SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 27
Baixar para ler offline
สรุปความจากการนาเสนอและอภิปรายในเวทีวิชาการครั้งที่ 25 เรื่อง “การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต: ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม
สุขภาพ และการศึกษา” โดยมี ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้นาเสนอ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรม วี โฮทล จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ในปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์ของคนไทยลดลงเรื่อยมา ทาให้โครงสร้างประชากรของไทยมี
แนวโน้มที่จะมีผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนมากขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานมีจานวนลดลง หากสถานการณ์ยังเป็น
เช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้สังคมไทยจะเข้าสู่ภาวะ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” หากไม่มีการเตรียม
ตัวรับมือกับโครงสร้างสังคมเช่นนี้แล้วจะเกิดปัญหาตามมามากอย่างแน่นอน
1
เอกสารวิชาการ
ฉบับที่ 2/2560
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต :
ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน
อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แนวโน้มของประชากรไทย
อย่างไรคือ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society)
ตามนิยามที่มักใช้อ้างอิงนั้นสังคมใด ๆ จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมี
สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 10 ของโครงสร้างประชากร ปัจจุบันสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับนี้แล้ว
และจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” เมื่อประชากรกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20
ซึ่งสังคมไทยกาลังเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ ดังที่มีการประเมินว่าในปี พ.ศ. 2563
จะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่าร้อยละ 19.1 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32.1 ในปี พ.ศ. 2583
ซึ่งเป็นสังคมสูงวัยขั้นสูงสุด ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น กลุ่มที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
มากที่สุดด้วย (แผนภูมิที่ 1)
ปัญหาที่ตามมาของสังคมสูงอายุคือผู้สูงอายุมักจะมีความชราภาพ คือร่างกายไม่แข็งแรง ไม่
สามารถดูแลตัวเองได้ และไม่สามารถทางานหารายได้เอง จึงต้องอาศัยการพึ่งพาสังคมและรัฐบาล แต่
ประชากรในวัยแรงงานซึ่งเป็นกาลังหลักของชาติและเป็นกลุ่มที่ช่วยค้าจุนผู้สูงอายุกลับมีจานวนน้อยลง
ทาให้ผู้สูงอายุจาต้องดูแลตัวเองมากขึ้น
(แผนภูมิที่ 1) แนวโน้มสัดส่วนผู้สูงวัยในอนาคต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
2
ซึ่งหนทางในการแก้ไขนั้นต้องบูรณาการในหลายมิติด้วยกัน ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และ
พื้นฐานครอบครัว เพื่อให้สังคมไทยมีประชากรวัยแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และ
อีกทางหนึ่งคือการทาให้ผู้สูงอายุมีอัตราความชราภาพที่ช้าลง แม้ว่าจะมีอายุที่มากขึ้นแต่ยังมีปัจจัยยัง
ชีพเพียงพอ (wealthy) และมีสุขภาพที่ดีตามอัตภาพ (healthy) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุลดการพึ่งพา
