SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 169
Baixar para ler offline
AW_แก้ไข ได้รับจากสวทช._23.06.58_เวลา 15.02น.
ที่ปรึกษา : 	 ดร.ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล
	 คุณสุวิภา  วรรณสาธพ
ผู้เขียน : 	 ฝ่ายการตลาด สวทช.
บรรณาธิการ : 	 คุณวทันยา  สุทธิเลิศ
คณะท�ำงาน : 	 ศรีทิพย์ อุชชิน  สายทิพย์ ชัยวิวัฒน์  อาณัติ โพธิ์ภิขุ  จาณิวรรณ วิริยะธรรม 	
	 สุกัญญา ฉัตรแก้วมรกต  ชนานันท์ คงธนาฤทธิ์  ภาวนีย์ ผลเต็ม
ประสานงานการผลิต :	 จุฬารัตน์ นิ่มนวล
                                 	 งานออกแบบ  ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์
ผู้สนับสนุนหลัก : 	 ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน)
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
	 ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ไม่อนุญาตให้คัดลอก
	 ท�ำซ�้ำ และดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาต                                                                  
	 เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น
พิมพ์ครั้งที่ 1
จ�ำนวน : 	 3,000 เล่ม
ออกแบบรูปเล่ม :	 บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จ�ำกัด
ผู้จัดท�ำ :	 ฝ่ายการตลาด
       	 ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)
	 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                        	 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง
                        	 อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
                        	 โทรศัพท์ 0 2564 8000 โทรสาร 0 2564 7001
       	 อีเมล์: mkt@nstda.or.th
พลังงานวิจัย ขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน รวมความส�ำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีไทย
The Power of R&D
พลังงานวิจัย ขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน : The Power of R&D/
	 โดย ฝ่ายการตลาด สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. – กรุงเทพฯ : สไตล์
ครีเอทีฟเฮ้าส์, 2558.
ภาพประกอบ
ISBN: 978-616-12-0385-6
1. วิจัย 2. ธุรกิจ -- วิจัย
I. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ II. ชื่อเรื่อง
Q180		            607.2593
สารจากผู้บริหาร
สารบัญ
Contents
04
08
25		 NSTDA Technology Champions
		 for Commercialization
2 The Power of R&D
		 ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช.
		 และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
		 (NSTDA R&D Directions and Technology 		
		Champions)
	 08	งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเด่น
	 12	งานวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และเทคโนโลยีเด่น
	 16	งานวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเด่น
	 20	งานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีเด่น
26	บริษัท คีนน์ จำ�กัด
30	บริษัท เอเชียสตาร์ แอนนิมัล เฮลธ์ จำ�กัด
34	ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด แก้วสิงห์
38	บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ไวด์ล จำ�กัด
42	บริษัท คลีน กรีนเทค จำ�กัด
46	บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด
50	บริษัท กูรูแสควร์ จำ�กัด
54	บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำ�กัด
59
	60	 บริษัท เกรทเทค ไซเบอร์เนติกส์ จำ�กัด
	64	 บริษัท เค.ซี.พี แอสโซซิเอท จำ�กัด
	68	 บริษัท คัสตอมไมซ์เทคโนโลยี จำ�กัด
	72	 บริษัท ซัมมิท โอโต้ บอดี้ อินดัสตรี จำ�กัด
	76	 บริษัท ไดโน่ อีเล็กทริค จำ�กัด
	80	 บริษัท โตว่องไว จำ�กัด
	84	 บริษัท ตลาดดอทคอม จำ�กัด
	88	 บริษัทไทยเด็นทอลอินเตอร์เนชั่นแนลจำ�กัด
	92	 บริษัท ไทยวาโก้ จำ�กัด (มหาชน)
	96	 บริษัท ทิฟฟานี่ เดคคอร์ จำ�กัด
100	บริษัท ที-เน็ต จำ�กัด
104	บริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำ�กัด(มหาชน)
108	กลุ่มบริษัท เฟล็กโช่รีเสิร์ช
112	บริษัท ไมโครอินโนเวต จำ�กัด
116	บริษัทมิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาลจำ�กัด
120	มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
124	บริษัท ยูนิแลมป์ จำ�กัด
128	บริษัท เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำ�กัด
132	บริษัท วิจัยและพัฒนาพอร์ลิเมอร์ จำ�กัด
136	บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำ�กัด
140	ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร
144	บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1998) จำ�กัด
148	บริษัท แอ๊ดวานซ์อาเซียน จำ�กัด
152	บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์   
  	 	จำ�กัด (มหาชน)
156	บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย
	 	จำ�กัด (มหาชน)
160	สรุปการใช้บริการต่างๆ (Services Index)
164	ช่องทางการติดต่อบริการต่างๆ ของสวทช.
	 NSTDA Services Customization
	 for Commercialization
The Power of R&D 3
สารจากผู้อำ�นวยการ
	       ในยุคของการค้าเสรีแบบไร้พรมแดน การวิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตนับเป็นปัจจัยที่สำ�คัญ
ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
อันจะนำ�ไปสู่การได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืน แต่ด้วยความ
เสียเปรียบในด้านต้นทุนแรงงานและด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งมีอยู่จำ�กัด จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทย
จะต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม จากการใช้
แรงงานมาสู่การใช้ความรู้ ซึ่งมีรากฐานมาจากการวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยี
	  สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ หรือ สวทช. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ                        
ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่มีบทบาทผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่ง
และเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลกโดยการส่งเสริม
ให้มีการนำ�งานวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถและ
ขับเคลื่อนภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ                                                                                                                                
ให้สามารถดำ�เนินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา                                                                                                 
สวทช.ได้ดำ�เนินการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและช่วยแก้ปัญหา                                                                                
ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
(Solution Provider) ให้กับผู้ประกอบการใน
ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SME) ผ่านบริการต่างๆ มากมาย                                                                                                                  
ภายใต้การดำ�เนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเฉพาะทาง                                                                             
4ศูนย์ได้แก่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
แห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
4 The Power of R&D
แห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดยมีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี)
ทำ�หน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในการนำ�งานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ ไปใช้ต่อยอดทางธุรกิจ
และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แบบครบวงจร พร้อมด้้วยกลไกสนับสนุนทางการเงินและให้
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
	 หนังสือรวบรวมผลงานความร่วมมือเด่นระหว่าง สวทช. และภาคเอกชน เล่มนี้                                                      
จัดทำ�ขึ้นภายใต้แนวคิด “The Power of R&D: พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย
ก้าวไกล ยั่งยืน” เพื่อรวบรวมบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารธุรกิจใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม
จำ�นวน 33 บริษัท ที่เป็นตัวอย่างของภาคเอกชนที่มีความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา
และมีการรับบริการกลไกสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ของ สวทช. ซึ่งประกอบด้วย                               
ภาคเอกชนทั้งบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) รวมถึง
เป็นแบบอย่างของการดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
	 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาคธุรกิจไทยในการก้าวเข้าสู่การทำ�ธุรกิจ
บนพื้นฐานของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยและพัฒนา
อันจะส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และสามารถ
เติบโตได้อย่างยั่งยืน และสร้างความตระหนักถึงกลไกสนับสนุนต่างๆ ของ สวทช.
	 ผมได้มอบนโยบายให้ สวทช. เป็นองค์กรเปิด และบุคลากรทุกคนใน สวทช. ต้อง
มุ่งทำ�งานเพื่อชาติ สวทช. ขอประกาศความพร้อมในการให้บริการ และการมีบทบาท
ในการช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ
ผู้ประกอบการไทย ให้ยืนหยัดในเวทีการค้าเสรีได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์ของ สวทช. ที่ตั้งไว้ว่า
The Power of R&D 5
“ สวทช. เป็นพันธมิตรร่วมทางที่ดี
สู่สังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ”
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย
ก้าวไกล ยั่งยืน
	 ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management
Center: ทีเอ็มซี) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีภารกิจหลัก
ในการบริหารจัดการเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่ การกำ�หนดโจทย์วิจัย                                                   
บริหารงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนำ�ผลงานวิจัยไปใช้
ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงมีกลไกสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
สำ�หรับภาคเอกชน ทั้งด้านการเงิน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้าน
การพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ผลการดำ�เนินงานที่ผ่านมาของทีเอ็มซี มีกรณีตัวอย่างความสำ�เร็จ
ของความร่วมมืออยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งได้รวบรวมไว้ใน
บทสัมภาษณ์ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
	 1.	 NSTDA Technology Champions for
Commercialization: รวบรวมตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของ
ภาคเอกชนจำ�นวน 8 บริษัท ที่มีความร่วมมือด้านการ
วิจัยและพัฒนา หรือนำ�ผลงานวิจัยของ 4 ศูนย์วิจัย
แห่งชาติของ สวทช. ไปต่อยอดทำ�ให้เกิดผลิตภัณฑ์
หรือบริการใหม่ ต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการเดิมหรือ
แก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเดิมได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
รองผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และผู้อำ�นวยการ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
6 The Power of R&D
2.	 NSTDA Services Customization for Commercialization: รวบรวม
ตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของภาคเอกชนจำ�นวน 25 บริษัท ที่เข้ารับบริการและ
กลไกสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ภายใต้การดำ�เนินงานของทีเอ็มซี อาทิเช่น
การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดผลประโยชน์เชิงพาณิชย์
กลไกทางการเงินและทางภาษีเพื่องานวิจัยและพัฒนา การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้คำ�ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี และการบ่มเพาะ
ธุรกิจเทคโนโลยี เป็นต้น รวมถึงการใช้บริการวิเคราะห์ทดสอบต่างๆ
	 การดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) นั้น
ถือเป็นแนวทางการดำ�เนินธุรกิจที่นอกจากจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
ให้กับผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นหนทางแห่งการสร้างความยั่งยืนและเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ
ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME                             
ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำ�คัญที่มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และทีเอ็มซี ก็มี
ความมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงสนับสนุนภาคเอกชนไทย เพื่อให้ก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้ง
ด้านการเงิน
- บริการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
- บริการรับรองโครงการวิจัยเพื่อยกเว้น
ภาษี 300%
- เงินร่วมลงทุน
- กองทุนเพื่อพัฒนา STI
ด้านเทคโนโลยี
- บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี
- บริการวิเคราะห์ทดสอบ
- บริการรับจ้างวิจัยและร่วมวิจัย ฯลฯ
ด้านกำาลังคน
- บริการฝึกอบรมและพัฒนากำลังคน
- บริการฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
ด้านโครงสร้างพืนฐาน
- บริการพื้นที่เช่าเพื่อทำงานวิจัย
- บริการศูนย์ประชุมอุทยาน
วิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ด้านธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา
- บ่มเพาะธุรกิจและเทคโนโลยี
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีและใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
The Power of RD 7
บริการสำ�หรับภาคเอกชน
Biotechnology
RD @ NSTDA
งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
		 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค                                                
เป็นศูนย์วิจัยแห่งชาติ 1 ใน 4 ศูนย์ ที่มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ทั้งในเรื่องของการวิจัยและการพัฒนา และการสร้างความตระหนัก
ด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคม โดยมีนโยบายมุ่งสนับสนุนและผลักดัน
ให้มีการนำ�องค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์
ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ
ภาคอุตสาหกรรมไทย ในสาขาอาหารและเกษตร ยาและเวชภัณฑ์ และ
สิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพที่มี
ความหลากหลายและยืดหยุ่นเพื่อรองรับกับความต้องการของภาคเอกชน
โดยมีหน่วยปฏิบัติการวิจัย ซึ่งจัดตั้งอยู่ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยและหน่วยปฏิบัติการร่วมที่ตั้งในมหาวิทยาลัยหรือหน่วย
งานของรัฐในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเฉพาะทางทั่วประเทศ                                                                                                                          
กว่า 20 หน่วยปฏิบัติการวิจัย
		 ไบโอเทคดำ�เนินการวิจัยทั้งการพัฒนาขีดความสามารถ
ด้านเทคโนโลยีฐานได้แก่เทคโนโลยีจีโนมิกส์โปรตีโอมิกส์เมตะโบโลมิกส์
ไมโครอะเรย์ชีวสารสนเทศเทคโนโลยีการออกแบบการแสดงออกของยีน
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์ เทคโนโลยีการถ่ายยีน ตลอดจนการทำ�วิจัย
เชิงประยุกต์ในด้านต่างๆ ดังนี้
8 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
สนใจติดต่อ:
	 ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ
	 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
	 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
	 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
	 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
	 โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3301-3306 โทรสาร 0 2564 6701
	 เว็บไซต์ http://www.biotec.or.th
ด้านอาหารและการเกษตร
มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยให้ความสำ�คัญกับพืช สัตว์ และ
อุตสาหกรรมที่มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำ�ปะหลัง ยางพารา
ปาล์มน้ำ�มัน กุ้ง ฯลฯ
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในระดับชีววิทยาโมเลกุลโดย
เน้นเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่และอุบัติช้ำ�ที่สำ�คัญและเป็น
ปัญหาของประเทศ เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก
ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยโรค พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค นอกจากนั้นยัง
มีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเพื่อการทำ�นาย ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง
ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น
ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการบำ�บัดและฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และผลิตพลังงานทดแทน
ด้านทรัพยากรชีวภาพ
มุ่งเน้นงานวิจัยทรัพยากรจุลินทรีย์แบบเชื่อมโยงและครบวงจร
ตั้งแต่การเก็บตัวอย่างการจำ�แนกและแยกชนิดให้บริสุทธิ์การจัดเก็บ
การพัฒนากระบวนการเลี้ยงและเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์
ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาและ
ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
The Power of RD 9
NSTDA RD Directions and Technology Champions
จุลินทรีย์ (Microorganism)
ไบโอเทค ได้ดำ�เนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อ
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์สูงสุดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้เทคโนโลยี
ต่างๆ เพื่อดำ�เนินงานวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาทรัพยากร
ชีวภาพ เทคโนโลยีการคัดแยกและการจัดจำ�แนกอนุกรมวิธาน เทคโนโลยี
การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำ�ไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยี
การค้นหายีนจากสิ่งแวดล้อมโดยตรงด้วยเทคนิคเมตาจีโนมทำ�ให้สามารถ
ค้นหายีนจากธรรมชาติที่มีระบบนิเวศเฉพาะตัว เช่น บ่อน้ำ�พุร้อน และลำ�ไส้
ปลวก  เทคโนโลยีการสังเคราะห์สารและดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการขยายขนาดการ
ผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิด
ใหม่ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเป็น
ยา เอนไซม์ สารมูลค่าสูง หรือสารชีวภัณฑ์ปราบ
แมลงศัตรูพืช เพื่อการใช้ประโยชน์ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ
ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของไบโอเทค
เทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
ได้แก่ จุลินทรีย์ อย่างมีประสิทธิภาพ
10 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
1. สารชีวภัณฑ์จากราแมลง ที่มีความจำ�เพาะต่อกลุ่มแมลงศัตรูพืช สามารถ
ใช้เป็นสารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้
ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตราย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
โดยไบโอเทคได้ค้นพบเชื้อBeauveriabassianaที่มีศักยภาพในการควบคุม
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล  เป็นต้น
2. สูตรเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
หัวเชื้อสำ�หรับการผลิตแหนมซึ่งจะทำ�ให้อาหารมีคุณภาพสม่ำ�เสมอและ
ปลอดภัยกับผู้บริโภค หรือประยุกต์การใช้เอนไซม์เพื่อลดระยะเวลาในการ
หมักน้ำ�ปลา เป็นต้น
3.อาหารเสริมชีวภาพจากจุลินทรีย์สำ�หรับเติมในอาหารสัตว์ซึ่งมีจุลินทรีย์
หลายชนิดใน Biotec Culture Collection ที่มีคุณสมบัติในการผลิต
สารสำ�คัญซึ่งสามารถใช้เป็นอาหารเสริมของสัตว์ได้
5. เอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมผ้า และการใช้
เอนไซม์ที่ได้จากเทคนิคเมตาจีโนมในอุตสาหกรรมฟอกเยื่อกระดาษเพื่อลด
การใช้สารเคมี
4. สายพันธุ์จุลินทรีย์ ที่มีความสามารถในการย่อยสลายคราบน้ำ�มัน ซึ่ง
มีการผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับ
ภาคสนาม
	 นอกจากนี้ไบโอเทคยังมีการจัดตั้ง“ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย”(ThailandBioresource
Research Center หรือ TBRC) เพื่อให้บริการแก่ อาจารย์ นักวิจัย หรือภาคเอกชนต่างๆ
ที่ประสงค์จะนำ� จุลินทรีย์ไปใช้ทั้งเพื่อวิจัยพัฒนา และต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ด้วยมาตรฐานเทียบเท่ากับธนาคารจุลินทรีย์ระดับโลก โดยในปัจจุบันมีภาคเอกชนหลายๆ
บริษัทที่มีความร่วมมือกับไบโอเทค สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้
ความสำ�คัญและประโยชน์ของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์...สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่แม้ตาเปล่ายังมองไม่เห็น แต่สร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ได้
The Power of RD 11
NSTDA RD Directions and Technology Champions
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค มุ่งพัฒนางานด้าน
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี
โลหะและวัสดุ มีการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และความชำ�นาญทางด้าน
วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีวัสดุ และองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลกระทบ
เชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจและสังคม สิ่งแวดล้อมและประชาชน
นอกจากนี้เอ็มเทคยังเป็นศูนย์กลางทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
ทั้งในส่วนของข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยทำ�หน้าที่ประสาน
และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระหว่างนักวิจัยของศูนย์ฯ และนักวิจัยจาก
หน่วยงานภายนอกตลอดจนผู้ใช้เทคโนโลยีในกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
อีกทั้งมีการให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งการจัดฝึกอบรมการวิเคราะห์ทดสอบ
และการแก้ปัญหาทางภาคการผลิต
	 ปัจจุบัน เอ็มเทค มีหน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุที่ตั้งขึ้น
จำ�นวน 7 หน่วยวิจัย พร้อมด้วย 2 หน่วยเฉพาะทาง และอีก 1 หน่วยวิเคราะห์
ลักษณะเฉพาะของวัสดุ
Metal and Materials
RD @ NSTDA
งานวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
12 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
แผนงานวิจัยมุ่งเป้าของเอ็มเทค จำ�นวน 8 แผนงานวิจัยได้แก่
1
2
4
การผลิตยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยาง “สีเขียว”
เป้าหมาย: เพื่อช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตยางธรรมชาติ
และผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนา
กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องของประเทศให้ปลอดภัยส่งเสริม
คุณภาพชีวิตและคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
เป้าหมาย: เพื่อใช้ศาสตร์ด้านรีโอโลยี (การไหลของวัสดุ) ช่วยในการ
พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารสำ�เร็จรูปพร้อมรับประทาน และ
อาหารพร้อมรับประทานสำ�หรับผู้สูงอายุ ด้วยการปรับโครงสร้างของ
อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต
โดยรวมมากขึ้น
เป้าหมาย: เพื่อผลิตวัสดุทดแทนกระดูกสำ�หรับการรักษาและ
เสริมสร้างกระดูกในรูปแบบต่างๆที่หลากหลายขึ้นในประเทศสามารถ
เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยใน
ระยะยาวได้
เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาอุปกรณ์และระบบการออกกำ�ลังกาย และฟื้นฟู
ที่เหมาะสมในระยะยาวสำ�หรับผู้สูงอายุ
การพัฒนาคุณภาพอาหารไทย โดยใช้ศาสตร์ด้านรีโอโลยี
การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์สำ�หรับการรักษาและสร้างเสริมกระดูก
การพัฒนาอุปกรณ์และระบบการออกกำ�ลังกายและฟื้นฟูสำ�หรับผู้สูงอายุ
3
The Power of RD 13
NSTDA RD Directions and Technology Champions
สนใจติดต่อ:
	 ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
	 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติิ
	 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
	 114 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
	 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
	 โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4785-4789 โทรสาร 0 2564 6504
	 เว็บไซต์ http://www.mtec.or.th
แผนงานวิจัยมุ่งเป้าของเอ็มเทค จำ�นวน 8 แผนงานวิจัย (ต่อ)
เป้าหมาย:เพื่อการใช้งานผลิตสินค้าต่างๆ ที่ต้องการใช้วัสดุ น้ำ�หนักเบา
เพื่อเพิ่มสมบัติบางอย่างของผลิตภัณฑ์โดยยังคงรักษาคุณภาพมาตรฐาน
เอาไว้ในภาคอุตสาหกรรม
เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยยกระดับงานด้านวิศวกรรม
ของภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้ข้อมูลการคำ�นวนและสร้างแบบจำ�ลอง
เชิงโครงสร้างต่างๆ ของงานวิศวกรรมด้วยผลงานของนักวิจัยไทย
ให้มีการใช้งานได้จริงในระดับมาตรฐานสากลสามารถลดภาระค่าใช้จ่าย
ชุดซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ
เป้าหมาย: เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการกักเก็บพลังงาน เพื่อสร้าง
ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการใช้งานด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพและลด
มลภาวะในระยะยาว
เป้าหมาย: เพื่อพัฒนา ทั้งเทคนิคการตรวจสอบ ความเชี่ยวชาญ
ด้านการวิเคราะห์ เพื่อประเมินและป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วน
โลหะและอุปกรณ์สำ�หรับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวเนื่องในระยะยาว
การพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะน้ำ�หนักเบา
การประดิษฐ์และพัฒนาชุดซอฟต์แวร์เพื่อช่วยในการออกแบบและ
วิเคราะห์งานทางวิศวกรรม
การพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าเคมีเพื่อระบบการกักเก็บพลังงาน
การพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบและป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วน
ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า
5
6
7
8
14 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของเอ็มเทค
วัสดุเฉพาะทาง (Functional Materials)
วัสดุก็คือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง เราอาจแบ่งประเภทของวัสดุรอบตัวเรา
