)t หรือเขียนเป็น
สมการว่า
FV = PV X (1 + r)t
เพ่งไปเพ่งมา ถ้ารู้ว่าผลตอบแทนในอนาคตเป็นเท่าไร งานนี้เออ…ก็ไม่ยากนี่หว่าในการหาว่า
ผลตอบแทนในอนาคตว่ามีมูลค่าของผลตอบแทน ณ วันนี้เป็นเท่าไร …สมการ FV มีคาตอบให้กับทุก
คน
ถ้าลองกลับสมการดู
PV = FV X
สมมติว่าเพื่อนอีกคนเชิญชวนท่านให้ใช้เงิน 2 ล้านบาทลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ เพื่อน
บอกว่าเงิน 2 ล้านบาทจะใช้เป็นทุนในการตกแต่งสถานที่ และลงทุนในอุปกรณ์ อีกทั้งเป็นทุน
หมุนเวียนเพื่อจ้างหมอนวดมาสร้างรายได้ให้กับกิจการ งานนี้เพื่อนบอกว่าท่านจะมีรายได้และ
รายจ่ายอย่างนี้
ปีที่ 1 2 3 4 5
 รายได้รับเข้ามาเป็นเงินสด 1.2 1.2 2.0 2.8 5.0
 รายจ่ายทั้งหมด 1.0 1.0 1.5 1.5 -
 งบลงทุน 2.0 - - - -
 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
ว่าแล้วเพื่อนก็จัดแจงเขียนตัวเลขในตารางข้างต้นแล้วยื่นให้กับท่าน ท่านเพ่งพิจารณาด้วยอาการมึน
เมาและงงๆ ยังไงบอกไม่ถูก โดยเพื่อนของท่านก็ไม่ปล่อยให้โอกาสทองตอนที่ท่านยังงงๆ อยู่นี้ให้ผ่านไป
เพื่อนอธิบายต่อว่า
1)การลงทุนมีความเสี่ยง ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด …เอ้ย ไม่ใช่ เพื่อนบอกว่าถ้าท่านลงทุน
ด้วยเงิน 2.0 ล้านบาท ข้าจะเอาเงิน 2.0 ล้านบาทไปลงทุนแต่งร้าน และซื้อหาอุปกรณ์
เอาว่าข้าจะแต่งให้หมด 2.0 ล้านบาทไปเลย ลูกค้าของเราจะได้ประทับใจสูงสุด
2)การแต่งร้านตามข้อ 1) ท่านสังเกตเห็นได้ในรายการทุนในปีที่ 1 จานวน 2.0 ล้านบาท
3)หลังจากแต่งร้านเสร็จสิ้น ในปีที่ 1 ลูกค้าจะแห่แหนเข้ามาใช้บริการนวดแผนโบราณกับ
ทางเรา ทาให้มีรายได้ที่เป็นเงินสดเข้ามาในปีที่ 1 1.2 ล้านบาท และ 1.2, 2.0, 2.8
ล้านบาท ในปีที่ 2, 3 และ 4 ตามลาดับ
4)มีรายได้เข้าก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ที่เป็นเงินสดจ่ายออกไปในปีที่ 1 จานวน 1.0 ล้านบาท
และ 1.0, 1.5, 1.5 ล้านบาท ในปีที่ 2, 3 และ 4 ตามลาดับ
5)รายได้ที่เป็นเงินสดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดก็จะเกิดรายการกระแสเงินสดสุทธิใน
บรรทัดสุดท้ายของ ตาราง
6)กระแสเงินสดสุทธิตามข้อ 5) ถือเป็นเงินที่เหลือจากการทาธุรกิจนวดแผนโบราณ
7)อ้าวแล้วปีที่ 5 ล่ะที่มีตัวเลขของเงินสดเข้ามา 5.0 ล้านบาทคืออะไร เพื่อนตอบว่าในปีที่
5 เราจะขายกิจการ …เข้าข่ายทานองว่ารวยแล้วเลิกไงล่ะ
ท่านได้ยินได้ฟังเพื่อนอธิบายข้อความในตาราง ท่านก็ถามกลับไปว่า แล้วเราจะเหลือกลับมาเท่าไร
หลังจากลงทุนไปแล้ว 2.0 ล้านบาท
เพื่อนก็เขียนตัวเลขในกระดาษ ในขณะที่ปากก็คาบบุหรี่ แล้วพ่นควันออกมาอย่างเมามัน
เพื่อนเขียนตัวเลขในกระดาษดังนี้
ปีที่ 1 2 3 4 5
กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
ถ้าข้าเอาตัวเลขรวมกันก็จะได้ดังนี้
-1.8 + 0.2 + 0.5 + 1.3 + 5.0 = 5.2
เพื่อนพูดด้วยเสียงที่มีความหวังเหลือเกิน
ในใจท่านก็ได้แต่คิดว่า ถ้าลงทุน 2.0 ล้านบาท ครบ 5 ปี ได้เงินกลับคืน 5.2 ล้านบาท ก็กาไร
ตั้ง 3.2 ล้านบาท ยังไงมันก็ดีกว่าการเอาเงิน 2.0 ล้านบาทไปฝากธนาคาร เพราะเดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากก็
ได้แค่ 5% ต่อปี (สมมติ) ท่านคานวณดอกเบี้ยดูแล้วว่า ดอกเบี้ยจะได้รับปีละ 100,000 บาท …5 ปี
ก็จะได้ 500,000 บาท น้อยกว่า 3.2 ล้านบาทเป็นไหนๆ
ท่านยังคิดต่อไปอีกว่า
1)กรณีของการลงทุนในกิจการนวดแผนโบราณ ใช้เงินลงทุน 2.0 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 5
ปี ได้เงินกลับคืน 5.2 ล้านบาท เกิดส่วนต่าง 3.2 ล้านบาท
2)กรณีของการเอาเงินฝากธนาคาร ได้ผลประโยชน์ตลอด 5 ปี จากดอกเบี้ย 5% รวมแล้วได้
ดอกเบี้ย 500,000 บาท …ดอกเบี้ยนี้คือส่วนต่าง
3)3.2 ล้านบาทในข้อ 1) ต่างจาก 0.5 ล้านบาท ในข้อที่ 2)
4) คิดไปคิดมา 10 ตลบแล้ว ท่านจึงตัดสินใจลงทุน
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง
โดยหลักปฏิบัติสาหรับใครที่คิดจะลงทุน เขามักจะคุ้นเคยกับการได้รับผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม คือ
เกิดผลประโยชน์ที่มากกว่าต้นทุนที่ได้ลงทุนไป ไอ้ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้ นักลงทุนทุกคนมักจะ
คานวณหาออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีเทียบกับจานวนเงินที่ได้ลงทุนไป อย่างฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 5%
ต่อปี ก็ถือว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของเจ้าของเงินฝากคนนี้อยู่ที่ 5% ต่อปี
1
(1 + r)t
ถ้าในกรณีคนคนนี้ไม่ยอมฝากเงินแต่นาเงินไปลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ เขาลงทุนด้วย
เงินทุน 2.0 ล้านบาท ตามตัวอย่างที่นาเสนอมาตั้งแต่ต้น
ผลตอบแทนที่เขาได้รับ ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ดังนี้
ปีที่ 1 2 3 4 5
กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
ผลตอบแทน
(% เทียบกับเงินลงทุน) (90%)10%25%65%250%
จากตารางหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนโดยเฉลี่ย
52% ((-90 + 10 + 25 + 65 + 250)ธ5)
ในกรณีของการลงทุน ผลตอบแทนที่ปรากฏขึ้นมาอาจจะไม่ใช่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังก็
เป็นได้ คือนักลงทุนอาจจะคาดหวังที่ผลตอบแทน 30% ต่อปี แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วผลตอบแทนที่ได้
อาจจะมากกว่า 30% หรือน้อยกว่า 30% ก็ได้
ประเด็นของการที่เกิดเหตุการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุน แกว่งไกวไปเหมือนกับยอดไม้ใหญ่ลู่
ลม ก็ทาให้การตัดสินใจลงทุนแกว่งไกวไปเช่นกัน คือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่นิ่งสงบในการตัดสินใจ
นักลงทุนมืออาชีพหรือนักการเงินมืออาชีพใครก็ไม่รู้ที่คิดมาก คิดลึกจึงได้หาวิธีทาให้อัตรา
ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนนิ่งให้ได้ และให้เปลี่ยนแปลงเฉพาะผลลัพธ์ที่เป็นเพียงตัวเลขที่
สะท้อนออกมาหลังจากที่ได้คานึงถึงอัตราผลตอบแทน 30% (สมมติ) ไปเรียบร้อยแล้ว
ถ้าท่านอ่านเรื่องที่ผมเขียนมาดีๆ ท่านจะเริ่มร้องอ๋อแล้ว กับการที่ใครคนหนึ่งพยายามจะขอยืมสูตร
ของ FV มาใช้ในการหา PV
PV ที่ว่า ก็คือมูลค่าปัจจุบัน มันสามารถหาค่าได้จากการกลับสมการ FV ดังนี้
FV = PV X (1 + r)t
PV = FV X
PV คือมูลค่าเงินในปัจจุบัน
FV คือมูลค่าเงินในอนาคต
r คืออัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี
ใครคนนั้นที่ขอยืมสูตร FV มาใช้ ก็เปิดฉากในการอธิบายสมการ PV ดังนี้
1)ในฐานะของนักลงทุนที่จะต้องพิจารณาต่อผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน และดัน
เป็นผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นในอนาคตอีกต่างหาก งานนี้นักลงทุนคนนั้นจาเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องกาหนดให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในใจของเขานิ่ง เช่นเขาจะต้องกาหนดไปเลยว่าเขา
อยากจะได้ผลตอบแทนที่กี่ % ต่อปี
2)การกาหนดผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี ก็มีความหมายว่า ค่า r ในสมการของ PV เป็น
อะไรที่ใส่ค่าได้
3)ผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด ถือเป็นมูลค่าของเงินในอนาคต งานนี้เงินใน
อนาคตหรือผลประโยชน์สุทธิก็คือ FV ในสูตรของ PV นั่นเอง
4)ผลประโยชน์สุทธิเกิดขึ้น 5 ปี ต่อเนื่องกัน อย่างกรณีลงทุนธุรกิจนวดแผนโบราณ ก็มี
ความหมายว่า t เป็นจานวนปีในสูตรของ PV นั่นเอง
สรุปความว่า อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในกรณีการลงทุนที่เป็นสากลจะถูกกาหนดลงไปในสูตร
ของ PV และมาดูกันว่าค่าของ PV หลังจากเอาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังใส่เข้าไป แล้วจะให้ค่าเป็น
บวกหรือเป็นลบอย่างไร
เฮ้อโล่งอกไปที …ท่านรู้แล้วใช่มั้ยครับว่า นักลงทุนมืออาชีพอยากจะได้ผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ก็จะก้าหนดอัตราลงไป
ในสูตรของ PV เลย และรอดูว่า PV จะให้ค่าออกมาเป็นเช่นไร ถ้าให้ค่าบวกก็หมายถึงว่า ผลประโยชน์สุทธิเป็นบวกก็มี
ความหมายว่าเกิดส่วนต่างที่เป็นความมั่งคั่ง แสดงว่าใครลงทุนในโครงการนี้ ยิ่งลงทุนก็ยิ่งรวยเร็ว
กรณีศึกษาการหา PV ของธุรกิจนวดแผนโบราณ
ตอนแรกก่อนที่ท่านจะรู้จักกับหลักการของ PV ท่านก็ได้ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจนวดแผน
โบราณไปแล้วเบ็ดเสร็จ โดยท่านใส่ใจแค่เพียงการเปรียบเทียบผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน
3.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับการนาเงินฝากธนาคารแล้วได้เงิน 0.5 ล้านบาท ท่านตัดสินใจลงทุนด้วย
การคิดแค่นี้ ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านี้
ต่อจากนี้ท่านก็คิดไกลมากขึ้นไปอีก โดยคิดว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะเป็น 5% ต่อปีในกรณี
นาเงินฝากธนาคาร และจะเป็น 52% โดยเฉลี่ยกรณีลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ
ต่อจากนั้นมาอีก ท่านเริ่มเข้าสู่การตัดสินใจลงทุนที่เป็นสากลจริงๆ โดยท่านเข้าใจแล้วว่า ถ้าหาก
จะเป็นนักลงทุนจริงๆ ตัวนักลงทุนเองก็ต้องนิ่ง คือไม่ต้องคิดอะไรมากคิดแต่ว่า ตัวนักลงทุนอยากจะได้
ผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วคอยดูผลลัพธ์ของการลงทุนภายใต้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ...ดูซิว่าจะ
เกิดผลประโยชน์สุทธิที่เป็นบวกหรือลบอย่างไร
การเข้าใจกรณีของการกาหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีให้นิ่ง …ให้เป็นไป
ตามที่นักลงทุนต้องการ กลับจะได้แก้ปัญหาเรื่องของมาตรฐานเวลาในการคิดคานวณค่าของเงินให้เป็น
มาตรฐานเดียวกันไปในตัวแบบเบ็ดเสร็จ คือจากเดิมที่ลงทุนในวันนี้ 2.0 ล้านบาท ในธุรกิจนวดแผน
โบราณ แล้วได้ผลประโยชน์สุทธิกลับมา 5.2 ล้านบาท เกิดส่วนต่างในแต่ละปีเป็นจานวนที่แตกต่างกัน
ตามข้อมูล
ปีที่ 1 2 3 4 5
กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
-1.8+0.2+0.5 +1.3+5.0
= 5.2
เกิดผลประโยชน์สุทธิ 5.2 – 2.0 = 3.2 ล้านบาท
ส่วนต่างในแต่ละปีเกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน รวมกันได้ 3.2 ล้านบาท เป็นปัญหามาตรฐาน
ของเวลาที่ต่างช่วงกันใช้ตัดสินใจในการลงทุนยังไม่ได้แบบ 100%
ถ้าไม่เข้าใจกรณีที่นักลงทุนกาหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี แล้วหาค่าของ
ผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบัน (PV) ท่านอาจตัดสินใจลงทุน เพราะคิดไปว่า ธุรกิจนวดแผน
โบราณทากาไรให้ท่านได้เท่ากับ 3.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดความเข้าใจกรณีที่ว่า นักลงทุนต้องกาหนดอัตรา
ผลตอบแทนที่คาดหวัง แล้วลองมาดูซิว่าผลประโยชน์สุทธิจะก่อให้เกิดมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ
อย่างไร …เป็นบวกหรือเป็นลบ หากเป็นบวกก็ลุยลงทุนได้ หากเป็นลบก็ตัวใครตัวมัน
การคิดได้ในเชิงของนักลงทุนที่เป็นมืออาชีพ และมีความเป็นสากลก็ได้ขจัดให้ปัญหาเรื่อง
มาตรฐานของเวลาให้หมดไป เพราะผลประโยชน์สุทธิถูกนามาคิดให้มีค่าเป็นของวันนี้ทั้งหมด ดังนั้นการ
ตัดสินใจลงทุนจึงถูกต้องและชัดเจน 100%
ท่านลองดูตัวอย่างธุรกิจนวดแผนโบราณ
1)ข้อมูล
ปีที่ 1 2 3 4 5
กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
2)นาข้อมูลในข้อ 1) มาทาให้เป็นค่าปัจจุบันให้หมด โดยท่านในฐานะผู้ลงทุนต้องกาหนด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่ท่านต้องการ …งานนี้สมมติว่าท่านอยากได้อัตรา
ผลตอบแทนที่คาดหวัง 45% (ค่า r= 45% ต่อปี)
3)หามูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ ได้ดังนี้
4) วิธีการคานวณมูลค่าปัจจุบัน ของผลประโยชน์สุทธิตามข้อ 3)
กระแสเงินสดสุทธิ ปีที่ PV ของกระแสเงินสดสุทธิ
(1.8) 1 (1.8) x 1 = (1.24)
(1 + 0.45)1
0.2 2 0.2 x 1 = 0.095
(1 + 0.45)2
0.5 3 0.5 x 1 = 0.164
(1 + 0.45)3
1.3 4 1.3 x 1 = 0.294
(1 + 0.45)4
5.0 5 5.0 x 1 = 0.78
(1+ 0.45)5
รวม = 0.093
5)สรุปความว่าธุรกิจนวดแผนโบราณ หากท่านจะลงทุนด้วยเงิน 2.0 ล้านบาท ได้ชุดข้อมูล
ตามข้อ 1) ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่ท่านต้องการจากการลงทุนในโครงการนี้ที่ 45%
จะได้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ 0.093 ล้านบาท
6)จากข้อ 5) ธุรกิจนวดแผนโบราณเมื่อสิ้นสุดปีที่ 5 จะไม่เหลือมูลค่าซากใดๆ ทั้งนี้เพราะ
ได้ทาการขายกิจการให้กับผู้อื่นไป
7)มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิปรากฏค่าที่ 0.093 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเงินลงทุน
ในวันนี้ที่ 2.0 ล้านบาท จะพบว่า 0.093 ล้านบาท น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท แสดงให้
เห็นว่าธุรกิจนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่ผู้ลงทุนเลย
8)จากข้อ 7) ผู้ลงทุนจึงปฏิเสธที่จะลงทุน เพราะถ้าหากท่านเอา 2.0 ล้านบาท ไปลงทุนใน
โครงการอื่น แล้วได้ผลตอบแทนที่ 45% เหมือนกัน มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์
สุทธิอาจได้กลับมาสูงกว่า 2.0 ล้านบาทก็ได้ …ไอ้ส่วนที่เกินกว่า 2.0 ล้านบาท คือ
มูลค่าปัจจุบันของเงินงอกอันเนื่องจากการลงทุนในโครงการที่นักลงทุนต้องการ ตรงนี้มี
ความหมายว่า ได้คืนเงินลงทุนแล้วเกิดเงินงอกเพิ่มขึ้น
9)ถ้าหากมีการเพิ่มสมมติฐานเข้าไปใหม่ ตรงที่
" ปีที่ 5 มีรายได้จากการเซ้งกิจการที่จานวนรายได้เดิมคือ 5.0 ล้านบาท และทรัพย์สิน
ทั้งหมดยังเป็นของผู้ลงทุนอยู่ …ไม่ใช่ขายกิจการ"