ผู้อื่นและสวัสดิการของรัฐได้
แนวโน้มประชากรไทยกาลังผกผันและน่าเป็นห่วง
จากการสารวจในปี พ.ศ. 2553 พบว่าประชากรไทยมีอยู่ 63 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นจนถึง 69
ล้านคน จากนั้นก็จะลดลงจนคาดการณ์ว่าประชากรไทยจะเหลือราว 63 ล้านคนเท่านั้นในปี พ.ศ. 2583
อัตราการเจริญพันธุ์ของคนไทยนั้นลดลงเรื่อยมา และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีกจนกระทั่งเฉลี่ย
แล้วแต่ละครอบครัวจะมีลูกไม่ถึงสองคน มีผลให้จานวนประชากรของไทยลดลงและมีโครงสร้างอายุ
ประชากรที่เปลี่ยนไป หากจะรักษาจานวนประชากรให้คงที่อย่างน้อยต้องมีอัตราเจริญพันธุ์เฉลี่ยที่ 2.1
คน โดยในปี พ.ศ. 2553 ตามอัตราส่วนแล้วยังมีประชากรในช่วงอายุ 15-64 ปี อยู่ที่ 7.83 คนต่อผู้ที่มี
อายุ 65 ปีขึ้นไป 1 คน ซึ่งยังไม่เกิดปัญหานัก แต่ในปี พ.ศ. 2583 คาดการณ์ว่าอัตราส่วนนี้จะลดลงมา
อยู่ที่ 2.48 และยังมีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีกหากไม่มีการแก้ไข (แผนภูมิที่ 2) ซึ่งยังมีความเป็นไปได้ที่
จะแก้ปัญหานี้เพราะคนไทยยังต้องการมีลูกครอบครัวละสองคน โดยหวังว่าจะเป็นหญิงหนึ่งคนเพราะ
จะได้อยู่ช่วยดูแลในยามชรา และเป็นผู้ชายหนึ่งคนเพื่อหวังสืบทอดตระกูล แต่สาเหตุที่ทาให้คนไทย
ตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีเพียงคนเดียวเพราะต้องทางานเพื่อหาเลี้ยงชีพจนไม่มีความพร้อมจะมีบุตร
(แผนภูมิที่ 2) อัตราเกื้อหนุนผู้สูงอายุในแต่ละปี
3
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
3
ส่วนความต่างของอายุระหว่างเพศชายและหญิงนั้น พบว่าอายุเฉลี่ยของผู้หญิงจะมากกว่า
ผู้ชาย 6 ปี เนื่องจากผู้ชายมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่า เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงการเกิด
อุบัติเหตุต่างๆ และผู้ชายมักจะแต่งงานกับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าตน 3 ปี ด้วยเหตุนี้เฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะ
เป็นโสดในบั้นปลายชีวิตราว 9 ปี
โครงสร้างครอบครัวไทยกาลังมีปัญหา
ครัวเรือนที่มีคนสามรุ่นอยู่ด้วยกัน คือ 1) รุ่นปู่ย่าตายาย 2) รุ่นพ่อแม่ และ 3) รุ่นลูก จะมีส่วน
ทาให้ครอบครัวเข้มแข็ง เนื่องจากแต่ละรุ่นจะสามารถช่วยเหลือกันและได้ เช่น เมื่อพ่อแม่ไม่อยู่ต้อง
ออกไปทางานนอกบ้านและไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ก็จะมีปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยง ในทางกลับกันปู่ย่าตา
ยายก็จะได้รับการดูแลจากลูกของตน แต่หากครัวเรือนมีไม่ครบสามรุ่นก็จะเกิดปัญหาตามมา จากการ
สารวจพบว่าแนวโน้มครัวเรือนที่อยู่คนเดียวหรือมีอยู่รุ่นเดียวนั้นมีจานวนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนอัตราการ
เจริญพันธุ์ที่ลดลงและการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนครัวเรือนแหว่งกลางที่มีเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กอยู่
ด้วยกันนั้นมีจานวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากร้อยละ 2.34 ในปี พ.ศ. 2533 เป็น 7.18 ใน พ.ศ. 2550
(แผนภูมิที่ 3) เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กต้องออกไปทางานต่างพื้นที่มากขึ้น โดยภาคอีสานเป็น
ภาคที่มีปัญหาครัวเรือนแหว่งกลางมากที่สุดเนื่องจากผู้ปกครองต้องย้ายเข้ามาทางานยังภาคกลาง จะ
ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพเพียงพอเนื่องจากไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ของตน และผู้สูงอายุ
เองก็ขาดคนดูแล ซึ่งรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างแหล่งงานให้ครอบคลุมในพื้นต่าง ๆ เพื่อให้
ผู้ปกครองของเด็กไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังแหล่งงานในต่างพื้นที่ และมีมาตรการอื่นเพื่อจูงใจให้
ลดการแยกครัวเรือน ตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ที่ประเทศสิงคโปร์ดาเนินการอยู่คือการลดหย่อน
ภาษีให้กับครัวเรือนที่มีผู้อาศัยครบทั้งสามรุ่น เพื่อจูงใจให้ลดการแยกครัวเรือนลง
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
4
(แผนภูมิที่ 3) ข้อมูลร้อยละของครัวเรือนแต่ละประเภท
แนวโน้มสังคมสูงวัยในภูมิภาคอาเซียน
จากการประเมินสถิติโดยสหประชาชาติ (แผนภูมิที่ 4) ในกลุ่มประเทศอาเซียน สิงคโปร์ถือว่ามี
ภาวะสังคมสูงวัยมากที่สุด เนื่องจากผู้ชายสิงคโปร์ทุกคนต้องเกณฑ์ทหารสองปี ในขณะที่ผู้หญิงนั้น
สามารถทางานได้ทันที เมื่อผู้ชายพ้นภาระการเกณฑ์แล้วก็ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งกับการสร้างความ
มั่นคงในชีวิตให้ใกล้เคียงกับฝ่ายหญิงก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงาน หรือไม่ผู้หญิงก็จะไม่แต่งงาน
เนื่องจากไม่มีผู้ชายวัยเดียวกันที่มีฐานะใกล้เคียงกัน เมื่อแต่งงานช้าหรือไม่แต่งงานก็จะส่งผลต่อการมี
ทายาท ส่วนประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของภูมิภาคและตามมาด้วยเวียดนาม
5สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 5
(แผนภูมิที่ 4) ปีที่ประเทศในอาเซียนจะเข้าสู่สังคมสูงวัย(สีเขียว) สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์(สีม่วง)
และ สังคมสูงวัยระดับสุดยอด(สีฟ้า): ที่มา World Population Prospects, the 2012 Revision, UN
ปัญหาสุขภาพของประชากรแต่ละช่วงวัย
ประชากรแต่ละช่วงวัยนั้นมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ทาให้มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต่างกันไป แม้คน
ไทยจะมีอายุยืนขึ้นแต่ถือว่าสุขภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร จากสถิติ (แผนภูมิที่ 5) ในช่วงอายุ 15-20 ปี
สาเหตุสาคัญของการเสียชีวิตคือการประสบอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงอายุ 25-39 ปีคือโรค AIDS และ
ในช่วงอายุ 45-74 ปีนั้นส่วนมากแล้วจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่
อาหารซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งมีมากขึ้น เช่น ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน สารเร่งเนื้อแดง การที่เราทราบถึง
ความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัยจะทาให้เราระมัดระวังพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น มีการประเมินว่าหาก
ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ได้เพียงร้อยละ 10 จะสามารถลดงบประมาณด้านสุขภาพได้ถึง 18
ล้านเหรียญสหรัฐฯ การรักษาสุขภาพจึงช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก
6สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
(แผนภูมิที่ 4) แผนภูมิแสดงสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรไทยในแต่ละช่วงวัย
7สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาสังคมสูงวัย
จะเพิ่มอัตราการเกิดได้อย่างไร ?
