SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 68
Baixar para ler offline
ข
สารบัญ
หน้า
คํานํา ก
สารบัญ ข
สารบัญตาราง จ
สารบัญรูป ฉ
ส่วนที่ 1 บทนํา 1
1.1 หลักการและเหตุผล 1
1.2 วัตถุประสงค์ 2
1.3 เป้าหมาย 2
1.4 กรอบแนวคิด 2
1.5 นิยามและความหมาย 3
ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด 5
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด 5
2.1.1 สภาพทางกายภาพ 5
2.1.2 อาณาเขตจังหวัด 5
2.1.3 เส้นทางคมนาคม 5
2.1.4 การปกครอง 6
2.1.5 ประชากร 7
2.1.6 ลักษณะภูมิประเทศ 8
2.1.7 ลักษณะภูมิอากาศ 8
2.1.8 ปริมาณน้ําฝน 9
2.1.9 สภาพเศรษฐกิจ 9
2.1.10 อุตสาหกรรม 10
2.1.11 เกษตรกรรม 11
2.1.12 พลังงาน 11
2.1.13 สื่อสารและโทรคมนาคม 12
2.1.14 การเงินการธนาคาร 12
2.1.15 การค้าและการบริการ 13
2.1.16 ประปา 13
2.1.17 ไฟฟ้า 13
2.1.18 การศึกษา 14
ค
สารบัญ
หน้า
2.1.19 สาธารณสุข 18
2.1.20 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 19
2.2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยของจังหวัด 22
2.2.1 ขยะมูลฝอยชุมชน 22
2.2.2 ของเสียอันตรายชุมชน 25
2.2.3 มูลฝอยติดเชื้อ 25
ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 27
3.1 วิสัยทัศน์ 27
3.2 เป้าประสงค์ 27
3.3 เป้าหมาย 27
เป้าหมายรวม 5 ปี (2558-2562) 27
3.3.1 ขยะมูลฝอยชุมชน 27
3.3.2 ของเสียอันตรายจากชุมชน 28
3.3.3 มูลฝอยติดเชื้อ 28
3.3.4 การวางระเบียบ มาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 28
3.3.5 การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน 28
3.4 กรอบแนวคิดในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 29
3.5 วิเคราะห์ศักยภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 30
3.5.1 การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 30
3.5.2 การบริหารจัดการของเสียอันตรายชุมชน 32
3.5.3 การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 32
3.6 ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ และมาตรการ 32
ส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 34
4.1 แผนงานระยะเร่งด่วน 34
4.2 แผนงานระยะยาว 35
แผนงาน/โครงการระยะเร่งด่วน 1 ปี (พ.ศ.2558) 38
แผนงาน/โครงการระยะยาว (พ.ศ.2559-2562) 44
ง
สารบัญ
หน้า
ภาคผนวก 49
คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น 50
ตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น 53
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 1 เทศบาลนครขอนแก่น 54
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 2 เทศบาลเมืองพล 55
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 3 เทศบาลเมืองชุมแพ 56
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 4 เทศบาลเมืองบ้านไผ่ 57
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 5 เทศบาลตําบลภูเวียง/หนองเรือ 58
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 1 เทศบาลเมืองกระนวน 59
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 2 เทศบาลตําบลน้ําพอง/เขาสวนกวาง 60
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 3 เทศบาลตําบลมัญจาคีรี 61
จ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จํานวนประชากรและจํานวนบ้านของจังหวัดขอนแก่น 7
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2547 – 2556) 8
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณน้ําฝนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ.2547-พ.ศ.2556) 9
ตารางที่ 4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่น (Gross Provincial Product: GPP) 9
ตารางที่ 5 รายได้เปรียบเทียบตามสัดส่วน GPP สาขานอกภาคเกษตรและสาขาภาคเกษตร 10
ตารางที่ 6 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) 10
ตารางที่ 7 แสดงประเภท จํานวน เงินลงทุน และจํานวนคนงานของโรงงานอุตสาหกรรม
ในจังหวัดขอนแก่น 10
ตารางที่ 8 แสดงข้อมูลการใช้น้ําประปา จังหวัดขอนแก่น 13
ตารางที่ 9 แสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น 13
ตารางที่ 10 แสดงจํานวนโรงเรียน จําแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2555 14
ตารางที่ 11 แสดงจํานวนโรงเรียนจําแนกตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2555 15
ตารางที่ 12 แสดงจํานวนห้องเรียน จําแนกตามสังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2555 15
ตารางที่ 13 แสดงจํานวนครูจําแนกตามสังกัด เพศ ปีการศึกษา 2555 15
ตารางที่ 14 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามสังกัด ระดับการศึกษา และชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555 16
ตารางที่ 15 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามระดับการศึกษา เพศ ปีการศึกษา 2555 16
ตารางที่ 16 แสดงจํานวนผู้เรียน/นักศึกษา ในสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2556 16
ตารางที่ 17 แสดงข้อมูลลุ่มน้ําจังหวัดขอนแก่น 19
ตารางที่ 18 แสดงข้อมูลบ่อน้ําบาดาลจังหวัดขอนแก่น 21
ตารางที่ 19 แสดงโครงการแหล่งน้ําในจังหวัดขอนแก่น 21
ตารางที่ 20 แสดงศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 23
ฉ
สารบัญภาพ
หน้า
รูปที่ 1 แสดงขอบเขตของจังหวัดขอนแก่น 6
รูปที่ 2 แผนที่แสดงการแบ่งกลุ่มพื้นที่เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น 31
1
ส่วนที่ 1 บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้บูรณาการร่วมกันในการผลักดัน
และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอย
และของเสียอันตราย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 โดย
ให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ทั้งในกรุงเทพมหานคร ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ในทุกมิติ ตาม
แนวทางปฏิบัติ 4 ยุทธศาสตร์ คือ
1) กําจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่วิกฤติ (ขยะมูลฝอยเก่า)
2) สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่) เน้นการลดและคัด
แยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง จัดการขยะมูลฝอยแบบศูนย์รวม กําจัดโดยเทคโนโลยีแบบผสมผสานเน้นการแปรรูปเป็น
พลังงาน หรือทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3) วางระเบียบ มาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
4) สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้วางกรอบการดําเนินงานจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตาม Roadmap ดังกล่าว ดังนี้
1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารจัดการในภาพรวมของจังหวัด (Single Manager)
2) ห้ามเทกองแบบกลางแจ้ง (No More Open Dump)
3) ปรับปรุง ฟื้นฟู ปิด สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการ
4) คัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง (ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย)
5) จัดการขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ เน้นการแปรรูปเป็นพลังงาน หรือทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6) สร้างระบบการจัดการของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ
7) ส่งเสริมภาคเอกชนมาลงทุน หรือดําเนินงานระบบฯ
8) การสร้างวินัยคนในชาติ มุ่งสู่การจัดการอย่างยั่งยืน
9) การจัดการที่ต้นทาง เน้นการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SCP : Sustainable Consumption and
Production)
10) มีแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ
จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณขยะสะสมบริเวณสถานที่กําจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึง 723,691 ตัน
ซึ่งจากการจัดลําดับจังหวัดสกปรกด้านการจัดการขยะมูลฝอย ปรากฏว่าจังหวัดขอนแก่นถูกจัดลําดับจังหวัดสกปรก
ลําดับที่ 18 และมีปริมาณขยะสะสมมากที่สุดอยู่ในลําดับที่ 8 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียง 32 แห่ง จากจํานวน
224 แห่ง (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด) หรือร้อยละ 14 ที่มีการกําจัดขยะมูลฝอยถูกหลักสุขาภิบาล และมี
ปริมาณขยะที่มีการจัดการและฝังกลบถูกหลักสุขาภิบาลเพียง 206 ตัน/วัน จากปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยชุมชน
2
1,224 ตัน/วัน มีเพียง หรือคิดเป็นร้อยละ 11.35 เท่านั้น ทําให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ขยะมูล
ฝอย การปนเปื้อนของน้ําชะขยะไหลลงสู่แหล่งน้ําผิวดินและแหล่งน้ําใต้ดิน ปัญหากลิ่นเหม็นและพาหะนําโรค ส่งผล
กระทบต่อชุมชนและประชาชนที่อาศัยใกล้เคียง ทําให้มีการร้องเรียนของราษฎรเป็นประจํา
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่นถูกวิธี ป้องกันผลกระทบ
ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้การดําเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทําแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่นขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของจังหวัด
ขอนแก่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกหลักวิชาการ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
1.3 เป้าหมาย
ภายในปี 2562 จังหวัดขอนแก่น มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างถูกหลักวิชาการ
และมีประสิทธิภาพ
1.4 กรอบแนวคิด
การดําเนินงานสอดคล้องและต่อยอดกับ
1.4.1 ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) มีกรอบแนวคิดการพัฒนาภายใต้
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนในทุกภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิด
การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณา
การ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนําทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่าง
บูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สําคัญ ในส่วนของการ
เสริมสร้างทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสําคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตร มุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ําและเป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อม การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งการ
สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทไทยในเวทีประชาคมโลก
ทั้งนี้ ภายใต้การขับเคลื่อนและแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในระดับต่างๆ ที่สอดคล้อง
กับสภาพภูมิสังคม และกระจายการพัฒนาลงสู่พื้นที่ โดยยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม (Area –
Function – Participation : A–F-P) ให้จังหวัดเป็นพื้นที่ดําเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาและเป็นจุดเชื่อมโยงการ
พัฒนาจากระดับชุมชนสู่ประเทศและประเทศสู่ชุมชน ใช้กลไกและเครื่องมือการพัฒนาของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาค
3
ธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชนอย่างบูรณาการให้การขับเคลื่อนเกิดประสิทธิภาพด้วยกระบวนการสร้างเครือข่ายหรือ
คลัสเตอร์ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่
1.4.2 แผนจัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555-2559
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555-2559 เป็นแผนระยะกลางที่มีความสอดคล้องกับทิศทางของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน
การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งผลให้เกิดการ
พัฒนาที่ยั่งยืนต่อการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยต้องพิจารณาบริบทการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากแรงกดดันของ
กระแสแนวคิดและสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงให้ความสําคัญต่อบทบาทที่เข้มแข็งขึ้นของ
ภาคประชาชน สิทธิชุมชนและส่งเสริมการกระจายอํานาจและหน้าที่รับผิดชอบตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
1.5 นิยามและความหมาย
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข,
2535)
ขยะมูลฝอย (Solid waste) คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่
อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูล
ฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะและ
คุณสมบัติที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรมควบคุมมลพิษ, 2548)
ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว
สามารถนํามาหมักทําปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงซากหรือ
เศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยขยะที่ย่อยสลายนี้ เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ
พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548)
ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่ง
สามารถนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม
เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สําหรับขยะรีไซเคิลนี้ เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ
กล่าวคือ พบประมาณ ร้อยละ 30 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548)
ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตราย
ชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทําให้เกิดโรค วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุที่ทําให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทําให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรส
เซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกําจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะ
4
อันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง ร้อยละ 3 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
(กรมควบคุมมลพิษ, 2548)
ขยะทั่วไป (General waste) มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล
และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสําหรับการนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่
ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อน
อาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น สําหรับขยะทั่วไปนี้ เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบ
ประมาณ ร้อยละ 3 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548)
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมารหรือมีความเข้มข้น ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับ
มูลฝอยนั้นแล้ว สามารถทําให้เกิดโรคได้(กฎกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ, 2545)
กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การ
ให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่อง
ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ
(1) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดการตรวจชันสูตรศพ หรือซากสัตว์ และการ
ใช้สัตว์ทดลอง
(2) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมี กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทําด้วยแก้ว สไลด์ และกระจกปิดสไลด์
(3) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ําจาก
ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สําลี ผ้าก๊อส ผ้าต่างๆ และท่อยาง
(4) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง
5
ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด
2.1.1 สภาพทางกายภาพ
จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 - 17 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 101 - 103 องศาตะวันออก ซึ่ง
อยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 445 กิโลเมตร มีพื้นที่ 10,885.99 ตาราง
กิโลเมตร หรือประมาณ 6,803,744 ไร่ ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ มีลักษณะสูงต่ําสลับเป็นลูกคลื่นลาดเทไปทางทิศ
ตะวันออกและทิศใต้ มีที่ราบลุ่มแถบลุ่มน้ําชีและลุ่มน้ําพอง พื้นที่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลางเฉลี่ย 100-200 เมตร
2.1.2 อาณาเขตจังหวัด (รูปที่ 1)
ทิศเหนือ - ติดกับจังหวัดอุดรธานี เลย และหนองบัวลําภู
ทิศใต้ - ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก - ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์และมหาสารคาม
ทิศตะวันตก - ติดกับจังหวัดชัยภูมิและเพชรบูรณ์
2.1.3 เส้นทางคมนาคม
ทางรถยนต์ มีทางหลวงแผ่นดินผ่านพื้นที่จํานวน 7 สาย ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 2: สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย
- ทางหลวงหมายเลข 12: ขอนแก่น-เพชรบูรณ์
- ทางหลวงหมายเลข 23: แยกจากทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านอําเภอบ้านไผ่ (ขอนแก่น) –