จะได้มูลค่ากิจการ เท่ากับ
 มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ 0.093 ล้านบาท
 มูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินทั้งที่มีตัวตน (อุปกรณ์/ฯลฯ) และมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (ค่า
ความนิยม/goodwill/ฯลฯ) ขั้นต่า 2.0 ล้านบาท
10) จากข้อ 9) ได้ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 2.093 ล้านบาท มากกว่า 2.0 ล้านบาทที่เป็น
เงินลงทุน ผู้ลงทุนจึงอาจจะลงทุนในโครงการนี้ได้
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 4
วิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพวิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพ
ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่ 45% ต่อปี ทาให้มูลค่าปัจจุบันของ
ผลประโยชน์สุทธิมีแค่ 0.093 ล้านบาทเท่านั้น จากที่ถ้าหากไม่คิดในเชิงมูลค่า
ปัจจุบัน ผลประโยชน์สุทธิมีปริมาณ ตลอด 5 ปี สูงถึง 5.2 ล้านบาท โดย
1)เงินลงทุน 2.0 ล้านบาท แลกกับผลประโยชน์สุทธิ 5.2 ล้านบาท เหลือที่ได้เพิ่มมาก็คือ
3.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 160% ของเงินลงทุน
2)จากข้อ 1) ไม่ได้มีการคานึงถึงค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา คือมาตรฐานของ
ช่วงเวลาในการหักกลบลบกันของผลประโยชน์และต้นทุนโครงการอยู่ต่างช่วงเวลากัน
(สังเกตจาก 5.2 ล้านบาท ทยอยเกิดขึ้นต่อเนื่องมา 5 ปี ในขณะที่เงินลงทุน 2.0 ล้าน
บาท เกิดขึ้นในวันนี้ ดังนั้นผลลัพธ์จานวน 3.2 ล้านบาทที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวเลขที่ลวงตา
เรา
การได้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิที่ 0.093 ล้านบาท ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนที่
45% ต่อปี เมื่อน้ามาเปรียบเทียบกับการลงทุนจ้านวน 2.0 ล้านบาท แล้วถือว่าไม่คุ้มค่า เพราะเงื่อนไขของธุรกิจนวดแผน
โบราณ คือ ลงทุน 2.0 ล้านบาท ได้ผลประโยชน์สุทธิตามข้อมูลที่อธิบายในบทที่ 4 และขายทิ้งกิจการในปีที่ 5 รวมเป็นได้
ผลประโยชน์สุทธิในรูปมูลค่าปัจจุบันกลับคืนมาเพียง 0.093 ล้านบาท จะพบว่านักลงทุนจะขาดทุนจากการลงทุนใน
โครงการนี้เท่ากับ 0.093 ล้านบาท ลบด้วย 2.0 ล้านบาท ด้วยเหตุตามที่กล่าวมานี้ นักลงทุนมืออาชีพที่ต้องการ
ผลตอบแทนที่คาดหวัง 45% ต่อปี จึงเมินเฉยเหลือเกินต่อการลงทุนในโครงการนี้ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนสมมติฐานเป็นการเซ้ง
โดยมีรายได้ในปีที่ 5 เท่าเดิม และทรัพย์สินยังเป็นของผู้ลงทุนอยู่ โดยมีมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินสุทธิที่ขั้นต่้า 2.0 ล้าน
บาท ตามตัวอย่างในหน้า 39 นักลงทุนก็จะลงทุนในโครงการนี้ได้
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังต่่าลงโครงการก็น่าลงทุนมากขึ้น
สมมติว่าท่านปฏิเสธที่จะลงทุนในกิจการนวดแผนโบราณไปเรียบร้อยแล้ว เพราะเหตุแห่งการที่
อัตราผลตอบแทนที่ท่านต้องการนั้นสูงถึง 45% ทาให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตลอดอายุโครงการไม่คุ้มค่า
กับต้นทุนที่ได้ลงทุนไป แต่เพื่อนของท่านซึ่งเป็นนายทุนมีเงินเหลือมากมาย ในที่นี้ขอใช้คาว่า เฮีย …เฮีย
คนนี้ได้ยินได้ฟังข้อมูลของธุรกิจนวดแผนโบราณเข้าก็นึกสนใจขึ้นมาทันที ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะเฮียคน
การ
นี้มีเงินมากมาย ไม่รู้จะเอาไปทาอะไร นอกจากเอาเงินไปฝากธนาคาร …ณ ขณะที่เขียนเล่าเรื่องของเฮียคน
นี้อยู่ เฮียคนนี้มีเงินฝากธนาคารถึง 200 ล้านบาท ได้รับอัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี
เฮียได้ยินได้ฟังเรื่องราวของธุรกิจนวดแผนโบราณนี้ก็เกิดอาการน้าลายหก ไม่ใช่เพราะเฮียอยากจะ
นวดหรืออย่างไร เป็นเพราะเฮียต้องการจะย้ายเงินจากการฝากธนาคารมาลงทุนทาธุรกิจ ซึ่งเฮียหวังว่าจะ
ได้รับผลตอบแทนซัก 3% มากกว่าการฝากธนาคารอีก 1.5% งานนี้เฮียมีค่า r ใน PV แค่ 3% ต่อปี
ท่านลองคานวณ PV ของผลประโยชน์สุทธิจากกิจการนวดแผนโบราณให้เฮียดูเล่นๆ ซิครับว่า
ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร
พอท่านปรับลดผลประโยชน์สุทธิตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยผลประโยชน์สุทธิในปีที่ 1, 2, 3,
4 และ 5 ถูกปรับลดค่า (มาหา PV) มาในรูปของผลประโยชน์สุทธิ ณ วันนี้ ปรากฏว่า ภายใต้อัตรา
ผลตอบแทนที่เฮียคาดหวัง 3% ให้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิสูงถึง 4.364 ล้านบาท และเมื่อ
นามาเทียบกับเงินลงทุน 2.0 ล้านบาท เฮียก็ยังเหลืออีก 2.364 ล้านบาท (4.364 – 2.0) เฮียจึง
น้าลายหกอยากจะลงทุนใจ จะขาด
จากตัวอย่าง 2 ตัวอย่างเปรียบเทียบกันคือกรณีที่ท่านต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน 45% ต่อปี ท่านจะไม่
ลงทุน แต่หากว่าเฮียต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังแค่ 3% ต่อปี เฮียจะลงทุน และอยากมากๆ ที่จะลงทุน
สรุปวิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพ
ท่านพอจะรู้แล้วใช่มั้ยว่า
1) การลงทุนเป็นเรื่องของการคิดต่อผลประโยชน์ และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น
ผลประโยชน์และต้นทุนในอนาคตจะต้องถูกทาให้เป็นมูลค่าปัจจุบันเสียก่อน จึงจะนามาเปรียบเทียบกับเงิน
ลงทุน แล้วดูว่าจะลงทุนหรือไม่
2) การท้าผลประโยชน์และต้นทุนโครงการให้เป็นมูลค่า ปัจจุบัน นักลงทุนต้องรู้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง
จากการลงทุนก่อน เพราะไม่เช่นนั้นจะหาค่าของมูลค่าปัจจุบันไม่ได้
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 5
กรณีศึกษาการเป็นนักลงทุนมืออาชีพกรณีศึกษาการเป็นนักลงทุนมืออาชีพ
บทนี้จะย้าเตือนให้ท่านหายงง เพราะไอ้เรื่องง่ายๆ แบบนี้ แต่เล่นเอาหลายท่านมึนงง และสับสน
กับมันพอสมควร
โดยข้อเท็จจริง การที่ท่านจะเข้าใจว่าทาไมต้องปรับลดมูลค่าของเงินในอนาคตมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
เป็นเรื่องที่ท่านต้องย้อนกลับไปทบทวนเรื่องของการหาปริมาณเงินฝากให้กับซาเล้ง ว่าเงินฝาก 1,000
บาท ของเขาเมื่อฝากมาได้ครบ 20 ปี จะเป็นจานวนเท่าใด การพิสูจน์เงินฝากของซาเล้งได้ผลออกมาเป็น
สมการ
FV= PV X (1 + r)t
ต่อมามีชายแปลกหน้าคนหนึ่งเป็นคนที่ชอบลงทุนมากเหลือเกินในชีวิตนี้ เห็นสมการนี้เข้า ก็นึก
ไปถึงว่า การลงทุนเป็นเรื่องของ อนาคต ดังนั้นจึงจาเป็นที่จะต้องทาเรื่องอนาคตทั้งหมดให้เป็นเรื่อง
ปัจจุบัน งานนี้ก็เลยขอยืมสมการ FV มาใช้ โดยกลับสมการ FV เสียใหม่กลายเป็นสมการ PV
ย้อนกลับไปดูข้อมูลธุรกิจนวดแผนโบราณที่ก่อนการจะเห็นข้อมูลของธุรกิจ ท่านต้อง
1)สมมติว่าจะทาอะไรก็แล้วแต่ ฝากเงินธนาคารหรือทาธุรกิจนวดแผนโบราณ ทั้งสองธุรกิจ
จะไม่มีความต่างกันเลย หากผลตอบแทนที่คาดหวังได้ 45% ต่อปี
2)กรณีฝากธนาคารได้ 45% ต่อปี โดยนาดอกเบี้ยทบเข้ากับเงินฝากทุกปี และถอนเมื่อครบ
ปีที่ 5 ท่านจะได้เงินทั้งหมดคือหากท่านฝากที่ 2.0 ล้านบาท ดังนี้
FV= 2.0 X (1 + 0.45)5
= 12.82
ใน 12.82 ล้านบาท มี 2.0 ล้านบาท ปนอยู่จะได้ส่วนเพิ่ม 10.82 ล้านบาท
3)กรณีที่ท่านลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ จะได้เงินในอนาคต ดังนี้
1
(1 + 0.45)5
ปีที่ 1 2 3 4 5
กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0
-1.8 + 0.2 + 0.5 + 1.3 + 5.0 = 5.2
ใน 5.2 มี 2.0 ล้านบาทปนอยู่ จะได้ส่วนเพิ่ม 3.2 ล้านบาท
4)จาก 2) และ 3) คนไม่โง่ก็ตัดสินใจได้
5)หากจะตัดสินใจในรูปของ PV
โครงการ FV PV ที่อัตราผลตอบแทน 45% ต่อปี
ฝากเงิน 12.82 2.0
นวดแผนโบราณ 5.2 0.81*
(* ค่า 0.81 ล้านบาท สูงกว่าค่าที่คานวณได้จากหน้า 37 เป็นเพราะค่า 0.81 เกิดจากการรวม
ผลประโยชน์สุทธิจนครบปีที่ 5 แล้วทาการปรับลดเป็นมูลค่าปัจจุบันครั้งเดียว ; 0.81 = 5.2 x
บทนี้ผมก็จะเขียนเท่านี้แหละครับ หวังว่าท่านจะร้องอ๋อกันบ้าง หากยังไม่ร้องอ๋ออีกก็ตัวใครตัวมัน
แล้วล่ะครับ
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 6
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง กรณีลงทุนในรูปแบบบริษัทจากัดกรณีลงทุนในรูปแบบบริษัทจากัด
บทที่ผ่านมา ผมอธิบายให้ท่านเข้าใจว่า การลงทุนจาเป็นเหลือเกินที่ผู้ลงทุน
จะต้องทาการกาหนดอัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้จากโครงการลงทุน การ
กาหนดอัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้จะช่วยให้เกิดการค้นหามูลค่าปัจจุบันของ
ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดจากการลงทุนได้
ในกรณีการลงทุนที่นาย ก นาย ข เป็นบุคคลธรรมดาแล้วเข้าลงทุนในกิจการ ตรงนี้คงไม่มีประเด็น
อะไรที่ยุ่งยากที่จะเข้าใจเรื่องราวของการคาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้… งานนี้นาย ก อยากจะ
ได้ 20% ต่อปี ก็เอาเข้าสูตรของ PV ได้ทันที แต่สาหรับบริษัทจากัดที่เข้าลงทุนในกิจการ อาจจะมี
ปัญหาให้พิจารณาเพิ่มขึ้นหน่อย ตรงที่แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการลงทุนอาจไม่ได้มาจากทุนส่วนของเจ้าของ
100% คือบางส่วนอาจจะมาจากการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการ
ลงทุนจึงมีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของเจ้าหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะโดยหลักการแล้ว การที่เจ้าหนี้
(ธนาคาร) ปล่อยเงินกู้ให้กับกิจการ ธนาคารก็ต้องการดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยจึงเป็นเป้าหมายสาคัญของ
ธนาคาร งานนี้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจึงเป็นเรื่องที่ทั้งตัวผู้ลงทุน (ถือหุ้นในกิจการ) และธนาคาร
จะต้องมาร่วมกันหาค่าเฉลี่ย โดยใช้วิธีการถ่วงน้าหนักปริมาณเงินของแต่ละแหล่งให้เกิดค่าที่สะท้อนที่มีค่า
เดียวเพื่อการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันให้ลงตัว
ถ้าจะทาการอธิบายให้ชัดเจนขึ้น อย่างกรณีของการลงทุนในอาคาร / ที่ดิน / อุปกรณ์ / วัตถุดิบ
เพื่อการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารจานวน 110 ล้านบาท อาจใช้แหล่งเงินจากทุนส่วน
ของเจ้าของ (ทุนจดทะเบียนบริษัท) 21.8 ล้านบาท และอีก 38.2 ล้านบาท มาจากการกู้เงินธนาคาร
ส่วนที่เหลือมาจากรายได้ของกิจการ
ทุนจดทะเบียนบริษัท 21.8 ล้านบาท รวมกับเงินกู้ 38.2 ล้านบาท รวมกับรายได้ของกิจการ
สามารถนาไปลงทุนซื้อทรัพย์สินได้ 110 ล้านบาท ซึ่งรายการใช้เงินจะไปปรากฏในงบการเงินของบริษัท
ด้วยเหตุนี้เองจึงจาเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน (ต้นทุนค่า
เสียโอกาส) ที่ผู้ลงทุนต้องการเป็นเท่าไร และที่ธนาคารต้องการเป็นเท่าไร
โดยทาการเฉลี่ยถ่วงน้าหนักด้วยสัดส่วนการใช้เงินจากทั้ง 2 แหล่งเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด
110 ล้านบาท ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ดังนี้
ใน
ประเภท จานวน % อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง
ทุนจดทะเบียน 21.8 36.36 5%*
เงินกู้ธนาคารรวม 38.2 63.64 8%
60.0 100
จากข้อมูลข้างต้นสามารถหาอัตราผลตอบแทน (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) ที่คาดหวังได้โดยวิธีการ
เฉลี่ยถ่วงน้าหนัก (Weighted Average cost of Capital ; WACC)
*5% มาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 1 ปีที่ 2% บวกกับค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการทา
ธุรกิจ (risk Premium) อีก 3% ต่อปี …แต่ละคนจะกาหนด risk Premium ในอัตราที่ไม่
เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในธุรกิจนั้นๆ
WACC = (36.36) (5%) + (63.64) (8%)
100 100
= (0.3636) (5%) + (0.6364) (8%)
= 1.818% + 5.0912
= 6.9092%
สรุปความว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังหรือต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เป็นตัวแทนในการค้นหามูลค่าปัจจุบันของ
ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดจากการลงทุนในโครงการ 110 ล้านบาท คืออัตรา 6.9092% ต่อปี
กรณีศึกษาการลงทุนโครงการ 110 ล้านบาท ผลิตปืนจรวด
สมมติว่าข้อมูลจากการลงทุนเป็นดังนี้
ปีที่ 1 2 3 4
เงินสดเข้า 50 100 120 150
เงินสดจ่าย 110 80 85 90
เงินสดสุทธิ (60) 20 35 60
ถ้าท่านจากรณีของการลงทุน ในกิจการนวดแผนโบราณได้ นักลงทุนมืออาชีพดาเนินการดังนี้
1) ก้าหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังไปเลยว่า เงินจากทุนจดทะเบียนก้าหนดอัตราที่ 5% เงินจากการกู้
ธนาคารคิดดอกเบี้ย 8% (ข้อมูลตามที่ได้อธิบายมาก่อนหน้านี้) จะได้ WACC เท่ากับ 6.9092% ต่อปี
2)ผลประโยชน์สุทธินามาหาค่าปัจจุบัน
3) จากข้อ 2) โครงการผลิตปืนจรวดให้ผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบัน 35.96
ล้านบาท ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (WACC) ที่ 6.9092% ต่อปี ใน
ระยะเวลา 4 ปี ใช้เงินลงทุนในปีที่ 1 จานวน 110 ล้านบาท มาจากทุนจดทะเบียน
บริษัท 21.8 ล้านบาท และจากเงินกู้ 38.2 ล้านบาท
4)ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นตามข้อ 3) หากยังไม่มีการพิจารณาถึงดอกเบี้ยจ่ายให้กับธนาคาร
ผลประโยชน์สุทธิทั้งผู้ลงทุน (ผู้ถือหุ้น) และธนาคารจะแบ่งกัน โดยธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ย
ไป และที่เหลือก็จะเป็นในส่วนของผู้ถือหุ้นได้รับไป
สาหรับบทนี้ก็เอาแค่นี้พอ
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1
ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน  1