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่เผชิญปัญหาสังคมสูงวัย ยังมีประเทศอื่นที่มีปัญหามาก่อนและ
มากกว่าไทย ซึ่งสามารถถอดบทเรียนเพื่อแก้ปัญหาของสังคมไทยได้ เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเผชิญ
ปัญหาสังคมสูงวัยเป็นประเทศแรก ๆ แต่เดิมรัฐบาลญี่ปุ่นได้ลดภาษีแก่ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วแต่มี
รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กาหนดเพื่อจูงใจให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านคอยดูแลครอบครัว เหตุนี้เองทาให้ผู้หญิง
จานวนมากที่มีศักยภาพในการทางานตัดสินใจลาออกจากงานประจา แต่ในปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์
ของประชากรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อจานวนแรงงานในอนาคต แม้จะมีมาตรการ
ลดภาษีก็ไม่ทาให้คนญี่ปุ่นมีลูกมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อเพิ่มจานวนแรงงานให้มากขึ้นรัฐบาลจึงมีแผนที่จะ
ยกเลิกมาตรการลดภาษีดังกล่าวเพื่อจูงใจให้ผู้หญิงกลับมาทางานประจา ทาให้รัฐสามารถเก็บภาษีได้
มากขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจที่ดีคือปัจจัยสาคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ อีก
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือประเทศสวีเดนที่เลือกใช้นโยบายให้พ่อและแม่ของเด็กลางานรวมกันได้ถึง 480
วันและยังได้รับเงินเดือน 80% จากอัตราปกติอีกด้วย โดยในจานวน 480 วันนี้ผู้เป็นพ่อและแม่ของเด็ก
สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดจะลาเป็นจานวนกี่วัน รวมถึงการที่รัฐจะสนับสนุนงบประมาณแก่
สถานรับเลี้ยงเด็กด้วย เพื่อทาให้ประชาชนรู้สึกว่าการเลี้ยงลูกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ลาบากจนเกินไปและ
ตัดสินใจมีลูกในที่สุด เหล่านี้คือตัวอย่างที่รัฐและสังคมไทยสามารถเรียนรู้ได้ทั้งสิ้นเพื่อให้ปัญหาสังคม
สูงวัยเบาบางลง เช่น การบรรจุเอามาตรการที่เอื้อให้คนไทยมีลูกมากขึ้นเข้าไปในหลักประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและครอบคลุม
ยกระดับคุณภาพประชากรวัยแรงงาน
ประเทศไทยมีโรงเรียนประมาณสามหมื่นโรง ในจานวนนี้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาราวสองหมื่น
โรง ปัญหาที่เกิดขึ้นบ้างแล้วและจะเกิดหนักขึ้นคือไม่มีเด็กมาสมัครเรียนเนื่องจากมีเด็กเกิดน้อยลง ทาง
แก้คือควรยุบรวมโรงเรียนที่มีนักเรียนจานวนน้อยไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุด
ซึ่งในปัจจุบันติดปัญหาเรื่องการจัดลาดับขั้นของฝ่ายบริหารโรงเรียนเมื่อเกิดการยุบรวม ทาให้ไม่ค่อยมี
โรงเรียนใดอยากที่จะยุบรวมนัก ต่อไปปัญหาก็จะเกิดกับสถาบันการศึกษาระดับสูงต่อไปตามลาดับ
8สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
แม้ปัจจุบันนี้ยังมีประชากรในวัยแรงงานอยู่มาก แต่กลับไม่มีคุณภาพและไม่สามารถตอบโจทย์
ตลาดแรงงาน เช่น สาเร็จการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา หรือเลือกเรียนในสายสังคมศาสตร์มาก
เกินไป ในขณะที่ตลาดแรงงานกาลังขาดแคลนผู้เรียนในสายวิทยาศาสตร์ และยังต้องการกาลังแรงงาน
จากสายอาชีวศึกษาอีกมาก แต่ทุกวันนี้มีเพียง 1 ใน 4 ของนักเรียนที่เรียนต่อหลังจบมัธยมต้นเท่านั้นที่
เลือกเรียนต่อในสายอาชีวศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าประเทศไทยขาดแคลนครูที่เชี่ยวชาญในด้าน
วิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับประถมและมัธยมต้น ส่งผลให้เยาวชนขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง
สาคัญต่อการศึกษาในอนาคตต่อไป จึงควรจะยกเลิกการกาหนดให้ผู้ที่จะสอบบรรจุรับราชการครูต้องมี
วุฒิครู เพื่อเอื้อให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนทางครุศาสตร์แต่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์สามารถเป็นครูได้
ที่สาคัญที่สุดคือทุกคนควรจะรู้จักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จากัดเฉพาะ
