SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 22
Baixar para ler offline
โอกาสใหญ่
ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ผู้เขียน : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปลายฟ้า บุนนาค ปาณัท ทองพ่วง
อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2561
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต
จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย
ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาพูดในที่ชุมนุมของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พยายามเลือกเรื่อง
ที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ เลือกเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ผมเองเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง ภูมิศาสตร์การ
พัฒนา 2 เล่มเป็นสาคัญ เล่มหนึ่ง คือ บูรพาภิวัตน์ เป็นการมองการพัฒนาไปข้างหน้าว่าโลกจะเป็น
บูรพาภิวัตน์มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้แปลว่าตะวันตกจะไม่สาคัญ แต่แปลว่าตะวันออกจะสาคัญด้วย และ
สาคัญยิ่งขึ้น ประเทศเราก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกด้านตะวันออก เพราะฉะนั้น บูรพาภิวัตน์ก็มองอย่างนั้น
ในขณะเดียวกัน มีอีกเล่มชื่อ ตะวันออก-ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่ เป็นการตีความ
ประวัติศาสตร์โลกใหม่ ซึ่งแต่เดิมเรามักจะตีความประวัติศาสตร์โลกว่าตะวันออกไม่มีความ
เจริญก้าวหน้า ไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีศิลปวิทยาการ จนกระทั่งฝรั่งเข้ามาเผยแพร่ความรู้ เราจึงมี
ศิลปวิทยาการ จนกระทั่งฝรั่งเข้ามาค้าขาย เราจึงได้ค้าขายเป็น หรือว่าจนกระทั่งฝรั่งเข้ามายึดครอง
อาณานิคม เราจึงได้ตื่นตัวที่จะปฏิรูปประเทศ
ความเป็นจริงแล้ว ในอดีตย้อนหลังไปตั้งแต่ 3-4 ร้อยปี กลับไปถึงพันปี โลกแบ่งออกเป็น
ตะวันตกกับตะวันออก ในตอนนั้น ตะวันออกเจริญรุ่งเรือง ร่ารวยกว่าตะวันตกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจีน
กับอินเดีย เป็นชาติที่รวยที่สุดในระยะ 3-4 ร้อยปี ย้อนหลังไปจนถึงพันกว่าปี ในขณะที่ยุโรปไม่ได้
เจริญรุ่งเรืองมากนัก ยุโรปเสื่อมไปหลังจากที่กรุงโรมแตกเมื่อประมาณ 1,600 กว่าปีที่แล้ว ส่วน
ตะวันออกก็ไม่ได้มีแค่ด้านศาสนา และด้านจิตใจที่ดีงาม แต่มีความร่ารวย รุ่งเรือง เข้มแข็งทางการทหาร
ด้วย ตะวันออกมาช้าลงไป เสื่อมลงไป ทรุดลงไปเริ่มเมื่อสัก 3-4 ร้อยปี ขณะที่ตะวันตกเจริญขึ้นเรื่อยๆ
และในที่สุดก็แซงขึ้นหน้าตะวันออก และแซงหน้าจนถึงเอาตะวันออกลงเป็นเมืองขึ้นได้เกือบหมด แต่
โลกก็มีอะไรที่น่าพิศวง น่าแปลกใจ ประหลาดใจ เพราะตอนที่ผมเรียนที่โคลัมเบีย ก็เรียนเรื่องความด้อย
พัฒนา ระบบพึ่งพิง เรียนเรื่องที่ว่าตะวันตกที่เป็นพวก radical เรียกว่าจักรวรรดินิยมใหม่ จะครอง
อานาจ จะครองความร่ารวย จะครองความเหนือกว่าไปอีกนานเท่านาน แล้วมันก็มีอะไรที่น่าพิศวง โลก
ตะวันออกเจริญรุดหน้าขึ้นมามาก ผมเฝ้าติดตามดูเป็น 10-20 ปีมาแล้ว พยายามดูว่าเมื่อไรมันจะล้ม
เมื่อไรจีนจะล้ม เมื่อไรอินเดียจะล้ม เมื่อไรตะวันออกกลางจะล้ม แต่มันก็ยังไม่ล้ม จนกระทั่งเวลานี้ผมก็มี
ความมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ามันคงไม่ล้มง่ายๆ และถึงมันล้มมันก็ลุกขึ้นมาใหม่ได้ เราจะอยู่ในโลกที่มี
ความเสมอภาคกันมากขึ้น เป็นโลกที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และจะ
เป็นอารยธรรมที่ผิวสีขาว สีเหลือง สีดา และสีน้าตาลมีส่วนร่วมทั้งหมด ทุนนิยมของโลกก็จะไม่ใช่เป็น
ทุนนิยมผิวขาวอย่างเดียว แต่จะเป็นทุนนิยมผิวขาว ผิวเหลือง ผิวน้าตาล กระทั่งผิวดา ทุนนิยมก็เติบโต
ในแอฟริกาหลายประเทศ เพราะฉะนั้น ผมก็สนใจเรื่องเหล่านี้ และเรื่องที่ผมจะพูดก็เป็นเรื่องที่ผมไม่เคย
เรียนมา เป็นอะไรที่ผมศึกษาเพิ่มเติมเอาหลังจากที่จบจากโคลัมเบีย
2
ผมไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในช่วงปี 1984-1989 อยู่ที่โคลัมเบีย 5 ปี เรียนทาง
รัฐศาสตร์ เมื่อจบแล้วก็มาทางานที่เมืองไทย คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่าผมเป็นนักการเมือง แต่ความจริง
แล้ว ผมเขียนงานวิชาการร่วม 40 เล่ม และเขียนงานวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีหนังสือ
ภาษาอังกฤษและมีบทความภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์โดยสานักพิมพ์ที่มีชื่อทางวิชาการ เช่น
สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย Oxford, Cambridge, Longman และ Cornell เป็นต้น
ความเป็นเลิศทางภูมิศาสตร์ในอดีตของไทย
วันนี้ จะชวนพวกเราให้มาดูภูมิศาสตร์ประเทศไทย ความจริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่ง
ที่มีที่ตั้งดีมาก ไม่ใช่เพิ่งมาดีตอนนี้ แต่ดีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ที่ดีตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ประเทศเรา
อยู่ติดกับอินเดียและจีน ที่ใช้คาว่าติดนั้นตั้งใจพูด เพราะความจริงแล้วมีมหาสมุทรมากั้นเอาไว้ ส่วนคา
ว่ากั้น เราพูดแบบคนสมัยใหม่ คนสมัยใหม่เห็นมหาสมุทรเห็นทะเลมากั้นเอาไว้ ก็จะรู้สึกว่ามันเป็น
ปราการที่มากั้นเอาไว้ แต่ความจริงแล้ว คนสมัยก่อนเขาไปมาหาสู่กันด้วยทะเลเป็นเรื่องง่าย การ
เดินทางทางบกเป็นเรื่องยาก การที่มีมหาสมุทรอินเดียมากั้นอยู่ระหว่างอินเดียกับไทยความจริงคือเป็น
การเชื่อม และการที่มีทะเลจีนของมหาสมุทรแปซิฟิกมากั้นอยู่ระหว่างไทยกับจีน ความจริงก็คือตัวเชื่อม
ทาให้ประเทศไทยไม่มีศาสนายากมาก จะนับถือแต่ผี นับถือแต่วิญญาณบรรพบุรุษแบบสมัยโบราณ เป็น
ศาสนาแบบโบราณนั้นยากมาก เพราะเรือสินค้า เรือเดินสมุทร ลมทะเล จะพาเอาศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพุทธมาให้กับเรา อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เราจึงรับอารยธรรมชั้นสูงจากอินเดียอย่างไม่ยากเย็น
ขณะเดียวกัน เราจะค้าขายไม่เป็นก็ยาก เพราะเรือเดินสมุทร เรือทะเล จากจีนจะมาถึงประเทศไทยได้
ง่ายมาก เพราะเรามีลมมรสุม ซึ่งครึ่งปี จะพัดจากมหาสมุทรอินเดีย ไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก และอีก
ครึ่งปี จะพัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกกลับมายังมหาสมุทรอินเดีย เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นชาติที่มีทาเลที่ตั้ง
ในการที่จะรับเอาสิ่งที่ดีที่สุดของโลกตะวันออก เมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว ลงมาจนถึง 300 กว่าปีที่แล้ว
เรียกว่า เราถูกกระแสลมมรสุมทาให้ใกล้ชิดกับอินเดียและจีน ด้วยทาเลที่ตั้ง และในบรรดาภาคต่างๆ
คาบสมุทรภาคใต้จะเป็นบริเวณที่รับเรือเดินสมุทรได้ง่ายที่สุด ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
คาบสมุทรภาคใต้ก็รับก่อนภาคอื่นๆ แล้วค่อยส่งต่อไปยังภาคอื่นๆ ของประเทศไทย สินค้าต่างๆ จากจีน
ก็รับผ่านคาบสมุทรภาคใต้เป็นจานวนมาก
3
ภาพที่ 1 ไทยตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน มีมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก “เชื่อม” ตามลาดับ
คาบสมุทรภาคใต้ของไทย ตั้งแต่โบราณเป็นเส้นทางในการเดินทะเลที่สาคัญของประเทศทาง
ซีกตะวันตกและประเทศทางซีกตะวันออกของเรา การเดินเรือค้าขายตั้งแต่ ค.ศ. 1400 ไปจนถึงเป็น
พันๆ ปี ก่อนหน้านั้น คือตั้งแต่ยุคที่เราเพิ่งตั้งประเทศได้ 100-200 ปี ย้อนหลังไปอีกเป็นพันๆ ปี ส่วน
ใหญ่แล้วจะไม่เดินเรือผ่านคาบสมุทร จะไม่เดินผ่านช่องแคบมะละกา เพราะช่องแคบมะละกาเต็มไปด้วย
โจรสลัด และอานาจรัฐยังไม่เข้มแข็ง จึงไม่ปลอดภัยที่จะลงไปจนถึงช่องแคบมะละกา แต่เขาจะใช้วิธี
เดินเรือจากอินเดีย และที่ตะวันตกกว่าอินเดียคืออิหร่าน หรือเดินเรือจากตุรกีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะมาจาก
อิหร่าน และมาจากอินเดีย เดินเรือมาลงที่คาบสมุทรภาคใต้ทางฝั่งอันดามัน เสร็จแล้วก็ขนของ ขนคน
ข้ามคาบสมุทรแล้วมาลงที่อ่าวไทย ลงเรือต่อที่อ่าวไทย จากตรงนี้ก็ต่อไปฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ
มากกว่านั้นก็ไปจีน เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นเส้นทางเดิมของคนโบราณที่เดินข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของเรา
เป็นสิบๆ จุด เวลานี้ เราพูดถึงคอคอดกระเหมือนกับว่ามันมีจุดที่จะขุดแค่ที่เดียว หรือพูดถึงเรื่องคลอง
ไทย คลองไทยซึ่งจะเชื่อมตัดระหว่างตรัง ไปโผล่ที่นครศรีธรรมราช ที่เราพูดกันมีแค่สองจุดเท่านั้น แต่
ถ้าไปดูเส้นทางประวัติศาสตร์มันมีเป็นสิบจุด ตั้งแต่บริเวณคลองกระทุกวันนี้ลงมาจนกระทั่งถึงตรัง ถึง
สตูล เพราะฉะนั้น มันชื่อว่าเป็นคาบสมุทร และมันก็ยังไม่มีคลองที่ใหญ่ชัดเจน แต่ว่ามันแคบ และ
สมัยก่อนเวลาจะไปอ้อมไปจนถึงช่องแคบมะละกา มันใช้เวลาเพิ่มอีกเป็นหลายเดือน จึงใช้วิธีเดินข้าม
ดีกว่า ระยะเวลาในการเดินข้ามก็มีตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงหลายอาทิตย์แล้วแต่ว่าจะเดินเร็วแค่ไหนและขน
ของหนักแค่ไหน หลักฐานที่เราเห็นชัดที่สุดก็คือ มีลูกปัดโบราณอยู่เต็มภาคใต้ ไม่ได้มีเฉพาะที่คลอง
ท่อม มีตลอดตั้งแต่แถวระนอง ชุมพร ซึ่งอยู่ตอนเหนือๆ ของภาคใต้ทั้งสองฝั่ง ลงมาจนถึงตรัง สตูล
ปัตตานี ก็เต็มไปด้วยลูกปัด ซึ่งลูกปัดนี้เป็นทั้งเครื่องประดับ ในขณะเดียวกันก็เป็นเงินตราที่จะใช้ซื้อขาย
4
แลกเปลี่ยน ปัจจุบันนี้เราลืมไปว่าคาบสมุทรภาคใต้เราเคยถูกใช้ประโยชน์ในการเป็นทางเดินทะเล
เพียงแต่ว่าคนโบราณเขาไม่ได้ใช้เรือเดินตลอด เขาจะมาขึ้นคาบสมุทรด้วย
ในบันทึกของหลวงจีนหลายคนที่เดินทางจากจีนไปอินเดีย จะเล่าในเหตุการณ์ว่า นั่งเรือไปเจอ
แผ่นดิน แล้วก็เดินข้ามแผ่นดิน แล้วก็จะเจอทะเลอีก แล้วก็นั่งเรือไปอีกถึงอินเดีย เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ความจริงแล้วประเทศเราควรจะเป็นประเทศทางทะเลด้วย ประเทศเราไม่ควรเป็นเพียงประเทศทางบกที่
มีชายหาดสวยงามเท่านั้น แต่ควรจะเป็นประเทศกึ่งบกกึ่งทะเล การที่การคมนาคมทางบกดีขึ้นและเราใช้
ถนนมากขึ้น ทาให้เราลืมความสาคัญของคาบสมุทรภาคใต้ของเรา เราควรจะใช้คาบสมุทรภาคใต้ให้
ดีกว่านี้ เราเป็นประเทศที่มีถึง 2 มหาสมุทร จีนใหญ่กว่าเรา 20 เท่า แต่มีมหาสมุทรเดียว เพราะฉะนั้น
ผมคิดว่าท่านที่จะเป็นรัฐบาลต่อไปในอนาคตต้องสนใจว่าจะใช้มหาสมุทรให้เต็มที่อย่างไร แต่ที่ตั้งของ
ประเทศไทยเราทุกวันนี้ ก็กลับมาเป็นที่ตั้งที่ดีอีกครั้งหนึ่ง เหมือนในยุคที่บรรยายไปเมื่อครู่ เป็นเรื่อง
แปลกที่อนาคตกับอดีตใกล้กันมาก แต่มันต่างจากปัจจุบัน เราจะสามารถทายอนาคตได้เกือบจะทั้งหมด
เลยโดยกลับไปดูอดีตเท่านั้น ในอดีตโลกร่ารวยรุ่งเรืองที่สุดทางด้านตะวันออก การค้าขายมีมากที่สุด
ทางด้านตะวันออก และเราอยู่ในจุดค้าจุดขาย และในจุดที่รับอารยธรรม เราอยู่ในกระแสของทั้งด้าน
ตะวันออกของเราและด้านตะวันตกของเราที่เป็นเอเชียไม่ใช่ยุโรป
ภาพที่ 2 คาบสมุทรภาคใต้ของไทยเป็นเส้นทางเดินทะเลสาคัญเชื่อมตะวันตกและตะวันออกในสมัยโบราณ
5
ความเป็นเลิศทางภูมิศาสตร์กับอนาคตของไทย
อนาคตเราจะเป็นอย่างไร จากนี้ไป ที่ตั้งของเราจะเป็นที่ตั้งที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย อาจจะ
พูดได้ว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็พอจะได้ เพราะเป็นศูนย์กลางอาเซียน พม่าจะไปเวียดนามก็จะต้อง
ผ่านไทย ลาวจะไปมาเลเซีย สิงคโปร์ก็จะต้องผ่านไทย ทุกประเทศจะลงไปมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็ต้องผ่าน
คาบสมุทรของไทย จีนจะไปอาเซียน ก็ต้องผ่านไทย อินเดียจะมาทางตะวันออก ไปให้ถึงลาว เวียดนาม
ก็ต้องผ่านไทย จะวกกลับไปถึงจีนตอนใต้ก็ต้องผ่านไทย ทาเลที่ตั้งของเราเป็นเลิศ คือ หนึ่ง มี 2
มหาสมุทร สอง เป็นศูนย์กลางของอาเซียนทางบก และสาม เป็นจุดที่เชื่อมอาเซียนเข้ากับจีน
เชื่อมอาเซียนกับอินเดีย ถ้าเราเชื่อมอินเดีย กับจีน และอาเซียนได้โดยผ่านประเทศไทย และต่อไป
จนถึงสิงคโปร์ แล้วยังกระโดดข้ามไปยังสุมาตรา ข้ามไปชวาได้ สมมติว่าข้ามได้และผมก็คิดว่าข้ามได้
เพราะเทคโนโลยีที่เรามีทุกวันนี้ทาให้การข้ามทะเล 80 กิโลเมตรเป็นเรื่องธรรมดา กรุงเทพก็จะเป็นจุด
ศูนย์กลางที่เชื่อมอาเซียนที่อยู่ทางตอนใต้ทั้งหมด รวมถึงชวา ไม่นับฟิลิปปินส์ เชื่อมกับอาเซียนตอนบน
ซึ่งมีคน 200 ล้านคน เชื่อมกับจีนทางใต้ที่คิดว่ามีคนไม่ต่ากว่า 400 ล้านคน ถ้าเชื่อมกับจีนทั้งประเทศได้
ก็มี 1,300 ล้านคน ถ้าเชื่อมกับอินเดีย ก็จะได้คนอีกพันกว่าล้านคน ผมคิดว่าประเทศไทยไม่ได้เป็น
ประเทศไทยของเราเองแล้ว มันเป็นประเทศไทยของอีกหลายๆ ประเทศ หลายประเทศมีความจาเป็นที่
จะต้องมาประเทศไทย มีความสะดวกที่จะต้องมาประเทศไทย มีความน่าดึงดูดใจที่จะต้องมาประเทศ
ไทย เพราะฉะนั้น ในการพัฒนาประเทศ อยากจะเสนอว่าต้องใช้ภูมิศาสตร์มามองให้มากขึ้น อย่างเรามี
economics เราก็ต้องมี geo-economics ให้มากขึ้น เรามี public administration เราต้องมี geo-public
administration ให้มากขึ้น เรามี politics เราจะต้องเป็น geo-politics ให้มากขึ้น เราจะต้องฟื้นความ
เข้าใจที่มีต่อเรื่องภูมิศาสตร์ให้มากขึ้น เพราะเราได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เราต้องใช้ภูมิศาสตร์ของเราให้
มากขึ้น
6
ภาพที่ 3 ทาเลของไทยมีสองมหาสมุทร เป็นศูนย์กลางอาเซียน เชื่อมจีน อินเดีย
อาจเชื่อมลงไปถึงสิงคโปร์และอินโดนีเซีย
การใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์ชั้นเลิศของไทย : มองรายภาค
ภาคเหนือ
ในบรรดาภาคต่างๆ ของเรา ทุกภาคจะได้รับประโยชน์จากภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น ภาคต่างๆ
ต่อไปนี้น่าจะโตเร็วกว่ากรุงเทพ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะมาจากนอกประเทศ การพัฒนาที่
ผ่านๆ มา ตั้งแต่ยุคเราเป็นเด็กเป็นการพัฒนาที่กรุงเทพเป็นศูนย์กลาง และพลวัตต่างๆ จะมาจาก
กรุงเทพ จังหวัดใดที่อยู่ใกล้กรุงเทพจังหวัดนั้นมีความเจริญสูง จังหวัดที่อยู่ไกลจะไม่ค่อยเท่าไร เช่น
ลาปาง แม่ฮ่องสอน อยู่ไกลมาก แต่ว่าในยุคที่ผมเรียกว่าบูรพาภิวัตน์นั้น อย่างแม่ฮ่องสอน ถ้าเราคิดเสีย
ใหม่ให้แม่ฮ่องสอนเป็นสะพานเชื่อมกับพม่าทางบก แม่ฮ่องสอนคือจังหวัดที่อยู่ใกล้เนปิ ดอว์มาก
ที่สุด แต่ถ้าเราเอาการพัฒนาแบบปกติแม่ฮ่องสอนจะอยู่ไกลกรุงเทพมากที่สุด แต่ว่าถ้าเราไม่มองอย่าง
นั้น เราต้องคิดว่าเราจะเชื่อมเข้าไปในเนปิดอว์ แม้ภูมิประเทศจะเป็นป่าเป็นเขา อาจจะไม่สะดวกมากนัก
แต่เทคโนโลยีและการก้าวหน้าทางการก่อสร้างต้องทาได้อยู่แล้ว และต้องทาสนามบินที่แม่ฮ่องสอนให้
ใหญ่ สามารถบินจากแม่ฮ่องสอนไปเนปิดอว์ได้ และหวังว่าจะมีนายกรัฐมนตรีสักท่านหนึ่งที่บินจาก
แม่ฮ่องสอนไปเนปิดอว์ อย่าบินจากกรุงเทพ แล้วจะทาให้คนตกใจว่าแม่ฮ่องสอนใกล้เนปิดอว์เหลือเกิน
อันนี้พูดถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งไกลหูไกลตามาก แต่ผมมองว่ายุคภูมิศาสตร์แห่งการพัฒนาจะทาให้
แม่ฮ่องสอนมีความสาคัญขึ้นอย่างฉับพลัน
7
ภาพที่ 4 จากแม่ฮ่องสอนถึงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ระยะทางราว 200 กม.