Mais conteúdo relacionado

Destaque

Internship Report BBA
Internship Report BBAInternship Report BBA
Internship Report BBAIshaq Ahmed
 
Internship Final Report
Internship Final Report Internship Final Report
Internship Final Report Nadia Nahar
 
Architecture Internship Report by Lim Joe Onn
Architecture Internship Report by Lim Joe OnnArchitecture Internship Report by Lim Joe Onn
Architecture Internship Report by Lim Joe OnnJoe Onn Lim
 
Summer internship project report
Summer internship project reportSummer internship project report
Summer internship project reportManish Singh
 
Mcb bank internship report 2013
Mcb bank internship report 2013Mcb bank internship report 2013
Mcb bank internship report 2013Muhammad Yasir
 

Destaque (8)

internship report covert
internship report covertinternship report covert
internship report covert
 
Internship Report BBA
Internship Report BBAInternship Report BBA
Internship Report BBA
 
Internship Final Report
Internship Final Report Internship Final Report
Internship Final Report
 
Architecture Internship Report by Lim Joe Onn
Architecture Internship Report by Lim Joe OnnArchitecture Internship Report by Lim Joe Onn
Architecture Internship Report by Lim Joe Onn
 
Internship report
Internship reportInternship report
Internship report
 
Summer internship project report
Summer internship project reportSummer internship project report
Summer internship project report
 
internship report
internship reportinternship report
internship report
 
Mcb bank internship report 2013
Mcb bank internship report 2013Mcb bank internship report 2013
Mcb bank internship report 2013
 

ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 1

  • 1. ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 1 เงินงอก…เงื่อนไขเดียวของการลงทุน เล่มนี้ที่บอกไปว่า ตระเตรียมข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์มานาน แต่ไม่ได้ลงมือเขียน อย่างเอาเป็นเอาตายซักที ไม่ใช่เพราะอะไร นอกจากเบื่อเหลือเกินกับการเขียน ทฤษฎีทางการเงินที่ใช้เพื่อการลงทุน ทั้งนี้เพราะผมต้องพูดและสอนหนังสืออยู่กับ ไอ้แต่เรื่องแบบนี้จนเบื่อหน่าย มันเป็นการพูดซ้้าๆ กับไอ้เรื่องที่ตัวเองจ้าเจ นี่ก็เลย เป็นสาเหตุที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้รับการละเลงให้แล้วเสร็จเสียที เอาล่ะ… ผมจะตั้งใจกับมันและท้ามันให้ส้าเร็จ ถ้าท่านหลับตาแล้วนึกย้อนหลังไปในสมัยเมื่อซัก 300 ปีที่ผ่านมาเห็นจะได้ คนในสมัยนู๊นเขาท้า การค้ากันแบบไม่ได้มีทฤษฎีอะไรมากมาย เขาตัดสินใจลงทุนท้าการค้ากัน …แว่วเสียงที่ผมได้ยินจากการ นั่งสมาธิย้อนอดีตไปไกล ได้ยินค้าว่า ถั่วงอก …เออไม่ใช่ซิครับ เงินงอก เงินงอกเกณฑ์การตัดสินใจลงทุน คนโบราณเขาไม่รู้จักทฤษฎีทางการเงินบ้าบอคอแตกแบบในปัจจุบันหรอกครับ พวกเขาในอดีต ตัดสินใจลงทุนจากการเทียบเคียงเงินลงทุนที่ลงไป ว่าหลังจากการลงทุนไปแล้ว 1.0 ล้านบาท จะเกิดเงิน งอกขึ้นมาอีกเท่าไร …เงินงอกนี้มีความหมายว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนจะได้กลับคืนมาทั้งหมด เช่น ลงทุนไป 1.0 ล้านบาท ก็จะได้รับเงินลงทุนคืนกลับ 1.0 ล้านบาท แถมยังได้เงินงอกกลับมาอีก 0.2 ล้าน บาท กรณีแบบนี้เงินงอกเป็น 0.2 ล้านบาท ครับ …ใครๆ ที่ไหนก็อยากลงทุนกันทั้งนั้น ผียังอยากกลับมา เกิดเป็นคน แล้วลุยลงทุนเลยครับ การตัดสินใจลงทุนที่เกิดเงินงอกเท่านั้นได้กลายมาเป็นเงื่อนไขที่นักลงทุนปกติ (ไม่สติเสีย) ท้า การลงทุนกัน …คราวนี้มาลองพิจารณากรณีโครงการลงทุนไป 1.0 ล้านบาท พอครบก้าหนดระยะเวลา ลงทุนปรากฏว่าเกิดเงินหายไป 0.2 ล้านบาท ไอ้เงินหายนี้จะกินลึกเข้าไปในทุน 1.0 ล้านบาท ท้าให้ทุนหด หายไป 0.2 ล้านบาท เหลือเงินลงทุนกลับมา 0.8 ล้านบาท กรณีแบบนี้เขาเรียกว่าการลงทุนท้าให้เกิดเงิน หด แบบนี้ไม่มีใครคิดที่จะลงทุนกันหรอกครับ เพราะลงทุนไปแล้วท้าให้เรายากจนลง หลักการง่ายๆ ที่ว่า ได้ทุนคืนแล้วเกิดเงินงอก ได้ใช้ต่อเนื่องยาวนานมาจนเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาเห็น จะได้ หลักการของเงินงอกจึงถูกปรับปรุงให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ หนังสือ
  • 2. โอ…พระเจ้าได้โปรดเอื้ออาทรต่อมนุษย์โลกด้วยเถิด การเกิดเงินงอกยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ ลงทุน เพราะเกิดปีศาจตนหนึ่งขึ้นบนโลกใบนี้ ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 2 ---- ความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน ---- ตนนี้อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้เมื่อไร ไม่มีใครจดบันทึกเอาไว้ เอาว่าแต่ว่าเมื่อปีศาจตนนี้ มาเยือนโลก ปีศาจตนนี้ได้เปลี่ยนคนบางคนให้กลายเป็นพ่อมด …ท่านพอคุ้นหูแล้วรึ ยังกับค้าว่า พ่อมดทางการเงิน ใช่ครับพ่อมดทางการเงินได้ถือก้าเนิดขึ้นมาดูโลกด้วยการอาศัยความโลภที่ปรากฏ อยู่ในจิตใจของนักลงทุนทุกผู้คนเป็นยานพาหนะ มันเดินทางมาบอกคนบนโลกใบนี้ว่า คนแต่ละคนนั้นคิด แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คนรู้ความลับมากก็คิดอีกแบบหนึ่ง คนรู้ความลับน้อยก็คิดอีกแบบหนึ่ง ด้วยเหตุที่รู้ ความลับต่างกันนี่เองจึงเกิดการหลอกลวงและเอารัดเอาเปรียบ การลงทุนจึงเป็นเรื่องของคนคนหนึ่งได้ คน คนหนึ่งเสียไม่มีทางที่จะ WIN WIN ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความโลภ และเห็นแก่ตัว ทาความเข้าใจความลับของความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน เวลาที่ผมสอนหนังสือให้กับนักธุรกิจ และใครๆ ในเรื่องของความรู้สึกที่มีต่อค่าเงิน อันเป็นมูล ฐานส้าคัญในการลงทุน และในการหาผลประโยชน์ทางธุรกิจการเงิน ผมมักจะยกตัวอย่างนี้ให้พวกเขาฟัง “สมมติท่านตื่นขึ้นมาในเช้าวันที่แจ่มใสเหลือเกิน ท่านแต่งตัวอย่างสุดเท่ห์ และดูหล่อเหลือเกิน ส้าหรับวันนี้ ท่านแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวติดกระดุมที่ปลายข้อมือ แถมยังผูกเนคไทอีกต่างหาก ท่านออก จากบ้านแล้วเดินต่อไปยังถนนใหญ่ที่ห่างจากซอยออกไปประมาณ 100 เมตร พลันทันใดนั้นท่านก็เหลือบ ตาไปเห็นเหรียญ 10 บาทตกอยู่ในท่อระบายน้้าตรงริมซอย มันเป็นท่อระบายน้้าที่มีน้้าลึกซักประมาณครึ่ง ฟุตเห็นจะได้ …ในกรณีที่ท่านจะหยิบเหรียญ 10 บาท ท่านก็เพียงแต่ปลดกระดุมที่ปลายแขนเสื้อแล้วถลก มันขึ้น หลังจากนั้นท่านก็เอื้อมมือลงไปหยิบมันท่านก็จะได้เหรียญ 10 บาท ซึ่งเป็นเงินสามารถจะน้าไป ปีศาจ
  • 3. จับจ่ายใช้สอยได้ กรณีเหตุการณ์อย่างนี้หากเกิดขึ้นกับท่าน ท่านจะหยิบเหรียญ 10 บาทในท่อหรือเปล่า ครับ” “หยิบ” “ไม่หยิบ” ค้าเฉลยก็คงเป็นไปได้ทั้งมีคนตอบว่า หยิบและมีคนตอบว่า ไม่หยิบ …ระหว่างที่ท่านก้าลัง ตัดสินใจว่าจะหยิบดีหรือไม่หยิบดีนั้น ซาเล้งรับซื้อของเก่าเหลือบเห็นเหรียญ 10 บาทนี้แต่ไกลเหมือนกัน เขากลัวเหลือเกินที่หากท่านหยิบเหรียญในท่อ ตัวซาเล้งเองก็จะชวดโอกาสในการได้โชคลาภส้าหรับเช้า วันนี้ โชคลาภที่หากจะหาเงินได้ 10 บาท จะต้องหาหนังสือพิมพ์เก่าๆ ให้ได้ถึง 10 กิโล โอ้ย มันเป็นอะไรที่ เงิน 10 บาท ส้าหรับซาเล้งนั้นมีความหมายซะเหลือเกิน ยังไม่ทันที่ท่านจะตัดสินใจได้เลย ซาเล้งก็รีบกระโดดลงจากรถถีบ แล้วพุ่งตรงไปที่เงิน 10 บาทใน ท่อทันที ซาเล้งได้เงิน แล้วหันมาพูดกับท่านว่า วันนี้เขาโชคดีจริงๆ ส่วนท่านท่านก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไร ท่านก็แค่ เพียงเดินต่อไปยังหน้าซอยแล้วก็ขึ้นรถไปท้างาน โดยไม่ได้จดจ้าเรื่องของเงิน 10 บาทที่ชวดไป เพราะมีซา เล้งมือดีแย่งมาตัดหน้าเอาไปก่อน เรื่องราวของเหรียญ 10 บาทในท่อ ท่านเห็นแล้วรึยังครับ ว่าทั้งซาเล้งและท่านรู้สึกกับ 10 บาทไม่ เท่ากัน ซาเล้งรู้สึกเห็นคุณค่าของเงินมากเหลือเกิน แต่กับท่านท่านรู้สึกถึงค่าของเงิน 10 บาท เพียงน้อยนิด หรือไม่รู้สึกกับมันเลย ความรู้สึกต่อค่าเงินที่แตกต่างนาไปสู่โอกาสทางธุรกิจมากมาย เมื่อท่านเข้าใจว่าคนแต่ละคนจะรู้สึกกับค่าเงินต่างกันออกไป ถ้าจะให้สรุปก็คงจะพูดได้ว่า คนจน รู้สึกต่อค่าเงินมากกว่าคนรวย เช่น ซาเล้งกับตัวท่าน กับเงิน 10 บาท ด้วยเหตุฉะนี้หากท่านจะบริจาคเงิน เพื่อท้าบุญทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หรือช่วยผู้ประสบภัยจากน้้าท่วม เช่นท่านบริจาคช่วยผู้ประสบภัยจากน้้า ท่วม 10,000 บาท ในขณะที่เดือนนั้นท่านมีรายได้ 100,000 บาท ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คงเท่ากับ 10% ของรายได้ที่ท่านท้ามาหาได้ …บังเอิญเหลือเกินการช่วยของท่านนั้นเป็นการบริจาคผ่านรายการการกุศล ซึ่งเผยแพร่ทางทีวีไปทั่วประเทศ ปรากฏตัววิ่งเป็นชื่อของท่าน พร้อมเงินบริจาคจ้านวน 10,000 บาท ซึ่งซา เล้งหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการท้างานตลอดทั้งวันก็ได้ตั้งวงกินข้าวกับเมียและลูกตัวน้อยๆ 2 คน …ซา เล้งเหลือบไปเห็นชื่อของท่านพร้อมเงินบริจาคจ้านวน 10,000 บาท ซาเล้งถึงกับตะลึงและกินข้าวไม่อร่อย อีกต่อไป ซาเล้งคิดค้านวณถึงการท้ามาหาได้ในแต่ละเดือนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง และหากจะเก็บเงินให้ได้ 10,000 บาทจริงๆ จะต้องใช้เวลาไม่ต่้ากว่า 3 ปี ซาเล้งจึงจะมีเงิน 10,000 บาท แต่เอ๊ะนี่มันอะไรกัน ท้าไม คนคนนี้ร่้ารวยเงินทองมาจากการใด สามารถบริจาคได้ตั้ง 10,000 บาท …เยอะจริงๆ
  • 4. กลับมาสู่เหตุการณ์ในเมืองในห้องนอนของท่านที่ท่านก็เตรียมดูรายการนี้อย่างใจจดใจจ่อ ท่าน เฝ้าดูว่า ตัววิ่งจะขึ้นชื่อท่านพร้อมเงินบริจาคเมื่อไร ท่านเฝ้าดูด้วยความตื่นเต้นที่ในครั้งนี้ถือเป็นการให้ทาน ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านในชีวิตทีเดียว …พอตัววิ่งได้ขึ้นชื่อท่านพร้อมเงินบริจาค ท่านก็ส่งเสียงเฮดังลั่นจนลูกๆ ต้องตะโกนถามท่านว่า พ่อเป็นบ้าไปแล้วเหรอ และถัดจากตัววิ่งของท่านที่ก้าลังจะวิ่งหายไปจากหน้าจอทีวี กลับปรากฏข้อความนี้วิ่งต่อจากชื่อของท่าน ความว่า “ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม บริจาค 1,000,000 บาท (สะกดว่าหนึ่งล้านบาท)” ท่านได้เห็นดังนั้นก็รู้สึกไม่ต่างจากซาเล้ง ที่รู้สึกว่าท่านบริจาค 10,000 บาทนั้นรวยเหลือเกิน ส่วน ท่านท่านก็รู้สึกว่าไอ้คนบริจาคที่ไม่ประสงค์ออกนามบริจาค 1.0 ล้านบาท มันช่างรวยเหลือเกิน และมันรวย แบบไม่ธรรมดาอีกต่างหาก เพราะ 1.0 ล้านบาท มันมากกว่า 10,000 บาท มันมากกว่ากันเป็นไหนๆ …ไอ้ บ้าที่บริจาคนี่มันต้องโคตรรวยเป็นแน่แท้ กลับมาสู่เหตุการณ์ในป่าเขาที่เป็นส้านักสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมของคนเมืองที่ค้นหาความหมายแห่ง การมีชีวิตอยู่ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนนั้นก้าลังนั่งสมาธิไม่ได้สนใจต่อข่าวการบริจาคที่ตัวของเขาเองได้ บริจาคไป 1.0 ล้านบาท เพื่อช่วยน้้าท่วม เขาได้แต่มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ให้ได้ …ประวัติของคนคนนี้ เขามีหนี้สินมากมาย ถ้าจะพูดไปแล้วหนี้สินของเขามีมากกว่าสินทรัพย์ เขาก้าลังจะ ถูกฟ้อง ล้มละลาย เงิน 1.0 ล้านบาทที่เขาบริจาคไปเมื่อเทียบกับภาระหนี้ 1,000 ล้านบาท มันเป็นแค่เศษ เสี้ยวของเงินเล็กน้อย เขารู้สึกว่า 1.0 ล้านบาทเป็นแค่เศษเงินและไม่ได้สนใจเงินทองอีกต่อไป เงิน 1.0 ล้าน บาทเป็นเรื่องขี้หมาส้าหรับเขาเหลือเกิน เขากลับจะอิจฉาคนที่บริจาคได้ 10,000 บาท แต่ยังมีทรัพย์สิน เหลืออยู่ ในขณะที่เขาบริจาค 1.0 ล้านบาท คือบริจาคจากหนี้สินของคนอื่น แบบนี้ถามท่าน ว่าใครรวยกว่า กันในเชิงรูปธรรม งานนี้ย่อมต้องตอบว่า คนบริจาค 10,000 บาท รวยกว่าคนบริจาค 1.0 ล้านบาท แน่นอน เพราะบริจาค 10,000 บาท บริจาคจากเงินที่เหลือจริงๆ แต่บริจาค 1.0 ล้านบาท บริจาคจากหนี้ เอาเงิน ของชาวบ้านมาบริจาค แต่ถ้าหากจะถามว่า ใครเข้าใจชีวิตมากกว่ากัน ตรงนี้ไม่สามารถจะตอบได้เลย โอกาสธุรกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร คนบริจาคเงินช่วยน้้าท่วม 10,000 บาท รู้สึกว่าผู้ไม่ประสงค์จะออกนามที่บริจาค 1.0 ล้านบาท รวยเหลือเกิน เพราะคิดไปว่า 10,000 บาท ต่างกับ 1.0 ล้านบาท แต่ถ้าหากคิดให้ละเอียดและวิเคราะห์ให้ ซึ้งจริงๆ คนบริจาค 10,000 บาท บริจาค 10% จากรายได้ที่ตัวเองมี แต่คนบริจาค 1.0 ล้านบาท ไม่ได้ บริจาคจากรายได้ เอาเงินของคนอื่นมาบริจาค เอาหนี้มาบริจาค และอีกไม่นานตัวเองก็จะถูกฟ้อง ล้มละลาย คนบริจาค 1.0 ล้านบาทจึงไม่แคร์และไม่ได้สนใจกับจ้านวนเงิน เขาไม่รู้สึกกับมันเสียด้วยซ้้าไป ว่าเงินนั้นมันมีความหมายส้าหรับเขา