มหาสารคาม
- ทางหลวงหมายเลข 201 : ขอนแก่น-ชัยภูมิ-เลย
- ทางหลวงหมายเลข 207 : ขอนแก่น-บุรีรัมย์
- ทางหลวงหมายเลข 208 : ขอนแก่น-มหาสารคาม
- ทางหลวงหมายเลข 209 : ขอนแก่น-กาฬสินธุ์
ทางรถไฟ เส้นทางจาก กรุงเทพฯ-หนองคาย ขนานกับทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ผ่าน
อําเภอในเขตพื้นที่ คือ อําเภอพล บ้านไผ่ บ้านแฮด เมืองขอนแก่น น้ําพอง และเขาสวนกวาง
ทางเครื่องบิน มีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร เส้นทางบิน กรุงเทพฯ -
ขอนแก่น- กรุงเทพ ฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 55 นาที
6
รูปที่ 1 แสดงขอบเขตของจังหวัดขอนแก่น
2.1.4 การปกครอง
- อําเภอ จํานวน 26 อําเภอ 198 ตําบล 2,331 หมู่บ้าน และ 389 ชุมชน
(ที่มา : ที่ทําการปกครองจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)
7
- - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 225 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด จํานวน 1
แห่ง เทศบาล จํานวน 85 แห่ง (เทศบาลนคร จํานวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จํานวน 6 แห่ง และเทศบาลตําบล จํานวน
78 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 139 แห่ง
(ที่มา : สํานักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น 2556)
- - ราชการส่วนภูมิภาค 33 ส่วนราชการ ราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ 227 หน่วยงาน
(ที่มา : สํานักงานจังหวัดขอนแก่น 2557)
2.1.5 ประชากร
ประชากรรวม ,1 781,655 คน แยกเป็นชาย 881,591 คน หญิง 900,064 คน จํานวนบ้าน 561,774 หลัง
ตารางที่ 1 จํานวนประชากรและจํานวนบ้านของจังหวัดขอนแก่น
อําเภอ จํานวนประขากร จํานวนประชากรชาย จํานวนประชากรหญิง จํานวนบ้าน
เมืองขอนแก่น 396,522 192,189 204,333 171,235
บ้านฝาง 54,464 27,273 27,191 16,211
พระยืน 34,534 16,969 17,565 9,747
หนองเรือ 93,422 46,434 46,988 25,013
ชุมแพ 123,351 61,220 62,131 38,487
สีชมพู 78,268 39,138 39,130 22,426
น้ําพอง 113,766 56,723 57,043 32,044
อุบลรัตน์ 44,541 22,288 22,253 11,487
กระนวน 78,765 39,245 39,520 22,181
บ้านไผ่ 101,214 50,016 51,198 31,636
เปือยน้อย 19,981 10,045 9,936 5,021
พล 87,294 43,274 44,020 25,084
แวงใหญ่ 29,554 14,573 14,981 7,425
แวงน้อย 42,142 20,983 21,159 11,459
หนองสองห้อง 78,086 39,055 39,031 20,374
ภูเวียง 72,085 35,981 36,104 19,326
มัญจาคีรี 71,738 35,684 36,054 20,946
ชนบท 48,853 23,960 24,893 13,510
เขาสวนกวาง 38,207 19,214 18,993 10,444
ภูผาม่าน 22,808 11,444 11,364 6,420
ซําสูง 23,647 11,734 11,913 6,436
โคกโพธิ์ไชย 25,487 12,757 12,730 7,211
หนองนาคํา 23,798 11,878 11,920 5,945
8
อําเภอ จํานวนประขากร จํานวนประชากรชาย จํานวนประชากรหญิง จํานวนบ้าน
บ้านแฮด 32,717 16,296 16,421 9,334
โนนศิลา 26,485 13,292 13,193 7,271
เวียงเก่า 19,926 9,926 10,000 5,101
รวม 1,781,655 881,591 900,064 561,774
ที่มา : สํานักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวบรวมโดย สํานักงานสถิติพยากรณ์ สํานักงาน
สถิติแห่งชาติ ณ 31 ธันวาคม 2556
2.1.6 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่สูงต่ําสลับเป็นลูกคลื่น ทางทิศตะวันตกสูงมาก เพราะมีแนวเขาภู
กระดึงและเพชรบูรณ์ สําหรับทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสูงต่ํา มีที่ราบลุ่มแถบลุ่มน้ําชีในเขต
พื้นที่อําเภอพระยืน ชนบท บ้านไผ่ มัญจาคีรี แวงน้อย แวงใหญ่ เมืองขอนแก่น และที่ราบลุ่มน้ําพองในเขตพื้นที่อําเภอ
น้ําพอง อุบลรัตน์และเมืองขอนแก่น พื้นที่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลางโดยเฉลี่ย 100 - 200 เมตร
2.1.7 ลักษณะภูมิอากาศ
ในรอบปี 2556 อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 41.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2556 และอุณหภูมิต่ําสุด
วัดได้ 11.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 สามารถเปรียบเทียบอุณหภูมิย้อนหลัง 10 ปี ได้ตามตารางที่ 4
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2547 – 2556)
ปี อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ําสุด อุณหภูมิเฉลี่ย
2547 40.4 13.0 27.00
2548 40.2 11.0 25.60
2549 39.3 12.0 25.70
2550 41.1 12.6 27.00
2551 38.5 11.9 26.00
2552 39.6 10.2 27.80
2553 41.2 13.5 27.41
2554 39.3 11.6 26.17
2555 39.0 15.0 27.11
2556 41.8 11.6 27.70
ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาขอนแก่น 2557
หมายเหตุ : 1. อุณหภูมิสูงสุด หรือต่ําสุด คือ ค่าของอุณหภูมิสูงที่สุดหรือต่ําที่สุดที่ตรวจวัดได้ในช่วงเวลา 24
ชั่วโมง (เวลา 07.00 น.วันนี้ ถึง เวลา 07.00 น.วันพรุ่งนี้)
2. อุณหภูมิเฉลี่ยของปี คือ ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิที่ตรวจวัดได้ทุกครั้งในเวลา 1 ปี
9
2.1.8 ปริมาณน้ําฝน
สถิติข้อมูลปริมาณน้ําฝนของจังหวัดขอนแก่น โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
เปรียบเทียบย้อนหลัง 10 ปี (2547 - 2556) ฝนตกมากที่สุดปี พ.ศ. 2550 วัดได้ 1,378.9 มิลลิเมตร จํานวนวันที่ฝนตก
101 วัน ฝนตกน้อยที่สุดในปี พ.ศ.2548 วัดได้ 936.5 มิลลิเมตร จํานวนวันที่ฝนตก 106 วัน
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณน้ําฝนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ.2547-พ.ศ.2556)
ปี พ .ศ. ปริมาณน้ําฝน )มม(. จํานวนวันที่ฝนตก
2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
2555
2556
1,303.5
936.5
1,201.5
1,378.9
1,274.5
1,039.5
1,230.1
1,338.8
1,039.4
943.1
94
106
108
101
135
104
110
131
100
109
ที่มา : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2556
2.1.9 สภาพเศรษฐกิจ
ในปี 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดขอนแก่นมีมูลค่าจํานวน 185,603 ล้านบาท เป็นลําดับที่ 14
ของประเทศ และเป็นลําดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองจากจังหวัดนครราชสีมา (ตารางที่ 6)
สาขาการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดขอนแก่น ในปี 2555 คือ สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่า 163,144
ล้านบาท ในขณะที่สาขาภาคเกษตรมีมูลค่า 22,451 ล้านบาท (ตารางที่ 7)
สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่าอันดับ 1 คือ สาขาผลิตอุตสาหกรรม มีมูลค่า 77,001 ล้านบาท รองลงมา
คือสาขาการศึกษา มีมูลค่า 18,468 ล้านบาท และการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมฯ มีมูลค่า 16,426 ล้านบาท
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) ของจังหวัดขอนแก่น ปี 2555 คือ 106,583 บาท (ตาราง
ที่ 8) อยู่ในอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ
ตารางที่ 4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่น (Gross Provincial Product: GPP)
ปี 2551 2552 2553 2554 2555
ผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) 125,813 141,468 151,179 159,377 185,603
10
ตารางที่ 5 รายได้เปรียบเทียบตามสัดส่วน GPP สาขานอกภาคเกษตรและสาขาภาคเกษตร
ปี 5125 2552 2553 2554 2555
สาขาภาคเกษตร 13,027 15,842 17,515 19,524 22,451
สาขานอกภาคเกษตร 112,786 125,627 133,664 139,853 163,144
ตารางที่ 6 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP)
ปี 5125 2552 2553 2554 2555
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (GPP) 71,774 80,961 86,834 91,516 106,583
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2555
2.1.10 อุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้ประกอบการ จํานวนทั้งสิ้น 4,191 โรงงาน เงินทุน
92,651,443,781 บาท คนงาน 56,428 คน แยกตามจําพวกโรงงานได้ดังตารางที่ 9
ตารางที่ 7 แสดงประเภท จํานวน เงินลงทุน และจํานวนคนงานของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดขอนแก่น
โรงงาน
จําพวกที่
จํานวน
โรงงาน
จํานวนเงินลงทุน
(บาท)
จํานวนคนงาน (คน) แรงม้า
ชาย หญิง รวมคนงาน
1 2,750 266,456,040 3,439 134 3,573 32,913.56
2 518 906,459,190 2,615 1,249 3,864 14,179.11
3 923 91,478,528,551 23,480 25,511 48,991 2,905,363.17
รวม 4,191 92,651,443,781 29,534 26,894 56,428 2,952,455.84
หมายเหตุ จําพวกที่ 2 คือ ต้องแจ้งให้ทราบก่อนการประกอบกิจการโรงงาน
จําพวกที่ 3 คือ ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดําเนินกิจการได้
สาขาอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 10 อันดับแรกของจังหวัดขอนแก่น ได้แก่
1. อุตสาหกรรมการเกษตร จํานวน 2,764 โรงงาน
2. อุตสาหกรรมอโลหะ จํานวน 218 โรงงาน
3. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ จํานวน 218 โรงงาน
4. อุตสาหกรรมขนส่ง จํานวน 181 โรงงาน
5. อุตสาหกรรมอาหาร จํานวน 154 โรงงาน
6. อุตสาหกรรมอื่นๆ จํานวน 116 โรงงาน
7. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล จํานวน 114 โรงงาน
8. อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ จํานวน 64 โรงงาน
11
9. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน จํานวน 52 โรงงาน
10. อุตสาหกรรมพลาสติก จํานวน 43 โรงงาน
ที่มา : สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น 2557
มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ใช้แรงงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป แยกได้ดังนี้
1. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 100 - 299 คน มี 87 โรงงาน
2. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 300 - 499 คน มี 26 โรงงาน
3. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 500 - 999 คน มี 12 โรงงาน
4. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ > 1,000 คนขึ้นไป มี 10 โรงงาน
ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2556
2.1.11 เกษตรกรรม
มีพื้นที่การเกษตร 4,369,043 ไร่ (ร้อยละ 64.19 ของพื้นที่จังหวัด) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 757,542
ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 13.14 ของพื้นที่การเกษตร หรือร้อยละ 8 ของพื้นที่จังหวัด) จํานวนคนทํางานในภาคเกษตร
439,583 คน (ที่มา : สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น 2555) โดยมีผลผลิตจากพืชที่สําคัญ ดังนี้
ข้าว นาปรัง ผลผลิตรวม 67,807 ตัน
นาปี ผลผลิตรวม 760,496 ตัน
อ้อยโรงงาน ผลผลิตรวม 7,248,278 ตัน
มันสําปะหลัง ผลผลิตรวม 624,636 ตัน
ถั่วเหลือง ผลผลิตรวม 4,457 ตัน
โดยมีผลผลิตจากสัตว์ที่สําคัญ ดังนี้
โคเนื้อ ผลผลิตรวม 38,227 ตัว
สุกร ผลผลิตรวม 150,606 ตัว
ไก่เนื้อ ผลผลิตรวม 8,629,462 ตัว
โคนม ผลผลิตน้ํานมดิบรวม 31,102 ตัน
ที่มา : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2556
2.1.12 พลังงาน
มีโรงงานผลิตเอทานอล 2 แห่ง กําลังการผลิตจากมันสําปะหลัง 130,000 ลิตร/วัน และจาก
กากน้ําตาล 150,000 ลิตร/วัน สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง 667 แห่ง สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) 9 แห่ง
สถานีบริการก๊าซ LPG 61 แห่ง และร้านจําหน่ายก๊าซหุงตุ้ม (LPG) 680 แห่ง
(ที่มา : สํานักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่น 2557)
12
2.1.13 สื่อสารและโทรคมนาคม
มีที่ทําการไปรษณีย์ จํานวน 28 แห่ง แยกเป็นประเภทรับฝาก (ปทฝ.) 4 แห่ง และประเภทรับ-จ่าย
(ปทจ.) 24 แห่ง มีสํานักงานเขตโทรศัพท์ภูมิภาคที่ 2 ซึ่งมีชุมสายในการปฏิบัติงานในจังหวัด 8 แห่ง
สื่อมวลชนมีสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT ขอนแก่น สํานักประชาสัมพันธ์เขต 1 สถานี
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง
5 ช่อง 7 และทีวีไทย
นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 14 สถานี หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง 12 ฉบับ และหนังสือพิมพ์
ท้องถิ่น 13 ฉบับ (สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น 2555)
2.1.14 การเงินการธนาคาร
เป็นที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถาบันการเงินพิเศษ
ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคาร
พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมทั้งธนาคารพาณิชย์สาขาหลักและสาขาย่อย รวมทั้งสิ้น 100 แห่ง
- ปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์คงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดคงค้าง 67,765.67 ล้าน
บาท ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.48 ชะลอตัวจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.23 ตามการชะลอตัว
ของเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจํา เนื่องจากผู้ฝากเงินหันไปลงทุนในแหล่งอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในขณะ
ที่เงินฝากกระแสรายวันหดตัวจากเดือนที่แล้ว ตามเงินฝากส่วนราชการที่มีการเบิกจ่ายลดลง
- - ปริมาณเงินฝากธนาคารรัฐ (ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดค้าง 35,248.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่
แล้วร้อยละ 22.29 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 21.93 เนื่องจากการขยายตัวของเงินฝากธนาคาร
อาคารสงเคราะห์ ในขณะที่ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเงินฝากชะลอตัวจาก
เดือนที่แล้ว
- - ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์คงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดคงค้าง 94,005 ล้านบาท
ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 15.43 ชะลอจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 16.37 ตามการชะลอตัวของ
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินให้กู้
- - ปริมาณสินเชื่อธนาคารรัฐ (ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดค้าง 67,099.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่
แล้วร้อยละ 25.31 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 24.02 จากการขยายตัวของสินเชื่อตามนโยบายของ
ภาครัฐผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อย่างไรก็ตามสินเชื่อของธนาคาร
อาคารสงเคราะห์ปรับตัวดีขึ้น ตามสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555
13
2.1.15 การค้าและการบริการ
มีโรงแรม 142 แห่ง ห้องพัก 5,790 ห้อง มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 6 แห่ง และขนาดกลาง 23 แห่ง
โรงภาพยนตร์ 20 โรง สถานบริการ 70 แห่ง (ที่มา : ที่ทําการปกครองจังหวัดขอนแก่น 2554)
2.1.16 ประปา
การประปา มีสํานักงานประปาอยู่ในพื้นที่ จํานวน 9 แห่ง ให้บริการจ่ายน้ําประปา 8 แห่ง ได้แก่
สํานักงานประปาขอนแก่น บ้านไผ่ ชุมแพ น้ําพอง ชนบท กระนวน หนองเรือ และเมืองพล จํานวนผู้ใช้น้ํารวม
164,581 ราย กําลังการผลิตที่ใช้งาน 8,700 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ปริมาณน้ําผลิต 63,543,401 ลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ําจําหน่าย 43,375,003 ลูกบาศก์เมตร
ตารางที่ 8 แสดงข้อมูลการใช้น้ําประปา จังหวัดขอนแก่น
กําลังการผลิต น้ําที่ผลิตได้ ปริมาณน้ําที่ จํานวนผู้ใช้น้ํา
(ลบ.ม./ชั่วโมง) (ลบ.ม.) จําหน่ายแก่ผู้ใช้ (ราย)
(ลบ.ม.) น้ําจ่ายฟรี น้ําสูญเสีย (ลบ.ม.)
8,700 63,543,401 43,375,003 163,971 22,639,028 2,991,984 164,581
สํานักงานประปาขอนแก่น 800 4,970,987 3,219,522 18,380 1,661,600 229,510 14,346
สํานักงานประปาบ้านไผ่ 490 2,102,072 1,502,195 3,799 689,742 70,707 7,245
สํานักงานประปาชุมแพ 480 2,539,278 1,783,729 9,015 755,549 66,957 8,445
สํานักงานประปาน้ําพอง 250 2,120,944 1,490,712 92,040 630,232 38,900 10,264
สํานักงานประปาชนบท 450 3,508,739 2,686,785 4,906 821,954 92,882 11,904
สํานักงานประปากระนวน 5,300 41,974,149 27,075,101 23,835 15,760,076 2,335,198 85,059
สํานักงานประปาหนองเรือ 430 3,203,559 2,364,616 3,580 838,943 97,391 11,595
สํานักงานประปาเมืองพล 500 3,123,673 3,252,343 8,416 1,480,932 60,439 15,723
รวม
ปริมาณน้ําที่ใช้
ในระบบ
ปริมาณน้ําที่จ่ายเพื่อ
สํานักงานประปา สาธารณประโยชน์ และรั่วไหล (ลบ.ม)
ที่มา : สํานักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 6 จังหวัดขอนแก่น 2556
2.1.17 ไฟฟ้า
การไฟฟ้ามีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สําคัญ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อน
ร่วมน้ําพอง กําลังผลิต 25.2 เมกกะวัตต์ และ 710 เมกกะวัตต์ตามลําดับ สถานะการใช้ ไฟฟ้าของจังหวัดขอนแก่น
478,919 ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้แล้ว 464,286 ครัวเรือน เป็นร้อยละที่มีไฟฟ้าใช้ 96.94
ตารางที่ 9 แสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น
อําเภอ จํานวนผู้ใช้ไฟฟ้า )ราย( ปริมาณการใช้ไฟฟ้า )หน่วย( มูลค่าการใช้ไฟฟ้า )บาท(