คราวนี้มาดูจังหวัด น่าน จังหวัดน่านก็ไกลโพ้นอีกเหมือนกัน จังหวัดน่านอยู่ด้านตะวันออกของ
ภาคเหนือ ส่วนแม่ฮ่องสอนอยู่ด้านตะวันตก ความจริงแล้ว น่านใกล้หลวงพระบางมาก น่านอยู่ใกล้
เวียงจันทน์มาก มันเป็นรูปสามเหลี่ยมเกือบจะด้านเท่า และอีกอย่างที่เพิ่งทราบคือว่าน่านอยู่
ใกล้ฮานอยมาก บินจากน่านไปฮานอยคงใช้เวลาราว 40 นาที เดิมเข้าใจว่าเวียดนามอยู่ใกล้กับภาค
อีสาน คือ ถัดลาวไปก็จะเป็นเวียดนาม เข้าใจอย่างนี้มาตลอด แต่พอดูแผนที่ จึงพบว่าเวียดนามอยู่ใกล้
ภาคเหนือของไทยด้วย ฮานอยอยู่ใกล้น่านมาก ถ้าท่านไปศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ จักรพรรดิฮานอย
เคยส่งทหารเวียดนามมารบกับทหารของเมืองน่านในสมัยที่พระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ของล้านนา
พระเจ้าติโลกราชอยู่ร่วมสมัยกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถของสยาม รบกันทหารเวียดนามไม่สามารถ
เอาชนะทหารล้านนาได้ต้องถอยกลับไป ในประวัติศาสตร์ของจีนซึ่งบันทึกเอาไว้ ได้พูดถึงเรื่องชัยชนะที่
ล้านนามีต่อจักรพรรดิเวียดนามในยุคที่เมืองหลวงอยู่ที่ฮานอย จักรพรรดิจีนได้ยกย่องพระเจ้าติโลกราช
ของล้านนาว่าเป็นกษัตริย์ผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก ส่วนตัวท่านเองเป็นผู้พิชิตแห่งทิศตะวันออก อันนี้ก็
เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ แต่ว่าเรื่องปัจจุบัน น่านสามารถเป็นตัวเชื่อมได้ ไปฮานอย เวียงจันทน์ หลวง
พระบาง ก็ไม่ไกล ฉะนั้น น่านก็ไม่ใช่หลังเขา แต่น่านคือสะพานที่จะเชื่อมหลายประเทศเข้ากับภาคเหนือ
แม่ฮ่องสอนก็เช่นกัน จะเป็นสะพานที่จะเชื่อมหลายประเทศเข้ากับภาคเหนือ
8
ภาพที่ 5 น่าน หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ หากลากเส้นตรงเชื่อมกันจะได้สามเหลี่ยมเกือบจะด้านเท่า
ภาพที่ 6 จากน่านถึงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ระยะทางประมาณ 500 กม.
ส่วน เชียงใหม่ มีคนกล่าวว่าในรัศมี 300-400 กิโลเมตรที่เอาเชียงใหม่ไว้ตรงกลาง ไม่มีเมือง
ไหนใหญ่เท่าเชียงใหม่แม้จะนับกี่ประเทศรวมกันก็ตาม เชียงใหม่จึงไม่ใช่เป็นเมืองเอกของล้านนาเท่านั้น
แต่เชียงใหม่สามารถที่จะเชื่อมเมืองสาคัญหลายเมืองในพม่า ไม่ว่าจะเป็น อังวะ ตองอู เนปิดอว์
9
มัณฑะเลย์ และเมืองของจีนคือเชียงรุ่ง เมืองของลาวคือหลวงพระบาง เราจะต้องสร้างเชียงใหม่ให้เป็น
regional capital ของหลายๆ ประเทศ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดที่ดูแต่อะไรในรูปขวาน ต้องคิดอะไรที่มากกว่า
รูปขวาน คนไทยส่วนใหญ่ชอบดูที่สุดก็คือแผนที่ประเทศไทยรูปขวาน ที่ข้างๆ ขาวหมด เพราะเราไม่
สนใจที่จะไปดูว่าเราอยู่ใกล้ทะเล หรือเราอยู่ใกล้อะไร เราอยู่ใกล้เพื่อนบ้าน เราคิดเหมือนประเทศไทย
เป็นประเทศที่ห่างไกลจากคนอื่นหรือไม่มีทะเลที่สาคัญ
คาบสมุทรภาคใต้
ทราบกันไหมว่าประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดชายแดนเพื่อนบ้านกี่จังหวัด คาตอบคือ 33
จังหวัด หมายความว่าเกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัดในประเทศไทยมีชายแดนหมด เพราะฉะนั้น เราต้องทา
อะไรเรื่องชายแดนให้มากขึ้น แล้วจังหวัดที่มีทะเลมีกี่จังหวัด คาตอบคือ 23 จังหวัด คิดง่ายๆ คือ 4
จังหวัด เจอทะเล 1 จังหวัด เรามีทะเลเยอะมาก ชายทะเลของเรายาวเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนภาคบก
รองจากเวียดนาม ยาวกว่าชายทะเลของพม่า แต่เวียดนามถึงจะมีชายทะเลที่ยาวกว่าเรา แต่เขาอยู่แค่
มหาสมุทรเดียว ของเราอยู่สองมหาสมุทร และสองมหาสมุทรของเราก็กั้นด้วยช่องแคบเล็กๆ แผ่นดิน
เล็กๆ บางช่วงกว้างแค่ 50 หรือ 80 กิโลเมตรเท่านั้น ในอดีต คนโบราณข้ามกันเป็นว่าเล่นอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าจะขุดคอคอดกระก็ดี จะขุดคลองไทยก็ดี หรือถ้าไม่ขุดจะทา land bridge ก็ดี
ผมคิดว่าต้องกล้าเอากลับมาคิดใหม่
เวลาเราพูดถึงประเทศไทย เราพูดถึงแต่ว่าจะเติบโต 4% กว่าๆ แต่ถ้าเราเอาประเทศไทยเชื่อม
กับเพื่อนบ้าน เชื่อมกับจีน เชื่อมกับอินเดียมากขึ้น ภูมิศาสตร์จะยิ่งทาให้อัตราการโตประเทศสูงกว่า 4%
อาจจะถึง 5% หรือ 6% ก็ได้
เวลานี้รถไฟที่จีนกาลังทาลงมา และจะทาต่อไป จะเชื่อมไทยเข้ากับสิงคโปร์ สุมาตรา ชวา และ
เชื่อมไทยเข้ากับลาว กับพม่าก็ได้ และจีนก็จะทาทางหลวงด้วย ส่วนรถไฟจากอินเดีย ทางหลวงจาก
อินเดียก็จะเข้าพม่าก่อน แต่หลังจากผ่านพม่าแล้ว ถ้าอินเดียจะมาตะวันออกก็ต้องผ่านประเทศไทย
สาหรับยุทธศาสตร์ของจีนคือจีนจะมุ่งลงใต้ให้ได้ จีนต้องการมหาสมุทรอินเดีย เพราะเขามีมหาสมุทร
เดียวคือมหาสมุทรแปซิฟิก จีนต้องการอีกมหาสมุทรคือมหาสมุทรอินเดีย เพราะฉะนั้น จีนจะต้อง
พยายามทารถไฟ ทาทางหลวงที่จะผ่านพม่า หรือผ่านไทยเพื่อจะมาออกทะเลอันดามันและมหาสมุทร
อินเดีย ส่วนอินเดีย ยุทธศาสตร์สาคัญของอินเดียคือมุ่งไปทางตะวันออก เมื่อก่อนอินเดียมุ่งไปทาง
ตะวันตก (look west) คือมองไปที่ปากีสถาน รบกับปากีสถาน และมองไปที่ตะวันออกกลาง เพราะ
อินเดียส่งคนไปขายแรงงานที่ตะวันออกกลางง่ายเพราะอินเดียอยู่ใกล้อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทาให้คนงานมี
งานทาและส่งเงินค่าจ้างกลับมาเลี้ยงอินเดียเมืองแม่ แต่ปัจจุบันอินเดียกาลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์มองไป
ทางตะวันออก (look east) มองไปที่อาเซียน มองไปที่จีนตอนใต้ อินเดียขึ้นเหนือไม่ได้เพราะมีหิมาลัย
สูงประมาณ 7-8 กิโลเมตรขวางอยู่ ยกเว้นบินไป แต่ไปทางบกไม่ได้ ทางบกที่จะมาได้ก็คือจะต้องมาทาง
10
ตะวันออก แล้วก็มาที่พม่า จากพม่าก็ต้องมาไทย จากไทยถึงจะไปต่อกัมพูชา เวียดนาม ลาว และอินเดีย
ยังสามารถลงไปจนถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ และชวา ซึ่งดินแดนเหล่านี้ทั้งหมดคือทายาททางอารยธรรม
ของอินเดีย เมื่อก่อนอินเดียห่างเหินทายาททางอารยธรรมของตนเองไปนานมากแล้ว เมื่อก่อนอินเดีย
เชื่อมกับประเทศที่เป็นทายาททางอารยธรรมของตนผ่านทะเล แต่ปัจจุบันอินเดียกาลังพยายามจะ
เชื่อมโยงทางบกด้วย
มิพักต้องพูดถึงทางอากาศ ตั้งแต่ก่อนที่ผมจะพูดเรื่องบูรพาภิวัตน์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่
เป็นศูนย์กลางการบินที่สาคัญ ซึ่งไม่ใช่เพราะเรื่องบังเอิญ หรืออัธยาศัยไมตรี แต่เป็นเพราะทาเลที่ตั้งของ
เรา ทาให้จากเราไปที่ไหนก็สะดวกหมด และความจริงแล้วประเทศไทย ทาเลทางการบินดีกว่าสิงคโปร์
ด้วยซ้า สิงคโปร์อยู่ใต้ลงไปกว่าเราสองชั่วโมงบิน แต่ประเทศส่วนใหญ่อยู่เหนือสิงคโปร์ขึ้นไปทั้งนั้น ถ้า
มันจะสะดวกที่จะเดินทางจากสิงคโปร์แล้วเวลาสั้นกว่า คือต้องไปประเทศที่อยู่ทางใต้ของสิงคโปร์ ซึ่งก็
คือออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เท่านั้น แต่ว่าโลกส่วนใหญ่อยู่เหนือสิงคโปร์ขึ้นไป ประเทศไทยอยู่สูงกว่า
สิงคโปร์ 2 ชั่วโมงบิน เพราะฉะนั้น ถ้าบินจากประเทศไทยไปที่ไหนก็ตาม จะตัดเวลาบินลงไป 2 ชั่วโมง
แต่ถึงอย่างนี้ สิงคโปร์ก็ยังทาจนกระทั่งตนเองเป็นศูนย์กลางการบินได้
ขอกล่าวอีกนิดเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า กาลัง อานาจ หรือความมุ่งมั่นในทางการเมืองสาคัญ
อย่างไรในการใช้ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ภูมิศาสตร์ที่ดีไม่ได้เกิดผลดีโดยอัตโนมัติ แต่อยู่ที่ว่ามี
การเมือง มีการบริหาร มีการพัฒนาที่เป็นยุทธศาสตร์ที่ดีหรือไม่ และภูมิศาสตร์ที่ไม่ดี ก็สามารถ
เปลี่ยนให้ดีได้ถ้าใช้กาลังการเมืองเข้าแทรกแซง ประเทศไทยเดิมเป็นเส้นทางการเดินทะเล คือเดิน
ทะเล ขึ้นบก เดินทะเล สลับกัน เมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองสิงคโปร์ อังกฤษพยายามที่จะลดการเดินทะเล
และบีบให้เส้นทางเดินทะเลขยับลงใต้ จึงมีสนธิสัญญาทั้งลับและที่แสดงโดยเปิดเผยว่าไม่ให้ไทยกู้ยืมที่
จะตัดคอคอดกระ เรื่องคอคอดกระ ไทยคิดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว อาจจะคิดก่อนหน้านั้น
ด้วย แต่ที่มีหลักฐานก็คือสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ก็คิด รัชกาลที่ 4 และ รัชกาล
ที่ 5 ก็คิด แต่ที่เราไม่ได้ทาเพราะ หนึ่ง เราไม่มีเงินที่จะทา สอง อังกฤษไม่สนับสนุน สาม อังกฤษทา
สนธิสัญญาลับไม่ให้เราขุดคอคอดกระ ผลก็คือเส้นทางเดินทะเลถูกลดระดับลงมาจนมาที่เส้นทางผ่าน
สิงคโปร์
สิงคโปร์ในอดีตนั้น ในความเห็นผม ถ้าเปรียบเทียบการเดินทะเลเหมือนกับการคมนาคมทางบก
เพื่อให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้น สิงคโปร์ถ้าเทียบกับการเดินทางทางบก สิงคโปร์เป็นตรอกเป็นซอย ส่วนเรา
เป็นทางหลวง เพราะเรือใหญ่ๆ จะมาแล้วก็ผ่านเรา แต่พอฝรั่งเข้ามาเส้นทางเดินทะเลมันขยับลงใต้ไป
เรื่อยๆ แต่พออังกฤษมาปกครองสิงคโปร์ได้ ความคิดของอังกฤษคือใช้คาบสมุทร ใช้ช่องแคบมะละกาให้
เป็นประโยชน์ อังกฤษยึดปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ 3 เมืองนี้ เรียกว่า Straits Settlements เป็นการ
ปกครองของอังกฤษที่ปกครองช่องแคบมะละกา 3 เมืองนี้ด้วยกัน โดยมีสิงคโปร์เป็นเมืองหลวง เลยทา
ให้เราใช้ทะเลได้น้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เรามีสองทะเล แต่เราต้องขนของใส่เรือ feeder
11
แล้วไปลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ เราไม่ได้คิดที่จะทาเลย และเราก็ยังสอนกันไปสอนกันมาจนเรามองทะเล
เป็นชายหาดเท่านั้น แล้วก็กลัวแต่เรื่องสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่ากลัวได้ แต่ต้องมีวิธีที่จะทาได้ทั้งสองอย่าง
เราเสีย logistic cost ไปเยอะมากในการเดินทะเล ทั้งๆ ที่เรามีสองทะเลและมหาสมุทร แต่เรากลับไม่ได้
ใช้ทั้งสองมหาสมุทร อันนี้เป็นปัญหาของทุกพรรคการเมืองที่ไม่ได้คิดเรื่องจะใช้ทะเล และผมว่าคนไทย
อย่างน้อย 3 รุ่น (generation) หมดความสนใจเรื่องทะเล เพราะประเทศไทยกลายเป็นประเทศทางบก
ตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ยุคพัฒนา เราไปทาอะไรทางบกกันเยอะมาก ก็ดีไม่ใช่ไม่ดี แต่ข้อเสียอย่างหนึ่ง
คือทาให้เราลืมอดีต เมื่อก่อนนี้ คนจากตรังจะไปภูเก็ตก็ใช้เรือ หรือตรังไปกระบี่ พังงาก็ใช้เรือ เพราะไม่มี
ถนน หรือคนจากกรุงเทพ จะไปสงขลา ชุมพร ก็ใช้เรือ คนจากสงขลาจะไปจันทบุรีก็ใช้เรือ สมัยนั้นเรา
เห็นความสาคัญของทะเลและมหาสมุทรไม่น้อย แต่เมื่อเรามีความเจริญทางบกมากขึ้น ก็เป็นเรื่อง
ธรรมชาติที่เราจะเป็นประเทศทางบกมากขึ้น แต่เราจะต้องใช้ตาทิพย์มอง ตาทิพย์คือตาที่มีทฤษฎีมา
มอง ถ้ามีทฤษฎีมามองเราจะเห็นเลยว่าถ้าพูดถึงการเดินทะเลของโลก แถบนี้สาคัญมาก
ขอเติมข้อมูลให้ เวลานี้การเดินทะเลที่ช่องแคบมะละกา ถ้านับทั้งสินค้าและแก๊ส น้ามัน มี
ปริมาณเป็นสองเท่าครึ่งถึงสามเท่าของปริมาณที่ผ่านคลองสุเอซ และสองถึงสามเท่าที่ผ่านคลอง