  • 5. ถ้าเราเปลี่ยนคนที่จะถูกฟ้องล้มละลายเป็นคนที่ไม่ถูกฟ้องล้มละลาย และกลับจะเป็นคนมีฐานะ คือสามารถหารายได้มาได้เดือนละ 10 ล้านบาท จากการท้าธุรกิจ และในเดือนนั้นเขาได้บริจาคช่วยน้้า ท่วม 1.0 ล้านบาท คิดเป็นเงินบริจาค 10% ของรายได้ …ผมถามท่านว่า ถ้าในกรณีแบบนี้คนบริจาค 10,000 บาท กับคนบริจาค 1.0 ล้านบาท รวยเท่ากันหรือเปล่าครับ “รวยเท่ากัน ถ้าพิจารณาในเชิงเปอร์เซ็นต์ของการบริจาคเมื่อเทียบกับรายได้ คนสอง คนนี้บริจาค 10% เท่ากัน” “รวยไม่เท่ากัน ถ้าพิจารณาในเชิงปริมาณเงิน เพราะ 10,000 บาท กับ 1.0 ล้านบาท มันต่างกันคนละเรื่อง” การตั้งค้าถามต่อเรื่องราวที่ว่าใครรวยกว่ากัน ในกรณีของนักการเงิน นักการเงินจะบอกว่า คน สองคนรวยเท่ากัน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย คนสองคนนี้จะรู้สึกกับค่าเงินที่เท่ากัน ไม่ได้ต่างกัน ปัญหาพิศวงอย่างกรณีที่ผมอธิบายไปข้างต้นหลายคนก็รู้สึกจะเข้าใจยาก แต่ถ้าท่านใคร่ครวญ พิจารณาไปเรื่อยๆ ท่านจะรู้สึกถึงความจริงที่ผมอธิบายให้ท่านไป ท่านจะเข้าใจว่า อ๋อ คนมีเงิน 10 ล้าน บาท แล้วพอ กับคนมีเงิน 1,000 ล้านบาท แล้วก็ยังไม่พอ คนมีเงิน 10 ล้านบาท อาจรวยกว่าคนมีเงิน 1,000 ล้านบาทครับ เพราะเขาเริ่มรู้สึกกับค่าเงินที่น้อยลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกกับค่าเงินอีกต่อไป … ไม่ต่างจากคนล้มละลายที่ 1.0 ล้านบาทอาจไม่มีความหมายส้าหรับเขาเลย มันเป็นเพียงแค่ตัวเลข ด้วย เหตุนี้หากท่านเชิญชวนคนที่ไม่รู้สึกกับเงิน 1.0 ล้านบาท ให้เขาเอาเงิน 1.0 ล้านบาทมาลงทุนร่วมกับท่าน เขาจะปล่อยให้ท่านจัดการการลงทุน โดยไม่ได้สนใจว่าจะต้องมายุ่งเกี่ยวในการบริหาร และจัดการ เขาจะ เอาเวลาอันมีค่าของเขาไปยุ่งอยู่กับโครงการลงทุน 100 ล้านบาท 1,000 ล้านบาทที่เขารู้สึกกับมันดีกว่า แต่ ถ้าหากท่านเชิญชวนเพื่อนของท่านที่ชั่วชีวิตเก็บเงินเอาไว้ได้ 1.0 ล้านบาท และให้เขาเอาเงิน 1.0 ล้านบาท มาลงทุนในธุรกิจร่วมกับท่าน ท่านจะพบว่าเพื่อนของท่านจะยุ่งและวุ่นวายกับธุรกิจของท่านน่าดู ไม่ใช่ เพราะอะไร เพราะเงิน 1.0 ล้านบาทของเพื่อนท่านมันมีความหมายกับเขามากเหลือเกิน ท่านเห็นรึยังครับว่า ถ้าใครเข้าใจเรื่องความรู้สึกที่มีต่อค่าเงินของคนแต่ละคน คนคนนั้นก็ จะไม่ติดกับดักของปริมาณเงิน คนคนนั้นจะโลดแล่นเชิญชวนคนหลายๆ คนให้เข้าลงทุน โดย ไม่ได้สนใจว่า ตัวข้านั้นยากจน แต่เขาจะสนใจแค่เพียงเป้าหมายของนักลงทุนที่ถูกเชิญให้เข้ามาลงทุน ว่า นักลงทุนจะรู้สึกต่อค่าเงินอย่างไร ถ้านักลงทุนรู้สึกกับค่าเงินน้อยๆ เขาก็จะเชิญชวนให้ลงทุนในโครงการ ยักษ์ๆ ใหญ่ๆ แต่ถ้ารู้สึกต่อค่าเงินมาก เขาก็จะเชิญชวนให้ลงทุนในโครงการเล็กๆ แบบนี้เป็นต้น สรุปความของบทนี้ก็คือ คนที่คิดจะเป็นนักลงทุนจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ของคนที่มีเงิน ว่าเขาคิดต่อเงินที่เขามีอย่างไร เพื่อประโยชน์ต่อการลงทุนที่จะอธิบายในบทต่อไป …ใครที่เข้าใจเรื่องที่ เขียนอธิบายในบทนี้ก็จะเริ่มใจใหญ่ เห็นภาพของความเป็นไปได้ในการระดมทุนกับหลากหลายผู้คน โดย
  • 6. ไม่ได้มีข้อจ้ากัดอีกต่อไปว่า ตัวเขาเองนั้นไม่มีเงิน ยากจน เขาไม่จ้าเป็นต้องเป็นคนรวยมาก่อนจึงจะลงทุน ได้ เขาต้องเป็นคนที่เข้าใจความรู้สึกของคนที่มีต่อค่าเงินต่างหาก จึงจะเป็นบทเริ่มต้นของการลงทุนใน โครงการ ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 3 มูลค่าของเมูลค่าของเงินตราที่เปลี่ยนไปตามเวลางินตราที่เปลี่ยนไปตามเวลา ที่ใครคนหนึ่งจะกลายพันธุ์มาเป็นนักลงทุนมืออาชีพได้นั้น มีเรื่องเรื่องหนึ่งที่เขาจาเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องรู้ให้ได้ เรื่องที่ว่าก็คือ เรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา หลายคน อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็งง แต่อย่าเพิ่งตกใจครับ เดี๋ยวท่านก็จะไม่งงแล้ว เรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลานี้ หากจะเปรียบเทียบกับกรณีซาเล้งที่ปั่นสามล้อถีบอย่าง สุดแรงเกิดเพื่อที่จะแย่งครอบครองเงิน 10 บาท ในท่อตัดหน้าท่านไปนิดเดียว อาจหยิบมาอธิบายค่าของ เงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ครับ มูลค่าอนาคตของเงิน หลังจากที่ซาเล้งคว้าเหรียญ 10 บาท จากท่อได้สาเร็จ ซาเล้งก็นาไปผสมรวมกับเงินที่ซาเล้ง อุตส่าห์หามาได้รวมกันเป็นจานวน 1,000 บาท ซาเล้งไม่รีรอที่จะนาเงิน 1,000 บาทนี้ไปฝากธนาคาร มันเป็นวันที่สุดแสนจะภาคภูมิใจที่สุดที่ซาเล้งได้มีเงินฝากในธนาคารสาเร็จเขาฝากเงินธนาคารได้ 1,000 บาท แต่…แต่ ในวันต่อมาเขาถูกรถสิบล้อเกี่ยวแล้วล้มลงกองกับพื้นถนนใกล้กับฟุธบาท เขาสลบแน่นิ่ง โดยไม่มี คนสนใจใยดี จน 5 นาทีผ่านไปเห็นจะได้จึงมีพลเมืองดีที่เป็นวินมอเตอร์ไซด์ นาร่างที่ไร้สติส่ง โรงพยาบาล เสียงร้องไห้ระงมไปทั่วห้องฉุกเฉิน ซาเล้งที่เมื่อวันก่อนกระโดดเก็บเงิน 10 บาท เพื่อหวังว่า ตัวเองจะมีเงินมีทองเอามาส่งเสียลูกตัวน้อยๆ ให้ได้มีโอกาสเหมือนกับใครๆ มาวันนี้เขาจากไปไกลแสน ไกล ทิ้งให้เด็กตัวน้อยๆ ยืนร้องไห้กอดกันกลมกับแม่ ที่ไม่รู้ว่าชีวิตในวันพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร การ
  • 7. การจากไปของซาเล้งสร้างความสะเทือนใจให้กับโลกใบนี้ทั้งใบ …ไม่มีใครรู้ว่าซาเล้งเพิ่งฝากเงิน กับธนาคารจบไปหมาดๆ เมื่อวานนี้เอง ผ่านไป 1 ปี ธนาคารให้ดอกเบี้ย 10% จากยอดเงินฝาก 1,000 บาท หรือคิดเป็นเงิน 100 บาท ซาเล้งก็ไม่ยอมมาถอนเงินซักที จนในที่สุดธนาคารก็นาเงิน 100 บาทที่เป็นดอกเบี้ยรวมกับเงิน ต้น 1,000 บาท ฝากต่อให้ซาเล้งในปีที่ 2 งานนี้เงินฝากกลายเป็น 1,100 บาท ครบสิ้นปีที่ 2 ได้ ดอกเบี้ยอีก 10% หรือคิดเป็นเงิน 110 บาท ซาเล้งก็ยังไม่ยอมมาถอนเงินซักที จนในที่สุดธนาคารก็ตัดสินใจนาดอกเบี้ยเงินฝากของปีที่ 2 จานวน 110 บาท ฝากรวมกับเงินต้น 1,100 บาท กลายเป็น 1,210 บาท ฝากต่อให้กับซาเล้งในต้น ปีที่ 3 พอครบปีที่ 3 ดอกเบี้ยร้อยละ 10 งอกออกมาอีกหรือคิดเป็นเงิน 121 บาท ในปีที่ 4 ธนาคารก็จาต้องเอาดอกเบี้ยจานวน 121 บาท ฝากรวมกับเงินต้นจานวน 1,210 บาท กลายเป็นเงินฝากใหม่จานวน 1,331 บาท ธนาคารทาแบบนี้เรื่อยมาจนโลกใบนี้ถึงกาลอวสาน และจะด้วยเหตุบังเอิญหรือไม่ก็ไม่สามารถหา คาตอบได้ ปรากฏมีใครก็ไม่รู้ผ่านมาได้ยินเรื่องราวของซาเล้งที่ไม่ยอมมาถอนเงินเลย เป็นเรื่องที่ถูกเล่าขาน กันในวันนี้ ว่าเมื่อ 20 ปีก่อนมีเหตุการณ์แบบที่เล่าให้ท่านฟังเกิดขึ้น ชายคนนี้ก็เกิดคาถามขึ้นในใจว่า เงิน ฝาก 1,000 บาท หากซาเล้งยังอยู่ (ไม่ตาย) และฝากธนาคารโดยไม่ได้ถอนเงินเลยแม้บาทเดียว ภายใต้ อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี หากฝากครบ 20 ปี ซาเล้งจะมีเงินเท่าไร ชายคนนี้หมดเหล้าไปหลายขวด เขาเป็นคนเดียวบนโลกใบนี้ในเวลานั้นที่พยายามจะหาว่าเงินฝาก ของซาเล้งจะเป็นเท่าไร จนในที่สุดเขาก็ได้คาตอบว่า เงินของซาเล้งที่เริ่มต้นฝาก 1,000 บาท ในอัตรา ดอกเบี้ย 10% ต่อปี ฝากโดยไม่ถอน และธนาคารทบดอกเบี้ยไปรวมเป็นเงินฝาก แล้วฝากต่อไปเรื่อยๆ จะมีมูลค่าของเงินทั้งสิ้น 6,730 บาท เอ…แล้วถ้าซาเล้งฝากไม่ใช่ 1,000 บาทล่ะ แต่ฝาก 1,000,000 บาท ครบ 20 ปี เงินจะมี มูลค่าทั้งสิ้นเท่าไร 6,730,000 บาท โอ้โห วันที่ซาเล้งตาย ซาเล้งอายุแค่ 28 ปี ถ้าซาเล้งอยู่ได้มาถึงวันนี้ที่อายุ 48 ปี ซาเล้งจะสบาย เหลือเกิน …น่าเสียดายจริงๆ ชายคนนั้นที่หาค้าตอบได้ยังนึกเสียดายอยู่ในใจ
  • 8. สูตรของมูลค่าเงินในอนาคต ชายคนนั้นที่พยายามพิสูจน์เงินฝากของซาเล้ง แกเขียนวิธีการคานวณเอาไว้ในเศษกระดาษอันยับยู่ ยี่ใบหนึ่ง …แกเขียนเอาไว้ว่า ข้าค้านวณได้จากสมการนี้ …ข้าคิดออกในวันที่พระจันทร์เต็มดวงตอนที่ลมหนาวมาเยือนอย่างหนักในเดือน พฤศจิกายนของปี FV = PV X (1 + r)t FV คือมูลค่าของเงินในอนาคต PV คือมูลค่าของเงินในวันนี้ r คืออัตราผลตอบแทนคิดเป็นร้อยละต่อปี t คือระยะเวลาเป็นปี ตัวอย่างมูลค่าอนาคตกับการลงทุน ต่อแต่นี้ไปผมคงขอหยิบยืมสูตรในการคานวณหาเงินฝากของซาเล้งในปีที่ 20 มาใช้เพื่ออธิบายให้ ท่านเข้าใจว่า นักลงทุนมืออาชีพเกี่ยวข้องกับสูตรนี้อย่างไร ผมขอยกเหตุการณ์เหตุการณ์หนึ่ง ในค่าคืนที่สุดแสนจะหนาวเย็น ท่านถูกเพื่อนของท่านเชิญชวน ให้ลงทุนในกิจการหนึ่ง มันเป็นกิจการที่ลงทุนครั้งเดียว แล้วให้ผลตอบแทน 30% ต่อปี โดยเมื่อครบ กาหนดการลงทุนที่ 3 ปี ท่านจะได้คืนเงินต้น งานนี้ก็ไม่ยากไม่ใช่เหรอที่ถ้าหากว่า เพื่อนจะเอาเงินของท่านไปลงทุน 1.0 ล้านบาท ครบ 3 ปี ท่านจะมีเงินกลับคืนมา เท่ากับ FV = PV X (1 + r)t = 1.0 X (1 + 0.30)3 = 2.197 ล้านบาท ใน 2.197 ล้านบาท ที่จะได้คืนมาในปีที่ 3 จะแบ่งออกเป็นเงินลงทุน 1.0 ล้านบาท และอีก 1.197 ล้านบาท คืออัตราดอกเบี้ย 30% ที่มีลักษณะของการทบรวมเข้ากับเงินต้น แล้วน้าไปลงทุนตลอดระยะเวลา 3 ปี ด้วย เหตุนี้เองจึงท้าให้พลังของการลงทุนมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับกรณีของซาเล้งที่น้าเงินไป ฝากธนาคาร 1,000 บาท แล้วได้ดอกเบี้ย แต่กลับไม่ได้น้าดอกเบี้ยออกมาใช้ กลับจะน้าไปลงทุนเพิ่มอีกท้า ให้เงินลงทุนใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่ 1,000 บาทในปีที่ 1 เป็น 1,100 บาทในปีที่ 2 (ดอกเบี้ย 10% น้าไป ลงทุนต่ออีก)