อําเภอเมืองขอนแก่น 134,443 96,434,338.91 343,310,734.94
อําเภอบ้านฝาง 16,105 3,659,808.67 13,040,054.23
อําเภอพระยืน 8,753 1,749,170.72 5,841,022.55
อําเภอหนองเรือ 25,807 5,407,359.39 19,738,242.39
อําเภอชุมแพ 25,837 8,510,547.56 32,416,584.58
14
อําเภอ จํานวนผู้ใช้ไฟฟ้า )ราย( ปริมาณการใช้ไฟฟ้า )หน่วย( มูลค่าการใช้ไฟฟ้า )บาท(
อําเภอสีชมพู 17,971 2,158,302.30 7,801,087.43
อําเภอน้ําพอง 27,356 14,604,994.64 50,931,343.22
อําเภออุบลรัตน์ 13,757 2,193,358.52 7,602,180.59
อําเภอกระนวน 20,370 4,099,072.04 13,835,254.74
อําเภอบ้านไผ่ 30,192 8,665,197.82 30,267,270.04
อําเภอเปือยน้อย 5,413 601,511.88 2,047,228.83
อําเภอพล 21,921 5,342,993.23 18,711,437.64
อําเภอแวงใหญ่ 6,508 782,697.44 2,617,839.52
อําเภอแวงน้อย 10,481 1,236,666.99 4,134,023.86
อําเภอหนองสองห้อง 18,055 2,255,834.05 8,299,128.90
อําเภอภูเวียง 21,666 3,007,354.31 10,709,109.43
อําเภอมัญจาคีรี 18,039 2,675,183.08 9,653,121.73
อําเภอชนบท 11,996 2,011,566.40 6,731,159.37
อําเภอเขาสวนกวาง 7,110 1,141,360.10 3,867,286.33
อําเภอภูผาม่าน 9,432 1,864,689.78 6,968,805.37
อําเภอซําสูง 5,212 791,849.82 2,628,922.76
อําเภอโคกโพธิ์ไชย 5,976 773,373.95 2,579,447.65
อําเภอหนองนาคํา 5,340 707,714.67 2,442,254.87
อําเภอบ้านแฮด 6,835 2,074,647.78 7,266,542.04
อําเภอโนนศิลา 2,030 255,658.04 927,203.71
รวม 150,548 97,207,712.86 368,889,999.88
ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น 2556
2.1.18 การศึกษา
โรงเรียนทุกสังกัดที่เปิดทําการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดขอนแก่น จํานวน 1,247
แห่ง จํานวนนักเรียน 251,305 คน จํานวนครู 10,464 คน จํานวนห้องเรียน 13,299 ห้อง
ตารางที่ 10 แสดงจํานวนโรงเรียน จําแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2555
สังกัด แห่ง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1,101
สํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 128
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 8
อื่น ๆ 0
รวม 1,237
15
ตารางที่ 11 แสดงจํานวนโรงเรียนจําแนกตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2555
ระดับการศึกษาที่เปิดสอน แห่ง
1. อนุบาล 39
2. อนุบาล-ประถมศึกษา 803
3. อนุบาล-มัธยมฯ ตอนต้น 263
4. อนุบาล-มัธยมฯ ตอนปลาย 3
5. ประถมศึกษา 219
6. ประถมศึกษา-มัธยมฯ ตอนต้น 48
7. มัธยมฯ ตอนต้น – มัธยมฯ ตอนปลาย 83
รวม 1,458
ตารางที่ 12 แสดงจํานวนห้องเรียน จําแนกตามสังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2555
สังกัด แห่ง ระดับการศึกษา แห่ง
สํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
11,249 ก่อนประถมศึกษา 2,322
สํานักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริม
การศึกษาเอกชน
888 ประถมศึกษา 6,861
กรมส่งเสริมการปกครองส่วน
ท้องถิ่น
0 มัธยมศึกษา 2,583
รวม 12,137 รวม 11,766
ตารางที่ 13 แสดงจํานวนครูจําแนกตามสังกัด เพศ ปีการศึกษา 2555
สังกัด ชาย หญิง รวม
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
24,899 25,049 49,948
สํานักบริหารงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน
375 865 1,479
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 0 0 0
อื่น ๆ 0 0 0
รวม 25,274 25,914 51,427
16
ตารางที่ 14 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามสังกัด ระดับการศึกษา และชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555
สังกัด ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย
สํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
19,764 68,597 26,937 37,770
สํานักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริม
การศึกษาเอกชน
33,514 11,431 3,180 6,992
กรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
0 0 0 0
อื่น ๆ 0 0 0 0
รวม 251,305 110,496 30,117 44,762
ตารางที่ 15 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามระดับการศึกษา เพศ ปีการศึกษา 2555
ระดับการศึกษา ชาย หญิง
ก่อนประถมศึกษา 18,407 16,792
ประถมศึกษา 53,422 54,600
มัธยมศึกษา-ตอนต้น 29,736 30,175
มัธยมศึกษา-ตอนปลาย 18,367 24,636
รวม 119,932 126,203
ตารางที่ 16 แสดงจํานวนผู้เรียน/นักศึกษา ในสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ปีงบประมาณ 2556
ระดับการศึกษา ชาย หญิง รวม
การส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ 1,269 2,424 3,693
การศึกษาขั้นพื้นฐาน 74,770 82,679 157,449
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ทักษะชีวิต และสังคม 19,989 25,579 45,568
สถาบันระดับอุดมศึกษา จํานวน 15 แห่ง
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
 มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น
17
 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และ ศูนย์การศึกษาชุมแพ
 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์การศึกษาจังหวัดขอนแก่น
 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
 วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
 วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
 สถาบันการบินพลเรือน (ศูนย์ฝึกการบินที่ 2)
 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
 วิทยาลัยอาชีวะศึกษาขอนแก่น
โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 10 แห่ง
 โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น
 โรงเรียนเทคโนโลยีภูมิสิทธิ์
 โรงเรียนขอนแก่นเทคโนโลยีพณิชยการ
 โรงเรียนพงษ์ภิญโญเทคโนโลยี
 โรงเรียนเทคโนโลยีธุรกิจอาชีวะ
 โรงเรียนขอนแก่นบริหารธุรกิจและธุรกิจอาชีวะ
 โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 โรงเรียนอมตะเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ อําเภอหนองสองห้อง
 โรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี อําเภอชุมแพ
 โรงเรียนเทคโนโลยีพลพณิชยการ ( ศูนย์บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ) อําเภอพล
นอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาระบบจีไอเอส (GIS) ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นของประเทศ สําหรับโรงเรียน ดูที่
รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น
1) โรงเรียนมัธยม สพม. จํานวน 84 แห่ง
2) โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จํานวน 17 แห่ง
3) โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จํานวน 11 แห่ง
4) โรงเรียนสาธิต จํานวน 2 แห่ง
5) โรงเรียนนานาชาติ จํานวน 1 แห่ง
6) โรงเรียนเอกชน จํานวน 12 แห่ง
18
2.1.19 สาธารณสุข
สถานบริการด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาล 31 แห่ง สังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 22
แห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 แห่ง กระทรวงกลาโหม 1 แห่ง กรมอนามัย 1 แห่ง กรมสุขภาพจิต 1 แห่ง กรมการ
แพทย์ 1 แห่ง เอกชน 3 แห่ง
- สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
1) โรงพยาบาลขอนแก่น (รพศ.) ขนาด 867 เตียง 1 แห่ง
2) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น (รพท.) ขนาด 250 เตียง 1 แห่ง
3) โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 120 เตียง 1 แห่ง
ขนาด 90 เตียง 2 แห่ง
ขนาด 60 เตียง 5 แห่ง
ขนาด 30 เตียง 12 แห่ง
4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล 248 แห่ง
5) ศูนย์แพทย์ 4 มุมเมือง (สังกัดโรงพยาบาลขอนแก่น) 4 แห่ง
- ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง - ศูนย์แพทย์ประชาสโมสร
- ศูนย์แพทย์มิตรภาพ - ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดหนองแวง พระอารามหลวง
6) ศูนย์อนามัยที่ 6
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
7) ศูนย์บําบัดรักษายาเสพติด จังหวัดขอนแก่น ขนาด 140 เตียง 1 แห่ง
8) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ขนาด 372 เตียง 1 แห่ง
- สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงอื่น
1) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 1,220 เตียง 1 แห่ง
2) ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 200 เตียง 1 แห่ง
3) โรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
4) ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3 แห่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น
- ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 บ้านโนนชัย
- ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 บ้านหนองใหญ่
- สถานบริการสาธารณสุขเอกชน โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง ได้แก่
1) โรงพยาบาลขอนแก่นราม ขนาด 100 เตียง
2) โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ขนาด 50 เตียง
3) โรงพยาบาลเวชประสิทธิ์ ขนาด 50 เตียง
19
2.1.20 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ป่าไม้
เป็นพื้นที่ป่า 1,296,400 ไร่ (ร้อยละ 11.91 ของพื้นที่จังหวัด) มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง มีพื้นที่รวม
743,973 ไร่ วนอุทยาน 2 แห่ง มีพื้นที่รวม 6,200 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ 22 ป่า มีพื้นที่รวม 1,697,052 ไร่ ป่าชุมชน
206 แห่ง มีพื้นที่รวม 49,316 ไร่ สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พรรณไม้
สําคัญ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก เหียง พลวง แดง เต็ง รัง พรรณไม้พื้นล่างที่ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ หว่านไพร ชัน
ข่าป่า เพ็ก หวาย กล้วยไม้ป่า หญ้าคา แฝก ฯลฯ (ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2555)
แหล่งน้ํา
(1) น้ําผิวดิน
จังหวัดขอนแก่นอยู่ในเขตของลุ่มน้ําหลัก 2 ลุ่มน้ํา คือ ลุ่มน้ํามูลและลุ่มน้ําชี พื้นที่ลุ่มน้ํามูล ได้แก่
กลุ่มลุ่มน้ําสาขาที่ไหลลงลําห้วยแอก ลําห้วยสะแทด และลําพังชู ในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ําชี ได้แก่ กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงอ่างเก็บ
น้ําอุบลรัตน์ กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงลําน้ําพองตอนล่าง กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงแม่น้ําชี และกลุ่มลุ่มน้ําสาขาลําปาวตอนบน โดย
มีลําน้ําสายหลักที่ไหลผ่านจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ลําน้ําพอง ลําน้ําเชิญ และลําน้ําชี ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่จังหวัด
ขอนแก่นทั้งหมดออกเป็น 11 ลุ่มน้ํา และปริมาณน้ําท่าเฉลี่ยรายเดือนที่เกิดจากพื้นที่ รับน้ําของจังหวัดขอนแก่นทั้ง
11 ลุ่มน้ําย่อยสรุปได้ ดังนี้
ตารางที่ 17 แสดงข้อมูลลุ่มน้ําจังหวัดขอนแก่น
ลําดับที่ ลุ่มน้ําย่อย พื้นที่รับน้ําฝน )ตร.กม(.
ปริมาณน้ําท่ารายปีเฉลี่ย
(ล้าน ลบ.ม)
1 ลุ่มน้ําห้วยแอก 859.39 120.93
2 ลุ่มน้ําลําสะแทด 77.86 11.83
3 ลุ่มน้ําพังชู 189.89 26.86
4 ลุ่มน้ําชีส่วนที่ 2 350.49 37.29
5 ลุ่มน้ําชีส่วนที่ 3 3,244.00 362.23
6 ลุ่มน้ําลําห้วยสามหมอ 98.29 15.58
7 ลุ่มน้ําพองตอนบน 2,150.49 411.78
8 ลุ่มน้ําพองตอนล่าง 2,194.42 359.69
9 ลุ่มน้ําลําปาวตอนบน 95.52 26.38
10 ลุ่มน้ําเชิญ 1,168.57 174.53
11 ลุ่มน้ําห้วยสายบาตร 457.06 87.82
รวม 10,885.98 1,634.92
ที่มา : โครงการชลประทานขอนแก่น 2555
20
ปริมาณน้ําท่าในพื้นที่ลุ่มน้ําชี
จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ําท่าจากสถานีวัดน้ําท่าที่อยู่ในลุ่มน้ําชีทั้งหมด 32 สถานี พบว่า
ปริมาณน้ําท่าของแม่น้ําชีส่วนใหญ่จะมีมากในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน และมีปริมาณน้อยในช่วงฤดูแล้ง
โดยเดือนที่มีปริมาณน้ําท่าสูงสุดได้แก่ช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ส่วนลุ่มน้ําย่อยที่อยู่ในลุ่มน้ํามูลพื้นที่จังหวัด
ขอนแก่น จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ํามากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ําท่าที่เกิด
จากลุ่มน้ํามีน้อย และยังไม่มีแหล่งเก็บกักน้ําขนาดกลาง
จังหวัดขอนแก่นมีลําน้ําที่สําคัญไหลผ่าน 3 สาย ดังนี้
1) ลําน้ําพอง มีต้นกําเนิดจากภูกระดึงและเทือกเขาสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักกับลุ่มน้ําชี ไหลผ่าน
อ.ภูกระดึง จ.เลย และ อ.อุบลรัตน์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และไหลบรรจบแม่น้ําชีที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่นมีการก่อสร้าง
เขื่อนอุบลรัตน์กั้นลําน้ําพอง ที่ อ.อุบลรัตน์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน มีพื้นที่ชลประทานประมาณ
258,000 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายหนองหวายเพื่อทดน้ํา ที่ อ.น้ําพอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ําและ
บํารุงรักษาหนองหวาย
ลําน้ําพองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
1.1) ลําน้ําพองตอนบน ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ลําน้ําสาขาประกอบด้วย หนองโก ลําน้ําพวย
ห้วยทรายขาว ลําน้ํามอ ห้วยแกน และห้วยซําจาน ซึ่งไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์
1.2) ลําน้ําพองตอนล่าง ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ลําน้ําสาขาประกอบด้วย ห้วยทราย ห้วยคุมมุมห้วย
ยาง ห้วยโจด ห้วยเสือเต้น ห้วยเสียว ห้วยเก้าคต ห้วยใหญ่ ห้วยสายบาตร และห้วยพระคือ
2) ลําน้ําเชิญ มีต้นกําเนิดจากสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักและลุ่มน้ําชี ใน จ.ชัยภูมิ และ อ.ชุมแพ
จ.ขอนแก่น และไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ที่ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
3) ลําน้ําชี มีต้นกําเนิดจากสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักและลุ่มน้ําชี ใน จ.ชัยภูมิ ไหลเข้าสู่จังหวัด
ขอนแก่นบริเวณ อําเภอแวงน้อย ไหลผ่านอําเภอแวงใหญ่ อําเภอชนบท อําเภอมัญจาคีรี อําเภอบ้านไผ่ และอําเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไหลผ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร และบรรจบแม่น้ํา
มูล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 900 กม. ในสภาพปัจจุบันน้ําท่าจากแม่น้ําชีไหลผ่านแม่น้ํามูลประมาณ 8.752
ล้าน ลบ.ม. ต่อปี
(2) น้ําบาดาล
บ่อบาดาลในจังหวัดขอนแก่นมีจํานวน 6,462 บ่อ บ่อน้ําบาดาลส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ เพื่อการ
ผลิตน้ําประปาหมู่บ้านและเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ส่วนบ่อบาดาลที่ใช้สําหรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประมง และการเลี้ยงสัตว์ มีอยู่บ้างแต่เป็นจํานวนไม่มากนัก จํานวนบ่อบาดาลที่
ดําเนินการขุดเจาะโดยหน่วยงานต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
21
ตารางที่ 18 แสดงข้อมูลบ่อน้ําบาดาลจังหวัดขอนแก่น
ประเภท จํานวน
1) บ่อน้ําบาดาล (บ่อ)
- ใช้การได้ (บ่อ)
- หมดสภาพ (บ่อ)
6,462
6,066
396
2) จุดจ่ายน้ํา (แห่ง) 71
3) น้ําดื่มได้ (แห่ง) 39
4) ระบบประปาบาดาล (แห่ง) ,1 705
รวม 8,167
ที่มา : ศูนย์ทรัพยากรน้ําบาดาลภาค 4 ขอนแก่น 2555
ตารางที่ 19 แสดงโครงการแหล่งน้ําในจังหวัดขอนแก่น
ขนาดโครงการ จํานวน
(แห่ง)
ปริมาณน้ําเก็บกัก
)ล้าน ลบ.ม(.
พื้นที่รับประโยชน์
)ไร่(
โครงการขนาดใหญ่ 2 2,263.60 143,767
โครงการขนาดกลาง 19 81.44 51,948
โครงการขนาดเล็ก 441 37.13 145 ,6 81
โครงการสถานีสูบน้ําด้วยไฟฟ้า 109 - 212,065
ที่มา : โครงการชลประทานขอนแก่น 2555
ทรัพยากรธรณี
แหล่งทรัพยากรธรณีที่สําคัญในจังหวัดขอนแก่น คือ
1. แร่หินปูน มีอยู่ในเขตอําเภอภูผาม่าน อําเภอสีชมพู และอําเภอชุมแพ มีพื้นที่รวม 160 ไร่ ปริมาณ
แร่สํารอง 61.43 ล้านตัน มีการประกอบกิจการเหมืองแร่หินปูนเพื่อการอุตสาหกรรมก่อสร้าง จํานวน 12 แปลง
2. ก๊าซธรรมชาติ พบที่อําเภอน้ําพอง เขาสวนกวาง และอําเภอชนบท มีเพียงแหล่งที่อําเภอน้ําพอง
และอําเภอเขาสวนกวางที่ได้ขุดขึ้นมาใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย โดยมีหลุมขุดเจาะก๊าซ จํานวน 2 แห่ง คือ
2.1 หลุมขุดเจาะก๊าซ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จํากัด ตั้งอยู่ที่ตําบลกุดน้ําใส อําเภอน้ําพองมีปริมาณ
ก๊าซสํารองประมาณ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในปี พ.ศ.2533 มีปริมาณการใช้วันละ 40 ล้านลูกบาศก์ฟุต ปี พ.ศ.
2537 มีปริมาณการใช้วันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซที่แหล่งน้ําพองมีโรงงานผลิตก๊าซตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับหลุม
ขุดเจาะก๊าซ
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แบบฝึก แฟกทอเรียล N
แบบฝึก แฟกทอเรียล Nแบบฝึก แฟกทอเรียล N
แบบฝึก แฟกทอเรียล N
Oranee Seelopa
 
โจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหาโจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหา
Aon Narinchoti
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
Wijitta DevilTeacher
 
14.พืช C4 and CAM
14.พืช C4 and CAM14.พืช C4 and CAM
14.พืช C4 and CAM
Wichai Likitponrak
 
การคำนวณกระจกนูน
การคำนวณกระจกนูนการคำนวณกระจกนูน
การคำนวณกระจกนูน
sripai52
 
การจำแนกสารเนื้อผสม
การจำแนกสารเนื้อผสมการจำแนกสารเนื้อผสม
การจำแนกสารเนื้อผสม
website22556
 
แผ่นพับใหม่ล่าสุด
แผ่นพับใหม่ล่าสุดแผ่นพับใหม่ล่าสุด
แผ่นพับใหม่ล่าสุด
phebanbung
 
อนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเลขคณิตอนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเลขคณิต
aoynattaya
 
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
เลิกเสี่ยง. ป่าน
 

Mais procurados (20)

แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
 
แบบฝึก แฟกทอเรียล N
แบบฝึก แฟกทอเรียล Nแบบฝึก แฟกทอเรียล N
แบบฝึก แฟกทอเรียล N
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1 จำ...
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1 จำ...แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1 จำ...
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1 จำ...
 
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
 
โจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหาโจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหา
 
36 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่7_ฟังก์ชันประกอบ
36 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่7_ฟังก์ชันประกอบ36 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่7_ฟังก์ชันประกอบ
36 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่7_ฟังก์ชันประกอบ
 
การวัด ใบงานที่ 3
การวัด ใบงานที่ 3การวัด ใบงานที่ 3
การวัด ใบงานที่ 3
 
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
 
คู่มือบทที่ 20 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำและสัตว์บก
คู่มือบทที่ 20 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำและสัตว์บกคู่มือบทที่ 20 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำและสัตว์บก
คู่มือบทที่ 20 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำและสัตว์บก
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
 
14.พืช C4 and CAM
14.พืช C4 and CAM14.พืช C4 and CAM
14.พืช C4 and CAM
 
การบริหารงานบุคคล กทม.
การบริหารงานบุคคล กทม.การบริหารงานบุคคล กทม.
การบริหารงานบุคคล กทม.
 
การคำนวณกระจกนูน
การคำนวณกระจกนูนการคำนวณกระจกนูน
การคำนวณกระจกนูน
 
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้าแนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
 
การจำแนกสารเนื้อผสม
การจำแนกสารเนื้อผสมการจำแนกสารเนื้อผสม
การจำแนกสารเนื้อผสม
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน นักวิชาการฯ - การเงินและบัญชี - คลัง - จัดเก็บรายได้ ...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน   นักวิชาการฯ - การเงินและบัญชี - คลัง  - จัดเก็บรายได้ ...แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน   นักวิชาการฯ - การเงินและบัญชี - คลัง  - จัดเก็บรายได้ ...
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน นักวิชาการฯ - การเงินและบัญชี - คลัง - จัดเก็บรายได้ ...
 