ปานามา ตอนเราเป็นเด็กเราสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เพราะการเติมคาในช่องว่างเรื่องคลองปานามาและ
คลองสุเอซ (คลองพระเอก) ผมสอบเข้าได้หลายโรงเรียนก็เพราะรู้ตรงนี้ แต่เวลานี้ คลองพระเอกมันไม่
เป็นพระเอกแล้ว มันลดความสาคัญลงไปแล้ว แต่ว่าตัวประกอบ (ช่องแคบมะละกา) ตอนนี้กลายเป็น
พระเอก และถ้าเปรียบเทียบว่าอันนี้คือเส้นโลหิตใหญ่เส้นหนึ่งของร่างกายเศรษฐกิจโลกทั้งหมด เส้น
เลือดใหญ่เส้นนี้ มันเต้นแรงจนกระทั่งเราที่อยู่ที่กรุงเทพน่าจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ แต่เราเฉยครับ
เรายังรับรู้ช้ามาก
ภาพที่ 7 คาบสมุทรภาคใต้ของไทยกับช่องแคบมะละกา
12
ปากทางเข้าช่องแคบมะละกา มีหนึ่งจังหวัดของประเทศไทยอยู่ด้วย คือ สตูล สตูลเป็นส่วนหนึ่ง
ของปากทางเข้าช่องแคบมะละกา และถ้านับแบบใจดีหน่อย ปากทางเข้าช่องแคบนี้ก็จะรวมมาถึงภูเก็ต
และตรังด้วย แต่ถ้าไปดูคาขวัญของจังหวัดสตูล จะไม่มีพูดถึงสตูลที่เป็นปากช่องแคบมะละกาเลย จะพูด
ถึงแต่ของดีในจังหวัด มันเป็นวิธีการมองแบบมองปิด มองประเทศตัวเองปิด แต่ความจริงแล้ว สตูลนั้น
ถ้าเราบอกฝรั่งว่าสตูลเป็นปากช่องแคบมะละกา สตูลจะมีค่า มีราคาเพิ่มขึ้นมา หรืออย่างแม่ฮ่องสอนถ้า
เราบอกว่าเป็นจุดเชื่อมกับเนปิดอว์ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นทันที หรือถ้าเราบอกว่าน่านหรือเชียงรายเป็นจุดที่
จะเชื่อมไทยกับอีกสามสี่ประเทศราคาจะเพิ่มขึ้นมาทันที
ภาพที่ 8 สตูล รวมทั้งภูเก็ตและตรัง ในฐานะส่วนหนึ่งของปากช่องแคบมะละกา
สามเหลี่ยมทองคา สามเหลี่ยมไท ไต ลาว
วกกลับมาที่สามเหลี่ยมทองคา เราเห็นเชียงแสนก็คิดว่าเป็นอาเภอเชียงแสน เป็นแค่อาเภอหนึ่ง
ของจังหวัดเชียงราย และเมื่อเราอยู่ที่สามเหลี่ยมทองคา เราก็จะบอกลูกของเราว่าด้านซ้ายคือพม่า แล้ว
ด้านขวาคือลาว แล้วเราก็จะชี้ที่เรายืนอยู่ว่าคือไทย แต่ความจริงแล้ว สามเหลี่ยมทองคาเป็นสามเหลี่ยม
ของไท-ไต-ลาว เพราะคนแถบนั้นพูดไทกันหมด พม่าตรงนั้นก็ไม่ใช่พม่า แต่คือรัฐฉาน ฉานก็คือไทใหญ่
ส่วนลาวก็เป็นไทชนิดหนึ่ง แล้วไทล้านนาก็เป็นไทชนิดหนึ่ง ถ้าเราเข้าใจสามเหลี่ยมทองคาใหม่ว่าเป็น
สามเหลี่ยมของ ไท-ไต-ลาว และเราเอาพิพิธภัณฑ์ไท ไต ลาว ไปเปิดที่เชียงแสนหรือเชียงรายแล้วทาให้
ดีสักแห่งหนึ่ง แล้วเราก็พูดถึงเรื่อง ไท-ไต-ลาว ก็จะทาให้เรื่องไท ไต ลาว นี้เบิกบานไปอีกมาก เพราะ
13
ไท-ไต-ลาว คือเผ่าชน คือชาติพันธุ์ที่เกือบจะพูดภาษาเดียวกัน ผมขอย้าว่าเกือบจะเป็นภาษาเดียวกัน
อย่างเราพูดถึงจีน มีจีนไหหลา จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง เราบอกว่าเป็นจีนเหมือนกัน แต่ภาษาฮกเกี้ยน
ไหหลา และกวางตุ้ง พูดกันแล้วฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไท-ไต-ลาว ที่ว่านี้พูดกันแล้วจะเข้าใจกันไม่ต่ากว่า 50%
แต่เราไม่ค่อยนับญาติกับใคร เพราะฉะนั้น เราก็เลยมีญาติน้อย แต่พวกนักภาษาศาสตร์ นักชาติพันธุ์
เขานับญาติให้เราหมด
ภาพที่ 9 จุดสีแดงคือ บริเวณสามเหลี่ยมทองคา
ชาติพันธุ์ ไท-ไต-ลาวมีที่ไหนบ้างในโลก หนึ่ง มีในรัฐอัสสัมของอินเดีย เรียกว่า ไทอาหม สอง มี
ในรัฐฉานของพม่า เรียกว่า ไทใหญ่ สาม มีในประเทศไทย สี่ ประเทศลาว ห้า มีในเวียดนามตอนเหนือ
ที่เราเรียกว่า เมืองเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) ซึ่งก็คือเมืองแถน ที่ปรากฏอยู่ในตานานของไท–ไต-
ลาว จะบอกเอาไว้เลยว่าบ้านเกิดของไท-ไต-ลาว อยู่ที่เมืองแถน เมืองแถนก็คือเมืองเดียนเบียนฟูที่
ฝรั่งเศสมาแพ้เวียดนาม และจากเมืองแถน ในตานานเขาบอกว่า แยกกันมาอยู่เมืองอยุธยา แยกกันมา
อยู่เมืองเชียงใหม่ แยกกันมาอยู่หลวงพระบาง อะไรต่างๆ แบบนี้ ในตานานมันชี้ให้เห็นเลยว่าครั้งหนึ่ง
เราเป็นญาติกัน เราเป็นคนพวกเดียวกัน และผมคิดว่าต่อไปรัฐบาลของเราจะต้องมีความพยายามที่จะไป
นับญาติกับเพื่อนบ้านให้มากขึ้น เรามีไท-ไต-ลาวที่อยู่หลายประเทศมาก แล้วเราจะต้องชิงความเป็น
ศูนย์กลางของ ไท-ไต-ลาว เสีย ทาพิพิธภัณฑ์อะไรที่เกี่ยวกับ ไท-ไต-ลาวให้ใหญ่ขึ้น และเวลาเราไปเชิญ
ชวนฝรั่ง ญี่ปุ่น หรือจีน ให้มาเที่ยว ก็จะน่าดึงดูดใจมากขึ้น เพราะถ้าบอกว่าไปเที่ยวอาเภอเชียงแสนก็จะ
รู้สึกว่าเป็นแค่อาเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย แต่ถ้าบอกว่ามาเที่ยวที่นี่ มาดูพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่อง
เกี่ยวกับคน ไท-ไต-ลาว ที่กระจายกันอยู่ถึง 5-6 ประเทศได้ เรื่องราวมันก็จะใหญ่ขึ้นเยอะ
14
ภาคอีสาน
ผมได้พูดไปแล้วว่า ภาคทุกภาคของไทยสาคัญหมด ขอพูดถึงภาคอีสาน อีสานเป็นภาคที่เราเอง
ก็ไม่ค่อยได้คิด ผมก็ไม่ค่อยได้คิด คือสมัยสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันอยู่ในภาคอีสานมากที่สุด
และที่มากที่สุดในภาคอีสานคือ อุดรธานี เวลานั้นผมก็ไม่เข้าใจว่าเหตุใดทหารอเมริกันไปอยู่ที่ภาคอีสาน
เยอะ แต่เป็นเพราะภาคอีสานเป็นภาคที่ถ้ายื่นจมูกเข้ามาก็จะติดลาว ติดกัมพูชา และใกล้เวียดนาม และ
สามารถสืบข่าวถึงจีนได้ไม่ยากนัก ทาเลที่ตั้งของภาคอีสานเป็นบริเวณที่ต่อไทยเข้ากับลาว เข้ากับ
กัมพูชา เข้ากับเวียดนาม และเชื่อมไทยเข้ากับจีนในระยะที่ไม่ไกลนัก ปัจจุบัน จีนก็เป็นอีกมหาอานาจ
หนึ่งที่รู้ว่าภาคอีสานสาคัญ รถไฟความเร็วสูงและทางหลวงของจีน จึงมาที่ลาว จากนั้นก็เข้าไทยที่
หนองคายและอุดรธานี จีนกับอเมริกานั้นเป็นมหาอานาจ เขาเห็นภาคอีสานของเราสาคัญ แต่คนไทยเรา
มองไม่ค่อยเห็น แต่ว่าพวกนั้นเขามองเห็น เหตุที่เขามาอยู่อีสาน ที่เขามาสนใจอีสานมาก ไม่ใช่เพราะ
แจ่ว ไม่ใช่เพราะไก่ย่าง ไม่ใช่เพราะสาวอีสาน ไม่ใช่เพราะเซิ้ง แต่เป็นเพราะภูมิยุทธศาสตร์ของภาค
อีสานนั้นสาคัญมาก
และผมจะเติมให้อีกประเด็นใหญ่คือ ภาคอีสานเป็นภาคที่ใกล้จีนที่สุด อันนี้ก็จะน่าสนใจอีก ผมก็
ไม่เคยคิดมาก่อน จนกระทั่งมาดูแผนที่ ผมก็คิดว่าใช่ คือถ้าดูการเชื่อมทางบก ภาคของไทยที่ใกล้จีน
ที่สุดคือภาคเหนือ เพราะจากแถวแม่สาย ตัดขึ้นไปเป็นเส้นตรงก็จะห่างจากจีนสักร้อยกิโลเมตร แต่ว่าถ้า
ทางอากาศ เป็นภาคอีสานที่ใกล้จีนที่สุด เพราะเมืองสาคัญของจีนไม่ได้อยู่เหนือเรา แต่อยู่ไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพราะฉะนั้น ภาคอีสานต่างหากที่ใกล้กับจีนในการคมนาคมทาง
อากาศ เช่น บึงกาฬ อยู่ใกล้ไหหลาที่สุดถ้าบินไป และภาคอีสานก็ใกล้กับกวางตุ้ง ใกล้กับฮกเกี้ยน ปักกิ่ง
เซี่ยงไฮ้ เพราะเมืองสาคัญของจีนส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกของจีน แล้วจีนนั้นก็อยู่ทั้งทางเหนือและทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพราะฉะนั้น เมืองสาคัญของจีนก็จะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ
กรุงเทพ แล้วอีสานก็เป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพ
ผมอยากจะย้อนความทรงจาในอดีตมาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ แต่ก่อนผมไปเมืองจีน
กัปตันมักจะประกาศว่า ขณะนี้เราออกจากกรุงเทพฯ อีกสักครู่เราจะผ่านจังหวัดนครราชสีมา เราจะบิน
ผ่านภาคอีสาน เราจะบินเข้าลาว ผ่านไปยังประเทศจีน ตอนแรกผมฟังก็ยังไม่รู้สึกอะไร ขากลับก็
เหมือนกัน ก็ประกาศว่าขณะนี้เรากาลังบินเข้าประเทศลาว อีกสักครู่ เราจะเข้าภาคอีสาน แล้วจะมุ่งสู่
สนามบินดอนเมืองในเวลานั้น ผมก็ไม่เคยใช้เรื่องภูมิศาสตร์มาดู ไม่เคยเอาแผนที่มาดู พอเอาแผนที่มาดู
ผมก็ตกใจ เพราะว่าถ้าเราทาสนามบินใหญ่ที่อุดรธานี ที่หนองคาย ที่ใหญ่อยู่เวลานี้ก็ทาให้ใหญ่ขึ้นอีก
แล้วก็อย่าไปกลัวว่า สนามบินจะใหญ่เกินไปอะไรแบบนี้ เพราะว่าโลกนี้มันเป็นโลกที่ใช้การบินเพิ่มขึ้น
ทุกทีเวลานี้ แล้วการบินมันจะมาสร้างเศรษฐกิจ ถ้าเราบินจากกรุงเทพฯ ไปเมืองสาคัญของจีนซึ่งอยู่ทาง
ตะวันออก จะใช้เวลามากกว่าประมาณหนึ่งชั่วโมง ถ้าเราบินจากอุดร หรือ บึงกาฬ ในทางกลับกัน คน
จีนที่จะมาเที่ยวกรุงเทพฯ ถ้าลงบึงกาฬหรือหนองคายก่อนก็จะตัดเวลาบินไปหนึ่งชั่วโมง แต่ที่เป็นอยู่ทุก
15
วันนี้ คนหนองคายถ้าจะไปเกาะไหหลา จะต้องบินมาลงที่กรุงเทพฯ ก่อนแล้วเปลี่ยนเครื่องบินอีกสอง
ชั่วโมงแล้วบินย้อนกลับไปที่ไหหลา นี่มันเป็นการทาโครงสร้างที่คิดอีกยุคหนึ่ง ประเทศไทยเวลานี้
ต้องการโครงสร้างพื้นฐานอีกชุดหนึ่ง ไม่ใช่ชุดที่เข้าสู่กรุงเทพแล้ว จะเป็นชุดที่มุ่งไปที่เพื่อนบ้าน เป็นชุด
ที่มองไปที่เพื่อนบ้าน เป็นชุดที่มองออกนอกประเทศ แล้วท้องถิ่น ภูมิภาคของเราก็ต้องฝึกให้เขามอง
แบบนี้ เพราะว่าโอกาสทางเศรษฐกิจจะอยู่นอกบ้านเรามากขึ้นๆ
ภาพที่ 10 ภาคอีสานของไทย เชื่อมลาว กัมพูชา เวียดนาม และใกล้ภาคตะวันออกของจีน
ขอพูดถึงภาคอีสาน ภาคอีสานสาคัญมาก เพราะเชื่อมทั้งลาวและกัมพูชา อีสานตอนใต้นั้นติด
กัมพูชาหมด แล้วจันทบุรี ระยอง ตราด ก็ติดกัมพูชาอีก กัมพูชาความจริงใกล้กรุงเทพมาก ใกล้พัทยา
มาก พัทยากับชายแดนกัมพูชาใกล้กันมาก ผมมาเข้าใจเรื่องนี้จากการที่ผมไปพัทยาอยู่บ่อยๆ ผมเห็น
พนักงานเสิร์ฟที่นั่นเป็นคนกัมพูชาจานวนมาก ผมก็ถามว่ามาจากไหน เขาก็ตอบว่ามาจากชายแดนไทย
กัมพูชา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพัทยา กรุงศรีอยุธยาของเรานั้นเอาเข้าจริงในอดีตก็เป็นเมืองของเขมร เมือง
ของขอม ชื่ออยุธยาก็เป็นชื่อที่ตั้งเลียนแบบเมืองพระนคร อังกอร์ธม เมืองพระนครใหญ่ ธมแปลว่าใหญ่
แปลว่าหลวง ถ้าแปลเป็นภาษาไทยที่สุภาพก็คือเมืองพระนครหลวง อยุธยาเราก็เป็นเมืองพระนคร
เพราะฉะนั้น เราก็มีความใกล้ชิดกับกัมพูชามาก แล้วภาคอีสานของเราก็จะได้ประโยชน์ทั้งจากกัมพูชา
และลาว
16
ภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกก็จะเชื่อมกับพม่าและอินเดีย ผมมีอะไรเติมให้นิดเดียว จากสิ่งที่ผมเห็นจากการ
เดินทาง คือ แม่สอด จ.ตาก แม่สอดนั้นใกล้ทะเลมาก ความจริงประเทศไทยนั้นไม่มีภาคใดไกลทะเลเลย
เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ใช่ทะเลของประเทศไทย อย่างเช่น ภาคตะวันตกของเราทั้งหมดอยู่ใกล้ทะเลอันดา
มัน มันมีแผ่นดินแคบๆ ของพม่ากั้นไว้เท่านั้นเอง แต่ตอนที่เราเรียนภูมิศาสตร์ตอนเด็กๆ เราจะรู้สึกว่า
ภาคเหนือไม่มีทะเล แต่ที่จริงแล้ว ลมที่พาฝนมาตกที่แม่ฮ่องสอน ที่เชียงใหม่นั้นเป็นลมอันดามัน
เช่นเดียวกับลมอันดามันที่พาฝนมาตกที่คาบสมุทรภาคใต้ของไทย เราอยู่ใต้อิทธิพลของอันดามัน
มากกว่าที่เราคิด เพียงแต่ว่ามันมีดินแดนของพม่ามากั้นเอาไว้ทาให้เราเข้าใจผิด แต่คนโบราณไม่ได้
เข้าใจผิด คนภาคเหนือเขาลงทะเลผ่านแม่สอด จากแม่สอดเขาตัดมาดินแดนพม่า มันไม่ไกล แล้วพอ
ข้ามมาตรงนี้ ก็จะเป็นเมาะละแหม่งหรือเมาะลาไย (Mawlamyine) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญเวลานี้ แล้ว
ต่อไปอีกข้างบนก็จะเป็นย่างกุ้ง เส้นทางรถเวลานี้จากแม่สอดไปย่างกุ้งสะดวก ใกล้ เลยทาให้ด่านแม่
สอดใหญ่ ผมก็เคยสงสัยว่าทาไมด่านแม่สอดใหญ่ ผมก็คิดว่าแม่สายใหญ่กว่าแม่สอด แต่ว่าฝั่งตรงข้าม