ออกได้เป็น พอลิเมอร์ เซรามิก โลหะ และวัสดุผสม กลุ่มพอลิเมอร์ ได้แก่ พลาสติก ยาง สารเคลือบผิว
และสิ่งทอ วัสดุเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์ ถ้าพิจารณาจากโครงสร้างก็คือวัสดุที่มีโครงสร้างพื้นฐานหลัก
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน คุณสมบัติหลักคือ น้ำ�หนักเบา ทนต่อแรงดึง ไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนกลุ่ม
เซรามิกจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่นหิน ดิน ทราย แร่ต่างๆ คุณสมบัติคือ ทนอุณหภูมิสูง ทนการกัดกร่อน
ทนการขัดสี และกลุ่มโลหะเป็นสารอนินทรีย์เช่นกัน มี 2 ประเภทคือ โลหะที่เป็นเหล็ก และโลหะ
ที่ไม่ใช่เหล็ก มีคุณสมบัตินำ�ไฟฟ้าและความร้อนดีมาก ส่วนวัสดุผสมนั้นคือการผสมวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิด                               
ขึ้นไป วัสดุผสมส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยสารเติมแต่ง วัสดุเสริมแรง หรือสารเชื่อมประสาน
โดยส่วนใหญ่ วัสดุผสมจะถูกออกแบบให้รวมลักษณะเฉพาะหรือคุณสมบัติที่ดีที่สุดของวัสดุแต่ละชนิด
ที่เป็นองค์ประกอบเข้าด้วยกัน
	 การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมต้องคำ�นึงถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์
ของงานแต่ละประเภท คุณสมบัติสำ�คัญที่ใช้พิจารณาเลือกวัสดุอาจแบ่งออกได้เป็น
เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และเกิดประสิทธิภาพ
สูงสุดจึงเกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณสมบัติ  โครงสร้างกระบวนการผลิตและการออกแบบของวัสดุ
อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง
ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุโดยให้บริการด้านการฝึกอบรมการวิจัยและพัฒนา
การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ และให้บริการด้านวิชาการ เพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้
เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
	 ตัวอย่างความก้าวหน้าทางวัสดุซึ่งหลายท่านอาจเคยได้ยินคำ�ว่าวัสดุฉลาด(smartmaterials)
เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถยืดอายุผักและผลไม้ หรือการพัฒนาด้านวัสดุการแพทย์
เพื่อใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำ�ร้อนลวก เป็นต้น
2. คุณสมบัติทางกายภาพ
เป็นลักษณะภายนอกที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือ
โดยใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น สี ความหนาแน่น จุดหลอมเหลว
เป็นต้น
3. คุณสมบัติเชิงกล
เป็นสมบัติของวัสดุเมื่อถูกกระทำ�ด้วยแรง เช่น ความสามารถ
ในการยืดหดตัว ความแข็ง เป็นต้น
1. คุณสมบัติทางเคมี
จะบอกถึงโครงสร้างและองค์ประกอบธาตุที่เกิดเป็นวัสดุนั้น
The Power of RD 15
NSTDA RD Directions and Technology Champions
Electronics and
Computer Technology
RD @ NSTDA
งานวิจัยพัฒนา
ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
	 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค
มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โดยสร้างเสริมการวิจัยและพัฒนา
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ พร้อมทั้ง
ดำ�เนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้าง
โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและตอบสนองความต้องการ
ของผู้ใช้ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยในปัจจุบันมีหน่วยวิจัยและพัฒนา
จำ�นวน 8 หน่วย คือ หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสาร
และการคำ�นวณ หน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ หน่วยวิจัย
เทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงาน
และสิ่งแวดล้อม หน่วยวิจัยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง หน่วยวิจัย
อุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ หน่วยพัฒนานวัตกรรมและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยี
ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยหน่วยวิจัยและพัฒนาทั้ง 8 หน่วย ประกอบด้วย
ห้องปฏิบัติการวิจัยจำ�นวน 31 ห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพัฒนาและ
ให้บริการคือ  สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ งานรับรองคุณภาพ
บริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และ
อิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์
16 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
7 กลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ของประเทศ
	 เนคเทคได้กำ�หนดแผนการดำ�เนินงานด้านงานวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อโจทย์ของ
ประเทศและคลัสเตอร์ สวทช. รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อผลักดันผลงานการวิจัยและพัฒนาไปสู่
การใช้ประโยชน์ที่ไม่จำ�กัดเฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไมโครชิปและอิเล็กทรอนิกส์โดยมี7กลุ่ม
เป้าหมาย คือ
สนใจติดต่อ:
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2346-2351, 2382, 2399 โทรสาร 0 2564 6901-3
เว็บไซต์ http://www.nectec.or.th
กลุ่มการเกษตรและอาหาร มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยมุ่งเน้นด้านระบบสารสนเทศ
เครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคการเกษตร ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรกรรม
กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เพื่อยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมุ่งรักษาฐาน
อุตสาหกรรมเดิมและมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตที่สร้างรายได้ใหม่
กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ  มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม
การบริการรูปแบบใหม่ บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำ�นวยความสะดวก
ในภาคอุตสาหกรรมบริการ
กลุ่มทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อม  มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบควบคุม
การใช้พลังงานระบบการจัดเก็บพลังงานและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเพื่อลดการใช้พลังงาน
เพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
กลุ่มชุมชน ชนบทและผู้ด้อยโอกาส มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบและ
โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึง
แหล่งความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมรวมทั้งพัฒนาอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ทำ�งานร่วมกับโซล่าร์เซลล์ เพื่อลดต้นทุน มีความทนทาน ให้เหมาะสมกับ
การใช้งานในชุมชนห่างไกล
กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบบูรณาการข้อมูล
เพื่อบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางการ
แพทย์ เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวัง
กลุ่มความมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งความปลอดภัยของการใช้คอมพิวเตอร์
ในสังคมออนไลน์ (Cybersecurity)
1
2
3
4
5
6
7
The Power of RD 17
NSTDA RD Directions and Technology Champions
ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของเนคเทค
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
(Natural Language Processing)
	 ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำ�ให้คอมพิวเตอร์
เข้าใจภาษามนุษย์ หรือเรียกอีกอย่างว่า “การประมวลผลภาษาธรรมชาติ”
(Natural Language Processing: NLP) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายๆ แขนง
ได้แก่ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา วิศวกรไฟฟ้า และสถิติ โดยที่ทางคอมพิวเตอร์
จะเน้นการศึกษาในเรื่องของการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เรื่องของการแทนรูป
ความรู้ และเรื่องของเทคนิคต่างๆ ของการแจงส่วนประโยค เป็นต้น การประมวลผล
ภาษาธรรมชาติเป็นระบบที่จะช่วยทำ�ให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาธรรมชาติ
ของมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและแปลงคำ�สั่งที่เป็นภาษา
ในชีวิตประจำ�วันเป็นรูปแบบความรู้ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำ�ไปใช้งานได้ เช่น
เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) โปรแกรมเรียงลำ�ดับคำ�ไทย โปรแกรมตัดคำ�
ภาษาไทยโปรแกรมการสืบค้นคำ�ไทยโปรแกรมการสืบค้นคำ�ไทยตามเสียงอ่านเป็นต้น
	 ประโยชน์ที่ได้จากการทำ�ให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับมนุษย์
ด้วยภาษามนุษย์เองนั้นส่งผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างสะดวก
มากยิ่งขึ้น โดยคอมพิวเตอร์จะเข้ามาช่วยในงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา
ได้มากขึ้น เช่น เป็นเครื่องแปลภาษามนุษย์จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง
(Machine Translation) การตรวจสอบและวิเคราะห์เอกสารต่างๆ รวมไปถึงช่วยสรุป
ประเด็นและสาระสำ�คัญที่ปรากฏในเอกสารนั้นๆ เป็นต้น
18 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
ในปัจจุบันแนวโน้มการวิจัยด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติใช้เทคนิค
ที่เรียกว่าการเรียนรู้ด้วยเครื่อง หรือ Machine learning ซึ่งจะต้องเรียนรู้ข้อมูล
ภาษาจากข้อมูลจริง หรือที่เรียกว่าคลังข้อความ โดยมีการจัดเตรียมคลังข้อความ
แบบต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยแต่ละเรื่อง การจัดสร้างคลังข้อความที่มี
การกำ�กับข้อมูลไว้แล้วนั้น เป็นงานที่ใช้ทั้งทรัพยากร เวลา และบุคลากร ทั้งนี้
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาและการนำ�ไปประยุกต์ใช้งานจริง
ในภาคสังคมและอุตสาหกรรมมากขึ้น เนคเทคจึงได้จัดทำ�สร้างคลังข้อมูล
เพื่อการวิจัยและพัฒนาขึ้นโดยมุ่งเป้าหมายให้กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สถาบัน
การศึกษาบริษัทเอกชนและหน่วยงานพันธมิตรวิจัยนำ�ข้อมูลงานวิจัยและพัฒนาของ
เนคเทคที่ผ่านมาไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆช่วยลดต้นทุนการวิจัยพัฒนา
ให้กับองค์กรต่างๆ อีกทั้งยังมีผลงานวิจัยและพัฒนาที่เริ่มต้นจากการประยุกต์
ใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านดังกล่าวอีกหลายๆ ผลงาน อาทิ TVIS ระบบรายงาน
สภาพจราจรและเหตุการณ์รอบตัวด้วยเสียงพูด VAJA ซอฟต์แวร์สังเคราะห์
เสียงพูดภาษาไทย หรือ S-Sense ระบบวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
หรือกลุ่มลูกค้าบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น ซึ่งได้มีภาคเอกชนการนำ�ไปต่อยอด
ออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
The Power of RD 19
NSTDA RD Directions and Technology Champions
Nano-Technology
RD @NSTDA
การวิจัยพัฒนา
ด้านนาโนเทคโนโลยี
	 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค มุ่งพัฒนางานวิจัยและ
พัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
การพัฒนาศักยภาพและกำ�ลังคนด้านนาโนเทคโนโลยี การเผยแพร่และถ่ายทอด
ความรู้และเทคโนโลยีด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจและประชาชน อีกทั้งกำ�หนด
ทิศทางงานวิจัย การผลักดันนโยบายและกลยุทธ์ด้านนาโนศาสตร์และ
นาโนเทคโนโลยีของประเทศให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยในปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการ
ด้านนาโนเทคโนโลยีเฉพาะทางต่างๆ จำ�นวน 14 ห้องปฏิบัติการ
	 การดำ�เนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีเป็นภารกิจสำ�คัญ
ของนาโนเทค โดยทิศทางของงานวิจัยและพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ
กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย (พ.ศ. 2555 - 2564) คือ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยดำ�เนินตามกรอบแผนกลยุทธ์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยสอดคล้องและ
อยู่ภายใต้แผนกลยุทธ์ของสวทช.ซึ่งนาโนเทคมีงานวิจัยมุ่งเป้า(FlagshipProgram)
10 โครงการ ดังนี้
20 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
Future Energy
เป้าหมาย:  เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ
Mosquito Control
เป้าหมาย:  คนไทยเป็นโรคจากยุงลดลงร้อยละ 25
Clean Water
เป้าหมาย: เปลี่ยนน้ำ�สกปรกที่ปนเปื้อนเป็นน้ำ�ดื่มสะอาดที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง
น้ำ�สะอาด แม้ในยามเกิดภัยพิบัติ
Silk Thai Treasure
เป้าหมาย: สร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำ�กาวไหมไทย ลดการทิ้งน้ำ�กาวไหมได้ 30,000 ลิตรภายใน
ปี 2559 (คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์จากยอดน้ำ�กาวไหมเหลือทิ้งของประเทศ 300,000 กิโลกรัม
ต่อปีของกรมหม่อนไหม)
Clean Air
เป้าหมาย:  เฝ้าระวัง เตือนภัยและพัฒนาคุณภาพอากาศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย
Nano Textile
เป้าหมาย: สร้างรายได้ให้กับสิ่งทอพื้นบ้าน (สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอ) เพิ่มมูลค่าสิ่งทอไทย
จาก 5,000 ล้านบาท เป็น 7,000 ล้านบาท พัฒนากำ�ลังคนและสร้างงาน 10,000 คน
สร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ
Smart Soil and Fertilizers
เป้าหมาย: เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ด้วยการลดต้นทุนการผลิต
โดยรวมลงร้อยละ 20 และเพิ่มผลผลิตต่อไร่เป็นร้อยละ 20
Smart Health
เป้าหมาย: ลดอัตราการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เป็นปัญหาสำ�คัญของคนไทย
Nano Mark
เป้าหมาย: เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผลิตภัณฑ์นาโนเป้าหมาย (เครื่องสำ�อาง
ผลิตภัณฑ์ อาหาร และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย) ของไทย ให้มีมาตรฐานด้านคุณภาพและ
ความปลอดภัย
Food Quality
เป้าหมาย: การลดของเสียในอุตสาหกรรมผลไม้และอาหารอื่นโดยวิธีการควบคุมคุณภาพ
ยกระดับคุณภาพหรือมาตรฐานอาหารที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อการค้าในประเทศและการส่งออก
โดยมีการนำ�ผลิตภัณฑ์ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
1
2
3
4
5
6
7
8
9
1
0
The Power of RD 21
NSTDA RD Directions and Technology Champions
ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของนาโนเทค
วัสดุผสมระดับนาโน (Nanocomposite)
	 วัสดุผสมระดับนาโน หรือนาโนคอมโพสิต (Nanocomposite) เป็นการ
เรียกวัสดุผสมที่มีการเติมวัสดุระดับนาโนขนาดอนุภาคจิ๋วระดับ 1-100นาโนเมตร                       
(1 นาโนเมตร = 10-9
เมตร) ลงไป ทั้งนี้วัสดุระดับนาโนที่ถูกใส่เข้าไปนั้น
เพื่อปรับปรุงสมบัติของวัสดุนั้นให้ดียิ่งขึ้นและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน                                                                                                            
โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีนาโนคอมโพสิตเข้ามามีบทบาทอย่างมากในหลาย
อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำ�อาง รถยนต์ พลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ และ
การแพทย์ เป็นต้น
	 ตัวอย่างวัสดุระดับนาโนที่นิยมเติมลงไปเพื่อปรับปรุงสมบัติของวัสดุ ได้แก่
คาร์บอนนาโนทิวบ์(Carbon-nanotube)นาโนเคลย์(Nanoclay)อนุภาคซิลเวอร์
นาโน (Siver nanoparticles) เป็นต้น
สนใจติดต่อ:
	 ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี
	 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
	 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
	 111 หมู่ 9 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน
	 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
	 โทรศัพท์ 0 2564 7100 ต่อ 6650 โทรสาร 0 2564 6985
	 เว็บไซต์ http://www.nanotec.or.th
22 The Power of RD
ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
เอนแคปซูเลชั่น (Encapsulation)
	 เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น ได้เริ่มมีการนำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
มาเป็นเวลากว่า 60 ปี และแพร่หลายไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย
เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ เกษตร สิ่งทอ เคมี และเครื่องสำ�อาง เป็นต้น ซึ่งคำ�ว่า
Encapsulationนั้นถ้าแปลกันตรงๆ ตัวมีความหมายว่าการถูกห่อหุ้มอย่างมิดชิด
ดังนั้นในวงการอุตสาหกรรมจะหมายถึง กระบวนการที่สารบางชนิดในสถานะ
ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซก็ได้ ถูกเคลือบ ยึด จับ หรือ ห่อหุ้มอย่างมิดชิด
ด้วยสารชนิดอื่น สารที่ถูกเคลือบอาจถูกเรียกว่า active agent, core material
หรือ internal phase ส่วนสารที่นำ�มาเคลือบจะถูกเรียกว่า wall material,
carrier, membrane shell หรือ coating
	 กระบวนการดังกล่าวนี้มีประโยชน์คือ ช่วยลดความว่องไวต่อปฏิกิริยา,
ลดการระเหย และ ลดปริมาณการใช้ active agent ลงได้ นอกจากนี้ยังควบคุม
การปลดปล่อยactiveagentให้ถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทำ�ให้กลิ่นหรือ
รส ของ active agent คงที่สม่ำ�เสมอ และทำ�ให้การขนส่ง การเคลื่อนย้าย หรือ
การเก็บรักษา active agent เป็นไปอย่างง่ายดายขึ้น
	 ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น มาช่วยในอุตสาหกรรมจริง
เช่น การนำ�แป้ง (wall material) มาห่อหุ้ม (encapsulate) ผงเครื่องต้มยำ�
(activeagent)เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศทำ�ให้ง่ายต่อการขนส่งเมื่อใส่แคปซูล
นี้ลงในน้ำ�ร้อนแป้งก็จะละลายออกหรือการทำ� encapsulationสารให้ความหอม                                                 
ต่างๆ เพื่อให้เกิดการปลดปล่อยกลิ่นเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมหรืออุณหภูมิ
ที่ต้องการ เป็นต้น
	 ทั้งนี้นาโนคอมโพสิตและเอนแคปซูเลชั่น เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
ของนาโนเทค ที่ในปัจจุบันได้มีการนำ�ไปต่อยอดและแก้ไขปัญหาในเชิงพาณิชย์
และสามารถสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆอาทิในอุตสาหกรรมเกษตร
และอาหาร อุตสาหกรรมเวชสำ�อาง และอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น
ซึ่งนาโนเทค ยังมีขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี
อีกหลากหลายสาขา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ
คุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วย
นาโนเทคโนโลยี...นวัตกรรมเปลี่ยนโลก
The Power of RD 23
NSTDA RD Directions and Technology Champions
for Commercializationfor Commercialization
Technology
Champions
Technology
Champions
NSTDANSTDA
เรื่องราวของภาคเอกชนที่มีความร่วมมือ
ด้านการวิจัยและพัฒนาหรือนำ�ผลงานวิจัยของ
ศูนย์วิจัยแห่งชาติของ สวทช. ไปต่อยอดทางธุรกิจ
นวัตกรรมสีเขียว หรือ Greenovative
Technology ในมุมมองของเขาอย่างจริงจัง
“เดิมผมท�ำธุรกิจการแก้ไขปัญหามลภาวะจาก
อุตสาหกรรม และออกแบบระบบ เช่นระบบ
บ�ำบัดน�้ำเสีย โดยการน�ำเข้าเคมีเพื่อใช้ก�ำจัด
คราบน�้ำมัน และต่อมาผมเรียนปริญญาโท
ต้องท�ำ Project จึงคิดว่าหัวข้อ “การก�ำจัด
คราบน�้ำมันโดยวิธีธรรมชาติบ�ำบัดธรรมชาติ”
น่าจะช่วยผมพัฒนาแนวคิดในการท�ำธุรกิจ
และที่ส�ำคัญเพื่อช่วยโลกจากสภาวะมลพิษ
ในทะเลจากคราบน�้ำมันปิโตรเลียม”
จุลินทรีย์ช่วยโลกได้
	 จากการค้นคว้าหาข้อมูล ดร. วสันต์
พบว่าจุลินทรีย์สามารถย่อยน�้ำมันปิโตรเลียม
ได้ จึงได้ท�ำการน�ำเข้าจุลินทรีย์มาศึกษา
ทดลอง2-3ตัวแต่พบว่ายังมีข้อจ�ำกัดอยู่มาก
นวัตกรรม
สีเขียว
เพื่อโลก
ดร. วสันต์ อริยพุทธรัตน์
ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง
บริษัท คีนน์ จ�ำกัด
	 ลก ทุกวันนี้เต็มไปด้วยมลภาวะ
ความรับผิดชอบอยู่ที่ทุกคนต้องร่วมกัน
ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการช่วยโลก
ประกอบกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ สาขา
Industrial Ecology จึงเป็นที่มาของหัวข้อ
เรื่อง “การก�ำจัดคราบน�้ำมันโดยวิธีธรรมชาติ
บ�ำบัดธรรมชาติ” และจากการค้นคว้าหา
ข้อมูล จึงพบว่าจุลินทรีย์สามารถช่วยแก้
ปัญหานี้ได้…จุลินทรีย์ช่วยโลกได้
ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ซีอีโอ
บริษัท คีนน์ จ�ำกัด ผู้น�ำด้านผลิตภัณฑ์สารชีว
บ�ำบัด แบรนด์ “KEEEN” (คีนน์) นวัตกรรม
ขจัด-บ�ำบัด-และเยียวยาในขั้นตอนเดียวซึ่งใช้
ก�ำจัดคราบน�้ำมันเล่าถึงที่มาของ เทคโนโลยี
โ
999 อาคารโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถ.พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
E-mail : info@keeen.co.th   Website : http://www.keeen.co.th
โทรศัพท์ 0 2800 2570-3   โทรสาร 0 2800 2779
26 The Power of RD
“ช่วงแรกผมใช้บริษัทเดิมในเครือ
ชื่อ บริษัท ไฮกริม อินเตอร์แนชั่นแนล จ�ำกัด”
เพื่อท�ำสัญญาการใช้สิทธิเทคโนโลยีจุลินทรีย์
ตัวที่ค้นพบ และจดแยกต่างหากเป็น
บริษัทใหม่ในเวลาต่อมา คือ “บริษัท ไฮกริม
เอ็นไวรอนเมนทอลแอนด์รีเสิร์ช จ�ำกัด”
จุดประสงค์เพื่อเข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจกับ
สวทช. และจากการเข้ารับการบ่มเพาะนี้
ผมได้รับโอกาสหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเปิด
ช่องทางให้บริษัทเล็กๆ อย่างไฮกริม ได้มี
โอกาสเข้ารับการอบรมสัมมนาจากสถาบันที่ดี
พาออกไปประกวดในเวทีนานาชาติ สร้าง
ที่ทางให้บริษัทเล็กๆ อย่างไฮกริมได้มีที่ยืน
ในตลาด”
“โอกาสที่ส�ำคัญคือการที่ผมได้เข้า
อบรมโครงการสัมมนาหนึ่งของ K-Bank ซึ่งผู้
จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะหาจุลินทรีย์ที่มี
คุณสมบัติที่ดีสามารถย่อยน�้ำมันปิโตรเลียม
ได้อย่างสมบูรณ์  จากนั้นจึงเริ่มเสาะหาผู้ที่จะ
ท�ำให้แนวความคิดเป็นจริงได้ และ สวทช.
ก็เป็นค�ำตอบ
สวทช. ผู้ช่วยแก้ปัญหาโจทย์ยาก
“ผมเริ่มเข้ามาคุยกับทีมนักวิจัย
ไบโอเทค ดร. สมเกียรติ เตชกาญจนรักษ์
และ ดร.วศิมน เรืองเล็ก และเล่าถึงแนวคิด
ที่ต้องการหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่จะตอบโจทย์
ของเราได้คือสามารถย่อยสลายโมเลกุลน�้ำมัน
ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ทิ้งคราบและกลิ่น
เราท�ำงานร่วมกัน ต้องใช้ทั้งแรงกายและ
แรงใจร่วมกันลองผิดลองถูก งานวิจัย
ต้องใช้เวลา แต่ด้วยความเชื่อมั่น ในที่สุด
หลังจากใช้เวลากว่า 2 ปี ทีมนักวิจัยจึงค้น
พบจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ได้อย่าง
ครบถ้วน”
The Power of RD 27
ที่จะเข้าสัมมนานี้ได้ต้องมีเงินฝากหรือ
ใช้สินเชื่อ 500 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทเล็กๆ
อย่างไฮกริม หากไม่มี Connection นี้คงยาก
ที่จะได้เข้าร่วมสัมมนาดีๆที่มีกูรูในหลากหลาย
ด้านมาแบ่งปันให้ความรู้ผู้ประกอบการ และ
จากสัมมนานี้ท�ำให้ผมได้เรียนรู้การสร้าง
แบรนด์จากกูรูสร้างแบรนด์ชื่อดังในระดับ
เอเชีย คือดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ท�ำให้เกิด
แบรนด์ KEEEN ในทุกวันนี้”
Greenovation สร้าง Satisfaction
นอกจากนี้ภายใต้โครงการบ่มเพาะ
ธุรกิจ ดร.วสันต์จึงร่วมโครงการโดยส่ง
ผลิตภัณฑ์เข้าประกวดและกวาดรางวัล
มาทุกเวทีที่เข้าประกวดไม่ว่าจะในหรือ
ต่างประเทศ อาทิ รางวัลเหรียญทอง ในงาน
International Invention Innovation
 Technology Exhibition 2012  
ณ ประเทศมาเลเซีย รางวัล “Grand Prize”
in Asia ในงาน Asian Science Park
Association (ASPA Award 2012)
และรางวัล The Best Innovation in
Environment ในงาน SME THAILAND
INNO AWARDS 2012 เป็นต้น
“ผมอยากฝากให้ผู้ประกอบการ
ที่ต้องการที่ยืนในตลาด ควรพาตัวเอง
ออกประกวดในงานต่างๆ โดยเฉพาะในงาน
ต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างหลักฐาน
ว่าผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับการยอมรับ
โดยทั่วไป เป็นการสร้างที่ยืนในตลาด
ที่ลงทุนน้อย”
วาง Position เป็นแบรนด์ระดับโลก
“KEEEN” ที่มี “E” 3 ตัว หมายถึง
Ecology, Environment และ Earth
พร้อมความหมายพ้องเสียงในภาษาญี่ปุ่น
แปลว่า “ทองค�ำ” น�ำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่คิด
แบบ 360 องศา หรือตอบโจทย์ได้ครบ”
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ชีวบ�ำบัดภัณฑ์ภายใต้
แบรนด์ KEEEN มีสินค้ามากกว่า 13 สูตร
ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(แท่นขุดเจาะน�้ำมัน โรงกลั่นน�้ำมัน สถานี
28 The Power of RD
บริการน�้ำมัน) อุตสาหกรรมยานยนต์
โรงพยาบาล อาหาร และที่พักอาศัย
บริษัทจะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา  
การผลิตหัวเชื้อจากนั้นจะจ้างโรงงานมาบรรจุ
การท�ำตลาดของแบรนด์ KEEEN เพื่อที่จะ
เป็นแบรนด์ระดับโลก เน้นท�ำตลาดผ่าน
ตัวแทนจ�ำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
สิงคโปร์ ศรีลังกา อินเดีย ฟินแลนด์ รัสเซีย
ซาอุดิอาระเบีย กาน่า เป็นต้น นอกจากนี้
บริษัทยังมีแผนร่วมท�ำ RDต่อยอดนวัตกรรม
กับสถาบันไบโอเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัย
เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยคาดว่า
ฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งจะท�ำให้สามารถ
ต่อยอดไปยังตลาดอื่นๆ ในระดับโลก
วางแผน 4 ปีเข้าตลาดหลักทรัพย์
ดร.วสันต์เชื่อมั่นในเรื่องระบบ
เพราะองค์กรที่จะเจริญเติบโตได้ดีต้องมีระบบ
จัดการที่ดีด้วย “เพื่อยกระดับบริษัทสู่ World
Class ผมก�ำลังน�ำระบบ ISO 9001 และ
ISO 14001 เข้ามาเพื่อรองรับการขยายงานของ
องค์กร และบริหารระบบ ISO 9001  14001
ต่อเนื่อง อีก 3 ปี จากนั้นจะน�ำบริษัทเข้า
ประกวด TQA (Thailand Quality Award)
ในอีก 4 ปีข้างหน้า ก่อนเข้าสู่องค์กรตลาดทุน
ระดับมหาชน หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI”
“KEEEN ในวันนี้เกิดขึ้นได้จาก
งานวิจัยและพัฒนา เราจึงให้ความส�ำคัญกับ
งานวิจัยมาก เพราะท�ำให้สินค้าเราแตกต่าง
อย่างยั่งยืน ที่ส�ำคัญคือท�ำให้สามารถ
แข่งขันได้ผมต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ส�ำหรับ
ผมแล้ว Success is not destination,
it’s just a journey ดังนั้นผมยังคงต้อง
พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ”
นี่คือนักสร้างสรรค์นวัตกรรม
สีเขียว ที่ท�ำให้เป็นจริงได้ในเชิงพาณิชย์
เพื่อตอบโจทย์ทั้ง Ecology, Environment
และ Earth (ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และ
โลก) อย่างแท้จริง 
The Power of RD 29
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NESDB View on ICT and Productivity
NESDB View on ICT and ProductivityNESDB View on ICT and Productivity
NESDB View on ICT and Productivityguestad02e0
 