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
 
แผ่นพับใหม่ล่าสุด
แผ่นพับใหม่ล่าสุดแผ่นพับใหม่ล่าสุด
แผ่นพับใหม่ล่าสุด
 
อนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเลขคณิตอนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเลขคณิต
 
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
4.ข้อสอบ a net วิชาชีววิทยา ปีการศึกษา 2549 new
 

Destaque

ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
Thai China
 
แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการแบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ
Natthawut Sutthi
 
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมpowerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
Junjira Wuttiwitchai
 

Destaque (11)

ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่นส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
 
ส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่นส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
ส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น
 
ตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น
ตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่นตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น
ตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น
 
ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด
ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัดส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด
ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด
 
Basic Anti-Burglary Tips You Should Know
Basic Anti-Burglary Tips You Should KnowBasic Anti-Burglary Tips You Should Know
Basic Anti-Burglary Tips You Should Know
 
ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลพื้นฐานจากการตอบแบบสอบถาม
 
ใบความรู้+ขยะกับคุณภาพแวดล้อม การคัดแยกขยะ+ป.6+295+dltvscip6+54sc p06 f03-4page
ใบความรู้+ขยะกับคุณภาพแวดล้อม การคัดแยกขยะ+ป.6+295+dltvscip6+54sc p06 f03-4pageใบความรู้+ขยะกับคุณภาพแวดล้อม การคัดแยกขยะ+ป.6+295+dltvscip6+54sc p06 f03-4page
ใบความรู้+ขยะกับคุณภาพแวดล้อม การคัดแยกขยะ+ป.6+295+dltvscip6+54sc p06 f03-4page
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะ
 
แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการแบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ
 
PPT Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบัน และอนาคต
PPT Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบัน และอนาคต PPT Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบัน และอนาคต
PPT Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบัน และอนาคต
 
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมpowerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
powerpoint อุตสาหกรรมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
 

Mais de Natta Noname101

Mais de Natta Noname101 (10)

รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
 
รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
รายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้จัดการประมูล...
 
ประกาศใช้แผน
ประกาศใช้แผนประกาศใช้แผน
ประกาศใช้แผน
 
สรุปผลการประมาณราคาค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นราคากลาง
สรุปผลการประมาณราคาค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นราคากลางสรุปผลการประมาณราคาค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นราคากลาง
สรุปผลการประมาณราคาค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นราคากลาง
 
พื้นที่เป้าหมาย 101 แห่ง
พื้นที่เป้าหมาย 101 แห่งพื้นที่เป้าหมาย 101 แห่ง
พื้นที่เป้าหมาย 101 แห่ง
 
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม Clusterที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม Clusterที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่นการแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม Clusterที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น
การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม Clusterที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น
 
โครงการการรวมพลังสดโลกร้อน
โครงการการรวมพลังสดโลกร้อนโครงการการรวมพลังสดโลกร้อน
โครงการการรวมพลังสดโลกร้อน
 
สรุปรายงานประจำปี Climate Change
สรุปรายงานประจำปี Climate Changeสรุปรายงานประจำปี Climate Change
สรุปรายงานประจำปี Climate Change
 
สรุปผลการสำรวจโดยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลการสำรวจโดยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการสำรวจโดยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลการสำรวจโดยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม
 
สรุปประจำปี รักษ์น้ำพอง 2557
สรุปประจำปี รักษ์น้ำพอง 2557สรุปประจำปี รักษ์น้ำพอง 2557
สรุปประจำปี รักษ์น้ำพอง 2557
 

แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

  • 1.
  • 2.
  • 3. ข สารบัญ หน้า คํานํา ก สารบัญ ข สารบัญตาราง จ สารบัญรูป ฉ ส่วนที่ 1 บทนํา 1 1.1 หลักการและเหตุผล 1 1.2 วัตถุประสงค์ 2 1.3 เป้าหมาย 2 1.4 กรอบแนวคิด 2 1.5 นิยามและความหมาย 3 ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด 5 2.1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด 5 2.1.1 สภาพทางกายภาพ 5 2.1.2 อาณาเขตจังหวัด 5 2.1.3 เส้นทางคมนาคม 5 2.1.4 การปกครอง 6 2.1.5 ประชากร 7 2.1.6 ลักษณะภูมิประเทศ 8 2.1.7 ลักษณะภูมิอากาศ 8 2.1.8 ปริมาณน้ําฝน 9 2.1.9 สภาพเศรษฐกิจ 9 2.1.10 อุตสาหกรรม 10 2.1.11 เกษตรกรรม 11 2.1.12 พลังงาน 11 2.1.13 สื่อสารและโทรคมนาคม 12 2.1.14 การเงินการธนาคาร 12 2.1.15 การค้าและการบริการ 13 2.1.16 ประปา 13 2.1.17 ไฟฟ้า 13 2.1.18 การศึกษา 14
  • 4. ค สารบัญ หน้า 2.1.19 สาธารณสุข 18 2.1.20 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 19 2.2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยของจังหวัด 22 2.2.1 ขยะมูลฝอยชุมชน 22 2.2.2 ของเสียอันตรายชุมชน 25 2.2.3 มูลฝอยติดเชื้อ 25 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 27 3.1 วิสัยทัศน์ 27 3.2 เป้าประสงค์ 27 3.3 เป้าหมาย 27 เป้าหมายรวม 5 ปี (2558-2562) 27 3.3.1 ขยะมูลฝอยชุมชน 27 3.3.2 ของเสียอันตรายจากชุมชน 28 3.3.3 มูลฝอยติดเชื้อ 28 3.3.4 การวางระเบียบ มาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 28 3.3.5 การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน 28 3.4 กรอบแนวคิดในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 29 3.5 วิเคราะห์ศักยภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 30 3.5.1 การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 30 3.5.2 การบริหารจัดการของเสียอันตรายชุมชน 32 3.5.3 การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 32 3.6 ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ และมาตรการ 32 ส่วนที่ 4 แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด 34 4.1 แผนงานระยะเร่งด่วน 34 4.2 แผนงานระยะยาว 35 แผนงาน/โครงการระยะเร่งด่วน 1 ปี (พ.ศ.2558) 38 แผนงาน/โครงการระยะยาว (พ.ศ.2559-2562) 44
  • 5. ง สารบัญ หน้า ภาคผนวก 49 คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น 50 ตารางบันทึกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่น 53 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 1 เทศบาลนครขอนแก่น 54 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 2 เทศบาลเมืองพล 55 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 3 เทศบาลเมืองชุมแพ 56 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 4 เทศบาลเมืองบ้านไผ่ 57 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม Cluster 5 เทศบาลตําบลภูเวียง/หนองเรือ 58 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 1 เทศบาลเมืองกระนวน 59 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 2 เทศบาลตําบลน้ําพอง/เขาสวนกวาง 60 การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม สถานีขนถ่ายที่ 3 เทศบาลตําบลมัญจาคีรี 61
  • 6. จ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 จํานวนประชากรและจํานวนบ้านของจังหวัดขอนแก่น 7 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2547 – 2556) 8 ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณน้ําฝนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ.2547-พ.ศ.2556) 9 ตารางที่ 4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่น (Gross Provincial Product: GPP) 9 ตารางที่ 5 รายได้เปรียบเทียบตามสัดส่วน GPP สาขานอกภาคเกษตรและสาขาภาคเกษตร 10 ตารางที่ 6 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) 10 ตารางที่ 7 แสดงประเภท จํานวน เงินลงทุน และจํานวนคนงานของโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดขอนแก่น 10 ตารางที่ 8 แสดงข้อมูลการใช้น้ําประปา จังหวัดขอนแก่น 13 ตารางที่ 9 แสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น 13 ตารางที่ 10 แสดงจํานวนโรงเรียน จําแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2555 14 ตารางที่ 11 แสดงจํานวนโรงเรียนจําแนกตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2555 15 ตารางที่ 12 แสดงจํานวนห้องเรียน จําแนกตามสังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2555 15 ตารางที่ 13 แสดงจํานวนครูจําแนกตามสังกัด เพศ ปีการศึกษา 2555 15 ตารางที่ 14 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามสังกัด ระดับการศึกษา และชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555 16 ตารางที่ 15 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามระดับการศึกษา เพศ ปีการศึกษา 2555 16 ตารางที่ 16 แสดงจํานวนผู้เรียน/นักศึกษา ในสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2556 16 ตารางที่ 17 แสดงข้อมูลลุ่มน้ําจังหวัดขอนแก่น 19 ตารางที่ 18 แสดงข้อมูลบ่อน้ําบาดาลจังหวัดขอนแก่น 21 ตารางที่ 19 แสดงโครงการแหล่งน้ําในจังหวัดขอนแก่น 21 ตารางที่ 20 แสดงศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 23
  • 7. ฉ สารบัญภาพ หน้า รูปที่ 1 แสดงขอบเขตของจังหวัดขอนแก่น 6 รูปที่ 2 แผนที่แสดงการแบ่งกลุ่มพื้นที่เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่น 31
  • 8. 1 ส่วนที่ 1 บทนํา 1.1 หลักการและเหตุผล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้บูรณาการร่วมกันในการผลักดัน และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 โดย ให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ทั้งในกรุงเทพมหานคร ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ในทุกมิติ ตาม แนวทางปฏิบัติ 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) กําจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่วิกฤติ (ขยะมูลฝอยเก่า) 2) สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่) เน้นการลดและคัด แยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง จัดการขยะมูลฝอยแบบศูนย์รวม กําจัดโดยเทคโนโลยีแบบผสมผสานเน้นการแปรรูปเป็น พลังงาน หรือทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3) วางระเบียบ มาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4) สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ได้วางกรอบการดําเนินงานจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตาม Roadmap ดังกล่าว ดังนี้ 1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารจัดการในภาพรวมของจังหวัด (Single Manager) 2) ห้ามเทกองแบบกลางแจ้ง (No More Open Dump) 3) ปรับปรุง ฟื้นฟู ปิด สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการ 4) คัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง (ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย) 5) จัดการขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ เน้นการแปรรูปเป็นพลังงาน หรือทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6) สร้างระบบการจัดการของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ 7) ส่งเสริมภาคเอกชนมาลงทุน หรือดําเนินงานระบบฯ 8) การสร้างวินัยคนในชาติ มุ่งสู่การจัดการอย่างยั่งยืน 9) การจัดการที่ต้นทาง เน้นการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SCP : Sustainable Consumption and Production) 10) มีแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณขยะสะสมบริเวณสถานที่กําจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึง 723,691 ตัน ซึ่งจากการจัดลําดับจังหวัดสกปรกด้านการจัดการขยะมูลฝอย ปรากฏว่าจังหวัดขอนแก่นถูกจัดลําดับจังหวัดสกปรก ลําดับที่ 18 และมีปริมาณขยะสะสมมากที่สุดอยู่ในลําดับที่ 8 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียง 32 แห่ง จากจํานวน 224 แห่ง (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด) หรือร้อยละ 14 ที่มีการกําจัดขยะมูลฝอยถูกหลักสุขาภิบาล และมี ปริมาณขยะที่มีการจัดการและฝังกลบถูกหลักสุขาภิบาลเพียง 206 ตัน/วัน จากปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยชุมชน
  • 9. 2 1,224 ตัน/วัน มีเพียง หรือคิดเป็นร้อยละ 11.35 เท่านั้น ทําให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ขยะมูล ฝอย การปนเปื้อนของน้ําชะขยะไหลลงสู่แหล่งน้ําผิวดินและแหล่งน้ําใต้ดิน ปัญหากลิ่นเหม็นและพาหะนําโรค ส่งผล กระทบต่อชุมชนและประชาชนที่อาศัยใกล้เคียง ทําให้มีการร้องเรียนของราษฎรเป็นประจํา ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดขอนแก่นถูกวิธี ป้องกันผลกระทบ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้การดําเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทําแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดขอนแก่นขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของจังหวัด ขอนแก่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกหลักวิชาการ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 1.3 เป้าหมาย ภายในปี 2562 จังหวัดขอนแก่น มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างถูกหลักวิชาการ และมีประสิทธิภาพ 1.4 กรอบแนวคิด การดําเนินงานสอดคล้องและต่อยอดกับ 1.4.1 ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) มีกรอบแนวคิดการพัฒนาภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนในทุกภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิด การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณา การ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนําทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่าง บูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สําคัญ ในส่วนของการ เสริมสร้างทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสําคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตร มุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ําและเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งการ สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทไทยในเวทีประชาคมโลก ทั้งนี้ ภายใต้การขับเคลื่อนและแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในระดับต่างๆ ที่สอดคล้อง กับสภาพภูมิสังคม และกระจายการพัฒนาลงสู่พื้นที่ โดยยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม (Area – Function – Participation : A–F-P) ให้จังหวัดเป็นพื้นที่ดําเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาและเป็นจุดเชื่อมโยงการ พัฒนาจากระดับชุมชนสู่ประเทศและประเทศสู่ชุมชน ใช้กลไกและเครื่องมือการพัฒนาของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาค
  • 10. 3 ธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชนอย่างบูรณาการให้การขับเคลื่อนเกิดประสิทธิภาพด้วยกระบวนการสร้างเครือข่ายหรือ คลัสเตอร์ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ 1.4.2 แผนจัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555-2559 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555-2559 เป็นแผนระยะกลางที่มีความสอดคล้องกับทิศทางของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งผลให้เกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืนต่อการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยต้องพิจารณาบริบทการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากแรงกดดันของ กระแสแนวคิดและสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงให้ความสําคัญต่อบทบาทที่เข้มแข็งขึ้นของ ภาคประชาชน สิทธิชุมชนและส่งเสริมการกระจายอํานาจและหน้าที่รับผิดชอบตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 1.5 นิยามและความหมาย มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข, 2535) ขยะมูลฝอย (Solid waste) คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่ อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูล ฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะและ คุณสมบัติที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนํามาหมักทําปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงซากหรือ เศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยขยะที่ย่อยสลายนี้ เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่ง สามารถนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สําหรับขยะรีไซเคิลนี้ เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ ร้อยละ 30 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตราย ชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทําให้เกิดโรค วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุที่ทําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทําให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรส เซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกําจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะ
  • 11. 4 อันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง ร้อยละ 3 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) ขยะทั่วไป (General waste) มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสําหรับการนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อน อาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น สําหรับขยะทั่วไปนี้ เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบ ประมาณ ร้อยละ 3 ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมารหรือมีความเข้มข้น ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับ มูลฝอยนั้นแล้ว สามารถทําให้เกิดโรคได้(กฎกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ, 2545) กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การ ให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่อง ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (1) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดการตรวจชันสูตรศพ หรือซากสัตว์ และการ ใช้สัตว์ทดลอง (2) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมี กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทําด้วยแก้ว สไลด์ และกระจกปิดสไลด์ (3) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ําจาก ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สําลี ผ้าก๊อส ผ้าต่างๆ และท่อยาง (4) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง
  • 12. 5 ส่วนที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด 2.1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด 2.1.1 สภาพทางกายภาพ จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 - 17 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 101 - 103 องศาตะวันออก ซึ่ง อยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 445 กิโลเมตร มีพื้นที่ 10,885.99 ตาราง กิโลเมตร หรือประมาณ 6,803,744 ไร่ ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ มีลักษณะสูงต่ําสลับเป็นลูกคลื่นลาดเทไปทางทิศ ตะวันออกและทิศใต้ มีที่ราบลุ่มแถบลุ่มน้ําชีและลุ่มน้ําพอง พื้นที่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลางเฉลี่ย 100-200 เมตร 2.1.2 อาณาเขตจังหวัด (รูปที่ 1) ทิศเหนือ - ติดกับจังหวัดอุดรธานี เลย และหนองบัวลําภู ทิศใต้ - ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ทิศตะวันออก - ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์และมหาสารคาม ทิศตะวันตก - ติดกับจังหวัดชัยภูมิและเพชรบูรณ์ 2.1.3 เส้นทางคมนาคม ทางรถยนต์ มีทางหลวงแผ่นดินผ่านพื้นที่จํานวน 7 สาย ได้แก่ - ทางหลวงหมายเลข 2: สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย - ทางหลวงหมายเลข 12: ขอนแก่น-เพชรบูรณ์ - ทางหลวงหมายเลข 23: แยกจากทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านอําเภอบ้านไผ่ (ขอนแก่น) – มหาสารคาม - ทางหลวงหมายเลข 201 : ขอนแก่น-ชัยภูมิ-เลย - ทางหลวงหมายเลข 207 : ขอนแก่น-บุรีรัมย์ - ทางหลวงหมายเลข 208 : ขอนแก่น-มหาสารคาม - ทางหลวงหมายเลข 209 : ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ทางรถไฟ เส้นทางจาก กรุงเทพฯ-หนองคาย ขนานกับทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ผ่าน อําเภอในเขตพื้นที่ คือ อําเภอพล บ้านไผ่ บ้านแฮด เมืองขอนแก่น น้ําพอง และเขาสวนกวาง ทางเครื่องบิน มีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร เส้นทางบิน กรุงเทพฯ - ขอนแก่น- กรุงเทพ ฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 55 นาที