แม่สอด ก็เป็นเมืองเมียวดี ก็ไม่ใหญ่เท่าไร แต่จากเมียวดีไปย่างกุ้งมันใกล้ ไม่ไกล ย่างกุ้งเป็นเมืองใหญ่
มาก ประชากรย่างกุ้งกับกรุงเทพเวลานี้ผมว่าเท่าๆ กัน ถ้าใครไปก็จะเห็นการค้าขายพลุกพล่านมาก
ระดับการพัฒนามันไม่เท่าประเทศไทย แต่ระดับการค้าการขายไม่ได้แพ้เลย
ภาพที่ 11 แม่สอดใกล้กับย่างกุ้งและอ่าวเมาะตะมะ ในทะเลอันดามัน (ห่างจากย่างกุ้ง 429 กม.)
17
แต่ที่ผมสนใจเวลานี้คือ แม่สอดกลายเป็นที่เที่ยวของคนย่างกุ้ง โรงแรมหรูที่แม่สอดก็มี ราคาไม่
ถูก แต่ว่ามีคนย่างกุ้งแวะมาพักอยู่ตลอด ร้านอาหารในแม่สอดก็มีร้านดีๆ ก็อาศัยลูกค้าจากย่างกุ้ง
แหล่งช็อปปิ้งบริเวณนั้นก็มีบิ๊กซี โลตัส เซ็นทรัล เหล่านี้ก็มีลูกค้ามาจากย่างกุ้ง ผมว่าแม่สอดเวลานี้คล้าย
กับหาดใหญ่ของภาคใต้ที่รับเอาคนมาเลเซียมาเที่ยว ย่างกุ้งก็กาลังรับคนจากพม่ามาเที่ยว ผมคิดว่า
ประเทศไทยกาลังเปลี่ยน เปลี่ยนมาก เปลี่ยนเร็ว เร็วกว่าที่เราคิด ผมจึงได้พูดเรื่องแบบนี้มาหลายปีแล้ว
เวลานี้คนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นมากขึ้นแล้ว แต่ยังอยากจะให้เห็นอะไรมากขึ้นกว่านั้นอีก และอาจจะนามา
ซึ่งนโยบายอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ผมอยากจะเสนอว่าจังหวัดทางภาคเหนือของเราต้องให้คนของตน
เรียนภาษาจีน กับภาษาพม่าเป็นหลัก อย่าไปเน้นแต่ภาษาอังกฤษทั่วไป เพราะว่าถ้าคนภาคเหนือได้
ภาษาจีน เศรษฐกิจภาคเหนือจะบูมเลย แล้วคนภาคอีสานตอนใต้นั้นต้องให้เรียนภาษาเขมรจนใช้ภาษา
เขมรได้ ไม่ใช่ให้เรียนแต่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้วก็ลืมภาษาเขมรของโคตรเหง้า แล้วคนลาว คน
อีสาน ต้องทาให้รู้ภาษาลาวจนอ่านออกเขียนได้แล้วก็ข้ามไปทาอะไรในลาวได้ จะให้ดีเรียนภาษา
เวียดนามด้วยก็ได้ อย่าไปเน้นเรียนภาษาอังกฤษอย่างเดียวมันช่วยอะไรได้ไม่มากเท่าไรหรอก ความ
ต้องการที่จะใช้ภาษามันอยู่ในแถบนี้
พูดถึงภาษาไทย ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใหญ่และสาคัญมาก เราต้องคิดส่งเสริมการสอน
ภาษาไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ชายแดนไทยทุกชายแดนพูดภาษาไทยหมด ชายแดนทางฝั่งตะวันตกก็
พูดภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงหรือมอญ ภาษาไทยเป็นภาษาสากล (lingua franca) ของการค้าขาย
แถบนี้หมด และภาษาไทยก็เป็นภาษาที่ใช้ในชายแดนทางภาคเหนือของลาว ชาวเขาก็พูดไทย คนลาว
ก็พูดไทย คนพม่าก็พูดไทย ทางใต้ก็พูดไทย แทนที่เราจะไปคิดว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่กาลังจะหมด
ความสาคัญ ผมคิดว่าต้องส่งเสริมการสอนภาษาไทย ส่งเสริมไปสอนในประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น
ไม่ใช่มีแต่ฝึกภาษาอังกฤษอย่างเดียว มันก็อย่างนั้นแหละ ภาษาอังกฤษ เราก็สนับสนุนกันมามากแล้ว
เป็นประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่ต่อไปผมคิดว่าภาษาของเพื่อนบ้านสาคัญ
ช่วงถาม- ตอบ
ถาม : ประเทศไทยเคยมีความคิด ความพยายามที่จะตัดคอคอดหรือส่วนอื่นของประเทศไทยที่
จะทาเป็นช่องเชื่อมระหว่างอันดามันกับแปซิฟิกมาตลอดหลายสิบปี หลายรัฐบาลก็คิด เหตุใดจึงทาไม่
สาเร็จ อย่างแนวคิดเรื่อง Land Bridge นั้นน่าสนใจมาก สามารถสร้างเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากช่องแคบมะ
ละกา ก็เห็นคิดกัน ระดับมันสมองของประเทศก็คิด แต่พอถึงขั้นที่จะทาให้เกิดเป็นจริงขึ้นมา เหตุใดจึง
หยุด
ศ.ดร. เอนก : บางคนก็บอกว่าเพราะสิงคโปร์ไม่อยากให้เราขุด แต่ผมรู้จักสิงคโปร์มาก
พอสมควร สิงคโปร์เวลานี้ไปไกลกว่าท่าเรือแล้ว เขาทาอะไรของเขาได้เยอะแยะแล้ว แล้วข้อที่สอง
เกี่ยวกับสิงคโปร์นั้น เราต้องเอาสิงคโปร์มาถือหุ้นด้วยจะดี แล้วเราก็ไม่ควรทาของเราเองเท่านั้น เราควร
18
เอาจีน อินเดีย พม่า ประเทศอื่นๆ แม้กระทั่งอเมริกามาถือหุ้นด้วย แล้วถ้าเราทาท่าเรือฝั่งอันดามันหรือ
ฝั่งอ่าวไทยก็ตามที่เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ท่าเรือน้าลึก นั้น ควรจะจ้างสิงคโปร์ทา เพราะสิงคโปร์มีความรู้
เรื่องท่าเรือดีที่สุดของโลก ถ้าพูดแบบผมคือ เราจะไม่มีชาตินิยมแบบคับแคบ เราจะต้องรู้จักใช้เพื่อนบ้าน
มาช่วยกันทาให้เป็นประโยชน์ แล้วก็ไม่ใช่จะทาให้เรารวยคนเดียว ส่วนประเทศอื่นจน เป็นไปไม่ได้ คน
อื่นเขาไม่ยอมหรอก
ทีนี้เหตุผลอะไรที่ทาให้เราระแวดระวังเรื่องนี้ อาจจะเป็นเหตุผลทางการทหารหรือเปล่าผมก็ไม่
ทราบ แต่ถ้าเป็นเหตุผลทางการทหาร ผมอยากจะเติมให้อีกอย่างที่ตรงข้ามเลย คือ กองทัพเรือของไทย
นั้นลาบากมากเพราะเป็นกองทัพเรืออกแตก คือ มีกองทัพเรือฝั่งอ่าวไทยกับกองทัพเรือฝั่งอันดามัน ถ้า
เกิดอะไรขึ้นที่อันดามัน กองทัพเรือฝั่งอ่าวไทยจะมาช่วยได้ไหม ไม่ได้ ถ้าเกิดอะไรขึ้นที่อ่าวไทย
กองทัพเรือฝั่งอันดามันจะมาช่วยได้ไหม ถ้าเป็นผม ผมจะตัดคลองสองสามแห่งเลยด้วยซ้า เพื่อจะให้เรา
ใช้กองทัพเรือได้ง่ายขึ้น แต่เราไม่ได้คิดกัน เราไปกลัวแต่ว่าถ้าตัดตรงนี้แล้ว จะทาให้คนแยกดินแดน
ออกไป มันก็เป็นอย่างนี้ เนื่องจากกลัว
เพราะฉะนั้น ที่ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคมากคือวิธีคิด (Mindset) เราถูกทาให้ mindset เป็นแบบ
ประเทศปิ ด เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่สมัยที่อาณานิคมเข้ามาแล้ว คือหันไปทางตะวันตกก็เจอจักรวรรดิ
อังกฤษ หันไปทางตะวันออกก็เจอจักรวรรดิฝรั่งเศส ไปทางใต้ก็เป็นทะเลซึ่ง ณ เวลานั้น สยามหมด
ความสาคัญลงไปแล้ว ประเทศสยามถูกบีบจากที่เป็นประเทศกึ่งทะเลให้กลายเป็นประเทศบก มีสองฝั่ง
ทะเลเอาไว้ดู เอาไว้เล่นน้าเท่านั้น คราวนี้พอมาถึงยุคสงครามเย็น เราก็ถูกปิดอีก ทางซ้ายก็เจอรัฐบาล
ทหารพม่า “สังคมนิยมแบบพุทธ” ทางขวาก็เป็นลาวที่เป็น หรือ เกือบจะเป็นคอมมิวนิสต์ นี่ก็คือกัมพูชา
ที่กาลังจะเป็นคอมมิวนิสต์ นี่ก็คือเวียดนามซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ก็เลยนานมาก ที่เราถูกบีบให้มองแต่
ภายในประเทศของเรา แต่เราพูดเรื่องโลกาภิวัตน์ไปเพื่ออะไร เราพูดให้เท่ห์แค่นั้นเองหรือ พูดโลกาภิ
วัตน์ก็หมายความว่าเราต้องเห็นอะไรที่เป็นโลกทั้งใบ ถ้าเห็นโลกทั้งใบเราก็ต้องกล้าคิดแบบที่ผมได้ลอง
เสนอ แต่อีกหลายคนคงจะรู้ดียิ่งกว่าผมอีก ให้เขาได้เสนอขึ้นมา อันนี้เป็นอะไรที่ผมคิดว่าสาคัญมาก
แล้ววิชาภูมิศาสตร์นั้น ความจริง ผมก็เรียนถึงชั้นมัธยมปลายเท่านั้น จากนั้นก็ไม่เคยเรียนอีก ถ้าเราเอา
เรื่องนี้ไปคุยกับนักภูมิศาสตร์ให้มากขึ้นก็อาจได้อะไรที่ดีกว่านี้ด้วยซ้า
อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าเราต้องพูดเรื่อง mindset ให้มากขึ้น คือเราเป็นประเทศที่ได้เปรียบทาง
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้เปรียบทางการเมืองระหว่างประเทศ ได้เปรียบทางการคมนาคมระหว่าง
ประเทศ แต่เราพยายามที่จะมาทาอะไรแต่ในประเทศ มันเสียเปรียบ เราเป็นประเทศ international แต่เรา
ทา domestic อย่างเดียว มันเสียเปรียบ มันไม่ใช่จุดดีที่สุดของเรา ถ้าเราเป็นลาวอย่างนี้ค่อยว่า เราไม่มี
ทางไป แต่แม้แต่ลาวทุกวันนี้ก็ยังเปลี่ยนวิธีคิด ลาวเปลี่ยนจากที่ว่าเดิมเป็นประเทศที่ไปหาใครก็ไม่ได้
เพราะไม่มีทะเล (Landlocked) ตอนนี้ลาวเสนอความคิดใหม่ที่ว่า การเชื่อมประเทศต่างๆ แถบนี้จะต้องผ่าน
ลาวทั้งสิ้น เช่น จีนจะมาไทยก็ต้องผ่านลาว เวียดนามจะมาไทยก็ต้องผ่านลาว เขมรจะไปจีนก็ต้องผ่าน
โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย
โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย

อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์Klangpanya
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตKlangpanya
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตKlangpanya
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกKlangpanya
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกKlangpanya
 
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์kai2910
 
กลุ่มพอนะ พอนะ --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้า
กลุ่มพอนะ พอนะ  --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้ากลุ่มพอนะ พอนะ  --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้า
กลุ่มพอนะ พอนะ --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้าfreelance
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทยJulPcc CR
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยKlangpanya
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"Klangpanya
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนKlangpanya
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2watdang
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีKKloveyou
 

Semelhante a โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย (20)

อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์
โครงงานระบบนิเวศน์ในประเทศสิงค์โปร์บูรณาการผ่านเว็บไซต์
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
กลุ่มพอนะ พอนะ --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้า
กลุ่มพอนะ พอนะ  --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้ากลุ่มพอนะ พอนะ  --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้า
กลุ่มพอนะ พอนะ --เชื้อโรค ปืน เหล็กกล้า
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
V 295
V 295V 295
V 295
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2
 
ของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียงของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียง
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 

Mais de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mais de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย

  • 2. โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ผู้เขียน : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปลายฟ้า บุนนาค ปาณัท ทองพ่วง อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2561 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 โอกาสใหญ่ : ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศกับการพัฒนาของไทย ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาพูดในที่ชุมนุมของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พยายามเลือกเรื่อง ที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ เลือกเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ผมเองเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง ภูมิศาสตร์การ พัฒนา 2 เล่มเป็นสาคัญ เล่มหนึ่ง คือ บูรพาภิวัตน์ เป็นการมองการพัฒนาไปข้างหน้าว่าโลกจะเป็น บูรพาภิวัตน์มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้แปลว่าตะวันตกจะไม่สาคัญ แต่แปลว่าตะวันออกจะสาคัญด้วย และ สาคัญยิ่งขึ้น ประเทศเราก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกด้านตะวันออก เพราะฉะนั้น บูรพาภิวัตน์ก็มองอย่างนั้น ในขณะเดียวกัน มีอีกเล่มชื่อ ตะวันออก-ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่ เป็นการตีความ ประวัติศาสตร์โลกใหม่ ซึ่งแต่เดิมเรามักจะตีความประวัติศาสตร์โลกว่าตะวันออกไม่มีความ เจริญก้าวหน้า ไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีศิลปวิทยาการ จนกระทั่งฝรั่งเข้ามาเผยแพร่ความรู้ เราจึงมี ศิลปวิทยาการ จนกระทั่งฝรั่งเข้ามาค้าขาย เราจึงได้ค้าขายเป็น หรือว่าจนกระทั่งฝรั่งเข้ามายึดครอง อาณานิคม เราจึงได้ตื่นตัวที่จะปฏิรูปประเทศ ความเป็นจริงแล้ว ในอดีตย้อนหลังไปตั้งแต่ 3-4 ร้อยปี กลับไปถึงพันปี โลกแบ่งออกเป็น ตะวันตกกับตะวันออก ในตอนนั้น ตะวันออกเจริญรุ่งเรือง ร่ารวยกว่าตะวันตกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจีน กับอินเดีย เป็นชาติที่รวยที่สุดในระยะ 3-4 ร้อยปี ย้อนหลังไปจนถึงพันกว่าปี ในขณะที่ยุโรปไม่ได้ เจริญรุ่งเรืองมากนัก ยุโรปเสื่อมไปหลังจากที่กรุงโรมแตกเมื่อประมาณ 1,600 กว่าปีที่แล้ว ส่วน ตะวันออกก็ไม่ได้มีแค่ด้านศาสนา และด้านจิตใจที่ดีงาม แต่มีความร่ารวย รุ่งเรือง เข้มแข็งทางการทหาร ด้วย ตะวันออกมาช้าลงไป เสื่อมลงไป ทรุดลงไปเริ่มเมื่อสัก 3-4 ร้อยปี ขณะที่ตะวันตกเจริญขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดก็แซงขึ้นหน้าตะวันออก และแซงหน้าจนถึงเอาตะวันออกลงเป็นเมืองขึ้นได้เกือบหมด แต่ โลกก็มีอะไรที่น่าพิศวง น่าแปลกใจ ประหลาดใจ เพราะตอนที่ผมเรียนที่โคลัมเบีย ก็เรียนเรื่องความด้อย พัฒนา ระบบพึ่งพิง เรียนเรื่องที่ว่าตะวันตกที่เป็นพวก radical เรียกว่าจักรวรรดินิยมใหม่ จะครอง อานาจ จะครองความร่ารวย จะครองความเหนือกว่าไปอีกนานเท่านาน แล้วมันก็มีอะไรที่น่าพิศวง โลก ตะวันออกเจริญรุดหน้าขึ้นมามาก ผมเฝ้าติดตามดูเป็น 10-20 ปีมาแล้ว พยายามดูว่าเมื่อไรมันจะล้ม เมื่อไรจีนจะล้ม เมื่อไรอินเดียจะล้ม เมื่อไรตะวันออกกลางจะล้ม แต่มันก็ยังไม่ล้ม จนกระทั่งเวลานี้ผมก็มี ความมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ามันคงไม่ล้มง่ายๆ และถึงมันล้มมันก็ลุกขึ้นมาใหม่ได้ เราจะอยู่ในโลกที่มี ความเสมอภาคกันมากขึ้น เป็นโลกที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และจะ เป็นอารยธรรมที่ผิวสีขาว สีเหลือง สีดา และสีน้าตาลมีส่วนร่วมทั้งหมด ทุนนิยมของโลกก็จะไม่ใช่เป็น ทุนนิยมผิวขาวอย่างเดียว แต่จะเป็นทุนนิยมผิวขาว ผิวเหลือง ผิวน้าตาล กระทั่งผิวดา ทุนนิยมก็เติบโต ในแอฟริกาหลายประเทศ เพราะฉะนั้น ผมก็สนใจเรื่องเหล่านี้ และเรื่องที่ผมจะพูดก็เป็นเรื่องที่ผมไม่เคย เรียนมา เป็นอะไรที่ผมศึกษาเพิ่มเติมเอาหลังจากที่จบจากโคลัมเบีย
  • 4. 2 ผมไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในช่วงปี 1984-1989 อยู่ที่โคลัมเบีย 5 ปี เรียนทาง รัฐศาสตร์ เมื่อจบแล้วก็มาทางานที่เมืองไทย คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่าผมเป็นนักการเมือง แต่ความจริง แล้ว ผมเขียนงานวิชาการร่วม 40 เล่ม และเขียนงานวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีหนังสือ ภาษาอังกฤษและมีบทความภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์โดยสานักพิมพ์ที่มีชื่อทางวิชาการ เช่น สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย Oxford, Cambridge, Longman และ Cornell เป็นต้น ความเป็นเลิศทางภูมิศาสตร์ในอดีตของไทย วันนี้ จะชวนพวกเราให้มาดูภูมิศาสตร์ประเทศไทย ความจริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีที่ตั้งดีมาก ไม่ใช่เพิ่งมาดีตอนนี้ แต่ดีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ที่ดีตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ประเทศเรา อยู่ติดกับอินเดียและจีน ที่ใช้คาว่าติดนั้นตั้งใจพูด เพราะความจริงแล้วมีมหาสมุทรมากั้นเอาไว้ ส่วนคา ว่ากั้น เราพูดแบบคนสมัยใหม่ คนสมัยใหม่เห็นมหาสมุทรเห็นทะเลมากั้นเอาไว้ ก็จะรู้สึกว่ามันเป็น ปราการที่มากั้นเอาไว้ แต่ความจริงแล้ว คนสมัยก่อนเขาไปมาหาสู่กันด้วยทะเลเป็นเรื่องง่าย การ เดินทางทางบกเป็นเรื่องยาก การที่มีมหาสมุทรอินเดียมากั้นอยู่ระหว่างอินเดียกับไทยความจริงคือเป็น การเชื่อม และการที่มีทะเลจีนของมหาสมุทรแปซิฟิกมากั้นอยู่ระหว่างไทยกับจีน ความจริงก็คือตัวเชื่อม ทาให้ประเทศไทยไม่มีศาสนายากมาก จะนับถือแต่ผี นับถือแต่วิญญาณบรรพบุรุษแบบสมัยโบราณ เป็น ศาสนาแบบโบราณนั้นยากมาก เพราะเรือสินค้า เรือเดินสมุทร ลมทะเล จะพาเอาศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธมาให้กับเรา อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เราจึงรับอารยธรรมชั้นสูงจากอินเดียอย่างไม่ยากเย็น ขณะเดียวกัน เราจะค้าขายไม่เป็นก็ยาก เพราะเรือเดินสมุทร เรือทะเล จากจีนจะมาถึงประเทศไทยได้ ง่ายมาก เพราะเรามีลมมรสุม ซึ่งครึ่งปี จะพัดจากมหาสมุทรอินเดีย ไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก และอีก ครึ่งปี จะพัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกกลับมายังมหาสมุทรอินเดีย เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นชาติที่มีทาเลที่ตั้ง ในการที่จะรับเอาสิ่งที่ดีที่สุดของโลกตะวันออก เมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว ลงมาจนถึง 300 กว่าปีที่แล้ว เรียกว่า เราถูกกระแสลมมรสุมทาให้ใกล้ชิดกับอินเดียและจีน ด้วยทาเลที่ตั้ง และในบรรดาภาคต่างๆ คาบสมุทรภาคใต้จะเป็นบริเวณที่รับเรือเดินสมุทรได้ง่ายที่สุด ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ คาบสมุทรภาคใต้ก็รับก่อนภาคอื่นๆ แล้วค่อยส่งต่อไปยังภาคอื่นๆ ของประเทศไทย สินค้าต่างๆ จากจีน ก็รับผ่านคาบสมุทรภาคใต้เป็นจานวนมาก
  • 5. 3 ภาพที่ 1 ไทยตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน มีมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก “เชื่อม” ตามลาดับ คาบสมุทรภาคใต้ของไทย ตั้งแต่โบราณเป็นเส้นทางในการเดินทะเลที่สาคัญของประเทศทาง ซีกตะวันตกและประเทศทางซีกตะวันออกของเรา การเดินเรือค้าขายตั้งแต่ ค.ศ. 1400 ไปจนถึงเป็น พันๆ ปี ก่อนหน้านั้น คือตั้งแต่ยุคที่เราเพิ่งตั้งประเทศได้ 100-200 ปี ย้อนหลังไปอีกเป็นพันๆ ปี ส่วน ใหญ่แล้วจะไม่เดินเรือผ่านคาบสมุทร จะไม่เดินผ่านช่องแคบมะละกา เพราะช่องแคบมะละกาเต็มไปด้วย โจรสลัด และอานาจรัฐยังไม่เข้มแข็ง จึงไม่ปลอดภัยที่จะลงไปจนถึงช่องแคบมะละกา แต่เขาจะใช้วิธี เดินเรือจากอินเดีย และที่ตะวันตกกว่าอินเดียคืออิหร่าน หรือเดินเรือจากตุรกีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะมาจาก อิหร่าน และมาจากอินเดีย เดินเรือมาลงที่คาบสมุทรภาคใต้ทางฝั่งอันดามัน เสร็จแล้วก็ขนของ ขนคน ข้ามคาบสมุทรแล้วมาลงที่อ่าวไทย ลงเรือต่อที่อ่าวไทย จากตรงนี้ก็ต่อไปฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ มากกว่านั้นก็ไปจีน เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นเส้นทางเดิมของคนโบราณที่เดินข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของเรา เป็นสิบๆ จุด เวลานี้ เราพูดถึงคอคอดกระเหมือนกับว่ามันมีจุดที่จะขุดแค่ที่เดียว หรือพูดถึงเรื่องคลอง ไทย คลองไทยซึ่งจะเชื่อมตัดระหว่างตรัง ไปโผล่ที่นครศรีธรรมราช ที่เราพูดกันมีแค่สองจุดเท่านั้น แต่ ถ้าไปดูเส้นทางประวัติศาสตร์มันมีเป็นสิบจุด ตั้งแต่บริเวณคลองกระทุกวันนี้ลงมาจนกระทั่งถึงตรัง ถึง สตูล เพราะฉะนั้น มันชื่อว่าเป็นคาบสมุทร และมันก็ยังไม่มีคลองที่ใหญ่ชัดเจน แต่ว่ามันแคบ และ สมัยก่อนเวลาจะไปอ้อมไปจนถึงช่องแคบมะละกา มันใช้เวลาเพิ่มอีกเป็นหลายเดือน จึงใช้วิธีเดินข้าม ดีกว่า ระยะเวลาในการเดินข้ามก็มีตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงหลายอาทิตย์แล้วแต่ว่าจะเดินเร็วแค่ไหนและขน ของหนักแค่ไหน หลักฐานที่เราเห็นชัดที่สุดก็คือ มีลูกปัดโบราณอยู่เต็มภาคใต้ ไม่ได้มีเฉพาะที่คลอง ท่อม มีตลอดตั้งแต่แถวระนอง ชุมพร ซึ่งอยู่ตอนเหนือๆ ของภาคใต้ทั้งสองฝั่ง ลงมาจนถึงตรัง สตูล ปัตตานี ก็เต็มไปด้วยลูกปัด ซึ่งลูกปัดนี้เป็นทั้งเครื่องประดับ ในขณะเดียวกันก็เป็นเงินตราที่จะใช้ซื้อขาย
  • 6. 4 แลกเปลี่ยน ปัจจุบันนี้เราลืมไปว่าคาบสมุทรภาคใต้เราเคยถูกใช้ประโยชน์ในการเป็นทางเดินทะเล เพียงแต่ว่าคนโบราณเขาไม่ได้ใช้เรือเดินตลอด เขาจะมาขึ้นคาบสมุทรด้วย ในบันทึกของหลวงจีนหลายคนที่เดินทางจากจีนไปอินเดีย จะเล่าในเหตุการณ์ว่า นั่งเรือไปเจอ แผ่นดิน แล้วก็เดินข้ามแผ่นดิน แล้วก็จะเจอทะเลอีก แล้วก็นั่งเรือไปอีกถึงอินเดีย เป็นต้น เพราะฉะนั้น ความจริงแล้วประเทศเราควรจะเป็นประเทศทางทะเลด้วย ประเทศเราไม่ควรเป็นเพียงประเทศทางบกที่ มีชายหาดสวยงามเท่านั้น แต่ควรจะเป็นประเทศกึ่งบกกึ่งทะเล การที่การคมนาคมทางบกดีขึ้นและเราใช้ ถนนมากขึ้น ทาให้เราลืมความสาคัญของคาบสมุทรภาคใต้ของเรา เราควรจะใช้คาบสมุทรภาคใต้ให้ ดีกว่านี้ เราเป็นประเทศที่มีถึง 2 มหาสมุทร จีนใหญ่กว่าเรา 20 เท่า แต่มีมหาสมุทรเดียว เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าท่านที่จะเป็นรัฐบาลต่อไปในอนาคตต้องสนใจว่าจะใช้มหาสมุทรให้เต็มที่อย่างไร แต่ที่ตั้งของ ประเทศไทยเราทุกวันนี้ ก็กลับมาเป็นที่ตั้งที่ดีอีกครั้งหนึ่ง เหมือนในยุคที่บรรยายไปเมื่อครู่ เป็นเรื่อง แปลกที่อนาคตกับอดีตใกล้กันมาก แต่มันต่างจากปัจจุบัน เราจะสามารถทายอนาคตได้เกือบจะทั้งหมด เลยโดยกลับไปดูอดีตเท่านั้น ในอดีตโลกร่ารวยรุ่งเรืองที่สุดทางด้านตะวันออก การค้าขายมีมากที่สุด ทางด้านตะวันออก และเราอยู่ในจุดค้าจุดขาย และในจุดที่รับอารยธรรม เราอยู่ในกระแสของทั้งด้าน ตะวันออกของเราและด้านตะวันตกของเราที่เป็นเอเชียไม่ใช่ยุโรป ภาพที่ 2 คาบสมุทรภาคใต้ของไทยเป็นเส้นทางเดินทะเลสาคัญเชื่อมตะวันตกและตะวันออกในสมัยโบราณ