Mais procurados (20)

S&T- Innovation and sustainable SME development
S&T- Innovation and sustainable SME developmentS&T- Innovation and sustainable SME development
S&T- Innovation and sustainable SME development
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
 
รายงานประจำปี 2560
รายงานประจำปี 2560รายงานประจำปี 2560
รายงานประจำปี 2560
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
Unit10
Unit10Unit10
Unit10
 
รายงานประจำปี สวทช. พ.ศ.2561
รายงานประจำปี สวทช. พ.ศ.2561รายงานประจำปี สวทช. พ.ศ.2561
รายงานประจำปี สวทช. พ.ศ.2561
 
NECTEC Annual Report 2014
NECTEC Annual Report 2014NECTEC Annual Report 2014
NECTEC Annual Report 2014
 
190828 royal council (5) sirirerk
190828 royal council (5) sirirerk190828 royal council (5) sirirerk
190828 royal council (5) sirirerk
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
NSTDA Commercialization 2015
NSTDA Commercialization 2015NSTDA Commercialization 2015
NSTDA Commercialization 2015
 
NSTDA Annual Report-2008
NSTDA Annual Report-2008NSTDA Annual Report-2008
NSTDA Annual Report-2008
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
NESDB View on ICT and Productivity
NESDB View on ICT and ProductivityNESDB View on ICT and Productivity
NESDB View on ICT and Productivity
 

Destaque

ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมNational Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Professional Development Programme on OER-based e-learning
Professional Development Programme on OER-based e-learningProfessional Development Programme on OER-based e-learning
Professional Development Programme on OER-based e-learningPat Toh
 
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553Satapon Yosakonkun
 
การสอนแบบเปิด1
การสอนแบบเปิด1การสอนแบบเปิด1
การสอนแบบเปิด1Apinun Nadee
 
Open Educational Resources for User
Open Educational Resources for UserOpen Educational Resources for User
Open Educational Resources for UserBoonlert Aroonpiboon
 
Digital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardDigital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardSatapon Yosakonkun
 
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...Satapon Yosakonkun
 
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นSatapon Yosakonkun
 
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์Satapon Yosakonkun
 
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStone
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStoneพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStone
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStoneSatapon Yosakonkun
 
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนSatapon Yosakonkun
 

Destaque (20)

ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
 
Smart ICT Usage
Smart ICT UsageSmart ICT Usage
Smart ICT Usage
 
TEAM of Synergy Quality
TEAM of Synergy QualityTEAM of Synergy Quality
TEAM of Synergy Quality
 
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
มาตรการสนับสนุนภาคเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
 
Professional Development Programme on OER-based e-learning
Professional Development Programme on OER-based e-learningProfessional Development Programme on OER-based e-learning
Professional Development Programme on OER-based e-learning
 
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...
การจัดทำกรอบ การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากร...
 
laminate paper
laminate paperlaminate paper
laminate paper
 
NSTDA Research 2013
NSTDA Research 2013NSTDA Research 2013
NSTDA Research 2013
 
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553
โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณปี 2553
 
NSTDA Products 2549 - 2556
NSTDA Products 2549 - 2556NSTDA Products 2549 - 2556
NSTDA Products 2549 - 2556
 
10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ - 2014 : Slide
10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ - 2014 : Slide10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ - 2014 : Slide
10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ - 2014 : Slide
 
การสอนแบบเปิด1
การสอนแบบเปิด1การสอนแบบเปิด1
การสอนแบบเปิด1
 
Saravit eMagazine 13/2557
Saravit eMagazine 13/2557Saravit eMagazine 13/2557
Saravit eMagazine 13/2557
 
Open Educational Resources for User
Open Educational Resources for UserOpen Educational Resources for User
Open Educational Resources for User
 
Digital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardDigital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forward
 
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
 
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
 
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStone
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStoneพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStone
พัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย GreenStone
 
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

Semelhante a พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D

Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017NIMT
 
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนวิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนpiyapornnok
 
01 sirirurg-songsivilai-royin-20190831
01 sirirurg-songsivilai-royin-2019083101 sirirurg-songsivilai-royin-20190831
01 sirirurg-songsivilai-royin-20190831thanaruk theeramunkong
 
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp0120140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01Por Punyaratabandhu
 
NSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Thailand
 
Thai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of TechnologyThai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of Technologypantapong
 

Semelhante a พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D (20)

Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Annual Report-2012
NSTDA Annual Report-2012NSTDA Annual Report-2012
NSTDA Annual Report-2012
 
Nstda annual 2009
Nstda annual 2009Nstda annual 2009
Nstda annual 2009
 
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนวิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 
01 sirirurg-songsivilai-royin-20190831
01 sirirurg-songsivilai-royin-2019083101 sirirurg-songsivilai-royin-20190831
01 sirirurg-songsivilai-royin-20190831
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
STKS Handbook
STKS HandbookSTKS Handbook
STKS Handbook
 
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
 
E news-agritec-july-2018-final
E news-agritec-july-2018-finalE news-agritec-july-2018-final
E news-agritec-july-2018-final
 
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp0120140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01
20140731st innovationsustainablesmedevelopment-140731103031-phpapp01
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
 
NSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology IndustryNSTDA Bio Technology Industry
NSTDA Bio Technology Industry
 
NSTDA Annual Report-2013
NSTDA Annual Report-2013NSTDA Annual Report-2013
NSTDA Annual Report-2013
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
 
Nstda 55 final
Nstda 55 finalNstda 55 final
Nstda 55 final
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
Thai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of TechnologyThai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of Technology
 
2009 stks-annual-report
2009 stks-annual-report2009 stks-annual-report
2009 stks-annual-report
 
MOST-Annual-report-2010
MOST-Annual-report-2010MOST-Annual-report-2010
MOST-Annual-report-2010
 