  • 13. 6 รูปที่ 1 แสดงขอบเขตของจังหวัดขอนแก่น 2.1.4 การปกครอง - อําเภอ จํานวน 26 อําเภอ 198 ตําบล 2,331 หมู่บ้าน และ 389 ชุมชน (ที่มา : ที่ทําการปกครองจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)
  • 14. 7 - - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 225 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด จํานวน 1 แห่ง เทศบาล จํานวน 85 แห่ง (เทศบาลนคร จํานวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จํานวน 6 แห่ง และเทศบาลตําบล จํานวน 78 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 139 แห่ง (ที่มา : สํานักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น 2556) - - ราชการส่วนภูมิภาค 33 ส่วนราชการ ราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ 227 หน่วยงาน (ที่มา : สํานักงานจังหวัดขอนแก่น 2557) 2.1.5 ประชากร ประชากรรวม ,1 781,655 คน แยกเป็นชาย 881,591 คน หญิง 900,064 คน จํานวนบ้าน 561,774 หลัง ตารางที่ 1 จํานวนประชากรและจํานวนบ้านของจังหวัดขอนแก่น อําเภอ จํานวนประขากร จํานวนประชากรชาย จํานวนประชากรหญิง จํานวนบ้าน เมืองขอนแก่น 396,522 192,189 204,333 171,235 บ้านฝาง 54,464 27,273 27,191 16,211 พระยืน 34,534 16,969 17,565 9,747 หนองเรือ 93,422 46,434 46,988 25,013 ชุมแพ 123,351 61,220 62,131 38,487 สีชมพู 78,268 39,138 39,130 22,426 น้ําพอง 113,766 56,723 57,043 32,044 อุบลรัตน์ 44,541 22,288 22,253 11,487 กระนวน 78,765 39,245 39,520 22,181 บ้านไผ่ 101,214 50,016 51,198 31,636 เปือยน้อย 19,981 10,045 9,936 5,021 พล 87,294 43,274 44,020 25,084 แวงใหญ่ 29,554 14,573 14,981 7,425 แวงน้อย 42,142 20,983 21,159 11,459 หนองสองห้อง 78,086 39,055 39,031 20,374 ภูเวียง 72,085 35,981 36,104 19,326 มัญจาคีรี 71,738 35,684 36,054 20,946 ชนบท 48,853 23,960 24,893 13,510 เขาสวนกวาง 38,207 19,214 18,993 10,444 ภูผาม่าน 22,808 11,444 11,364 6,420 ซําสูง 23,647 11,734 11,913 6,436 โคกโพธิ์ไชย 25,487 12,757 12,730 7,211 หนองนาคํา 23,798 11,878 11,920 5,945
  • 15. 8 อําเภอ จํานวนประขากร จํานวนประชากรชาย จํานวนประชากรหญิง จํานวนบ้าน บ้านแฮด 32,717 16,296 16,421 9,334 โนนศิลา 26,485 13,292 13,193 7,271 เวียงเก่า 19,926 9,926 10,000 5,101 รวม 1,781,655 881,591 900,064 561,774 ที่มา : สํานักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวบรวมโดย สํานักงานสถิติพยากรณ์ สํานักงาน สถิติแห่งชาติ ณ 31 ธันวาคม 2556 2.1.6 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่สูงต่ําสลับเป็นลูกคลื่น ทางทิศตะวันตกสูงมาก เพราะมีแนวเขาภู กระดึงและเพชรบูรณ์ สําหรับทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสูงต่ํา มีที่ราบลุ่มแถบลุ่มน้ําชีในเขต พื้นที่อําเภอพระยืน ชนบท บ้านไผ่ มัญจาคีรี แวงน้อย แวงใหญ่ เมืองขอนแก่น และที่ราบลุ่มน้ําพองในเขตพื้นที่อําเภอ น้ําพอง อุบลรัตน์และเมืองขอนแก่น พื้นที่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลางโดยเฉลี่ย 100 - 200 เมตร 2.1.7 ลักษณะภูมิอากาศ ในรอบปี 2556 อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 41.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2556 และอุณหภูมิต่ําสุด วัดได้ 11.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 สามารถเปรียบเทียบอุณหภูมิย้อนหลัง 10 ปี ได้ตามตารางที่ 4 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2547 – 2556) ปี อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ําสุด อุณหภูมิเฉลี่ย 2547 40.4 13.0 27.00 2548 40.2 11.0 25.60 2549 39.3 12.0 25.70 2550 41.1 12.6 27.00 2551 38.5 11.9 26.00 2552 39.6 10.2 27.80 2553 41.2 13.5 27.41 2554 39.3 11.6 26.17 2555 39.0 15.0 27.11 2556 41.8 11.6 27.70 ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาขอนแก่น 2557 หมายเหตุ : 1. อุณหภูมิสูงสุด หรือต่ําสุด คือ ค่าของอุณหภูมิสูงที่สุดหรือต่ําที่สุดที่ตรวจวัดได้ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง (เวลา 07.00 น.วันนี้ ถึง เวลา 07.00 น.วันพรุ่งนี้) 2. อุณหภูมิเฉลี่ยของปี คือ ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิที่ตรวจวัดได้ทุกครั้งในเวลา 1 ปี
  • 16. 9 2.1.8 ปริมาณน้ําฝน สถิติข้อมูลปริมาณน้ําฝนของจังหวัดขอนแก่น โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เปรียบเทียบย้อนหลัง 10 ปี (2547 - 2556) ฝนตกมากที่สุดปี พ.ศ. 2550 วัดได้ 1,378.9 มิลลิเมตร จํานวนวันที่ฝนตก 101 วัน ฝนตกน้อยที่สุดในปี พ.ศ.2548 วัดได้ 936.5 มิลลิเมตร จํานวนวันที่ฝนตก 106 วัน ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณน้ําฝนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ.2547-พ.ศ.2556) ปี พ .ศ. ปริมาณน้ําฝน )มม(. จํานวนวันที่ฝนตก 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 1,303.5 936.5 1,201.5 1,378.9 1,274.5 1,039.5 1,230.1 1,338.8 1,039.4 943.1 94 106 108 101 135 104 110 131 100 109 ที่มา : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2556 2.1.9 สภาพเศรษฐกิจ ในปี 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดขอนแก่นมีมูลค่าจํานวน 185,603 ล้านบาท เป็นลําดับที่ 14 ของประเทศ และเป็นลําดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองจากจังหวัดนครราชสีมา (ตารางที่ 6) สาขาการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดขอนแก่น ในปี 2555 คือ สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่า 163,144 ล้านบาท ในขณะที่สาขาภาคเกษตรมีมูลค่า 22,451 ล้านบาท (ตารางที่ 7) สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่าอันดับ 1 คือ สาขาผลิตอุตสาหกรรม มีมูลค่า 77,001 ล้านบาท รองลงมา คือสาขาการศึกษา มีมูลค่า 18,468 ล้านบาท และการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมฯ มีมูลค่า 16,426 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) ของจังหวัดขอนแก่น ปี 2555 คือ 106,583 บาท (ตาราง ที่ 8) อยู่ในอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ ตารางที่ 4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดขอนแก่น (Gross Provincial Product: GPP) ปี 2551 2552 2553 2554 2555 ผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) 125,813 141,468 151,179 159,377 185,603
  • 17. 10 ตารางที่ 5 รายได้เปรียบเทียบตามสัดส่วน GPP สาขานอกภาคเกษตรและสาขาภาคเกษตร ปี 5125 2552 2553 2554 2555 สาขาภาคเกษตร 13,027 15,842 17,515 19,524 22,451 สาขานอกภาคเกษตร 112,786 125,627 133,664 139,853 163,144 ตารางที่ 6 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) ปี 5125 2552 2553 2554 2555 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (GPP) 71,774 80,961 86,834 91,516 106,583 ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2555 2.1.10 อุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้ประกอบการ จํานวนทั้งสิ้น 4,191 โรงงาน เงินทุน 92,651,443,781 บาท คนงาน 56,428 คน แยกตามจําพวกโรงงานได้ดังตารางที่ 9 ตารางที่ 7 แสดงประเภท จํานวน เงินลงทุน และจํานวนคนงานของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดขอนแก่น โรงงาน จําพวกที่ จํานวน โรงงาน จํานวนเงินลงทุน (บาท) จํานวนคนงาน (คน) แรงม้า ชาย หญิง รวมคนงาน 1 2,750 266,456,040 3,439 134 3,573 32,913.56 2 518 906,459,190 2,615 1,249 3,864 14,179.11 3 923 91,478,528,551 23,480 25,511 48,991 2,905,363.17 รวม 4,191 92,651,443,781 29,534 26,894 56,428 2,952,455.84 หมายเหตุ จําพวกที่ 2 คือ ต้องแจ้งให้ทราบก่อนการประกอบกิจการโรงงาน จําพวกที่ 3 คือ ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดําเนินกิจการได้ สาขาอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 10 อันดับแรกของจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมการเกษตร จํานวน 2,764 โรงงาน 2. อุตสาหกรรมอโลหะ จํานวน 218 โรงงาน 3. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ จํานวน 218 โรงงาน 4. อุตสาหกรรมขนส่ง จํานวน 181 โรงงาน 5. อุตสาหกรรมอาหาร จํานวน 154 โรงงาน 6. อุตสาหกรรมอื่นๆ จํานวน 116 โรงงาน 7. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล จํานวน 114 โรงงาน 8. อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ จํานวน 64 โรงงาน
  • 18. 11 9. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน จํานวน 52 โรงงาน 10. อุตสาหกรรมพลาสติก จํานวน 43 โรงงาน ที่มา : สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น 2557 มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ใช้แรงงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป แยกได้ดังนี้ 1. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 100 - 299 คน มี 87 โรงงาน 2. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 300 - 499 คน มี 26 โรงงาน 3. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ 500 - 999 คน มี 12 โรงงาน 4. โรงงานที่ใช้คนงานตั้งแต่ > 1,000 คนขึ้นไป มี 10 โรงงาน ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2556 2.1.11 เกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตร 4,369,043 ไร่ (ร้อยละ 64.19 ของพื้นที่จังหวัด) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 757,542 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 13.14 ของพื้นที่การเกษตร หรือร้อยละ 8 ของพื้นที่จังหวัด) จํานวนคนทํางานในภาคเกษตร 439,583 คน (ที่มา : สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น 2555) โดยมีผลผลิตจากพืชที่สําคัญ ดังนี้ ข้าว นาปรัง ผลผลิตรวม 67,807 ตัน นาปี ผลผลิตรวม 760,496 ตัน อ้อยโรงงาน ผลผลิตรวม 7,248,278 ตัน มันสําปะหลัง ผลผลิตรวม 624,636 ตัน ถั่วเหลือง ผลผลิตรวม 4,457 ตัน โดยมีผลผลิตจากสัตว์ที่สําคัญ ดังนี้ โคเนื้อ ผลผลิตรวม 38,227 ตัว สุกร ผลผลิตรวม 150,606 ตัว ไก่เนื้อ ผลผลิตรวม 8,629,462 ตัว โคนม ผลผลิตน้ํานมดิบรวม 31,102 ตัน ที่มา : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2556 2.1.12 พลังงาน มีโรงงานผลิตเอทานอล 2 แห่ง กําลังการผลิตจากมันสําปะหลัง 130,000 ลิตร/วัน และจาก กากน้ําตาล 150,000 ลิตร/วัน สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง 667 แห่ง สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) 9 แห่ง สถานีบริการก๊าซ LPG 61 แห่ง และร้านจําหน่ายก๊าซหุงตุ้ม (LPG) 680 แห่ง (ที่มา : สํานักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่น 2557)
  • 19. 12 2.1.13 สื่อสารและโทรคมนาคม มีที่ทําการไปรษณีย์ จํานวน 28 แห่ง แยกเป็นประเภทรับฝาก (ปทฝ.) 4 แห่ง และประเภทรับ-จ่าย (ปทจ.) 24 แห่ง มีสํานักงานเขตโทรศัพท์ภูมิภาคที่ 2 ซึ่งมีชุมสายในการปฏิบัติงานในจังหวัด 8 แห่ง สื่อมวลชนมีสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT ขอนแก่น สํานักประชาสัมพันธ์เขต 1 สถานี ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ช่อง 7 และทีวีไทย นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 14 สถานี หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง 12 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น 13 ฉบับ (สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น 2555) 2.1.14 การเงินการธนาคาร เป็นที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถาบันการเงินพิเศษ ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมทั้งธนาคารพาณิชย์สาขาหลักและสาขาย่อย รวมทั้งสิ้น 100 แห่ง - ปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์คงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดคงค้าง 67,765.67 ล้าน บาท ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.48 ชะลอตัวจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.23 ตามการชะลอตัว ของเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจํา เนื่องจากผู้ฝากเงินหันไปลงทุนในแหล่งอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในขณะ ที่เงินฝากกระแสรายวันหดตัวจากเดือนที่แล้ว ตามเงินฝากส่วนราชการที่มีการเบิกจ่ายลดลง - - ปริมาณเงินฝากธนาคารรัฐ (ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดค้าง 35,248.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่ แล้วร้อยละ 22.29 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 21.93 เนื่องจากการขยายตัวของเงินฝากธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ในขณะที่ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเงินฝากชะลอตัวจาก เดือนที่แล้ว - - ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์คงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดคงค้าง 94,005 ล้านบาท ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 15.43 ชะลอจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 16.37 ตามการชะลอตัวของ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินให้กู้ - - ปริมาณสินเชื่อธนาคารรัฐ (ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มียอดค้าง 67,099.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่ แล้วร้อยละ 25.31 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 24.02 จากการขยายตัวของสินเชื่อตามนโยบายของ ภาครัฐผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อย่างไรก็ตามสินเชื่อของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ปรับตัวดีขึ้น ตามสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555
  • 20. 13 2.1.15 การค้าและการบริการ มีโรงแรม 142 แห่ง ห้องพัก 5,790 ห้อง มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 6 แห่ง และขนาดกลาง 23 แห่ง โรงภาพยนตร์ 20 โรง สถานบริการ 70 แห่ง (ที่มา : ที่ทําการปกครองจังหวัดขอนแก่น 2554) 2.1.16 ประปา การประปา มีสํานักงานประปาอยู่ในพื้นที่ จํานวน 9 แห่ง ให้บริการจ่ายน้ําประปา 8 แห่ง ได้แก่ สํานักงานประปาขอนแก่น บ้านไผ่ ชุมแพ น้ําพอง ชนบท กระนวน หนองเรือ และเมืองพล จํานวนผู้ใช้น้ํารวม 164,581 ราย กําลังการผลิตที่ใช้งาน 8,700 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ปริมาณน้ําผลิต 63,543,401 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ําจําหน่าย 43,375,003 ลูกบาศก์เมตร ตารางที่ 8 แสดงข้อมูลการใช้น้ําประปา จังหวัดขอนแก่น กําลังการผลิต น้ําที่ผลิตได้ ปริมาณน้ําที่ จํานวนผู้ใช้น้ํา (ลบ.ม./ชั่วโมง) (ลบ.ม.) จําหน่ายแก่ผู้ใช้ (ราย) (ลบ.ม.) น้ําจ่ายฟรี น้ําสูญเสีย (ลบ.ม.) 8,700 63,543,401 43,375,003 163,971 22,639,028 2,991,984 164,581 สํานักงานประปาขอนแก่น 800 4,970,987 3,219,522 18,380 1,661,600 229,510 14,346 สํานักงานประปาบ้านไผ่ 490 2,102,072 1,502,195 3,799 689,742 70,707 7,245 สํานักงานประปาชุมแพ 480 2,539,278 1,783,729 9,015 755,549 66,957 8,445 สํานักงานประปาน้ําพอง 250 2,120,944 1,490,712 92,040 630,232 38,900 10,264 สํานักงานประปาชนบท 450 3,508,739 2,686,785 4,906 821,954 92,882 11,904 สํานักงานประปากระนวน 5,300 41,974,149 27,075,101 23,835 15,760,076 2,335,198 85,059 สํานักงานประปาหนองเรือ 430 3,203,559 2,364,616 3,580 838,943 97,391 11,595 สํานักงานประปาเมืองพล 500 3,123,673 3,252,343 8,416 1,480,932 60,439 15,723 รวม ปริมาณน้ําที่ใช้ ในระบบ ปริมาณน้ําที่จ่ายเพื่อ สํานักงานประปา สาธารณประโยชน์ และรั่วไหล (ลบ.ม) ที่มา : สํานักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 6 จังหวัดขอนแก่น 2556 2.1.17 ไฟฟ้า การไฟฟ้ามีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สําคัญ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วมน้ําพอง กําลังผลิต 25.2 เมกกะวัตต์ และ 710 เมกกะวัตต์ตามลําดับ สถานะการใช้ ไฟฟ้าของจังหวัดขอนแก่น 478,919 ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้แล้ว 464,286 ครัวเรือน เป็นร้อยละที่มีไฟฟ้าใช้ 96.94 ตารางที่ 9 แสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น อําเภอ จํานวนผู้ใช้ไฟฟ้า )ราย( ปริมาณการใช้ไฟฟ้า )หน่วย( มูลค่าการใช้ไฟฟ้า )บาท( อําเภอเมืองขอนแก่น 134,443 96,434,338.91 343,310,734.94 อําเภอบ้านฝาง 16,105 3,659,808.67 13,040,054.23 อําเภอพระยืน 8,753 1,749,170.72 5,841,022.55 อําเภอหนองเรือ 25,807 5,407,359.39 19,738,242.39 อําเภอชุมแพ 25,837 8,510,547.56 32,416,584.58