  • 7. 5 ความเป็นเลิศทางภูมิศาสตร์กับอนาคตของไทย อนาคตเราจะเป็นอย่างไร จากนี้ไป ที่ตั้งของเราจะเป็นที่ตั้งที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย อาจจะ พูดได้ว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็พอจะได้ เพราะเป็นศูนย์กลางอาเซียน พม่าจะไปเวียดนามก็จะต้อง ผ่านไทย ลาวจะไปมาเลเซีย สิงคโปร์ก็จะต้องผ่านไทย ทุกประเทศจะลงไปมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็ต้องผ่าน คาบสมุทรของไทย จีนจะไปอาเซียน ก็ต้องผ่านไทย อินเดียจะมาทางตะวันออก ไปให้ถึงลาว เวียดนาม ก็ต้องผ่านไทย จะวกกลับไปถึงจีนตอนใต้ก็ต้องผ่านไทย ทาเลที่ตั้งของเราเป็นเลิศ คือ หนึ่ง มี 2 มหาสมุทร สอง เป็นศูนย์กลางของอาเซียนทางบก และสาม เป็นจุดที่เชื่อมอาเซียนเข้ากับจีน เชื่อมอาเซียนกับอินเดีย ถ้าเราเชื่อมอินเดีย กับจีน และอาเซียนได้โดยผ่านประเทศไทย และต่อไป จนถึงสิงคโปร์ แล้วยังกระโดดข้ามไปยังสุมาตรา ข้ามไปชวาได้ สมมติว่าข้ามได้และผมก็คิดว่าข้ามได้ เพราะเทคโนโลยีที่เรามีทุกวันนี้ทาให้การข้ามทะเล 80 กิโลเมตรเป็นเรื่องธรรมดา กรุงเทพก็จะเป็นจุด ศูนย์กลางที่เชื่อมอาเซียนที่อยู่ทางตอนใต้ทั้งหมด รวมถึงชวา ไม่นับฟิลิปปินส์ เชื่อมกับอาเซียนตอนบน ซึ่งมีคน 200 ล้านคน เชื่อมกับจีนทางใต้ที่คิดว่ามีคนไม่ต่ากว่า 400 ล้านคน ถ้าเชื่อมกับจีนทั้งประเทศได้ ก็มี 1,300 ล้านคน ถ้าเชื่อมกับอินเดีย ก็จะได้คนอีกพันกว่าล้านคน ผมคิดว่าประเทศไทยไม่ได้เป็น ประเทศไทยของเราเองแล้ว มันเป็นประเทศไทยของอีกหลายๆ ประเทศ หลายประเทศมีความจาเป็นที่ จะต้องมาประเทศไทย มีความสะดวกที่จะต้องมาประเทศไทย มีความน่าดึงดูดใจที่จะต้องมาประเทศ ไทย เพราะฉะนั้น ในการพัฒนาประเทศ อยากจะเสนอว่าต้องใช้ภูมิศาสตร์มามองให้มากขึ้น อย่างเรามี economics เราก็ต้องมี geo-economics ให้มากขึ้น เรามี public administration เราต้องมี geo-public administration ให้มากขึ้น เรามี politics เราจะต้องเป็น geo-politics ให้มากขึ้น เราจะต้องฟื้นความ เข้าใจที่มีต่อเรื่องภูมิศาสตร์ให้มากขึ้น เพราะเราได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เราต้องใช้ภูมิศาสตร์ของเราให้ มากขึ้น
  • 8. 6 ภาพที่ 3 ทาเลของไทยมีสองมหาสมุทร เป็นศูนย์กลางอาเซียน เชื่อมจีน อินเดีย อาจเชื่อมลงไปถึงสิงคโปร์และอินโดนีเซีย การใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์ชั้นเลิศของไทย : มองรายภาค ภาคเหนือ ในบรรดาภาคต่างๆ ของเรา ทุกภาคจะได้รับประโยชน์จากภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น ภาคต่างๆ ต่อไปนี้น่าจะโตเร็วกว่ากรุงเทพ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะมาจากนอกประเทศ การพัฒนาที่ ผ่านๆ มา ตั้งแต่ยุคเราเป็นเด็กเป็นการพัฒนาที่กรุงเทพเป็นศูนย์กลาง และพลวัตต่างๆ จะมาจาก กรุงเทพ จังหวัดใดที่อยู่ใกล้กรุงเทพจังหวัดนั้นมีความเจริญสูง จังหวัดที่อยู่ไกลจะไม่ค่อยเท่าไร เช่น ลาปาง แม่ฮ่องสอน อยู่ไกลมาก แต่ว่าในยุคที่ผมเรียกว่าบูรพาภิวัตน์นั้น อย่างแม่ฮ่องสอน ถ้าเราคิดเสีย ใหม่ให้แม่ฮ่องสอนเป็นสะพานเชื่อมกับพม่าทางบก แม่ฮ่องสอนคือจังหวัดที่อยู่ใกล้เนปิ ดอว์มาก ที่สุด แต่ถ้าเราเอาการพัฒนาแบบปกติแม่ฮ่องสอนจะอยู่ไกลกรุงเทพมากที่สุด แต่ว่าถ้าเราไม่มองอย่าง นั้น เราต้องคิดว่าเราจะเชื่อมเข้าไปในเนปิดอว์ แม้ภูมิประเทศจะเป็นป่าเป็นเขา อาจจะไม่สะดวกมากนัก แต่เทคโนโลยีและการก้าวหน้าทางการก่อสร้างต้องทาได้อยู่แล้ว และต้องทาสนามบินที่แม่ฮ่องสอนให้ ใหญ่ สามารถบินจากแม่ฮ่องสอนไปเนปิดอว์ได้ และหวังว่าจะมีนายกรัฐมนตรีสักท่านหนึ่งที่บินจาก แม่ฮ่องสอนไปเนปิดอว์ อย่าบินจากกรุงเทพ แล้วจะทาให้คนตกใจว่าแม่ฮ่องสอนใกล้เนปิดอว์เหลือเกิน อันนี้พูดถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งไกลหูไกลตามาก แต่ผมมองว่ายุคภูมิศาสตร์แห่งการพัฒนาจะทาให้ แม่ฮ่องสอนมีความสาคัญขึ้นอย่างฉับพลัน
  • 9. 7 ภาพที่ 4 จากแม่ฮ่องสอนถึงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ระยะทางราว 200 กม. คราวนี้มาดูจังหวัด น่าน จังหวัดน่านก็ไกลโพ้นอีกเหมือนกัน จังหวัดน่านอยู่ด้านตะวันออกของ ภาคเหนือ ส่วนแม่ฮ่องสอนอยู่ด้านตะวันตก ความจริงแล้ว น่านใกล้หลวงพระบางมาก น่านอยู่ใกล้ เวียงจันทน์มาก มันเป็นรูปสามเหลี่ยมเกือบจะด้านเท่า และอีกอย่างที่เพิ่งทราบคือว่าน่านอยู่ ใกล้ฮานอยมาก บินจากน่านไปฮานอยคงใช้เวลาราว 40 นาที เดิมเข้าใจว่าเวียดนามอยู่ใกล้กับภาค อีสาน คือ ถัดลาวไปก็จะเป็นเวียดนาม เข้าใจอย่างนี้มาตลอด แต่พอดูแผนที่ จึงพบว่าเวียดนามอยู่ใกล้ ภาคเหนือของไทยด้วย ฮานอยอยู่ใกล้น่านมาก ถ้าท่านไปศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ จักรพรรดิฮานอย เคยส่งทหารเวียดนามมารบกับทหารของเมืองน่านในสมัยที่พระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ของล้านนา พระเจ้าติโลกราชอยู่ร่วมสมัยกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถของสยาม รบกันทหารเวียดนามไม่สามารถ เอาชนะทหารล้านนาได้ต้องถอยกลับไป ในประวัติศาสตร์ของจีนซึ่งบันทึกเอาไว้ ได้พูดถึงเรื่องชัยชนะที่ ล้านนามีต่อจักรพรรดิเวียดนามในยุคที่เมืองหลวงอยู่ที่ฮานอย จักรพรรดิจีนได้ยกย่องพระเจ้าติโลกราช ของล้านนาว่าเป็นกษัตริย์ผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก ส่วนตัวท่านเองเป็นผู้พิชิตแห่งทิศตะวันออก อันนี้ก็ เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ แต่ว่าเรื่องปัจจุบัน น่านสามารถเป็นตัวเชื่อมได้ ไปฮานอย เวียงจันทน์ หลวง พระบาง ก็ไม่ไกล ฉะนั้น น่านก็ไม่ใช่หลังเขา แต่น่านคือสะพานที่จะเชื่อมหลายประเทศเข้ากับภาคเหนือ แม่ฮ่องสอนก็เช่นกัน จะเป็นสะพานที่จะเชื่อมหลายประเทศเข้ากับภาคเหนือ
  • 10. 8 ภาพที่ 5 น่าน หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ หากลากเส้นตรงเชื่อมกันจะได้สามเหลี่ยมเกือบจะด้านเท่า ภาพที่ 6 จากน่านถึงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ระยะทางประมาณ 500 กม. ส่วน เชียงใหม่ มีคนกล่าวว่าในรัศมี 300-400 กิโลเมตรที่เอาเชียงใหม่ไว้ตรงกลาง ไม่มีเมือง ไหนใหญ่เท่าเชียงใหม่แม้จะนับกี่ประเทศรวมกันก็ตาม เชียงใหม่จึงไม่ใช่เป็นเมืองเอกของล้านนาเท่านั้น แต่เชียงใหม่สามารถที่จะเชื่อมเมืองสาคัญหลายเมืองในพม่า ไม่ว่าจะเป็น อังวะ ตองอู เนปิดอว์
  • 11. 9 มัณฑะเลย์ และเมืองของจีนคือเชียงรุ่ง เมืองของลาวคือหลวงพระบาง เราจะต้องสร้างเชียงใหม่ให้เป็น regional capital ของหลายๆ ประเทศ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดที่ดูแต่อะไรในรูปขวาน ต้องคิดอะไรที่มากกว่า รูปขวาน คนไทยส่วนใหญ่ชอบดูที่สุดก็คือแผนที่ประเทศไทยรูปขวาน ที่ข้างๆ ขาวหมด เพราะเราไม่ สนใจที่จะไปดูว่าเราอยู่ใกล้ทะเล หรือเราอยู่ใกล้อะไร เราอยู่ใกล้เพื่อนบ้าน เราคิดเหมือนประเทศไทย เป็นประเทศที่ห่างไกลจากคนอื่นหรือไม่มีทะเลที่สาคัญ คาบสมุทรภาคใต้ ทราบกันไหมว่าประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดชายแดนเพื่อนบ้านกี่จังหวัด คาตอบคือ 33 จังหวัด หมายความว่าเกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัดในประเทศไทยมีชายแดนหมด เพราะฉะนั้น เราต้องทา อะไรเรื่องชายแดนให้มากขึ้น แล้วจังหวัดที่มีทะเลมีกี่จังหวัด คาตอบคือ 23 จังหวัด คิดง่ายๆ คือ 4 จังหวัด เจอทะเล 1 จังหวัด เรามีทะเลเยอะมาก ชายทะเลของเรายาวเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนภาคบก รองจากเวียดนาม ยาวกว่าชายทะเลของพม่า แต่เวียดนามถึงจะมีชายทะเลที่ยาวกว่าเรา แต่เขาอยู่แค่ มหาสมุทรเดียว ของเราอยู่สองมหาสมุทร และสองมหาสมุทรของเราก็กั้นด้วยช่องแคบเล็กๆ แผ่นดิน เล็กๆ บางช่วงกว้างแค่ 50 หรือ 80 กิโลเมตรเท่านั้น ในอดีต คนโบราณข้ามกันเป็นว่าเล่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าจะขุดคอคอดกระก็ดี จะขุดคลองไทยก็ดี หรือถ้าไม่ขุดจะทา land bridge ก็ดี ผมคิดว่าต้องกล้าเอากลับมาคิดใหม่ เวลาเราพูดถึงประเทศไทย เราพูดถึงแต่ว่าจะเติบโต 4% กว่าๆ แต่ถ้าเราเอาประเทศไทยเชื่อม กับเพื่อนบ้าน เชื่อมกับจีน เชื่อมกับอินเดียมากขึ้น ภูมิศาสตร์จะยิ่งทาให้อัตราการโตประเทศสูงกว่า 4% อาจจะถึง 5% หรือ 6% ก็ได้ เวลานี้รถไฟที่จีนกาลังทาลงมา และจะทาต่อไป จะเชื่อมไทยเข้ากับสิงคโปร์ สุมาตรา ชวา และ เชื่อมไทยเข้ากับลาว กับพม่าก็ได้ และจีนก็จะทาทางหลวงด้วย ส่วนรถไฟจากอินเดีย ทางหลวงจาก อินเดียก็จะเข้าพม่าก่อน แต่หลังจากผ่านพม่าแล้ว ถ้าอินเดียจะมาตะวันออกก็ต้องผ่านประเทศไทย สาหรับยุทธศาสตร์ของจีนคือจีนจะมุ่งลงใต้ให้ได้ จีนต้องการมหาสมุทรอินเดีย เพราะเขามีมหาสมุทร เดียวคือมหาสมุทรแปซิฟิก จีนต้องการอีกมหาสมุทรคือมหาสมุทรอินเดีย เพราะฉะนั้น จีนจะต้อง พยายามทารถไฟ ทาทางหลวงที่จะผ่านพม่า หรือผ่านไทยเพื่อจะมาออกทะเลอันดามันและมหาสมุทร อินเดีย ส่วนอินเดีย ยุทธศาสตร์สาคัญของอินเดียคือมุ่งไปทางตะวันออก เมื่อก่อนอินเดียมุ่งไปทาง ตะวันตก (look west) คือมองไปที่ปากีสถาน รบกับปากีสถาน และมองไปที่ตะวันออกกลาง เพราะ อินเดียส่งคนไปขายแรงงานที่ตะวันออกกลางง่ายเพราะอินเดียอยู่ใกล้อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทาให้คนงานมี งานทาและส่งเงินค่าจ้างกลับมาเลี้ยงอินเดียเมืองแม่ แต่ปัจจุบันอินเดียกาลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์มองไป ทางตะวันออก (look east) มองไปที่อาเซียน มองไปที่จีนตอนใต้ อินเดียขึ้นเหนือไม่ได้เพราะมีหิมาลัย สูงประมาณ 7-8 กิโลเมตรขวางอยู่ ยกเว้นบินไป แต่ไปทางบกไม่ได้ ทางบกที่จะมาได้ก็คือจะต้องมาทาง
  • 12. 10 ตะวันออก แล้วก็มาที่พม่า จากพม่าก็ต้องมาไทย จากไทยถึงจะไปต่อกัมพูชา เวียดนาม ลาว และอินเดีย ยังสามารถลงไปจนถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ และชวา ซึ่งดินแดนเหล่านี้ทั้งหมดคือทายาททางอารยธรรม ของอินเดีย เมื่อก่อนอินเดียห่างเหินทายาททางอารยธรรมของตนเองไปนานมากแล้ว เมื่อก่อนอินเดีย เชื่อมกับประเทศที่เป็นทายาททางอารยธรรมของตนผ่านทะเล แต่ปัจจุบันอินเดียกาลังพยายามจะ เชื่อมโยงทางบกด้วย มิพักต้องพูดถึงทางอากาศ ตั้งแต่ก่อนที่ผมจะพูดเรื่องบูรพาภิวัตน์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ เป็นศูนย์กลางการบินที่สาคัญ ซึ่งไม่ใช่เพราะเรื่องบังเอิญ หรืออัธยาศัยไมตรี แต่เป็นเพราะทาเลที่ตั้งของ เรา ทาให้จากเราไปที่ไหนก็สะดวกหมด และความจริงแล้วประเทศไทย ทาเลทางการบินดีกว่าสิงคโปร์ ด้วยซ้า สิงคโปร์อยู่ใต้ลงไปกว่าเราสองชั่วโมงบิน แต่ประเทศส่วนใหญ่อยู่เหนือสิงคโปร์ขึ้นไปทั้งนั้น ถ้า มันจะสะดวกที่จะเดินทางจากสิงคโปร์แล้วเวลาสั้นกว่า คือต้องไปประเทศที่อยู่ทางใต้ของสิงคโปร์ ซึ่งก็ คือออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เท่านั้น แต่ว่าโลกส่วนใหญ่อยู่เหนือสิงคโปร์ขึ้นไป ประเทศไทยอยู่สูงกว่า สิงคโปร์ 2 ชั่วโมงบิน เพราะฉะนั้น ถ้าบินจากประเทศไทยไปที่ไหนก็ตาม จะตัดเวลาบินลงไป 2 ชั่วโมง แต่ถึงอย่างนี้ สิงคโปร์ก็ยังทาจนกระทั่งตนเองเป็นศูนย์กลางการบินได้ ขอกล่าวอีกนิดเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า กาลัง อานาจ หรือความมุ่งมั่นในทางการเมืองสาคัญ อย่างไรในการใช้ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ภูมิศาสตร์ที่ดีไม่ได้เกิดผลดีโดยอัตโนมัติ แต่อยู่ที่ว่ามี การเมือง มีการบริหาร