  • 9. 1 (1 + r)t มูลค่าปัจจุบันของเงินอนาคต การลงทุนตามตัวอย่างที่ได้อธิบายให้ท่านเข้าใจ ผมว่าหากท่านไล่ตัวอย่างดีๆ ท่านจะเข้าใจได้ไม่ ยาก ว่าเพื่อนรักของท่านชวนท่าน ลงทุนด้วยเงิน 1.0 ล้านบาท บอกกับท่านว่าท่านจะได้รับผลตอบแทน 30% และเมื่อครบ 3 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะจบลงคือ ท่านจะได้เงินลงทุนพร้อมผลตอบแทนคืน งานนี้ ท่านสามารถคานวณหาเงินที่จะได้ในอนาคตได้เท่ากับ 2.197 ล้านบาท คราวนี้มาดูตัวอย่างของกรณีที่ถ้าหากท่านอยู่ไม่ถึงปีที่ 3 ก็มีความหมายว่าไอ้เงิน 2.197 ล้าน บาท คงไม่ได้มีความหมายอะไรสาหรับท่าน เพราะท่านไม่ได้มีโอกาสใช้มัน การไม่ได้ใช้เงินในอนาคตนั้นคือประเด็นที่หนึ่งที่หากท่านอยู่ไม่ถึง 3 ปี และอีกประเด็นหนึ่งที่ หากจะไม่พิจารณาเลย มันก็เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดภาพลวงตาทางการเงินได้ มันอาจจะเป็นภาพของการ ตัดสินใจลงทุนที่ผิดเพี้ยนไป คือใช้เงินลงทุน 1.0 ล้านบาทในวันนี้ และได้เงินลงทุนและผลตอบแทนคืน กลับที่ 2.197 ล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า ท่านสังเกตเห็นหรือเปล่าว่าการตัดสินใจลงทุนในกรณีแบบนี้ เกิดมาตรฐานของเวลาที่ต่างกัน มันเป็นการหักกลบลบกันของผลประโยชน์ในอนาคตและเงินลงทุนใน ปัจจุบัน ซึ่งต่างช่วงเวลากัน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการค้นหาว่า หากจะตัดสินใจลงทุนกันจริงๆ มาตรฐานของ เวลาน่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน คือเงินลงทุนลงทุนไปในวันนี้ ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นก็ต้องคิดให้ได้ว่าเป็น ผลตอบแทนในวันนี้ เมื่อมีการหยิบยกประเด็นของมาตรฐานเวลาที่ควรจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมาอธิบาย เพื่อให้ภาพ ของการลงทุนมีเหตุมีผลและสมจริงสมจังมากขึ้น ใครคนหนึ่งที่ไม่ได้ปรากฏว่ามีการบันทึกเอาไว้ในหน้า ประวัติศาสตร์ของโลกที่บังเอิญเหลือเกินไปพบสูตรในการคานวณหาค่าของมูลค่าอนาคตที่ค้นหาและสรุป กันขึ้นเพื่อจะหาคาตอบให้กับเงินฝากของซาเล้งที่ตายไป ใครคนนั้นนั่งเพ่งดูสมการที่เกิดจากความจริงที่ พิสูจน์ได้ว่า มูลค่าอนาคต (FV) เท่ากับมูลค่าของเงินปัจจุบัน (PV) คูณด้วย (1 + r)t หรือเขียนเป็น สมการว่า FV = PV X (1 + r)t เพ่งไปเพ่งมา ถ้ารู้ว่าผลตอบแทนในอนาคตเป็นเท่าไร งานนี้เออ…ก็ไม่ยากนี่หว่าในการหาว่า ผลตอบแทนในอนาคตว่ามีมูลค่าของผลตอบแทน ณ วันนี้เป็นเท่าไร …สมการ FV มีคาตอบให้กับทุก คน ถ้าลองกลับสมการดู PV = FV X
  • 10. สมมติว่าเพื่อนอีกคนเชิญชวนท่านให้ใช้เงิน 2 ล้านบาทลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ เพื่อน บอกว่าเงิน 2 ล้านบาทจะใช้เป็นทุนในการตกแต่งสถานที่ และลงทุนในอุปกรณ์ อีกทั้งเป็นทุน หมุนเวียนเพื่อจ้างหมอนวดมาสร้างรายได้ให้กับกิจการ งานนี้เพื่อนบอกว่าท่านจะมีรายได้และ รายจ่ายอย่างนี้ ปีที่ 1 2 3 4 5  รายได้รับเข้ามาเป็นเงินสด 1.2 1.2 2.0 2.8 5.0  รายจ่ายทั้งหมด 1.0 1.0 1.5 1.5 -  งบลงทุน 2.0 - - - -  กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 ว่าแล้วเพื่อนก็จัดแจงเขียนตัวเลขในตารางข้างต้นแล้วยื่นให้กับท่าน ท่านเพ่งพิจารณาด้วยอาการมึน เมาและงงๆ ยังไงบอกไม่ถูก โดยเพื่อนของท่านก็ไม่ปล่อยให้โอกาสทองตอนที่ท่านยังงงๆ อยู่นี้ให้ผ่านไป เพื่อนอธิบายต่อว่า 1)การลงทุนมีความเสี่ยง ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด …เอ้ย ไม่ใช่ เพื่อนบอกว่าถ้าท่านลงทุน ด้วยเงิน 2.0 ล้านบาท ข้าจะเอาเงิน 2.0 ล้านบาทไปลงทุนแต่งร้าน และซื้อหาอุปกรณ์ เอาว่าข้าจะแต่งให้หมด 2.0 ล้านบาทไปเลย ลูกค้าของเราจะได้ประทับใจสูงสุด 2)การแต่งร้านตามข้อ 1) ท่านสังเกตเห็นได้ในรายการทุนในปีที่ 1 จานวน 2.0 ล้านบาท 3)หลังจากแต่งร้านเสร็จสิ้น ในปีที่ 1 ลูกค้าจะแห่แหนเข้ามาใช้บริการนวดแผนโบราณกับ ทางเรา ทาให้มีรายได้ที่เป็นเงินสดเข้ามาในปีที่ 1 1.2 ล้านบาท และ 1.2, 2.0, 2.8 ล้านบาท ในปีที่ 2, 3 และ 4 ตามลาดับ 4)มีรายได้เข้าก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ที่เป็นเงินสดจ่ายออกไปในปีที่ 1 จานวน 1.0 ล้านบาท และ 1.0, 1.5, 1.5 ล้านบาท ในปีที่ 2, 3 และ 4 ตามลาดับ 5)รายได้ที่เป็นเงินสดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดก็จะเกิดรายการกระแสเงินสดสุทธิใน บรรทัดสุดท้ายของ ตาราง 6)กระแสเงินสดสุทธิตามข้อ 5) ถือเป็นเงินที่เหลือจากการทาธุรกิจนวดแผนโบราณ 7)อ้าวแล้วปีที่ 5 ล่ะที่มีตัวเลขของเงินสดเข้ามา 5.0 ล้านบาทคืออะไร เพื่อนตอบว่าในปีที่ 5 เราจะขายกิจการ …เข้าข่ายทานองว่ารวยแล้วเลิกไงล่ะ
  • 11. ท่านได้ยินได้ฟังเพื่อนอธิบายข้อความในตาราง ท่านก็ถามกลับไปว่า แล้วเราจะเหลือกลับมาเท่าไร หลังจากลงทุนไปแล้ว 2.0 ล้านบาท เพื่อนก็เขียนตัวเลขในกระดาษ ในขณะที่ปากก็คาบบุหรี่ แล้วพ่นควันออกมาอย่างเมามัน เพื่อนเขียนตัวเลขในกระดาษดังนี้ ปีที่ 1 2 3 4 5 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 ถ้าข้าเอาตัวเลขรวมกันก็จะได้ดังนี้ -1.8 + 0.2 + 0.5 + 1.3 + 5.0 = 5.2 เพื่อนพูดด้วยเสียงที่มีความหวังเหลือเกิน ในใจท่านก็ได้แต่คิดว่า ถ้าลงทุน 2.0 ล้านบาท ครบ 5 ปี ได้เงินกลับคืน 5.2 ล้านบาท ก็กาไร ตั้ง 3.2 ล้านบาท ยังไงมันก็ดีกว่าการเอาเงิน 2.0 ล้านบาทไปฝากธนาคาร เพราะเดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากก็ ได้แค่ 5% ต่อปี (สมมติ) ท่านคานวณดอกเบี้ยดูแล้วว่า ดอกเบี้ยจะได้รับปีละ 100,000 บาท …5 ปี ก็จะได้ 500,000 บาท น้อยกว่า 3.2 ล้านบาทเป็นไหนๆ ท่านยังคิดต่อไปอีกว่า 1)กรณีของการลงทุนในกิจการนวดแผนโบราณ ใช้เงินลงทุน 2.0 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี ได้เงินกลับคืน 5.2 ล้านบาท เกิดส่วนต่าง 3.2 ล้านบาท 2)กรณีของการเอาเงินฝากธนาคาร ได้ผลประโยชน์ตลอด 5 ปี จากดอกเบี้ย 5% รวมแล้วได้ ดอกเบี้ย 500,000 บาท …ดอกเบี้ยนี้คือส่วนต่าง 3)3.2 ล้านบาทในข้อ 1) ต่างจาก 0.5 ล้านบาท ในข้อที่ 2) 4) คิดไปคิดมา 10 ตลบแล้ว ท่านจึงตัดสินใจลงทุน อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยหลักปฏิบัติสาหรับใครที่คิดจะลงทุน เขามักจะคุ้นเคยกับการได้รับผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม คือ เกิดผลประโยชน์ที่มากกว่าต้นทุนที่ได้ลงทุนไป ไอ้ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้ นักลงทุนทุกคนมักจะ คานวณหาออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีเทียบกับจานวนเงินที่ได้ลงทุนไป อย่างฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 5% ต่อปี ก็ถือว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของเจ้าของเงินฝากคนนี้อยู่ที่ 5% ต่อปี
  • 12. 1 (1 + r)t ถ้าในกรณีคนคนนี้ไม่ยอมฝากเงินแต่นาเงินไปลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ เขาลงทุนด้วย เงินทุน 2.0 ล้านบาท ตามตัวอย่างที่นาเสนอมาตั้งแต่ต้น ผลตอบแทนที่เขาได้รับ ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ดังนี้ ปีที่ 1 2 3 4 5 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 ผลตอบแทน (% เทียบกับเงินลงทุน) (90%)10%25%65%250% จากตารางหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนโดยเฉลี่ย 52% ((-90 + 10 + 25 + 65 + 250)ธ5) ในกรณีของการลงทุน ผลตอบแทนที่ปรากฏขึ้นมาอาจจะไม่ใช่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังก็ เป็นได้ คือนักลงทุนอาจจะคาดหวังที่ผลตอบแทน 30% ต่อปี แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วผลตอบแทนที่ได้ อาจจะมากกว่า 30% หรือน้อยกว่า 30% ก็ได้ ประเด็นของการที่เกิดเหตุการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุน แกว่งไกวไปเหมือนกับยอดไม้ใหญ่ลู่ ลม ก็ทาให้การตัดสินใจลงทุนแกว่งไกวไปเช่นกัน คือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่นิ่งสงบในการตัดสินใจ นักลงทุนมืออาชีพหรือนักการเงินมืออาชีพใครก็ไม่รู้ที่คิดมาก คิดลึกจึงได้หาวิธีทาให้อัตรา ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนนิ่งให้ได้ และให้เปลี่ยนแปลงเฉพาะผลลัพธ์ที่เป็นเพียงตัวเลขที่ สะท้อนออกมาหลังจากที่ได้คานึงถึงอัตราผลตอบแทน 30% (สมมติ) ไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าท่านอ่านเรื่องที่ผมเขียนมาดีๆ ท่านจะเริ่มร้องอ๋อแล้ว กับการที่ใครคนหนึ่งพยายามจะขอยืมสูตร ของ FV มาใช้ในการหา PV PV ที่ว่า ก็คือมูลค่าปัจจุบัน มันสามารถหาค่าได้จากการกลับสมการ FV ดังนี้ FV = PV X (1 + r)t PV = FV X PV คือมูลค่าเงินในปัจจุบัน FV คือมูลค่าเงินในอนาคต r คืออัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี ใครคนนั้นที่ขอยืมสูตร FV มาใช้ ก็เปิดฉากในการอธิบายสมการ PV ดังนี้