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 

พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D

  • 2. ที่ปรึกษา : ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้เขียน : ฝ่ายการตลาด สวทช. บรรณาธิการ : คุณวทันยา สุทธิเลิศ คณะท�ำงาน : ศรีทิพย์ อุชชิน สายทิพย์ ชัยวิวัฒน์ อาณัติ โพธิ์ภิขุ จาณิวรรณ วิริยะธรรม สุกัญญา ฉัตรแก้วมรกต ชนานันท์ คงธนาฤทธิ์ ภาวนีย์ ผลเต็ม ประสานงานการผลิต : จุฬารัตน์ นิ่มนวล งานออกแบบ ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ ผู้สนับสนุนหลัก : ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ไม่อนุญาตให้คัดลอก ท�ำซ�้ำ และดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 จ�ำนวน : 3,000 เล่ม ออกแบบรูปเล่ม : บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จ�ำกัด ผู้จัดท�ำ : ฝ่ายการตลาด ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 8000 โทรสาร 0 2564 7001 อีเมล์: mkt@nstda.or.th พลังงานวิจัย ขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน รวมความส�ำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีไทย The Power of R&D พลังงานวิจัย ขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน : The Power of R&D/ โดย ฝ่ายการตลาด สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. – กรุงเทพฯ : สไตล์ ครีเอทีฟเฮ้าส์, 2558. ภาพประกอบ ISBN: 978-616-12-0385-6 1. วิจัย 2. ธุรกิจ -- วิจัย I. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ II. ชื่อเรื่อง Q180 607.2593
  • 3.
  • 4.
  • 5. สารจากผู้บริหาร สารบัญ Contents 04 08 25 NSTDA Technology Champions for Commercialization 2 The Power of R&D ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น (NSTDA R&D Directions and Technology Champions) 08 งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเด่น 12 งานวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และเทคโนโลยีเด่น 16 งานวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเด่น 20 งานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีเด่น 26 บริษัท คีนน์ จำ�กัด 30 บริษัท เอเชียสตาร์ แอนนิมัล เฮลธ์ จำ�กัด 34 ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด แก้วสิงห์ 38 บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ไวด์ล จำ�กัด 42 บริษัท คลีน กรีนเทค จำ�กัด 46 บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด 50 บริษัท กูรูแสควร์ จำ�กัด 54 บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำ�กัด
  • 6. 59 60 บริษัท เกรทเทค ไซเบอร์เนติกส์ จำ�กัด 64 บริษัท เค.ซี.พี แอสโซซิเอท จำ�กัด 68 บริษัท คัสตอมไมซ์เทคโนโลยี จำ�กัด 72 บริษัท ซัมมิท โอโต้ บอดี้ อินดัสตรี จำ�กัด 76 บริษัท ไดโน่ อีเล็กทริค จำ�กัด 80 บริษัท โตว่องไว จำ�กัด 84 บริษัท ตลาดดอทคอม จำ�กัด 88 บริษัทไทยเด็นทอลอินเตอร์เนชั่นแนลจำ�กัด 92 บริษัท ไทยวาโก้ จำ�กัด (มหาชน) 96 บริษัท ทิฟฟานี่ เดคคอร์ จำ�กัด 100 บริษัท ที-เน็ต จำ�กัด 104 บริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำ�กัด(มหาชน) 108 กลุ่มบริษัท เฟล็กโช่รีเสิร์ช 112 บริษัท ไมโครอินโนเวต จำ�กัด 116 บริษัทมิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาลจำ�กัด 120 มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 124 บริษัท ยูนิแลมป์ จำ�กัด 128 บริษัท เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำ�กัด 132 บริษัท วิจัยและพัฒนาพอร์ลิเมอร์ จำ�กัด 136 บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำ�กัด 140 ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร 144 บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1998) จำ�กัด 148 บริษัท แอ๊ดวานซ์อาเซียน จำ�กัด 152 บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำ�กัด (มหาชน) 156 บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำ�กัด (มหาชน) 160 สรุปการใช้บริการต่างๆ (Services Index) 164 ช่องทางการติดต่อบริการต่างๆ ของสวทช. NSTDA Services Customization for Commercialization The Power of R&D 3
  • 7. สารจากผู้อำ�นวยการ ในยุคของการค้าเสรีแบบไร้พรมแดน การวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตนับเป็นปัจจัยที่สำ�คัญ ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม อันจะนำ�ไปสู่การได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืน แต่ด้วยความ เสียเปรียบในด้านต้นทุนแรงงานและด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่จำ�กัด จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทย จะต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม จากการใช้ แรงงานมาสู่การใช้ความรู้ ซึ่งมีรากฐานมาจากการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ หรือ สวทช. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่ง และเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลกโดยการส่งเสริม ให้มีการนำ�งานวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถและ ขับเคลื่อนภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ให้สามารถดำ�เนินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา สวทช.ได้ดำ�เนินการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและช่วยแก้ปัญหา ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (Solution Provider) ให้กับผู้ประกอบการใน ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) ผ่านบริการต่างๆ มากมาย ภายใต้การดำ�เนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเฉพาะทาง 4ศูนย์ได้แก่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 4 The Power of R&D
  • 8. แห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดยมีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) ทำ�หน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในการนำ�งานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ ไปใช้ต่อยอดทางธุรกิจ และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แบบครบวงจร พร้อมด้้วยกลไกสนับสนุนทางการเงินและให้ สิทธิประโยชน์ทางภาษี หนังสือรวบรวมผลงานความร่วมมือเด่นระหว่าง สวทช. และภาคเอกชน เล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นภายใต้แนวคิด “The Power of R&D: พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน” เพื่อรวบรวมบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารธุรกิจใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม จำ�นวน 33 บริษัท ที่เป็นตัวอย่างของภาคเอกชนที่มีความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และมีการรับบริการกลไกสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ของ สวทช. ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชนทั้งบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) รวมถึง เป็นแบบอย่างของการดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาคธุรกิจไทยในการก้าวเข้าสู่การทำ�ธุรกิจ บนพื้นฐานของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยและพัฒนา อันจะส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และสามารถ เติบโตได้อย่างยั่งยืน และสร้างความตระหนักถึงกลไกสนับสนุนต่างๆ ของ สวทช. ผมได้มอบนโยบายให้ สวทช. เป็นองค์กรเปิด และบุคลากรทุกคนใน สวทช. ต้อง มุ่งทำ�งานเพื่อชาติ สวทช. ขอประกาศความพร้อมในการให้บริการ และการมีบทบาท ในการช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ ผู้ประกอบการไทย ให้ยืนหยัดในเวทีการค้าเสรีได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของ สวทช. ที่ตั้งไว้ว่า The Power of R&D 5 “ สวทช. เป็นพันธมิตรร่วมทางที่ดี สู่สังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ”
  • 9. พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management Center: ทีเอ็มซี) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีภารกิจหลัก ในการบริหารจัดการเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่ การกำ�หนดโจทย์วิจัย บริหารงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนำ�ผลงานวิจัยไปใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงมีกลไกสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา สำ�หรับภาคเอกชน ทั้งด้านการเงิน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้าน การพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลการดำ�เนินงานที่ผ่านมาของทีเอ็มซี มีกรณีตัวอย่างความสำ�เร็จ ของความร่วมมืออยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งได้รวบรวมไว้ใน บทสัมภาษณ์ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. NSTDA Technology Champions for Commercialization: รวบรวมตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของ ภาคเอกชนจำ�นวน 8 บริษัท ที่มีความร่วมมือด้านการ วิจัยและพัฒนา หรือนำ�ผลงานวิจัยของ 4 ศูนย์วิจัย แห่งชาติของ สวทช. ไปต่อยอดทำ�ให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการเดิมหรือ แก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเดิมได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำ�นวยการ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี 6 The Power of R&D
  • 10. 2. NSTDA Services Customization for Commercialization: รวบรวม ตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของภาคเอกชนจำ�นวน 25 บริษัท ที่เข้ารับบริการและ กลไกสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ภายใต้การดำ�เนินงานของทีเอ็มซี อาทิเช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ กลไกทางการเงินและทางภาษีเพื่องานวิจัยและพัฒนา การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้คำ�ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี และการบ่มเพาะ ธุรกิจเทคโนโลยี เป็นต้น รวมถึงการใช้บริการวิเคราะห์ทดสอบต่างๆ การดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) นั้น ถือเป็นแนวทางการดำ�เนินธุรกิจที่นอกจากจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ให้กับผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นหนทางแห่งการสร้างความยั่งยืนและเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำ�คัญที่มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และทีเอ็มซี ก็มี ความมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงสนับสนุนภาคเอกชนไทย เพื่อให้ก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้ง ด้านการเงิน - บริการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ - บริการรับรองโครงการวิจัยเพื่อยกเว้น ภาษี 300% - เงินร่วมลงทุน - กองทุนเพื่อพัฒนา STI ด้านเทคโนโลยี - บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี - บริการวิเคราะห์ทดสอบ - บริการรับจ้างวิจัยและร่วมวิจัย ฯลฯ ด้านกำาลังคน - บริการฝึกอบรมและพัฒนากำลังคน - บริการฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ด้านโครงสร้างพืนฐาน - บริการพื้นที่เช่าเพื่อทำงานวิจัย - บริการศูนย์ประชุมอุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย ด้านธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา - บ่มเพาะธุรกิจและเทคโนโลยี - การถ่ายทอดเทคโนโลยีและใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา The Power of RD 7 บริการสำ�หรับภาคเอกชน
  • 11. Biotechnology RD @ NSTDA งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค เป็นศูนย์วิจัยแห่งชาติ 1 ใน 4 ศูนย์ ที่มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในเรื่องของการวิจัยและการพัฒนา และการสร้างความตระหนัก ด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคม โดยมีนโยบายมุ่งสนับสนุนและผลักดัน ให้มีการนำ�องค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ ภาคอุตสาหกรรมไทย ในสาขาอาหารและเกษตร ยาและเวชภัณฑ์ และ สิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพที่มี ความหลากหลายและยืดหยุ่นเพื่อรองรับกับความต้องการของภาคเอกชน โดยมีหน่วยปฏิบัติการวิจัย ซึ่งจัดตั้งอยู่ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยและหน่วยปฏิบัติการร่วมที่ตั้งในมหาวิทยาลัยหรือหน่วย งานของรัฐในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเฉพาะทางทั่วประเทศ กว่า 20 หน่วยปฏิบัติการวิจัย ไบโอเทคดำ�เนินการวิจัยทั้งการพัฒนาขีดความสามารถ ด้านเทคโนโลยีฐานได้แก่เทคโนโลยีจีโนมิกส์โปรตีโอมิกส์เมตะโบโลมิกส์ ไมโครอะเรย์ชีวสารสนเทศเทคโนโลยีการออกแบบการแสดงออกของยีน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์ เทคโนโลยีการถ่ายยีน ตลอดจนการทำ�วิจัย เชิงประยุกต์ในด้านต่างๆ ดังนี้ 8 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 12. สนใจติดต่อ: ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3301-3306 โทรสาร 0 2564 6701 เว็บไซต์ http://www.biotec.or.th ด้านอาหารและการเกษตร มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยให้ความสำ�คัญกับพืช สัตว์ และ อุตสาหกรรมที่มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำ�ปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำ�มัน กุ้ง ฯลฯ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในระดับชีววิทยาโมเลกุลโดย เน้นเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่และอุบัติช้ำ�ที่สำ�คัญและเป็น ปัญหาของประเทศ เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยโรค พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค นอกจากนั้นยัง มีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเพื่อการทำ�นาย ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการบำ�บัดและฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลิตพลังงานทดแทน ด้านทรัพยากรชีวภาพ มุ่งเน้นงานวิจัยทรัพยากรจุลินทรีย์แบบเชื่อมโยงและครบวงจร ตั้งแต่การเก็บตัวอย่างการจำ�แนกและแยกชนิดให้บริสุทธิ์การจัดเก็บ การพัฒนากระบวนการเลี้ยงและเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาและ ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ The Power of RD 9 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 13. จุลินทรีย์ (Microorganism) ไบโอเทค ได้ดำ�เนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์สูงสุดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้เทคโนโลยี ต่างๆ เพื่อดำ�เนินงานวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาทรัพยากร ชีวภาพ เทคโนโลยีการคัดแยกและการจัดจำ�แนกอนุกรมวิธาน เทคโนโลยี การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำ�ไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยี การค้นหายีนจากสิ่งแวดล้อมโดยตรงด้วยเทคนิคเมตาจีโนมทำ�ให้สามารถ ค้นหายีนจากธรรมชาติที่มีระบบนิเวศเฉพาะตัว เช่น บ่อน้ำ�พุร้อน และลำ�ไส้ ปลวก เทคโนโลยีการสังเคราะห์สารและดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการขยายขนาดการ ผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิด ใหม่ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเป็น ยา เอนไซม์ สารมูลค่าสูง หรือสารชีวภัณฑ์ปราบ แมลงศัตรูพืช เพื่อการใช้ประโยชน์ใน อุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของไบโอเทค เทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ ได้แก่ จุลินทรีย์ อย่างมีประสิทธิภาพ 10 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 14. 