  • 21. 14 อําเภอ จํานวนผู้ใช้ไฟฟ้า )ราย( ปริมาณการใช้ไฟฟ้า )หน่วย( มูลค่าการใช้ไฟฟ้า )บาท( อําเภอสีชมพู 17,971 2,158,302.30 7,801,087.43 อําเภอน้ําพอง 27,356 14,604,994.64 50,931,343.22 อําเภออุบลรัตน์ 13,757 2,193,358.52 7,602,180.59 อําเภอกระนวน 20,370 4,099,072.04 13,835,254.74 อําเภอบ้านไผ่ 30,192 8,665,197.82 30,267,270.04 อําเภอเปือยน้อย 5,413 601,511.88 2,047,228.83 อําเภอพล 21,921 5,342,993.23 18,711,437.64 อําเภอแวงใหญ่ 6,508 782,697.44 2,617,839.52 อําเภอแวงน้อย 10,481 1,236,666.99 4,134,023.86 อําเภอหนองสองห้อง 18,055 2,255,834.05 8,299,128.90 อําเภอภูเวียง 21,666 3,007,354.31 10,709,109.43 อําเภอมัญจาคีรี 18,039 2,675,183.08 9,653,121.73 อําเภอชนบท 11,996 2,011,566.40 6,731,159.37 อําเภอเขาสวนกวาง 7,110 1,141,360.10 3,867,286.33 อําเภอภูผาม่าน 9,432 1,864,689.78 6,968,805.37 อําเภอซําสูง 5,212 791,849.82 2,628,922.76 อําเภอโคกโพธิ์ไชย 5,976 773,373.95 2,579,447.65 อําเภอหนองนาคํา 5,340 707,714.67 2,442,254.87 อําเภอบ้านแฮด 6,835 2,074,647.78 7,266,542.04 อําเภอโนนศิลา 2,030 255,658.04 927,203.71 รวม 150,548 97,207,712.86 368,889,999.88 ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น 2556 2.1.18 การศึกษา โรงเรียนทุกสังกัดที่เปิดทําการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดขอนแก่น จํานวน 1,247 แห่ง จํานวนนักเรียน 251,305 คน จํานวนครู 10,464 คน จํานวนห้องเรียน 13,299 ห้อง ตารางที่ 10 แสดงจํานวนโรงเรียน จําแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2555 สังกัด แห่ง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1,101 สํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 128 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 8 อื่น ๆ 0 รวม 1,237
  • 22. 15 ตารางที่ 11 แสดงจํานวนโรงเรียนจําแนกตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2555 ระดับการศึกษาที่เปิดสอน แห่ง 1. อนุบาล 39 2. อนุบาล-ประถมศึกษา 803 3. อนุบาล-มัธยมฯ ตอนต้น 263 4. อนุบาล-มัธยมฯ ตอนปลาย 3 5. ประถมศึกษา 219 6. ประถมศึกษา-มัธยมฯ ตอนต้น 48 7. มัธยมฯ ตอนต้น – มัธยมฯ ตอนปลาย 83 รวม 1,458 ตารางที่ 12 แสดงจํานวนห้องเรียน จําแนกตามสังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2555 สังกัด แห่ง ระดับการศึกษา แห่ง สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 11,249 ก่อนประถมศึกษา 2,322 สํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน 888 ประถมศึกษา 6,861 กรมส่งเสริมการปกครองส่วน ท้องถิ่น 0 มัธยมศึกษา 2,583 รวม 12,137 รวม 11,766 ตารางที่ 13 แสดงจํานวนครูจําแนกตามสังกัด เพศ ปีการศึกษา 2555 สังกัด ชาย หญิง รวม สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน 24,899 25,049 49,948 สํานักบริหารงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน 375 865 1,479 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 0 0 0 อื่น ๆ 0 0 0 รวม 25,274 25,914 51,427
  • 23. 16 ตารางที่ 14 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามสังกัด ระดับการศึกษา และชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555 สังกัด ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 19,764 68,597 26,937 37,770 สํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน 33,514 11,431 3,180 6,992 กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น 0 0 0 0 อื่น ๆ 0 0 0 0 รวม 251,305 110,496 30,117 44,762 ตารางที่ 15 แสดงจํานวนนักเรียน จําแนกตามระดับการศึกษา เพศ ปีการศึกษา 2555 ระดับการศึกษา ชาย หญิง ก่อนประถมศึกษา 18,407 16,792 ประถมศึกษา 53,422 54,600 มัธยมศึกษา-ตอนต้น 29,736 30,175 มัธยมศึกษา-ตอนปลาย 18,367 24,636 รวม 119,932 126,203 ตารางที่ 16 แสดงจํานวนผู้เรียน/นักศึกษา ในสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2556 ระดับการศึกษา ชาย หญิง รวม การส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ 1,269 2,424 3,693 การศึกษาขั้นพื้นฐาน 74,770 82,679 157,449 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ทักษะชีวิต และสังคม 19,989 25,579 45,568 สถาบันระดับอุดมศึกษา จํานวน 15 แห่ง  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น  มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น
  • 24. 17  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และ ศูนย์การศึกษาชุมแพ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์การศึกษาจังหวัดขอนแก่น  มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น  วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น  วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น  สถาบันการบินพลเรือน (ศูนย์ฝึกการบินที่ 2)  วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  วิทยาลัยอาชีวะศึกษาขอนแก่น โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 10 แห่ง  โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น  โรงเรียนเทคโนโลยีภูมิสิทธิ์  โรงเรียนขอนแก่นเทคโนโลยีพณิชยการ  โรงเรียนพงษ์ภิญโญเทคโนโลยี  โรงเรียนเทคโนโลยีธุรกิจอาชีวะ  โรงเรียนขอนแก่นบริหารธุรกิจและธุรกิจอาชีวะ  โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โรงเรียนอมตะเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ อําเภอหนองสองห้อง  โรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี อําเภอชุมแพ  โรงเรียนเทคโนโลยีพลพณิชยการ ( ศูนย์บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ) อําเภอพล นอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาระบบจีไอเอส (GIS) ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นของประเทศ สําหรับโรงเรียน ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น 1) โรงเรียนมัธยม สพม. จํานวน 84 แห่ง 2) โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จํานวน 17 แห่ง 3) โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จํานวน 11 แห่ง 4) โรงเรียนสาธิต จํานวน 2 แห่ง 5) โรงเรียนนานาชาติ จํานวน 1 แห่ง 6) โรงเรียนเอกชน จํานวน 12 แห่ง
  • 25. 18 2.1.19 สาธารณสุข สถานบริการด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาล 31 แห่ง สังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 22 แห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 แห่ง กระทรวงกลาโหม 1 แห่ง กรมอนามัย 1 แห่ง กรมสุขภาพจิต 1 แห่ง กรมการ แพทย์ 1 แห่ง เอกชน 3 แห่ง - สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1) โรงพยาบาลขอนแก่น (รพศ.) ขนาด 867 เตียง 1 แห่ง 2) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น (รพท.) ขนาด 250 เตียง 1 แห่ง 3) โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 120 เตียง 1 แห่ง ขนาด 90 เตียง 2 แห่ง ขนาด 60 เตียง 5 แห่ง ขนาด 30 เตียง 12 แห่ง 4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล 248 แห่ง 5) ศูนย์แพทย์ 4 มุมเมือง (สังกัดโรงพยาบาลขอนแก่น) 4 แห่ง - ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง - ศูนย์แพทย์ประชาสโมสร - ศูนย์แพทย์มิตรภาพ - ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดหนองแวง พระอารามหลวง 6) ศูนย์อนามัยที่ 6 - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง 7) ศูนย์บําบัดรักษายาเสพติด จังหวัดขอนแก่น ขนาด 140 เตียง 1 แห่ง 8) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ขนาด 372 เตียง 1 แห่ง - สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงอื่น 1) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 1,220 เตียง 1 แห่ง 2) ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 200 เตียง 1 แห่ง 3) โรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง 4) ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3 แห่ง - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 บ้านโนนชัย - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 บ้านหนองใหญ่ - สถานบริการสาธารณสุขเอกชน โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ 1) โรงพยาบาลขอนแก่นราม ขนาด 100 เตียง 2) โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ขนาด 50 เตียง 3) โรงพยาบาลเวชประสิทธิ์ ขนาด 50 เตียง
  • 26. 19 2.1.20 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ เป็นพื้นที่ป่า 1,296,400 ไร่ (ร้อยละ 11.91 ของพื้นที่จังหวัด) มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง มีพื้นที่รวม 743,973 ไร่ วนอุทยาน 2 แห่ง มีพื้นที่รวม 6,200 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ 22 ป่า มีพื้นที่รวม 1,697,052 ไร่ ป่าชุมชน 206 แห่ง มีพื้นที่รวม 49,316 ไร่ สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พรรณไม้ สําคัญ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก เหียง พลวง แดง เต็ง รัง พรรณไม้พื้นล่างที่ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ หว่านไพร ชัน ข่าป่า เพ็ก หวาย กล้วยไม้ป่า หญ้าคา แฝก ฯลฯ (ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2555) แหล่งน้ํา (1) น้ําผิวดิน จังหวัดขอนแก่นอยู่ในเขตของลุ่มน้ําหลัก 2 ลุ่มน้ํา คือ ลุ่มน้ํามูลและลุ่มน้ําชี พื้นที่ลุ่มน้ํามูล ได้แก่ กลุ่มลุ่มน้ําสาขาที่ไหลลงลําห้วยแอก ลําห้วยสะแทด และลําพังชู ในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ําชี ได้แก่ กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงอ่างเก็บ น้ําอุบลรัตน์ กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงลําน้ําพองตอนล่าง กลุ่มลุ่มน้ําที่ไหลลงแม่น้ําชี และกลุ่มลุ่มน้ําสาขาลําปาวตอนบน โดย มีลําน้ําสายหลักที่ไหลผ่านจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ลําน้ําพอง ลําน้ําเชิญ และลําน้ําชี ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่จังหวัด ขอนแก่นทั้งหมดออกเป็น 11 ลุ่มน้ํา และปริมาณน้ําท่าเฉลี่ยรายเดือนที่เกิดจากพื้นที่ รับน้ําของจังหวัดขอนแก่นทั้ง 11 ลุ่มน้ําย่อยสรุปได้ ดังนี้ ตารางที่ 17 แสดงข้อมูลลุ่มน้ําจังหวัดขอนแก่น ลําดับที่ ลุ่มน้ําย่อย พื้นที่รับน้ําฝน )ตร.กม(. ปริมาณน้ําท่ารายปีเฉลี่ย (ล้าน ลบ.ม) 1 ลุ่มน้ําห้วยแอก 859.39 120.93 2 ลุ่มน้ําลําสะแทด 77.86 11.83 3 ลุ่มน้ําพังชู 189.89 26.86 4 ลุ่มน้ําชีส่วนที่ 2 350.49 37.29 5 ลุ่มน้ําชีส่วนที่ 3 3,244.00 362.23 6 ลุ่มน้ําลําห้วยสามหมอ 98.29 15.58 7 ลุ่มน้ําพองตอนบน 2,150.49 411.78 8 ลุ่มน้ําพองตอนล่าง 2,194.42 359.69 9 ลุ่มน้ําลําปาวตอนบน 95.52 26.38 10 ลุ่มน้ําเชิญ 1,168.57 174.53 11 ลุ่มน้ําห้วยสายบาตร 457.06 87.82 รวม 10,885.98 1,634.92 ที่มา : โครงการชลประทานขอนแก่น 2555
  • 27. 20 ปริมาณน้ําท่าในพื้นที่ลุ่มน้ําชี จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ําท่าจากสถานีวัดน้ําท่าที่อยู่ในลุ่มน้ําชีทั้งหมด 32 สถานี พบว่า ปริมาณน้ําท่าของแม่น้ําชีส่วนใหญ่จะมีมากในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน และมีปริมาณน้อยในช่วงฤดูแล้ง โดยเดือนที่มีปริมาณน้ําท่าสูงสุดได้แก่ช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ส่วนลุ่มน้ําย่อยที่อยู่ในลุ่มน้ํามูลพื้นที่จังหวัด ขอนแก่น จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ํามากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ําท่าที่เกิด จากลุ่มน้ํามีน้อย และยังไม่มีแหล่งเก็บกักน้ําขนาดกลาง จังหวัดขอนแก่นมีลําน้ําที่สําคัญไหลผ่าน 3 สาย ดังนี้ 1) ลําน้ําพอง มีต้นกําเนิดจากภูกระดึงและเทือกเขาสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักกับลุ่มน้ําชี ไหลผ่าน อ.ภูกระดึง จ.เลย และ อ.อุบลรัตน์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และไหลบรรจบแม่น้ําชีที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่นมีการก่อสร้าง เขื่อนอุบลรัตน์กั้นลําน้ําพอง ที่ อ.อุบลรัตน์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 258,000 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายหนองหวายเพื่อทดน้ํา ที่ อ.น้ําพอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ําและ บํารุงรักษาหนองหวาย ลําน้ําพองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ 1.1) ลําน้ําพองตอนบน ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ลําน้ําสาขาประกอบด้วย หนองโก ลําน้ําพวย ห้วยทรายขาว ลําน้ํามอ ห้วยแกน และห้วยซําจาน ซึ่งไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ 1.2) ลําน้ําพองตอนล่าง ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ลําน้ําสาขาประกอบด้วย ห้วยทราย ห้วยคุมมุมห้วย ยาง ห้วยโจด ห้วยเสือเต้น ห้วยเสียว ห้วยเก้าคต ห้วยใหญ่ ห้วยสายบาตร และห้วยพระคือ 2) ลําน้ําเชิญ มีต้นกําเนิดจากสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักและลุ่มน้ําชี ใน จ.ชัยภูมิ และ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ที่ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 3) ลําน้ําชี มีต้นกําเนิดจากสันปันน้ําของลุ่มน้ําป่าสักและลุ่มน้ําชี ใน จ.ชัยภูมิ ไหลเข้าสู่จังหวัด ขอนแก่นบริเวณ อําเภอแวงน้อย ไหลผ่านอําเภอแวงใหญ่ อําเภอชนบท อําเภอมัญจาคีรี อําเภอบ้านไผ่ และอําเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไหลผ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร และบรรจบแม่น้ํา มูล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 900 กม. ในสภาพปัจจุบันน้ําท่าจากแม่น้ําชีไหลผ่านแม่น้ํามูลประมาณ 8.752 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี (2) น้ําบาดาล บ่อบาดาลในจังหวัดขอนแก่นมีจํานวน 6,462 บ่อ บ่อน้ําบาดาลส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ เพื่อการ ผลิตน้ําประปาหมู่บ้านและเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ส่วนบ่อบาดาลที่ใช้สําหรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประมง และการเลี้ยงสัตว์ มีอยู่บ้างแต่เป็นจํานวนไม่มากนัก จํานวนบ่อบาดาลที่ ดําเนินการขุดเจาะโดยหน่วยงานต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
  • 28. 21 ตารางที่ 18 แสดงข้อมูลบ่อน้ําบาดาลจังหวัดขอนแก่น ประเภท จํานวน 1) บ่อน้ําบาดาล (บ่อ) - ใช้การได้ (บ่อ) - หมดสภาพ (บ่อ) 6,462 6,066 396 2) จุดจ่ายน้ํา (แห่ง) 71 3) น้ําดื่มได้ (แห่ง) 39 4) ระบบประปาบาดาล (แห่ง) ,1 705 รวม 8,167 ที่มา : ศูนย์ทรัพยากรน้ําบาดาลภาค 4 ขอนแก่น 2555 ตารางที่ 19 แสดงโครงการแหล่งน้ําในจังหวัดขอนแก่น ขนาดโครงการ จํานวน (แห่ง) ปริมาณน้ําเก็บกัก )ล้าน ลบ.ม(. พื้นที่รับประโยชน์ )ไร่( โครงการขนาดใหญ่ 2 2,263.60 143,767 โครงการขนาดกลาง 19 81.44 51,948 โครงการขนาดเล็ก 441 37.13 145 ,6 81 โครงการสถานีสูบน้ําด้วยไฟฟ้า 109 - 212,065 ที่มา : โครงการชลประทานขอนแก่น 2555 ทรัพยากรธรณี แหล่งทรัพยากรธรณีที่สําคัญในจังหวัดขอนแก่น คือ 1. แร่หินปูน มีอยู่ในเขตอําเภอภูผาม่าน อําเภอสีชมพู และอําเภอชุมแพ มีพื้นที่รวม 160 ไร่ ปริมาณ แร่สํารอง 61.43 ล้านตัน มีการประกอบกิจการเหมืองแร่หินปูนเพื่อการอุตสาหกรรมก่อสร้าง จํานวน 12 แปลง 2. ก๊าซธรรมชาติ พบที่อําเภอน้ําพอง เขาสวนกวาง และอําเภอชนบท มีเพียงแหล่งที่อําเภอน้ําพอง และอําเภอเขาสวนกวางที่ได้ขุดขึ้นมาใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย โดยมีหลุมขุดเจาะก๊าซ จํานวน 2 แห่ง คือ 2.1 หลุมขุดเจาะก๊าซ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จํากัด ตั้งอยู่ที่ตําบลกุดน้ําใส อําเภอน้ําพองมีปริมาณ ก๊าซสํารองประมาณ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในปี พ.ศ.2533 มีปริมาณการใช้วันละ 40 ล้านลูกบาศก์ฟุต ปี พ.ศ. 2537 มีปริมาณการใช้วันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซที่แหล่งน้ําพองมีโรงงานผลิตก๊าซตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับหลุม ขุดเจาะก๊าซ