  • 13. 1)ในฐานะของนักลงทุนที่จะต้องพิจารณาต่อผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน และดัน เป็นผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นในอนาคตอีกต่างหาก งานนี้นักลงทุนคนนั้นจาเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องกาหนดให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในใจของเขานิ่ง เช่นเขาจะต้องกาหนดไปเลยว่าเขา อยากจะได้ผลตอบแทนที่กี่ % ต่อปี 2)การกาหนดผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี ก็มีความหมายว่า ค่า r ในสมการของ PV เป็น อะไรที่ใส่ค่าได้ 3)ผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด ถือเป็นมูลค่าของเงินในอนาคต งานนี้เงินใน อนาคตหรือผลประโยชน์สุทธิก็คือ FV ในสูตรของ PV นั่นเอง 4)ผลประโยชน์สุทธิเกิดขึ้น 5 ปี ต่อเนื่องกัน อย่างกรณีลงทุนธุรกิจนวดแผนโบราณ ก็มี ความหมายว่า t เป็นจานวนปีในสูตรของ PV นั่นเอง สรุปความว่า อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในกรณีการลงทุนที่เป็นสากลจะถูกกาหนดลงไปในสูตร ของ PV และมาดูกันว่าค่าของ PV หลังจากเอาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังใส่เข้าไป แล้วจะให้ค่าเป็น บวกหรือเป็นลบอย่างไร เฮ้อโล่งอกไปที …ท่านรู้แล้วใช่มั้ยครับว่า นักลงทุนมืออาชีพอยากจะได้ผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ก็จะก้าหนดอัตราลงไป ในสูตรของ PV เลย และรอดูว่า PV จะให้ค่าออกมาเป็นเช่นไร ถ้าให้ค่าบวกก็หมายถึงว่า ผลประโยชน์สุทธิเป็นบวกก็มี ความหมายว่าเกิดส่วนต่างที่เป็นความมั่งคั่ง แสดงว่าใครลงทุนในโครงการนี้ ยิ่งลงทุนก็ยิ่งรวยเร็ว กรณีศึกษาการหา PV ของธุรกิจนวดแผนโบราณ ตอนแรกก่อนที่ท่านจะรู้จักกับหลักการของ PV ท่านก็ได้ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจนวดแผน โบราณไปแล้วเบ็ดเสร็จ โดยท่านใส่ใจแค่เพียงการเปรียบเทียบผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน 3.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับการนาเงินฝากธนาคารแล้วได้เงิน 0.5 ล้านบาท ท่านตัดสินใจลงทุนด้วย การคิดแค่นี้ ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านี้ ต่อจากนี้ท่านก็คิดไกลมากขึ้นไปอีก โดยคิดว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะเป็น 5% ต่อปีในกรณี นาเงินฝากธนาคาร และจะเป็น 52% โดยเฉลี่ยกรณีลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ ต่อจากนั้นมาอีก ท่านเริ่มเข้าสู่การตัดสินใจลงทุนที่เป็นสากลจริงๆ โดยท่านเข้าใจแล้วว่า ถ้าหาก จะเป็นนักลงทุนจริงๆ ตัวนักลงทุนเองก็ต้องนิ่ง คือไม่ต้องคิดอะไรมากคิดแต่ว่า ตัวนักลงทุนอยากจะได้ ผลตอบแทนที่กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วคอยดูผลลัพธ์ของการลงทุนภายใต้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ...ดูซิว่าจะ เกิดผลประโยชน์สุทธิที่เป็นบวกหรือลบอย่างไร การเข้าใจกรณีของการกาหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีให้นิ่ง …ให้เป็นไป ตามที่นักลงทุนต้องการ กลับจะได้แก้ปัญหาเรื่องของมาตรฐานเวลาในการคิดคานวณค่าของเงินให้เป็น
  • 14. มาตรฐานเดียวกันไปในตัวแบบเบ็ดเสร็จ คือจากเดิมที่ลงทุนในวันนี้ 2.0 ล้านบาท ในธุรกิจนวดแผน โบราณ แล้วได้ผลประโยชน์สุทธิกลับมา 5.2 ล้านบาท เกิดส่วนต่างในแต่ละปีเป็นจานวนที่แตกต่างกัน ตามข้อมูล ปีที่ 1 2 3 4 5 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 -1.8+0.2+0.5 +1.3+5.0 = 5.2 เกิดผลประโยชน์สุทธิ 5.2 – 2.0 = 3.2 ล้านบาท ส่วนต่างในแต่ละปีเกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน รวมกันได้ 3.2 ล้านบาท เป็นปัญหามาตรฐาน ของเวลาที่ต่างช่วงกันใช้ตัดสินใจในการลงทุนยังไม่ได้แบบ 100% ถ้าไม่เข้าใจกรณีที่นักลงทุนกาหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี แล้วหาค่าของ ผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบัน (PV) ท่านอาจตัดสินใจลงทุน เพราะคิดไปว่า ธุรกิจนวดแผน โบราณทากาไรให้ท่านได้เท่ากับ 3.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดความเข้าใจกรณีที่ว่า นักลงทุนต้องกาหนดอัตรา ผลตอบแทนที่คาดหวัง แล้วลองมาดูซิว่าผลประโยชน์สุทธิจะก่อให้เกิดมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ อย่างไร …เป็นบวกหรือเป็นลบ หากเป็นบวกก็ลุยลงทุนได้ หากเป็นลบก็ตัวใครตัวมัน การคิดได้ในเชิงของนักลงทุนที่เป็นมืออาชีพ และมีความเป็นสากลก็ได้ขจัดให้ปัญหาเรื่อง มาตรฐานของเวลาให้หมดไป เพราะผลประโยชน์สุทธิถูกนามาคิดให้มีค่าเป็นของวันนี้ทั้งหมด ดังนั้นการ ตัดสินใจลงทุนจึงถูกต้องและชัดเจน 100% ท่านลองดูตัวอย่างธุรกิจนวดแผนโบราณ 1)ข้อมูล ปีที่ 1 2 3 4 5 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 2)นาข้อมูลในข้อ 1) มาทาให้เป็นค่าปัจจุบันให้หมด โดยท่านในฐานะผู้ลงทุนต้องกาหนด อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่ท่านต้องการ …งานนี้สมมติว่าท่านอยากได้อัตรา ผลตอบแทนที่คาดหวัง 45% (ค่า r= 45% ต่อปี) 3)หามูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ ได้ดังนี้
  • 15. 4) วิธีการคานวณมูลค่าปัจจุบัน ของผลประโยชน์สุทธิตามข้อ 3) กระแสเงินสดสุทธิ ปีที่ PV ของกระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 1 (1.8) x 1 = (1.24) (1 + 0.45)1 0.2 2 0.2 x 1 = 0.095 (1 + 0.45)2 0.5 3 0.5 x 1 = 0.164 (1 + 0.45)3 1.3 4 1.3 x 1 = 0.294 (1 + 0.45)4 5.0 5 5.0 x 1 = 0.78 (1+ 0.45)5 รวม = 0.093
  • 16. 5)สรุปความว่าธุรกิจนวดแผนโบราณ หากท่านจะลงทุนด้วยเงิน 2.0 ล้านบาท ได้ชุดข้อมูล ตามข้อ 1) ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่ท่านต้องการจากการลงทุนในโครงการนี้ที่ 45% จะได้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ 0.093 ล้านบาท 6)จากข้อ 5) ธุรกิจนวดแผนโบราณเมื่อสิ้นสุดปีที่ 5 จะไม่เหลือมูลค่าซากใดๆ ทั้งนี้เพราะ ได้ทาการขายกิจการให้กับผู้อื่นไป 7)มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิปรากฏค่าที่ 0.093 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเงินลงทุน ในวันนี้ที่ 2.0 ล้านบาท จะพบว่า 0.093 ล้านบาท น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท แสดงให้ เห็นว่าธุรกิจนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่ผู้ลงทุนเลย 8)จากข้อ 7) ผู้ลงทุนจึงปฏิเสธที่จะลงทุน เพราะถ้าหากท่านเอา 2.0 ล้านบาท ไปลงทุนใน โครงการอื่น แล้วได้ผลตอบแทนที่ 45% เหมือนกัน มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ สุทธิอาจได้กลับมาสูงกว่า 2.0 ล้านบาทก็ได้ …ไอ้ส่วนที่เกินกว่า 2.0 ล้านบาท คือ มูลค่าปัจจุบันของเงินงอกอันเนื่องจากการลงทุนในโครงการที่นักลงทุนต้องการ ตรงนี้มี ความหมายว่า ได้คืนเงินลงทุนแล้วเกิดเงินงอกเพิ่มขึ้น 9)ถ้าหากมีการเพิ่มสมมติฐานเข้าไปใหม่ ตรงที่ " ปีที่ 5 มีรายได้จากการเซ้งกิจการที่จานวนรายได้เดิมคือ 5.0 ล้านบาท และทรัพย์สิน ทั้งหมดยังเป็นของผู้ลงทุนอยู่ …ไม่ใช่ขายกิจการ" จะได้มูลค่ากิจการ เท่ากับ  มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ 0.093 ล้านบาท  มูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินทั้งที่มีตัวตน (อุปกรณ์/ฯลฯ) และมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (ค่า ความนิยม/goodwill/ฯลฯ) ขั้นต่า 2.0 ล้านบาท 10) จากข้อ 9) ได้ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 2.093 ล้านบาท มากกว่า 2.0 ล้านบาทที่เป็น เงินลงทุน ผู้ลงทุนจึงอาจจะลงทุนในโครงการนี้ได้
  • 17. ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 4 วิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพวิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพ ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่ 45% ต่อปี ทาให้มูลค่าปัจจุบันของ ผลประโยชน์สุทธิมีแค่ 0.093 ล้านบาทเท่านั้น จากที่ถ้าหากไม่คิดในเชิงมูลค่า ปัจจุบัน ผลประโยชน์สุทธิมีปริมาณ ตลอด 5 ปี สูงถึง 5.2 ล้านบาท โดย 1)เงินลงทุน 2.0 ล้านบาท แลกกับผลประโยชน์สุทธิ 5.2 ล้านบาท เหลือที่ได้เพิ่มมาก็คือ 3.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 160% ของเงินลงทุน 2)จากข้อ 1) ไม่ได้มีการคานึงถึงค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา คือมาตรฐานของ ช่วงเวลาในการหักกลบลบกันของผลประโยชน์และต้นทุนโครงการอยู่ต่างช่วงเวลากัน (สังเกตจาก 5.2 ล้านบาท ทยอยเกิดขึ้นต่อเนื่องมา 5 ปี ในขณะที่เงินลงทุน 2.0 ล้าน บาท เกิดขึ้นในวันนี้ ดังนั้นผลลัพธ์จานวน 3.2 ล้านบาทที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวเลขที่ลวงตา เรา การได้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิที่ 0.093 ล้านบาท ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนที่ 45% ต่อปี เมื่อน้ามาเปรียบเทียบกับการลงทุนจ้านวน 2.0 ล้านบาท แล้วถือว่าไม่คุ้มค่า เพราะเงื่อนไขของธุรกิจนวดแผน โบราณ คือ ลงทุน 2.0 ล้านบาท ได้ผลประโยชน์สุทธิตามข้อมูลที่อธิบายในบทที่ 4 และขายทิ้งกิจการในปีที่ 5 รวมเป็นได้ ผลประโยชน์สุทธิในรูปมูลค่าปัจจุบันกลับคืนมาเพียง 0.093 ล้านบาท จะพบว่านักลงทุนจะขาดทุนจากการลงทุนใน โครงการนี้เท่ากับ 0.093 ล้านบาท ลบด้วย 2.0 ล้านบาท ด้วยเหตุตามที่กล่าวมานี้ นักลงทุนมืออาชีพที่ต้องการ ผลตอบแทนที่คาดหวัง 45% ต่อปี จึงเมินเฉยเหลือเกินต่อการลงทุนในโครงการนี้ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนสมมติฐานเป็นการเซ้ง โดยมีรายได้ในปีที่ 5 เท่าเดิม และทรัพย์สินยังเป็นของผู้ลงทุนอยู่ โดยมีมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินสุทธิที่ขั้นต่้า 2.0 ล้าน บาท ตามตัวอย่างในหน้า 39 นักลงทุนก็จะลงทุนในโครงการนี้ได้ อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังต่่าลงโครงการก็น่าลงทุนมากขึ้น สมมติว่าท่านปฏิเสธที่จะลงทุนในกิจการนวดแผนโบราณไปเรียบร้อยแล้ว เพราะเหตุแห่งการที่ อัตราผลตอบแทนที่ท่านต้องการนั้นสูงถึง 45% ทาให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตลอดอายุโครงการไม่คุ้มค่า กับต้นทุนที่ได้ลงทุนไป แต่เพื่อนของท่านซึ่งเป็นนายทุนมีเงินเหลือมากมาย ในที่นี้ขอใช้คาว่า เฮีย …เฮีย คนนี้ได้ยินได้ฟังข้อมูลของธุรกิจนวดแผนโบราณเข้าก็นึกสนใจขึ้นมาทันที ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะเฮียคน การ