1. สารชีวภัณฑ์จากราแมลง ที่มีความจำ�เพาะต่อกลุ่มแมลงศัตรูพืช สามารถ ใช้เป็นสารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตราย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยไบโอเทคได้ค้นพบเชื้อBeauveriabassianaที่มีศักยภาพในการควบคุม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล เป็นต้น 2. สูตรเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น หัวเชื้อสำ�หรับการผลิตแหนมซึ่งจะทำ�ให้อาหารมีคุณภาพสม่ำ�เสมอและ ปลอดภัยกับผู้บริโภค หรือประยุกต์การใช้เอนไซม์เพื่อลดระยะเวลาในการ หมักน้ำ�ปลา เป็นต้น 3.อาหารเสริมชีวภาพจากจุลินทรีย์สำ�หรับเติมในอาหารสัตว์ซึ่งมีจุลินทรีย์ หลายชนิดใน Biotec Culture Collection ที่มีคุณสมบัติในการผลิต สารสำ�คัญซึ่งสามารถใช้เป็นอาหารเสริมของสัตว์ได้ 5. เอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมผ้า และการใช้ เอนไซม์ที่ได้จากเทคนิคเมตาจีโนมในอุตสาหกรรมฟอกเยื่อกระดาษเพื่อลด การใช้สารเคมี 4. สายพันธุ์จุลินทรีย์ ที่มีความสามารถในการย่อยสลายคราบน้ำ�มัน ซึ่ง มีการผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับ ภาคสนาม นอกจากนี้ไบโอเทคยังมีการจัดตั้ง“ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย”(ThailandBioresource Research Center หรือ TBRC) เพื่อให้บริการแก่ อาจารย์ นักวิจัย หรือภาคเอกชนต่างๆ ที่ประสงค์จะนำ� จุลินทรีย์ไปใช้ทั้งเพื่อวิจัยพัฒนา และต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้วยมาตรฐานเทียบเท่ากับธนาคารจุลินทรีย์ระดับโลก โดยในปัจจุบันมีภาคเอกชนหลายๆ บริษัทที่มีความร่วมมือกับไบโอเทค สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ความสำ�คัญและประโยชน์ของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์...สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่แม้ตาเปล่ายังมองไม่เห็น แต่สร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ได้ The Power of RD 11 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 15. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค มุ่งพัฒนางานด้าน เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี โลหะและวัสดุ มีการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และความชำ�นาญทางด้าน วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีวัสดุ และองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลกระทบ เชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจและสังคม สิ่งแวดล้อมและประชาชน นอกจากนี้เอ็มเทคยังเป็นศูนย์กลางทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ ทั้งในส่วนของข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยทำ�หน้าที่ประสาน และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระหว่างนักวิจัยของศูนย์ฯ และนักวิจัยจาก หน่วยงานภายนอกตลอดจนผู้ใช้เทคโนโลยีในกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีการให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งการจัดฝึกอบรมการวิเคราะห์ทดสอบ และการแก้ปัญหาทางภาคการผลิต ปัจจุบัน เอ็มเทค มีหน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุที่ตั้งขึ้น จำ�นวน 7 หน่วยวิจัย พร้อมด้วย 2 หน่วยเฉพาะทาง และอีก 1 หน่วยวิเคราะห์ ลักษณะเฉพาะของวัสดุ Metal and Materials RD @ NSTDA งานวิจัยด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 12 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 16. แผนงานวิจัยมุ่งเป้าของเอ็มเทค จำ�นวน 8 แผนงานวิจัยได้แก่ 1 2 4 การผลิตยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยาง “สีเขียว” เป้าหมาย: เพื่อช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนา กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องของประเทศให้ปลอดภัยส่งเสริม คุณภาพชีวิตและคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น เป้าหมาย: เพื่อใช้ศาสตร์ด้านรีโอโลยี (การไหลของวัสดุ) ช่วยในการ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารสำ�เร็จรูปพร้อมรับประทาน และ อาหารพร้อมรับประทานสำ�หรับผู้สูงอายุ ด้วยการปรับโครงสร้างของ อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต โดยรวมมากขึ้น เป้าหมาย: เพื่อผลิตวัสดุทดแทนกระดูกสำ�หรับการรักษาและ เสริมสร้างกระดูกในรูปแบบต่างๆที่หลากหลายขึ้นในประเทศสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยใน ระยะยาวได้ เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาอุปกรณ์และระบบการออกกำ�ลังกาย และฟื้นฟู ที่เหมาะสมในระยะยาวสำ�หรับผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพอาหารไทย โดยใช้ศาสตร์ด้านรีโอโลยี การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์สำ�หรับการรักษาและสร้างเสริมกระดูก การพัฒนาอุปกรณ์และระบบการออกกำ�ลังกายและฟื้นฟูสำ�หรับผู้สูงอายุ 3 The Power of RD 13 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 17. สนใจติดต่อ: ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติิ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 114 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4785-4789 โทรสาร 0 2564 6504 เว็บไซต์ http://www.mtec.or.th แผนงานวิจัยมุ่งเป้าของเอ็มเทค จำ�นวน 8 แผนงานวิจัย (ต่อ) เป้าหมาย:เพื่อการใช้งานผลิตสินค้าต่างๆ ที่ต้องการใช้วัสดุ น้ำ�หนักเบา เพื่อเพิ่มสมบัติบางอย่างของผลิตภัณฑ์โดยยังคงรักษาคุณภาพมาตรฐาน เอาไว้ในภาคอุตสาหกรรม เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยยกระดับงานด้านวิศวกรรม ของภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้ข้อมูลการคำ�นวนและสร้างแบบจำ�ลอง เชิงโครงสร้างต่างๆ ของงานวิศวกรรมด้วยผลงานของนักวิจัยไทย ให้มีการใช้งานได้จริงในระดับมาตรฐานสากลสามารถลดภาระค่าใช้จ่าย ชุดซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เป้าหมาย: เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการกักเก็บพลังงาน เพื่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการใช้งานด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพและลด มลภาวะในระยะยาว เป้าหมาย: เพื่อพัฒนา ทั้งเทคนิคการตรวจสอบ ความเชี่ยวชาญ ด้านการวิเคราะห์ เพื่อประเมินและป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วน โลหะและอุปกรณ์สำ�หรับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องในระยะยาว การพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะน้ำ�หนักเบา การประดิษฐ์และพัฒนาชุดซอฟต์แวร์เพื่อช่วยในการออกแบบและ วิเคราะห์งานทางวิศวกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าเคมีเพื่อระบบการกักเก็บพลังงาน การพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบและป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วน ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 5 6 7 8 14 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 18. ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของเอ็มเทค วัสดุเฉพาะทาง (Functional Materials) วัสดุก็คือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง เราอาจแบ่งประเภทของวัสดุรอบตัวเรา ออกได้เป็น พอลิเมอร์ เซรามิก โลหะ และวัสดุผสม กลุ่มพอลิเมอร์ ได้แก่ พลาสติก ยาง สารเคลือบผิว และสิ่งทอ วัสดุเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์ ถ้าพิจารณาจากโครงสร้างก็คือวัสดุที่มีโครงสร้างพื้นฐานหลัก เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน คุณสมบัติหลักคือ น้ำ�หนักเบา ทนต่อแรงดึง ไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนกลุ่ม เซรามิกจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่นหิน ดิน ทราย แร่ต่างๆ คุณสมบัติคือ ทนอุณหภูมิสูง ทนการกัดกร่อน ทนการขัดสี และกลุ่มโลหะเป็นสารอนินทรีย์เช่นกัน มี 2 ประเภทคือ โลหะที่เป็นเหล็ก และโลหะ ที่ไม่ใช่เหล็ก มีคุณสมบัตินำ�ไฟฟ้าและความร้อนดีมาก ส่วนวัสดุผสมนั้นคือการผสมวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไป วัสดุผสมส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยสารเติมแต่ง วัสดุเสริมแรง หรือสารเชื่อมประสาน โดยส่วนใหญ่ วัสดุผสมจะถูกออกแบบให้รวมลักษณะเฉพาะหรือคุณสมบัติที่ดีที่สุดของวัสดุแต่ละชนิด ที่เป็นองค์ประกอบเข้าด้วยกัน การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมต้องคำ�นึงถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ของงานแต่ละประเภท คุณสมบัติสำ�คัญที่ใช้พิจารณาเลือกวัสดุอาจแบ่งออกได้เป็น เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และเกิดประสิทธิภาพ สูงสุดจึงเกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณสมบัติ โครงสร้างกระบวนการผลิตและการออกแบบของวัสดุ อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุโดยให้บริการด้านการฝึกอบรมการวิจัยและพัฒนา การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ และให้บริการด้านวิชาการ เพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ตัวอย่างความก้าวหน้าทางวัสดุซึ่งหลายท่านอาจเคยได้ยินคำ�ว่าวัสดุฉลาด(smartmaterials) เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถยืดอายุผักและผลไม้ หรือการพัฒนาด้านวัสดุการแพทย์ เพื่อใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำ�ร้อนลวก เป็นต้น 2. คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นลักษณะภายนอกที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือ โดยใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น สี ความหนาแน่น จุดหลอมเหลว เป็นต้น 3. คุณสมบัติเชิงกล เป็นสมบัติของวัสดุเมื่อถูกกระทำ�ด้วยแรง เช่น ความสามารถ ในการยืดหดตัว ความแข็ง เป็นต้น 1. คุณสมบัติทางเคมี จะบอกถึงโครงสร้างและองค์ประกอบธาตุที่เกิดเป็นวัสดุนั้น The Power of RD 15 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 19. Electronics and Computer Technology RD @ NSTDA งานวิจัยพัฒนา ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โดยสร้างเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ พร้อมทั้ง ดำ�เนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยในปัจจุบันมีหน่วยวิจัยและพัฒนา จำ�นวน 8 หน่วย คือ หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสาร และการคำ�นวณ หน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ หน่วยวิจัย เทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม หน่วยวิจัยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง หน่วยวิจัย อุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ หน่วยพัฒนานวัตกรรมและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยหน่วยวิจัยและพัฒนาทั้ง 8 หน่วย ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิจัยจำ�นวน 31 ห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพัฒนาและ ให้บริการคือ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ งานรับรองคุณภาพ บริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และ อิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ 16 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 20. 7 กลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ของประเทศ เนคเทคได้กำ�หนดแผนการดำ�เนินงานด้านงานวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อโจทย์ของ ประเทศและคลัสเตอร์ สวทช. รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อผลักดันผลงานการวิจัยและพัฒนาไปสู่ การใช้ประโยชน์ที่ไม่จำ�กัดเฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไมโครชิปและอิเล็กทรอนิกส์โดยมี7กลุ่ม เป้าหมาย คือ สนใจติดต่อ: ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2346-2351, 2382, 2399 โทรสาร 0 2564 6901-3 เว็บไซต์ http://www.nectec.or.th กลุ่มการเกษตรและอาหาร มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยมุ่งเน้นด้านระบบสารสนเทศ เครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคการเกษตร ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมุ่งรักษาฐาน อุตสาหกรรมเดิมและมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตที่สร้างรายได้ใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม การบริการรูปแบบใหม่ บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำ�นวยความสะดวก ในภาคอุตสาหกรรมบริการ กลุ่มทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบควบคุม การใช้พลังงานระบบการจัดเก็บพลังงานและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเพื่อลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มชุมชน ชนบทและผู้ด้อยโอกาส มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบและ โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึง แหล่งความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมรวมทั้งพัฒนาอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำ�งานร่วมกับโซล่าร์เซลล์ เพื่อลดต้นทุน มีความทนทาน ให้เหมาะสมกับ การใช้งานในชุมชนห่างไกล กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบบูรณาการข้อมูล เพื่อบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางการ แพทย์ เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวัง กลุ่มความมั่นคง มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านระบบหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งความปลอดภัยของการใช้คอมพิวเตอร์ ในสังคมออนไลน์ (Cybersecurity) 1 2 3 4 5 6 7 The Power of RD 17 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 21. ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของเนคเทค การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำ�ให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจภาษามนุษย์ หรือเรียกอีกอย่างว่า “การประมวลผลภาษาธรรมชาติ” (Natural Language Processing: NLP) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายๆ แขนง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา วิศวกรไฟฟ้า และสถิติ โดยที่ทางคอมพิวเตอร์ จะเน้นการศึกษาในเรื่องของการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เรื่องของการแทนรูป ความรู้ และเรื่องของเทคนิคต่างๆ ของการแจงส่วนประโยค เป็นต้น การประมวลผล ภาษาธรรมชาติเป็นระบบที่จะช่วยทำ�ให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาธรรมชาติ ของมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและแปลงคำ�สั่งที่เป็นภาษา ในชีวิตประจำ�วันเป็นรูปแบบความรู้ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำ�ไปใช้งานได้ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) โปรแกรมเรียงลำ�ดับคำ�ไทย โปรแกรมตัดคำ� ภาษาไทยโปรแกรมการสืบค้นคำ�ไทยโปรแกรมการสืบค้นคำ�ไทยตามเสียงอ่านเป็นต้น ประโยชน์ที่ได้จากการทำ�ให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ ด้วยภาษามนุษย์เองนั้นส่งผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างสะดวก มากยิ่งขึ้น โดยคอมพิวเตอร์จะเข้ามาช่วยในงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา ได้มากขึ้น เช่น เป็นเครื่องแปลภาษามนุษย์จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง (Machine Translation) การตรวจสอบและวิเคราะห์เอกสารต่างๆ รวมไปถึงช่วยสรุป ประเด็นและสาระสำ�คัญที่ปรากฏในเอกสารนั้นๆ เป็นต้น 18 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 22. ในปัจจุบันแนวโน้มการวิจัยด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติใช้เทคนิค ที่เรียกว่าการเรียนรู้ด้วยเครื่อง หรือ Machine learning ซึ่งจะต้องเรียนรู้ข้อมูล ภาษาจากข้อมูลจริง หรือที่เรียกว่าคลังข้อความ โดยมีการจัดเตรียมคลังข้อความ แบบต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยแต่ละเรื่อง การจัดสร้างคลังข้อความที่มี การกำ�กับข้อมูลไว้แล้วนั้น เป็นงานที่ใช้ทั้งทรัพยากร เวลา และบุคลากร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาและการนำ�ไปประยุกต์ใช้งานจริง ในภาคสังคมและอุตสาหกรรมมากขึ้น เนคเทคจึงได้จัดทำ�สร้างคลังข้อมูล เพื่อการวิจัยและพัฒนาขึ้นโดยมุ่งเป้าหมายให้กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สถาบัน การศึกษาบริษัทเอกชนและหน่วยงานพันธมิตรวิจัยนำ�ข้อมูลงานวิจัยและพัฒนาของ เนคเทคที่ผ่านมาไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆช่วยลดต้นทุนการวิจัยพัฒนา ให้กับองค์กรต่างๆ อีกทั้งยังมีผลงานวิจัยและพัฒนาที่เริ่มต้นจากการประยุกต์ ใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านดังกล่าวอีกหลายๆ ผลงาน อาทิ TVIS ระบบรายงาน สภาพจราจรและเหตุการณ์รอบตัวด้วยเสียงพูด VAJA ซอฟต์แวร์สังเคราะห์ เสียงพูดภาษาไทย หรือ S-Sense ระบบวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มลูกค้าบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น ซึ่งได้มีภาคเอกชนการนำ�ไปต่อยอด ออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว The Power of RD 19 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 23. Nano-Technology RD @NSTDA การวิจัยพัฒนา ด้านนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค มุ่งพัฒนางานวิจัยและ พัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาศักยภาพและกำ�ลังคนด้านนาโนเทคโนโลยี การเผยแพร่และถ่ายทอด ความรู้และเทคโนโลยีด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจและประชาชน อีกทั้งกำ�หนด ทิศทางงานวิจัย การผลักดันนโยบายและกลยุทธ์ด้านนาโนศาสตร์และ นาโนเทคโนโลยีของประเทศให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยในปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการ ด้านนาโนเทคโนโลยีเฉพาะทางต่างๆ จำ�นวน 14 ห้องปฏิบัติการ การดำ�เนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีเป็นภารกิจสำ�คัญ ของนาโนเทค โดยทิศทางของงานวิจัยและพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย (พ.