มีการพัฒนาที่เป็นยุทธศาสตร์ที่ดีหรือไม่ และภูมิศาสตร์ที่ไม่ดี ก็สามารถ เปลี่ยนให้ดีได้ถ้าใช้กาลังการเมืองเข้าแทรกแซง ประเทศไทยเดิมเป็นเส้นทางการเดินทะเล คือเดิน ทะเล ขึ้นบก เดินทะเล สลับกัน เมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองสิงคโปร์ อังกฤษพยายามที่จะลดการเดินทะเล และบีบให้เส้นทางเดินทะเลขยับลงใต้ จึงมีสนธิสัญญาทั้งลับและที่แสดงโดยเปิดเผยว่าไม่ให้ไทยกู้ยืมที่ จะตัดคอคอดกระ เรื่องคอคอดกระ ไทยคิดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว อาจจะคิดก่อนหน้านั้น ด้วย แต่ที่มีหลักฐานก็คือสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ก็คิด รัชกาลที่ 4 และ รัชกาล ที่ 5 ก็คิด แต่ที่เราไม่ได้ทาเพราะ หนึ่ง เราไม่มีเงินที่จะทา สอง อังกฤษไม่สนับสนุน สาม อังกฤษทา สนธิสัญญาลับไม่ให้เราขุดคอคอดกระ ผลก็คือเส้นทางเดินทะเลถูกลดระดับลงมาจนมาที่เส้นทางผ่าน สิงคโปร์ สิงคโปร์ในอดีตนั้น ในความเห็นผม ถ้าเปรียบเทียบการเดินทะเลเหมือนกับการคมนาคมทางบก เพื่อให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้น สิงคโปร์ถ้าเทียบกับการเดินทางทางบก สิงคโปร์เป็นตรอกเป็นซอย ส่วนเรา เป็นทางหลวง เพราะเรือใหญ่ๆ จะมาแล้วก็ผ่านเรา แต่พอฝรั่งเข้ามาเส้นทางเดินทะเลมันขยับลงใต้ไป เรื่อยๆ แต่พออังกฤษมาปกครองสิงคโปร์ได้ ความคิดของอังกฤษคือใช้คาบสมุทร ใช้ช่องแคบมะละกาให้ เป็นประโยชน์ อังกฤษยึดปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ 3 เมืองนี้ เรียกว่า Straits Settlements เป็นการ ปกครองของอังกฤษที่ปกครองช่องแคบมะละกา 3 เมืองนี้ด้วยกัน โดยมีสิงคโปร์เป็นเมืองหลวง เลยทา ให้เราใช้ทะเลได้น้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เรามีสองทะเล แต่เราต้องขนของใส่เรือ feeder
  • 13. 11 แล้วไปลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ เราไม่ได้คิดที่จะทาเลย และเราก็ยังสอนกันไปสอนกันมาจนเรามองทะเล เป็นชายหาดเท่านั้น แล้วก็กลัวแต่เรื่องสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่ากลัวได้ แต่ต้องมีวิธีที่จะทาได้ทั้งสองอย่าง เราเสีย logistic cost ไปเยอะมากในการเดินทะเล ทั้งๆ ที่เรามีสองทะเลและมหาสมุทร แต่เรากลับไม่ได้ ใช้ทั้งสองมหาสมุทร อันนี้เป็นปัญหาของทุกพรรคการเมืองที่ไม่ได้คิดเรื่องจะใช้ทะเล และผมว่าคนไทย อย่างน้อย 3 รุ่น (generation) หมดความสนใจเรื่องทะเล เพราะประเทศไทยกลายเป็นประเทศทางบก ตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ยุคพัฒนา เราไปทาอะไรทางบกกันเยอะมาก ก็ดีไม่ใช่ไม่ดี แต่ข้อเสียอย่างหนึ่ง คือทาให้เราลืมอดีต เมื่อก่อนนี้ คนจากตรังจะไปภูเก็ตก็ใช้เรือ หรือตรังไปกระบี่ พังงาก็ใช้เรือ เพราะไม่มี ถนน หรือคนจากกรุงเทพ จะไปสงขลา ชุมพร ก็ใช้เรือ คนจากสงขลาจะไปจันทบุรีก็ใช้เรือ สมัยนั้นเรา เห็นความสาคัญของทะเลและมหาสมุทรไม่น้อย แต่เมื่อเรามีความเจริญทางบกมากขึ้น ก็เป็นเรื่อง ธรรมชาติที่เราจะเป็นประเทศทางบกมากขึ้น แต่เราจะต้องใช้ตาทิพย์มอง ตาทิพย์คือตาที่มีทฤษฎีมา มอง ถ้ามีทฤษฎีมามองเราจะเห็นเลยว่าถ้าพูดถึงการเดินทะเลของโลก แถบนี้สาคัญมาก ขอเติมข้อมูลให้ เวลานี้การเดินทะเลที่ช่องแคบมะละกา ถ้านับทั้งสินค้าและแก๊ส น้ามัน มี ปริมาณเป็นสองเท่าครึ่งถึงสามเท่าของปริมาณที่ผ่านคลองสุเอซ และสองถึงสามเท่าที่ผ่านคลอง ปานามา ตอนเราเป็นเด็กเราสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เพราะการเติมคาในช่องว่างเรื่องคลองปานามาและ คลองสุเอซ (คลองพระเอก) ผมสอบเข้าได้หลายโรงเรียนก็เพราะรู้ตรงนี้ แต่เวลานี้ คลองพระเอกมันไม่ เป็นพระเอกแล้ว มันลดความสาคัญลงไปแล้ว แต่ว่าตัวประกอบ (ช่องแคบมะละกา) ตอนนี้กลายเป็น พระเอก และถ้าเปรียบเทียบว่าอันนี้คือเส้นโลหิตใหญ่เส้นหนึ่งของร่างกายเศรษฐกิจโลกทั้งหมด เส้น เลือดใหญ่เส้นนี้ มันเต้นแรงจนกระทั่งเราที่อยู่ที่กรุงเทพน่าจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ แต่เราเฉยครับ เรายังรับรู้ช้ามาก ภาพที่ 7 คาบสมุทรภาคใต้ของไทยกับช่องแคบมะละกา
  • 14. 12 ปากทางเข้าช่องแคบมะละกา มีหนึ่งจังหวัดของประเทศไทยอยู่ด้วย คือ สตูล สตูลเป็นส่วนหนึ่ง ของปากทางเข้าช่องแคบมะละกา และถ้านับแบบใจดีหน่อย ปากทางเข้าช่องแคบนี้ก็จะรวมมาถึงภูเก็ต และตรังด้วย แต่ถ้าไปดูคาขวัญของจังหวัดสตูล จะไม่มีพูดถึงสตูลที่เป็นปากช่องแคบมะละกาเลย จะพูด ถึงแต่ของดีในจังหวัด มันเป็นวิธีการมองแบบมองปิด มองประเทศตัวเองปิด แต่ความจริงแล้ว สตูลนั้น ถ้าเราบอกฝรั่งว่าสตูลเป็นปากช่องแคบมะละกา สตูลจะมีค่า มีราคาเพิ่มขึ้นมา หรืออย่างแม่ฮ่องสอนถ้า เราบอกว่าเป็นจุดเชื่อมกับเนปิดอว์ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นทันที หรือถ้าเราบอกว่าน่านหรือเชียงรายเป็นจุดที่ จะเชื่อมไทยกับอีกสามสี่ประเทศราคาจะเพิ่มขึ้นมาทันที ภาพที่ 8 สตูล รวมทั้งภูเก็ตและตรัง ในฐานะส่วนหนึ่งของปากช่องแคบมะละกา สามเหลี่ยมทองคา สามเหลี่ยมไท ไต ลาว วกกลับมาที่สามเหลี่ยมทองคา เราเห็นเชียงแสนก็คิดว่าเป็นอาเภอเชียงแสน เป็นแค่อาเภอหนึ่ง ของจังหวัดเชียงราย และเมื่อเราอยู่ที่สามเหลี่ยมทองคา เราก็จะบอกลูกของเราว่าด้านซ้ายคือพม่า แล้ว ด้านขวาคือลาว แล้วเราก็จะชี้ที่เรายืนอยู่ว่าคือไทย แต่ความจริงแล้ว สามเหลี่ยมทองคาเป็นสามเหลี่ยม ของไท-ไต-ลาว เพราะคนแถบนั้นพูดไทกันหมด พม่าตรงนั้นก็ไม่ใช่พม่า แต่คือรัฐฉาน ฉานก็คือไทใหญ่ ส่วนลาวก็เป็นไทชนิดหนึ่ง แล้วไทล้านนาก็เป็นไทชนิดหนึ่ง ถ้าเราเข้าใจสามเหลี่ยมทองคาใหม่ว่าเป็น สามเหลี่ยมของ ไท-ไต-ลาว และเราเอาพิพิธภัณฑ์ไท ไต ลาว ไปเปิดที่เชียงแสนหรือเชียงรายแล้วทาให้ ดีสักแห่งหนึ่ง แล้วเราก็พูดถึงเรื่อง ไท-ไต-ลาว ก็จะทาให้เรื่องไท ไต ลาว นี้เบิกบานไปอีกมาก เพราะ
  • 15. 13 ไท-ไต-ลาว คือเผ่าชน คือชาติพันธุ์ที่เกือบจะพูดภาษาเดียวกัน ผมขอย้าว่าเกือบจะเป็นภาษาเดียวกัน อย่างเราพูดถึงจีน มีจีนไหหลา จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง เราบอกว่าเป็นจีนเหมือนกัน แต่ภาษาฮกเกี้ยน ไหหลา และกวางตุ้ง พูดกันแล้วฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไท-ไต-ลาว ที่ว่านี้พูดกันแล้วจะเข้าใจกันไม่ต่ากว่า 50% แต่เราไม่ค่อยนับญาติกับใคร เพราะฉะนั้น เราก็เลยมีญาติน้อย แต่พวกนักภาษาศาสตร์ นักชาติพันธุ์ เขานับญาติให้เราหมด ภาพที่ 9 จุดสีแดงคือ บริเวณสามเหลี่ยมทองคา ชาติพันธุ์ ไท-ไต-ลาวมีที่ไหนบ้างในโลก หนึ่ง มีในรัฐอัสสัมของอินเดีย เรียกว่า ไทอาหม สอง มี ในรัฐฉานของพม่า เรียกว่า ไทใหญ่ สาม มีในประเทศไทย สี่ ประเทศลาว ห้า มีในเวียดนามตอนเหนือ ที่เราเรียกว่า เมืองเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) ซึ่งก็คือเมืองแถน ที่ปรากฏอยู่ในตานานของไท–ไต- ลาว จะบอกเอาไว้เลยว่าบ้านเกิดของไท-ไต-ลาว อยู่ที่เมืองแถน เมืองแถนก็คือเมืองเดียนเบียนฟูที่ ฝรั่งเศสมาแพ้เวียดนาม และจากเมืองแถน ในตานานเขาบอกว่า แยกกันมาอยู่เมืองอยุธยา แยกกันมา อยู่เมืองเชียงใหม่ แยกกันมาอยู่หลวงพระบาง อะไรต่างๆ แบบนี้ ในตานานมันชี้ให้เห็นเลยว่าครั้งหนึ่ง เราเป็นญาติกัน เราเป็นคนพวกเดียวกัน และผมคิดว่าต่อไปรัฐบาลของเราจะต้องมีความพยายามที่จะไป นับญาติกับเพื่อนบ้านให้มากขึ้น เรามีไท-ไต-ลาวที่อยู่หลายประเทศมาก แล้วเราจะต้องชิงความเป็น ศูนย์กลางของ ไท-ไต-ลาว เสีย ทาพิพิธภัณฑ์อะไรที่เกี่ยวกับ ไท-ไต-ลาวให้ใหญ่ขึ้น และเวลาเราไปเชิญ ชวนฝรั่ง ญี่ปุ่น หรือจีน ให้มาเที่ยว ก็จะน่าดึงดูดใจมากขึ้น เพราะถ้าบอกว่าไปเที่ยวอาเภอเชียงแสนก็จะ รู้สึกว่าเป็นแค่อาเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย แต่ถ้าบอกว่ามาเที่ยวที่นี่ มาดูพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่อง เกี่ยวกับคน ไท-ไต-ลาว ที่กระจายกันอยู่ถึง 5-6 ประเทศได้ เรื่องราวมันก็จะใหญ่ขึ้นเยอะ
  • 16. 14 ภาคอีสาน ผมได้พูดไปแล้วว่า ภาคทุกภาคของไทยสาคัญหมด ขอพูดถึงภาคอีสาน อีสานเป็นภาคที่เราเอง ก็ไม่ค่อยได้คิด ผมก็ไม่ค่อยได้คิด คือสมัยสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันอยู่ในภาคอีสานมากที่สุด และที่มากที่สุดในภาคอีสานคือ อุดรธานี เวลานั้นผมก็ไม่เข้าใจว่าเหตุใดทหารอเมริกันไปอยู่ที่ภาคอีสาน เยอะ แต่เป็นเพราะภาคอีสานเป็นภาคที่ถ้ายื่นจมูกเข้ามาก็จะติดลาว ติดกัมพูชา และใกล้เวียดนาม และ สามารถสืบข่าวถึงจีนได้ไม่ยากนัก ทาเลที่ตั้งของภาคอีสานเป็นบริเวณที่ต่อไทยเข้ากับลาว เข้ากับ กัมพูชา เข้ากับเวียดนาม และเชื่อมไทยเข้ากับจีนในระยะที่ไม่ไกลนัก ปัจจุบัน จีนก็เป็นอีกมหาอานาจ หนึ่งที่รู้ว่าภาคอีสานสาคัญ รถไฟความเร็วสูงและทางหลวงของจีน จึงมาที่ลาว จากนั้นก็เข้าไทยที่ หนองคายและอุดรธานี จีนกับอเมริกานั้นเป็นมหาอานาจ เขาเห็นภาคอีสานของเราสาคัญ แต่คนไทยเรา มองไม่ค่อยเห็น แต่ว่าพวกนั้นเขามองเห็น เหตุที่เขามาอยู่อีสาน ที่เขามาสนใจอีสานมาก ไม่ใช่เพราะ แจ่ว ไม่ใช่เพราะไก่ย่าง ไม่ใช่เพราะสาวอีสาน ไม่ใช่เพราะเซิ้ง แต่เป็นเพราะภูมิยุทธศาสตร์ของภาค อีสานนั้นสาคัญมาก และผมจะเติมให้อีกประเด็นใหญ่คือ ภาคอีสานเป็นภาคที่ใกล้จีนที่สุด อันนี้ก็จะน่าสนใจอีก ผมก็ ไม่เคยคิดมาก่อน จนกระทั่งมาดูแผนที่ ผมก็คิดว่าใช่ คือถ้าดูการเชื่อมทางบก ภาคของไทยที่ใกล้จีน ที่สุดคือภาคเหนือ เพราะจากแถวแม่สาย ตัดขึ้นไปเป็นเส้นตรงก็จะห่างจากจีนสักร้อยกิโลเมตร แต่ว่าถ้า ทางอากาศ เป็นภาคอีสานที่ใกล้จีนที่สุด เพราะเมืองสาคัญของจีนไม่ได้อยู่เหนือเรา แต่อยู่ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพราะฉะนั้น ภาคอีสานต่างหากที่ใกล้กับจีนในการคมนาคมทาง อากาศ เช่น บึงกาฬ อยู่ใกล้ไหหลาที่สุดถ้าบินไป และภาคอีสานก็ใกล้กับกวางตุ้ง ใกล้กับฮกเกี้ยน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เพราะเมืองสาคัญของจีนส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกของจีน แล้วจีนนั้นก็อยู่ทั้งทางเหนือและทาง ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพราะฉะนั้น เมืองสาคัญของจีนก็จะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ กรุงเทพ แล้วอีสานก็เป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพ ผมอยากจะย้อนความทรงจาในอดีตมาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ แต่ก่อนผมไปเมืองจีน กัปตันมักจะประกาศว่า ขณะนี้เราออกจากกรุงเทพฯ อีกสักครู่เราจะผ่านจังหวัดนครราชสีมา เราจะบิน ผ่านภาคอีสาน เราจะบินเข้าลาว ผ่านไปยังประเทศจีน ตอนแรกผมฟังก็ยังไม่รู้สึกอะไร ขากลับก็ เหมือนกัน ก็ประกาศว่าขณะนี้เรากาลังบินเข้าประเทศลาว อีกสักครู่ เราจะเข้าภาคอีสาน แล้วจะมุ่งสู่ สนามบินดอนเมืองในเวลานั้น ผมก็ไม่เคยใช้เรื่องภูมิศาสตร์มาดู ไม่เคยเอาแผนที่มาดู พอเอาแผนที่มาดู ผมก็ตกใจ เพราะว่าถ้าเราทาสนามบินใหญ่ที่อุดรธานี ที่หนองคาย ที่ใหญ่อยู่เวลานี้ก็ทาให้ใหญ่ขึ้นอีก แล้วก็อย่าไปกลัวว่า สนามบินจะใหญ่เกินไปอะไรแบบนี้ เพราะว่าโลกนี้มันเป็นโลกที่ใช้การบินเพิ่มขึ้น ทุกทีเวลานี้ แล้วการบินมันจะมาสร้างเศรษฐกิจ ถ้าเราบินจากกรุงเทพฯ ไปเมืองสาคัญของจีนซึ่งอยู่ทาง ตะวันออก จะใช้เวลามากกว่าประมาณหนึ่งชั่วโมง ถ้าเราบินจากอุดร หรือ บึงกาฬ ในทางกลับกัน คน จีนที่จะมาเที่ยวกรุงเทพฯ ถ้าลงบึงกาฬหรือหนองคายก่อนก็จะตัดเวลาบินไปหนึ่งชั่วโมง แต่ที่เป็นอยู่ทุก