  • 18. นี้มีเงินมากมาย ไม่รู้จะเอาไปทาอะไร นอกจากเอาเงินไปฝากธนาคาร …ณ ขณะที่เขียนเล่าเรื่องของเฮียคน นี้อยู่ เฮียคนนี้มีเงินฝากธนาคารถึง 200 ล้านบาท ได้รับอัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เฮียได้ยินได้ฟังเรื่องราวของธุรกิจนวดแผนโบราณนี้ก็เกิดอาการน้าลายหก ไม่ใช่เพราะเฮียอยากจะ นวดหรืออย่างไร เป็นเพราะเฮียต้องการจะย้ายเงินจากการฝากธนาคารมาลงทุนทาธุรกิจ ซึ่งเฮียหวังว่าจะ ได้รับผลตอบแทนซัก 3% มากกว่าการฝากธนาคารอีก 1.5% งานนี้เฮียมีค่า r ใน PV แค่ 3% ต่อปี ท่านลองคานวณ PV ของผลประโยชน์สุทธิจากกิจการนวดแผนโบราณให้เฮียดูเล่นๆ ซิครับว่า ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร พอท่านปรับลดผลประโยชน์สุทธิตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยผลประโยชน์สุทธิในปีที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ถูกปรับลดค่า (มาหา PV) มาในรูปของผลประโยชน์สุทธิ ณ วันนี้ ปรากฏว่า ภายใต้อัตรา ผลตอบแทนที่เฮียคาดหวัง 3% ให้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิสูงถึง 4.364 ล้านบาท และเมื่อ นามาเทียบกับเงินลงทุน 2.0 ล้านบาท เฮียก็ยังเหลืออีก 2.364 ล้านบาท (4.364 – 2.0) เฮียจึง น้าลายหกอยากจะลงทุนใจ จะขาด
  • 19. จากตัวอย่าง 2 ตัวอย่างเปรียบเทียบกันคือกรณีที่ท่านต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน 45% ต่อปี ท่านจะไม่ ลงทุน แต่หากว่าเฮียต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังแค่ 3% ต่อปี เฮียจะลงทุน และอยากมากๆ ที่จะลงทุน สรุปวิธีคิดของนักลงทุนมืออาชีพ ท่านพอจะรู้แล้วใช่มั้ยว่า 1) การลงทุนเป็นเรื่องของการคิดต่อผลประโยชน์ และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น ผลประโยชน์และต้นทุนในอนาคตจะต้องถูกทาให้เป็นมูลค่าปัจจุบันเสียก่อน จึงจะนามาเปรียบเทียบกับเงิน ลงทุน แล้วดูว่าจะลงทุนหรือไม่ 2) การท้าผลประโยชน์และต้นทุนโครงการให้เป็นมูลค่า ปัจจุบัน นักลงทุนต้องรู้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง จากการลงทุนก่อน เพราะไม่เช่นนั้นจะหาค่าของมูลค่าปัจจุบันไม่ได้
  • 20. ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 5 กรณีศึกษาการเป็นนักลงทุนมืออาชีพกรณีศึกษาการเป็นนักลงทุนมืออาชีพ บทนี้จะย้าเตือนให้ท่านหายงง เพราะไอ้เรื่องง่ายๆ แบบนี้ แต่เล่นเอาหลายท่านมึนงง และสับสน กับมันพอสมควร โดยข้อเท็จจริง การที่ท่านจะเข้าใจว่าทาไมต้องปรับลดมูลค่าของเงินในอนาคตมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ท่านต้องย้อนกลับไปทบทวนเรื่องของการหาปริมาณเงินฝากให้กับซาเล้ง ว่าเงินฝาก 1,000 บาท ของเขาเมื่อฝากมาได้ครบ 20 ปี จะเป็นจานวนเท่าใด การพิสูจน์เงินฝากของซาเล้งได้ผลออกมาเป็น สมการ FV= PV X (1 + r)t ต่อมามีชายแปลกหน้าคนหนึ่งเป็นคนที่ชอบลงทุนมากเหลือเกินในชีวิตนี้ เห็นสมการนี้เข้า ก็นึก ไปถึงว่า การลงทุนเป็นเรื่องของ อนาคต ดังนั้นจึงจาเป็นที่จะต้องทาเรื่องอนาคตทั้งหมดให้เป็นเรื่อง ปัจจุบัน งานนี้ก็เลยขอยืมสมการ FV มาใช้ โดยกลับสมการ FV เสียใหม่กลายเป็นสมการ PV ย้อนกลับไปดูข้อมูลธุรกิจนวดแผนโบราณที่ก่อนการจะเห็นข้อมูลของธุรกิจ ท่านต้อง 1)สมมติว่าจะทาอะไรก็แล้วแต่ ฝากเงินธนาคารหรือทาธุรกิจนวดแผนโบราณ ทั้งสองธุรกิจ จะไม่มีความต่างกันเลย หากผลตอบแทนที่คาดหวังได้ 45% ต่อปี 2)กรณีฝากธนาคารได้ 45% ต่อปี โดยนาดอกเบี้ยทบเข้ากับเงินฝากทุกปี และถอนเมื่อครบ ปีที่ 5 ท่านจะได้เงินทั้งหมดคือหากท่านฝากที่ 2.0 ล้านบาท ดังนี้ FV= 2.0 X (1 + 0.45)5 = 12.82 ใน 12.82 ล้านบาท มี 2.0 ล้านบาท ปนอยู่จะได้ส่วนเพิ่ม 10.82 ล้านบาท 3)กรณีที่ท่านลงทุนในธุรกิจนวดแผนโบราณ จะได้เงินในอนาคต ดังนี้
  • 21. 1 (1 + 0.45)5 ปีที่ 1 2 3 4 5 กระแสเงินสดสุทธิ (1.8) 0.2 0.5 1.3 5.0 -1.8 + 0.2 + 0.5 + 1.3 + 5.0 = 5.2 ใน 5.2 มี 2.0 ล้านบาทปนอยู่ จะได้ส่วนเพิ่ม 3.2 ล้านบาท 4)จาก 2) และ 3) คนไม่โง่ก็ตัดสินใจได้ 5)หากจะตัดสินใจในรูปของ PV โครงการ FV PV ที่อัตราผลตอบแทน 45% ต่อปี ฝากเงิน 12.82 2.0 นวดแผนโบราณ 5.2 0.81* (* ค่า 0.81 ล้านบาท สูงกว่าค่าที่คานวณได้จากหน้า 37 เป็นเพราะค่า 0.81 เกิดจากการรวม ผลประโยชน์สุทธิจนครบปีที่ 5 แล้วทาการปรับลดเป็นมูลค่าปัจจุบันครั้งเดียว ; 0.81 = 5.2 x บทนี้ผมก็จะเขียนเท่านี้แหละครับ หวังว่าท่านจะร้องอ๋อกันบ้าง หากยังไม่ร้องอ๋ออีกก็ตัวใครตัวมัน แล้วล่ะครับ
  • 22. ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน 6 อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง กรณีลงทุนในรูปแบบบริษัทจากัดกรณีลงทุนในรูปแบบบริษัทจากัด บทที่ผ่านมา ผมอธิบายให้ท่านเข้าใจว่า การลงทุนจาเป็นเหลือเกินที่ผู้ลงทุน จะต้องทาการกาหนดอัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้จากโครงการลงทุน การ กาหนดอัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้จะช่วยให้เกิดการค้นหามูลค่าปัจจุบันของ ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดจากการลงทุนได้ ในกรณีการลงทุนที่นาย ก นาย ข เป็นบุคคลธรรมดาแล้วเข้าลงทุนในกิจการ ตรงนี้คงไม่มีประเด็น อะไรที่ยุ่งยากที่จะเข้าใจเรื่องราวของการคาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนที่อยากจะได้… งานนี้นาย ก อยากจะ ได้ 20% ต่อปี ก็เอาเข้าสูตรของ PV ได้ทันที แต่สาหรับบริษัทจากัดที่เข้าลงทุนในกิจการ อาจจะมี ปัญหาให้พิจารณาเพิ่มขึ้นหน่อย ตรงที่แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการลงทุนอาจไม่ได้มาจากทุนส่วนของเจ้าของ 100% คือบางส่วนอาจจะมาจากการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการ ลงทุนจึงมีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของเจ้าหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะโดยหลักการแล้ว การที่เจ้าหนี้ (ธนาคาร) ปล่อยเงินกู้ให้กับกิจการ ธนาคารก็ต้องการดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยจึงเป็นเป้าหมายสาคัญของ ธนาคาร งานนี้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจึงเป็นเรื่องที่ทั้งตัวผู้ลงทุน (ถือหุ้นในกิจการ) และธนาคาร จะต้องมาร่วมกันหาค่าเฉลี่ย โดยใช้วิธีการถ่วงน้าหนักปริมาณเงินของแต่ละแหล่งให้เกิดค่าที่สะท้อนที่มีค่า เดียวเพื่อการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันให้ลงตัว ถ้าจะทาการอธิบายให้ชัดเจนขึ้น อย่างกรณีของการลงทุนในอาคาร / ที่ดิน / อุปกรณ์ / วัตถุดิบ เพื่อการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารจานวน 110 ล้านบาท อาจใช้แหล่งเงินจากทุนส่วน ของเจ้าของ (ทุนจดทะเบียนบริษัท) 21.8 ล้านบาท และอีก 38.2 ล้านบาท มาจากการกู้เงินธนาคาร ส่วนที่เหลือมาจากรายได้ของกิจการ ทุนจดทะเบียนบริษัท 21.8 ล้านบาท รวมกับเงินกู้ 38.2 ล้านบาท รวมกับรายได้ของกิจการ สามารถนาไปลงทุนซื้อทรัพย์สินได้ 110 ล้านบาท ซึ่งรายการใช้เงินจะไปปรากฏในงบการเงินของบริษัท ด้วยเหตุนี้เองจึงจาเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน (ต้นทุนค่า เสียโอกาส) ที่ผู้ลงทุนต้องการเป็นเท่าไร และที่ธนาคารต้องการเป็นเท่าไร โดยทาการเฉลี่ยถ่วงน้าหนักด้วยสัดส่วนการใช้เงินจากทั้ง 2 แหล่งเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด 110 ล้านบาท ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ดังนี้ ใน
  • 23. ประเภท จานวน % อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ทุนจดทะเบียน 21.8 36.36 5%* เงินกู้ธนาคารรวม 38.2 63.64 8% 60.0 100 จากข้อมูลข้างต้นสามารถหาอัตราผลตอบแทน (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) ที่คาดหวังได้โดยวิธีการ เฉลี่ยถ่วงน้าหนัก (Weighted Average cost of Capital ; WACC) *5% มาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 1 ปีที่ 2% บวกกับค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการทา ธุรกิจ (risk Premium) อีก 3% ต่อปี …แต่ละคนจะกาหนด risk Premium ในอัตราที่ไม่ เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในธุรกิจนั้นๆ WACC = (36.36) (5%) + (63.64) (8%) 100 100 = (0.3636) (5%) + (0.6364) (8%) = 1.818% + 5.0912 = 6.9092% สรุปความว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังหรือต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เป็นตัวแทนในการค้นหามูลค่าปัจจุบันของ ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดจากการลงทุนในโครงการ 110 ล้านบาท คืออัตรา 6.9092% ต่อปี กรณีศึกษาการลงทุนโครงการ 110 ล้านบาท ผลิตปืนจรวด สมมติว่าข้อมูลจากการลงทุนเป็นดังนี้ ปีที่ 1 2 3 4 เงินสดเข้า 50 100 120 150 เงินสดจ่าย 110 80 85 90 เงินสดสุทธิ (60) 20 35 60 ถ้าท่านจากรณีของการลงทุน ในกิจการนวดแผนโบราณได้ นักลงทุนมืออาชีพดาเนินการดังนี้ 1) ก้าหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังไปเลยว่า เงินจากทุนจดทะเบียนก้าหนดอัตราที่ 5% เงินจากการกู้ ธนาคารคิดดอกเบี้ย 8% (ข้อมูลตามที่ได้อธิบายมาก่อนหน้านี้) จะได้ WACC เท่ากับ 6.9092% ต่อปี 2)ผลประโยชน์สุทธินามาหาค่าปัจจุบัน
  • 24. 3) จากข้อ 2) โครงการผลิตปืนจรวดให้ผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบัน 35.96 ล้านบาท ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (WACC) ที่ 6.9092% ต่อปี ใน ระยะเวลา 4 ปี ใช้เงินลงทุนในปีที่ 1 จานวน 110 ล้านบาท มาจากทุนจดทะเบียน บริษัท 21.8 ล้านบาท และจากเงินกู้ 38.2 ล้านบาท 4)ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นตามข้อ 3) หากยังไม่มีการพิจารณาถึงดอกเบี้ยจ่ายให้กับธนาคาร ผลประโยชน์สุทธิทั้งผู้ลงทุน (ผู้ถือหุ้น) และธนาคารจะแบ่งกัน โดยธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ย ไป และที่เหลือก็จะเป็นในส่วนของผู้ถือหุ้นได้รับไป สาหรับบทนี้ก็เอาแค่นี้พอ