ศ. 2555 - 2564) คือ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยดำ�เนินตามกรอบแผนกลยุทธ์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยสอดคล้องและ อยู่ภายใต้แผนกลยุทธ์ของสวทช.ซึ่งนาโนเทคมีงานวิจัยมุ่งเป้า(FlagshipProgram) 10 โครงการ ดังนี้ 20 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 24. Future Energy เป้าหมาย: เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ Mosquito Control เป้าหมาย: คนไทยเป็นโรคจากยุงลดลงร้อยละ 25 Clean Water เป้าหมาย: เปลี่ยนน้ำ�สกปรกที่ปนเปื้อนเป็นน้ำ�ดื่มสะอาดที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง น้ำ�สะอาด แม้ในยามเกิดภัยพิบัติ Silk Thai Treasure เป้าหมาย: สร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำ�กาวไหมไทย ลดการทิ้งน้ำ�กาวไหมได้ 30,000 ลิตรภายใน ปี 2559 (คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์จากยอดน้ำ�กาวไหมเหลือทิ้งของประเทศ 300,000 กิโลกรัม ต่อปีของกรมหม่อนไหม) Clean Air เป้าหมาย: เฝ้าระวัง เตือนภัยและพัฒนาคุณภาพอากาศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย Nano Textile เป้าหมาย: สร้างรายได้ให้กับสิ่งทอพื้นบ้าน (สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอ) เพิ่มมูลค่าสิ่งทอไทย จาก 5,000 ล้านบาท เป็น 7,000 ล้านบาท พัฒนากำ�ลังคนและสร้างงาน 10,000 คน สร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ Smart Soil and Fertilizers เป้าหมาย: เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ด้วยการลดต้นทุนการผลิต โดยรวมลงร้อยละ 20 และเพิ่มผลผลิตต่อไร่เป็นร้อยละ 20 Smart Health เป้าหมาย: ลดอัตราการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เป็นปัญหาสำ�คัญของคนไทย Nano Mark เป้าหมาย: เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผลิตภัณฑ์นาโนเป้าหมาย (เครื่องสำ�อาง ผลิตภัณฑ์ อาหาร และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย) ของไทย ให้มีมาตรฐานด้านคุณภาพและ ความปลอดภัย Food Quality เป้าหมาย: การลดของเสียในอุตสาหกรรมผลไม้และอาหารอื่นโดยวิธีการควบคุมคุณภาพ ยกระดับคุณภาพหรือมาตรฐานอาหารที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อการค้าในประเทศและการส่งออก โดยมีการนำ�ผลิตภัณฑ์ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 The Power of RD 21 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 25. ตัวอย่างเทคโนโลยีเด่นของนาโนเทค วัสดุผสมระดับนาโน (Nanocomposite) วัสดุผสมระดับนาโน หรือนาโนคอมโพสิต (Nanocomposite) เป็นการ เรียกวัสดุผสมที่มีการเติมวัสดุระดับนาโนขนาดอนุภาคจิ๋วระดับ 1-100นาโนเมตร (1 นาโนเมตร = 10-9 เมตร) ลงไป ทั้งนี้วัสดุระดับนาโนที่ถูกใส่เข้าไปนั้น เพื่อปรับปรุงสมบัติของวัสดุนั้นให้ดียิ่งขึ้นและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีนาโนคอมโพสิตเข้ามามีบทบาทอย่างมากในหลาย อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำ�อาง รถยนต์ พลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ และ การแพทย์ เป็นต้น ตัวอย่างวัสดุระดับนาโนที่นิยมเติมลงไปเพื่อปรับปรุงสมบัติของวัสดุ ได้แก่ คาร์บอนนาโนทิวบ์(Carbon-nanotube)นาโนเคลย์(Nanoclay)อนุภาคซิลเวอร์ นาโน (Siver nanoparticles) เป็นต้น สนใจติดต่อ: ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111 หมู่ 9 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 7100 ต่อ 6650 โทรสาร 0 2564 6985 เว็บไซต์ http://www.nanotec.or.th 22 The Power of RD ทิศทางการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. และตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น
  • 26. เอนแคปซูเลชั่น (Encapsulation) เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น ได้เริ่มมีการนำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มาเป็นเวลากว่า 60 ปี และแพร่หลายไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ เกษตร สิ่งทอ เคมี และเครื่องสำ�อาง เป็นต้น ซึ่งคำ�ว่า Encapsulationนั้นถ้าแปลกันตรงๆ ตัวมีความหมายว่าการถูกห่อหุ้มอย่างมิดชิด ดังนั้นในวงการอุตสาหกรรมจะหมายถึง กระบวนการที่สารบางชนิดในสถานะ ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซก็ได้ ถูกเคลือบ ยึด จับ หรือ ห่อหุ้มอย่างมิดชิด ด้วยสารชนิดอื่น สารที่ถูกเคลือบอาจถูกเรียกว่า active agent, core material หรือ internal phase ส่วนสารที่นำ�มาเคลือบจะถูกเรียกว่า wall material, carrier, membrane shell หรือ coating กระบวนการดังกล่าวนี้มีประโยชน์คือ ช่วยลดความว่องไวต่อปฏิกิริยา, ลดการระเหย และ ลดปริมาณการใช้ active agent ลงได้ นอกจากนี้ยังควบคุม การปลดปล่อยactiveagentให้ถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทำ�ให้กลิ่นหรือ รส ของ active agent คงที่สม่ำ�เสมอ และทำ�ให้การขนส่ง การเคลื่อนย้าย หรือ การเก็บรักษา active agent เป็นไปอย่างง่ายดายขึ้น ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น มาช่วยในอุตสาหกรรมจริง เช่น การนำ�แป้ง (wall material) มาห่อหุ้ม (encapsulate) ผงเครื่องต้มยำ� (activeagent)เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศทำ�ให้ง่ายต่อการขนส่งเมื่อใส่แคปซูล นี้ลงในน้ำ�ร้อนแป้งก็จะละลายออกหรือการทำ� encapsulationสารให้ความหอม ต่างๆ เพื่อให้เกิดการปลดปล่อยกลิ่นเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมหรืออุณหภูมิ ที่ต้องการ เป็นต้น ทั้งนี้นาโนคอมโพสิตและเอนแคปซูเลชั่น เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีเด่น ของนาโนเทค ที่ในปัจจุบันได้มีการนำ�ไปต่อยอดและแก้ไขปัญหาในเชิงพาณิชย์ และสามารถสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆอาทิในอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร อุตสาหกรรมเวชสำ�อาง และอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น ซึ่งนาโนเทค ยังมีขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี อีกหลากหลายสาขา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วย นาโนเทคโนโลยี...นวัตกรรมเปลี่ยนโลก The Power of RD 23 NSTDA RD Directions and Technology Champions
  • 27.
  • 29. นวัตกรรมสีเขียว หรือ Greenovative Technology ในมุมมองของเขาอย่างจริงจัง “เดิมผมท�ำธุรกิจการแก้ไขปัญหามลภาวะจาก อุตสาหกรรม และออกแบบระบบ เช่นระบบ บ�ำบัดน�้ำเสีย โดยการน�ำเข้าเคมีเพื่อใช้ก�ำจัด คราบน�้ำมัน และต่อมาผมเรียนปริญญาโท ต้องท�ำ Project จึงคิดว่าหัวข้อ “การก�ำจัด คราบน�้ำมันโดยวิธีธรรมชาติบ�ำบัดธรรมชาติ” น่าจะช่วยผมพัฒนาแนวคิดในการท�ำธุรกิจ และที่ส�ำคัญเพื่อช่วยโลกจากสภาวะมลพิษ ในทะเลจากคราบน�้ำมันปิโตรเลียม” จุลินทรีย์ช่วยโลกได้ จากการค้นคว้าหาข้อมูล ดร. วสันต์ พบว่าจุลินทรีย์สามารถย่อยน�้ำมันปิโตรเลียม ได้ จึงได้ท�ำการน�ำเข้าจุลินทรีย์มาศึกษา ทดลอง2-3ตัวแต่พบว่ายังมีข้อจ�ำกัดอยู่มาก นวัตกรรม สีเขียว เพื่อโลก ดร. วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท คีนน์ จ�ำกัด ลก ทุกวันนี้เต็มไปด้วยมลภาวะ ความรับผิดชอบอยู่ที่ทุกคนต้องร่วมกัน ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการช่วยโลก ประกอบกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ สาขา Industrial Ecology จึงเป็นที่มาของหัวข้อ เรื่อง “การก�ำจัดคราบน�้ำมันโดยวิธีธรรมชาติ บ�ำบัดธรรมชาติ” และจากการค้นคว้าหา ข้อมูล จึงพบว่าจุลินทรีย์สามารถช่วยแก้ ปัญหานี้ได้…จุลินทรีย์ช่วยโลกได้ ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ซีอีโอ บริษัท คีนน์ จ�ำกัด ผู้น�ำด้านผลิตภัณฑ์สารชีว บ�ำบัด แบรนด์ “KEEEN” (คีนน์) นวัตกรรม ขจัด-บ�ำบัด-และเยียวยาในขั้นตอนเดียวซึ่งใช้ ก�ำจัดคราบน�้ำมันเล่าถึงที่มาของ เทคโนโลยี โ 999 อาคารโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 E-mail : info@keeen.co.th Website : http://www.keeen.co.th โทรศัพท์ 0 2800 2570-3 โทรสาร 0 2800 2779 26 The Power of RD
  • 30. “ช่วงแรกผมใช้บริษัทเดิมในเครือ ชื่อ บริษัท ไฮกริม อินเตอร์แนชั่นแนล จ�ำกัด” เพื่อท�ำสัญญาการใช้สิทธิเทคโนโลยีจุลินทรีย์ ตัวที่ค้นพบ และจดแยกต่างหากเป็น บริษัทใหม่ในเวลาต่อมา คือ “บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอลแอนด์รีเสิร์ช จ�ำกัด” จุดประสงค์เพื่อเข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจกับ สวทช. และจากการเข้ารับการบ่มเพาะนี้ ผมได้รับโอกาสหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเปิด ช่องทางให้บริษัทเล็กๆ อย่างไฮกริม ได้มี โอกาสเข้ารับการอบรมสัมมนาจากสถาบันที่ดี พาออกไปประกวดในเวทีนานาชาติ สร้าง ที่ทางให้บริษัทเล็กๆ อย่างไฮกริมได้มีที่ยืน ในตลาด” “โอกาสที่ส�ำคัญคือการที่ผมได้เข้า อบรมโครงการสัมมนาหนึ่งของ K-Bank ซึ่งผู้ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะหาจุลินทรีย์ที่มี คุณสมบัติที่ดีสามารถย่อยน�้ำมันปิโตรเลียม ได้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นจึงเริ่มเสาะหาผู้ที่จะ ท�ำให้แนวความคิดเป็นจริงได้ และ สวทช. ก็เป็นค�ำตอบ สวทช. ผู้ช่วยแก้ปัญหาโจทย์ยาก “ผมเริ่มเข้ามาคุยกับทีมนักวิจัย ไบโอเทค ดร. สมเกียรติ เตชกาญจนรักษ์ และ ดร.วศิมน เรืองเล็ก และเล่าถึงแนวคิด ที่ต้องการหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่จะตอบโจทย์ ของเราได้คือสามารถย่อยสลายโมเลกุลน�้ำมัน ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ทิ้งคราบและกลิ่น เราท�ำงานร่วมกัน ต้องใช้ทั้งแรงกายและ แรงใจร่วมกันลองผิดลองถูก งานวิจัย ต้องใช้เวลา แต่ด้วยความเชื่อมั่น ในที่สุด หลังจากใช้เวลากว่า 2 ปี ทีมนักวิจัยจึงค้น พบจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ได้อย่าง ครบถ้วน” The Power of RD 27
  • 31. ที่จะเข้าสัมมนานี้ได้ต้องมีเงินฝากหรือ ใช้สินเชื่อ 500 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทเล็กๆ อย่างไฮกริม หากไม่มี Connection นี้คงยาก ที่จะได้เข้าร่วมสัมมนาดีๆที่มีกูรูในหลากหลาย ด้านมาแบ่งปันให้ความรู้ผู้ประกอบการ และ จากสัมมนานี้ท�ำให้ผมได้เรียนรู้การสร้าง แบรนด์จากกูรูสร้างแบรนด์ชื่อดังในระดับ เอเชีย คือดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ท�ำให้เกิด แบรนด์ KEEEN ในทุกวันนี้” Greenovation สร้าง Satisfaction นอกจากนี้ภายใต้โครงการบ่มเพาะ ธุรกิจ ดร.วสันต์จึงร่วมโครงการโดยส่ง ผลิตภัณฑ์เข้าประกวดและกวาดรางวัล มาทุกเวทีที่เข้าประกวดไม่ว่าจะในหรือ ต่างประเทศ อาทิ รางวัลเหรียญทอง ในงาน International Invention Innovation Technology Exhibition 2012 ณ ประเทศมาเลเซีย รางวัล “Grand Prize” in Asia ในงาน Asian Science Park Association (ASPA Award 2012) และรางวัล The Best Innovation in Environment ในงาน SME THAILAND INNO AWARDS 2012 เป็นต้น “ผมอยากฝากให้ผู้ประกอบการ ที่ต้องการที่ยืนในตลาด ควรพาตัวเอง ออกประกวดในงานต่างๆ โดยเฉพาะในงาน ต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างหลักฐาน ว่าผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับการยอมรับ โดยทั่วไป เป็นการสร้างที่ยืนในตลาด ที่ลงทุนน้อย” วาง Position เป็นแบรนด์ระดับโลก “KEEEN” ที่มี “E” 3 ตัว หมายถึง Ecology, Environment และ Earth พร้อมความหมายพ้องเสียงในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “ทองค�ำ” น�ำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่คิด แบบ 360 องศา หรือตอบโจทย์ได้ครบ” ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ชีวบ�ำบัดภัณฑ์ภายใต้ แบรนด์ KEEEN มีสินค้ามากกว่า 13 สูตร ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (แท่นขุดเจาะน�้ำมัน โรงกลั่นน�้ำมัน สถานี 28 The Power of RD
  • 32. บริการน�้ำมัน) อุตสาหกรรมยานยนต์ โรงพยาบาล อาหาร และที่พักอาศัย บริษัทจะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา การผลิตหัวเชื้อจากนั้นจะจ้างโรงงานมาบรรจุ การท�ำตลาดของแบรนด์ KEEEN เพื่อที่จะ เป็นแบรนด์ระดับโลก เน้นท�ำตลาดผ่าน ตัวแทนจ�ำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ศรีลังกา อินเดีย ฟินแลนด์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย กาน่า เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนร่วมท�ำ RDต่อยอดนวัตกรรม กับสถาบันไบโอเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัย เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยคาดว่า ฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งจะท�ำให้สามารถ ต่อยอดไปยังตลาดอื่นๆ ในระดับโลก วางแผน 4 ปีเข้าตลาดหลักทรัพย์ ดร.วสันต์เชื่อมั่นในเรื่องระบบ เพราะองค์กรที่จะเจริญเติบโตได้ดีต้องมีระบบ จัดการที่ดีด้วย “เพื่อยกระดับบริษัทสู่ World Class ผมก�ำลังน�ำระบบ ISO 9001 และ ISO 14001 เข้ามาเพื่อรองรับการขยายงานของ องค์กร และบริหารระบบ ISO 9001 14001 ต่อเนื่อง อีก 3 ปี จากนั้นจะน�ำบริษัทเข้า ประกวด TQA (Thailand Quality Award) ในอีก 4 ปีข้างหน้า ก่อนเข้าสู่องค์กรตลาดทุน ระดับมหาชน หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI” “KEEEN ในวันนี้เกิดขึ้นได้จาก งานวิจัยและพัฒนา เราจึงให้ความส�ำคัญกับ งานวิจัยมาก เพราะท�ำให้สินค้าเราแตกต่าง อย่างยั่งยืน ที่ส�ำคัญคือท�ำให้สามารถ แข่งขันได้ผมต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ส�ำหรับ ผมแล้ว Success is not destination, it’s just a journey ดังนั้นผมยังคงต้อง พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ” นี่คือนักสร้างสรรค์นวัตกรรม สีเขียว ที่ท�ำให้เป็นจริงได้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ทั้ง Ecology, Environment และ Earth (ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และ โลก) อย่างแท้จริง  The Power of RD 29