  • 17. 15 วันนี้ คนหนองคายถ้าจะไปเกาะไหหลา จะต้องบินมาลงที่กรุงเทพฯ ก่อนแล้วเปลี่ยนเครื่องบินอีกสอง ชั่วโมงแล้วบินย้อนกลับไปที่ไหหลา นี่มันเป็นการทาโครงสร้างที่คิดอีกยุคหนึ่ง ประเทศไทยเวลานี้ ต้องการโครงสร้างพื้นฐานอีกชุดหนึ่ง ไม่ใช่ชุดที่เข้าสู่กรุงเทพแล้ว จะเป็นชุดที่มุ่งไปที่เพื่อนบ้าน เป็นชุด ที่มองไปที่เพื่อนบ้าน เป็นชุดที่มองออกนอกประเทศ แล้วท้องถิ่น ภูมิภาคของเราก็ต้องฝึกให้เขามอง แบบนี้ เพราะว่าโอกาสทางเศรษฐกิจจะอยู่นอกบ้านเรามากขึ้นๆ ภาพที่ 10 ภาคอีสานของไทย เชื่อมลาว กัมพูชา เวียดนาม และใกล้ภาคตะวันออกของจีน ขอพูดถึงภาคอีสาน ภาคอีสานสาคัญมาก เพราะเชื่อมทั้งลาวและกัมพูชา อีสานตอนใต้นั้นติด กัมพูชาหมด แล้วจันทบุรี ระยอง ตราด ก็ติดกัมพูชาอีก กัมพูชาความจริงใกล้กรุงเทพมาก ใกล้พัทยา มาก พัทยากับชายแดนกัมพูชาใกล้กันมาก ผมมาเข้าใจเรื่องนี้จากการที่ผมไปพัทยาอยู่บ่อยๆ ผมเห็น พนักงานเสิร์ฟที่นั่นเป็นคนกัมพูชาจานวนมาก ผมก็ถามว่ามาจากไหน เขาก็ตอบว่ามาจากชายแดนไทย กัมพูชา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพัทยา กรุงศรีอยุธยาของเรานั้นเอาเข้าจริงในอดีตก็เป็นเมืองของเขมร เมือง ของขอม ชื่ออยุธยาก็เป็นชื่อที่ตั้งเลียนแบบเมืองพระนคร อังกอร์ธม เมืองพระนครใหญ่ ธมแปลว่าใหญ่ แปลว่าหลวง ถ้าแปลเป็นภาษาไทยที่สุภาพก็คือเมืองพระนครหลวง อยุธยาเราก็เป็นเมืองพระนคร เพราะฉะนั้น เราก็มีความใกล้ชิดกับกัมพูชามาก แล้วภาคอีสานของเราก็จะได้ประโยชน์ทั้งจากกัมพูชา และลาว
  • 18. 16 ภาคตะวันตก ภาคตะวันตกก็จะเชื่อมกับพม่าและอินเดีย ผมมีอะไรเติมให้นิดเดียว จากสิ่งที่ผมเห็นจากการ เดินทาง คือ แม่สอด จ.ตาก แม่สอดนั้นใกล้ทะเลมาก ความจริงประเทศไทยนั้นไม่มีภาคใดไกลทะเลเลย เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ใช่ทะเลของประเทศไทย อย่างเช่น ภาคตะวันตกของเราทั้งหมดอยู่ใกล้ทะเลอันดา มัน มันมีแผ่นดินแคบๆ ของพม่ากั้นไว้เท่านั้นเอง แต่ตอนที่เราเรียนภูมิศาสตร์ตอนเด็กๆ เราจะรู้สึกว่า ภาคเหนือไม่มีทะเล แต่ที่จริงแล้ว ลมที่พาฝนมาตกที่แม่ฮ่องสอน ที่เชียงใหม่นั้นเป็นลมอันดามัน เช่นเดียวกับลมอันดามันที่พาฝนมาตกที่คาบสมุทรภาคใต้ของไทย เราอยู่ใต้อิทธิพลของอันดามัน มากกว่าที่เราคิด เพียงแต่ว่ามันมีดินแดนของพม่ามากั้นเอาไว้ทาให้เราเข้าใจผิด แต่คนโบราณไม่ได้ เข้าใจผิด คนภาคเหนือเขาลงทะเลผ่านแม่สอด จากแม่สอดเขาตัดมาดินแดนพม่า มันไม่ไกล แล้วพอ ข้ามมาตรงนี้ ก็จะเป็นเมาะละแหม่งหรือเมาะลาไย (Mawlamyine) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญเวลานี้ แล้ว ต่อไปอีกข้างบนก็จะเป็นย่างกุ้ง เส้นทางรถเวลานี้จากแม่สอดไปย่างกุ้งสะดวก ใกล้ เลยทาให้ด่านแม่ สอดใหญ่ ผมก็เคยสงสัยว่าทาไมด่านแม่สอดใหญ่ ผมก็คิดว่าแม่สายใหญ่กว่าแม่สอด แต่ว่าฝั่งตรงข้าม แม่สอด ก็เป็นเมืองเมียวดี ก็ไม่ใหญ่เท่าไร แต่จากเมียวดีไปย่างกุ้งมันใกล้ ไม่ไกล ย่างกุ้งเป็นเมืองใหญ่ มาก ประชากรย่างกุ้งกับกรุงเทพเวลานี้ผมว่าเท่าๆ กัน ถ้าใครไปก็จะเห็นการค้าขายพลุกพล่านมาก ระดับการพัฒนามันไม่เท่าประเทศไทย แต่ระดับการค้าการขายไม่ได้แพ้เลย ภาพที่ 11 แม่สอดใกล้กับย่างกุ้งและอ่าวเมาะตะมะ ในทะเลอันดามัน (ห่างจากย่างกุ้ง 429 กม.)
  • 19. 17 แต่ที่ผมสนใจเวลานี้คือ แม่สอดกลายเป็นที่เที่ยวของคนย่างกุ้ง โรงแรมหรูที่แม่สอดก็มี ราคาไม่ ถูก แต่ว่ามีคนย่างกุ้งแวะมาพักอยู่ตลอด ร้านอาหารในแม่สอดก็มีร้านดีๆ ก็อาศัยลูกค้าจากย่างกุ้ง แหล่งช็อปปิ้งบริเวณนั้นก็มีบิ๊กซี โลตัส เซ็นทรัล เหล่านี้ก็มีลูกค้ามาจากย่างกุ้ง ผมว่าแม่สอดเวลานี้คล้าย กับหาดใหญ่ของภาคใต้ที่รับเอาคนมาเลเซียมาเที่ยว ย่างกุ้งก็กาลังรับคนจากพม่ามาเที่ยว ผมคิดว่า ประเทศไทยกาลังเปลี่ยน เปลี่ยนมาก เปลี่ยนเร็ว เร็วกว่าที่เราคิด ผมจึงได้พูดเรื่องแบบนี้มาหลายปีแล้ว เวลานี้คนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นมากขึ้นแล้ว แต่ยังอยากจะให้เห็นอะไรมากขึ้นกว่านั้นอีก และอาจจะนามา ซึ่งนโยบายอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ผมอยากจะเสนอว่าจังหวัดทางภาคเหนือของเราต้องให้คนของตน เรียนภาษาจีน กับภาษาพม่าเป็นหลัก อย่าไปเน้นแต่ภาษาอังกฤษทั่วไป เพราะว่าถ้าคนภาคเหนือได้ ภาษาจีน เศรษฐกิจภาคเหนือจะบูมเลย แล้วคนภาคอีสานตอนใต้นั้นต้องให้เรียนภาษาเขมรจนใช้ภาษา เขมรได้ ไม่ใช่ให้เรียนแต่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้วก็ลืมภาษาเขมรของโคตรเหง้า แล้วคนลาว คน อีสาน ต้องทาให้รู้ภาษาลาวจนอ่านออกเขียนได้แล้วก็ข้ามไปทาอะไรในลาวได้ จะให้ดีเรียนภาษา เวียดนามด้วยก็ได้ อย่าไปเน้นเรียนภาษาอังกฤษอย่างเดียวมันช่วยอะไรได้ไม่มากเท่าไรหรอก ความ ต้องการที่จะใช้ภาษามันอยู่ในแถบนี้ พูดถึงภาษาไทย ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใหญ่และสาคัญมาก เราต้องคิดส่งเสริมการสอน ภาษาไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ชายแดนไทยทุกชายแดนพูดภาษาไทยหมด ชายแดนทางฝั่งตะวันตกก็ พูดภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงหรือมอญ ภาษาไทยเป็นภาษาสากล (lingua franca) ของการค้าขาย แถบนี้หมด และภาษาไทยก็เป็นภาษาที่ใช้ในชายแดนทางภาคเหนือของลาว ชาวเขาก็พูดไทย คนลาว ก็พูดไทย คนพม่าก็พูดไทย ทางใต้ก็พูดไทย แทนที่เราจะไปคิดว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่กาลังจะหมด ความสาคัญ ผมคิดว่าต้องส่งเสริมการสอนภาษาไทย ส่งเสริมไปสอนในประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ไม่ใช่มีแต่ฝึกภาษาอังกฤษอย่างเดียว มันก็อย่างนั้นแหละ ภาษาอังกฤษ เราก็สนับสนุนกันมามากแล้ว เป็นประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่ต่อไปผมคิดว่าภาษาของเพื่อนบ้านสาคัญ ช่วงถาม- ตอบ ถาม : ประเทศไทยเคยมีความคิด ความพยายามที่จะตัดคอคอดหรือส่วนอื่นของประเทศไทยที่ จะทาเป็นช่องเชื่อมระหว่างอันดามันกับแปซิฟิกมาตลอดหลายสิบปี หลายรัฐบาลก็คิด เหตุใดจึงทาไม่ สาเร็จ อย่างแนวคิดเรื่อง Land Bridge นั้นน่าสนใจมาก สามารถสร้างเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากช่องแคบมะ ละกา ก็เห็นคิดกัน ระดับมันสมองของประเทศก็คิด แต่พอถึงขั้นที่จะทาให้เกิดเป็นจริงขึ้นมา เหตุใดจึง หยุด ศ.ดร. เอนก : บางคนก็บอกว่าเพราะสิงคโปร์ไม่อยากให้เราขุด แต่ผมรู้จักสิงคโปร์มาก พอสมควร สิงคโปร์เวลานี้ไปไกลกว่าท่าเรือแล้ว เขาทาอะไรของเขาได้เยอะแยะแล้ว แล้วข้อที่สอง เกี่ยวกับสิงคโปร์นั้น เราต้องเอาสิงคโปร์มาถือหุ้นด้วยจะดี แล้วเราก็ไม่ควรทาของเราเองเท่านั้น เราควร
  • 20. 18 เอาจีน อินเดีย พม่า ประเทศอื่นๆ แม้กระทั่งอเมริกามาถือหุ้นด้วย แล้วถ้าเราทาท่าเรือฝั่งอันดามันหรือ ฝั่งอ่าวไทยก็ตามที่เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ท่าเรือน้าลึก นั้น ควรจะจ้างสิงคโปร์ทา เพราะสิงคโปร์มีความรู้ เรื่องท่าเรือดีที่สุดของโลก ถ้าพูดแบบผมคือ เราจะไม่มีชาตินิยมแบบคับแคบ เราจะต้องรู้จักใช้เพื่อนบ้าน มาช่วยกันทาให้เป็นประโยชน์ แล้วก็ไม่ใช่จะทาให้เรารวยคนเดียว ส่วนประเทศอื่นจน เป็นไปไม่ได้ คน อื่นเขาไม่ยอมหรอก ทีนี้เหตุผลอะไรที่ทาให้เราระแวดระวังเรื่องนี้ อาจจะเป็นเหตุผลทางการทหารหรือเปล่าผมก็ไม่ ทราบ แต่ถ้าเป็นเหตุผลทางการทหาร ผมอยากจะเติมให้อีกอย่างที่ตรงข้ามเลย คือ กองทัพเรือของไทย นั้นลาบากมากเพราะเป็นกองทัพเรืออกแตก คือ มีกองทัพเรือฝั่งอ่าวไทยกับกองทัพเรือฝั่งอันดามัน ถ้า เกิดอะไรขึ้นที่อันดามัน กองทัพเรือฝั่งอ่าวไทยจะมาช่วยได้ไหม ไม่ได้ ถ้าเกิดอะไรขึ้นที่อ่าวไทย กองทัพเรือฝั่งอันดามันจะมาช่วยได้ไหม ถ้าเป็นผม ผมจะตัดคลองสองสามแห่งเลยด้วยซ้า เพื่อจะให้เรา ใช้กองทัพเรือได้ง่ายขึ้น แต่เราไม่ได้คิดกัน เราไปกลัวแต่ว่าถ้าตัดตรงนี้แล้ว จะทาให้คนแยกดินแดน ออกไป มันก็เป็นอย่างนี้ เนื่องจากกลัว เพราะฉะนั้น ที่ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคมากคือวิธีคิด (Mindset) เราถูกทาให้ mindset เป็นแบบ ประเทศปิ ด เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่สมัยที่อาณานิคมเข้ามาแล้ว คือหันไปทางตะวันตกก็เจอจักรวรรดิ อังกฤษ หันไปทางตะวันออกก็เจอจักรวรรดิฝรั่งเศส ไปทางใต้ก็เป็นทะเลซึ่ง ณ เวลานั้น สยามหมด ความสาคัญลงไปแล้ว ประเทศสยามถูกบีบจากที่เป็นประเทศกึ่งทะเลให้กลายเป็นประเทศบก มีสองฝั่ง ทะเลเอาไว้ดู เอาไว้เล่นน้าเท่านั้น คราวนี้พอมาถึงยุคสงครามเย็น เราก็ถูกปิดอีก ทางซ้ายก็เจอรัฐบาล ทหารพม่า “สังคมนิยมแบบพุทธ” ทางขวาก็เป็นลาวที่เป็น หรือ เกือบจะเป็นคอมมิวนิสต์ นี่ก็คือกัมพูชา ที่กาลังจะเป็นคอมมิวนิสต์ นี่ก็คือเวียดนามซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ก็เลยนานมาก ที่เราถูกบีบให้มองแต่ ภายในประเทศของเรา แต่เราพูดเรื่องโลกาภิวัตน์ไปเพื่ออะไร เราพูดให้เท่ห์แค่นั้นเองหรือ พูดโลกาภิ วัตน์ก็หมายความว่าเราต้องเห็นอะไรที่เป็นโลกทั้งใบ ถ้าเห็นโลกทั้งใบเราก็ต้องกล้าคิดแบบที่ผมได้ลอง เสนอ แต่อีกหลายคนคงจะรู้ดียิ่งกว่าผมอีก ให้เขาได้เสนอขึ้นมา อันนี้เป็นอะไรที่ผมคิดว่าสาคัญมาก แล้ววิชาภูมิศาสตร์นั้น ความจริง ผมก็เรียนถึงชั้นมัธยมปลายเท่านั้น จากนั้นก็ไม่เคยเรียนอีก ถ้าเราเอา เรื่องนี้ไปคุยกับนักภูมิศาสตร์ให้มากขึ้นก็อาจได้อะไรที่ดีกว่านี้ด้วยซ้า อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าเราต้องพูดเรื่อง mindset ให้มากขึ้น คือเราเป็นประเทศที่ได้เปรียบทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้เปรียบทางการเมืองระหว่างประเทศ ได้เปรียบทางการคมนาคมระหว่าง ประเทศ แต่เราพยายามที่จะมาทาอะไรแต่ในประเทศ มันเสียเปรียบ เราเป็นประเทศ international แต่เรา ทา domestic อย่างเดียว มันเสียเปรียบ มันไม่ใช่จุดดีที่สุดของเรา ถ้าเราเป็นลาวอย่างนี้ค่อยว่า เราไม่มี ทางไป แต่แม้แต่ลาวทุกวันนี้ก็ยังเปลี่ยนวิธีคิด ลาวเปลี่ยนจากที่ว่าเดิมเป็นประเทศที่ไปหาใครก็ไม่ได้ เพราะไม่มีทะเล (Landlocked) ตอนนี้ลาวเสนอความคิดใหม่ที่ว่า การเชื่อมประเทศต่างๆ แถบนี้จะต้องผ่าน ลาวทั้งสิ้น เช่น จีนจะมาไทยก็ต้องผ่านลาว เวียดนามจะมาไทยก็ต้องผ่านลาว เขมรจะไปจีนก็ต้องผ่าน