การศึกษาในระบบเท่านั้น ปัญหาหนึ่งของแรงงานไทยคือการมีความสามารถเฉพาะด้านแต่ไม่เรียนรู้
ทักษะด้านอื่น ๆ ทาให้วันหนึ่งเมื่อตาแหน่งงานเดิมนั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานแล้วจะประสบ
ปัญหาการว่างงานได้ง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เทคโนโลยีระบบจักรกลเข้ามาทางานแทนมนุษย์มาก
ขึ้น ทาให้หลายตาแหน่งงานนั้นหายไป
สู่สังคมสูงวัยที่สุขภาพดีและมั่งคั่ง (Healthy & Wealthy)
แม้ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลับพบว่ายังมีความชราภาพสูง คือ
ร่างกายไม่แข็งแรง สุขภาพไม่ดี เป็นโรคโดยเฉพาะโรคในกลุ่ม NCDs (Non-Communicable diseas-
es) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมักจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทาน
อาหารที่หวานมันเค็มจัด ขาดการออกกาลังกาย ขาดการดูแลจิตใจที่ดี ทาให้สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่
สามารถดูแลตัวเองได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้คนไทยจึงควรดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่ก่อนวัยสูงอายุ เช่น
รู้จักป้องกันดวงตาจากแสงแดดเพื่อไม่ให้สายตาเสื่อมเร็วเกินไป เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หมั่นออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ โดยสามารถทาได้ง่าย ๆ เช่น การหมั่นเดินให้มากอย่างน้อยวันละ
หนึ่งหมื่นก้าว
ในส่วนของการเงินนั้น โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่สามารถออมเงินได้มากที่สุดคือช่วงวัยทางาน
หากไม่ได้ออมตั้งแต่วัยทางานแล้วจะมีปัญหาเรื่องการเงินเมื่อเกษียณอายุเนื่องจากไม่มีรายได้มาก
เช่นเดิม จากสารวจข้อมูลของปี พ.ศ. 2552 พบว่าอัตราการขาดดุลตลอดชีวิต (Lifecycle Deficit) คือ
รายจ่ายตลอดชีวิตโดยหักลบกับรายได้ตลอดชีวิตของคนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.07 ล้านบาท และ
9สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 1.43 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2583 ทาให้ต้องพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐบาลหรือการ
ช่วยเหลือจากบุตรหลาน ญาติพี่น้อง หรือคนรอบข้าง ซึ่งมักจะไม่เพียงพอ และยิ่งไปกว่านั้นวัยแรงงาน
ที่ลดลงย่อมหมายถึงภาษีที่รัฐเก็บได้น้อยลง ย่อมส่งผลถึงสวัสดิการที่ลดลงด้วย และหากไม่มีบุตร
หลานก็จะยิ่งไม่มีคนดูแล แต่หากมีการออมและการลงทุนของประชากรแต่ละคนตั้งแต่วัยทางานแล้วก็
จะลดการพึ่งพาทั้งต่อรัฐและครอบครัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุได้อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของชาติอีกด้วย เช่นที่สหรัฐฯ นั้นเงินทุนจากกลุ่มคนวัยเกษียณถือว่ามีมูลค่ามหาศาล ทาให้เกิดธุรกิจ
และการจ้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นประโยชน์กับคนในรุ่นถัดไปด้วย ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือวัยแรงงานใน
ปัจจุบันที่มีช่วงอายุ 40 ปีลงมาซึ่งเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วจะเผชิญปัญหาสังคมสูงวัยมากกว่าปัจจุบัน
เนื่องจากจะมีอัตราส่วนของผู้สูงอายุที่มากกว่า การออมและลงทุนตั้งแต่วัยทางานจึงเป็นเรื่องจาเป็น
อย่างยิ่ง ซึ่งควรจะต้องมีเงินเก็บราว 7 ล้านบาทในวันที่เกษียณอายุเพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งจะให้
ผลตอบแทนที่เพียงพอในการดารงชีพได้ แต่ในความเป็นจริงคนไทยมีเงินออมน้อยจนไม่สามารถพึ่งพา
ตัวเองในยามชราได้
แน่นอนว่าการรับมือกับสังคมสูงอายุเป็นเรื่องจาเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบที่ตามมา ซึ่ง
สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ Ageing 1.0 (Awareness Creation) เป็นยุคที่เน้นให้
ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสังคมผู้สูงวัย เพื่อให้ทราบว่าแนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร Ageing 2.0
(Curative Approach) เป็นยุคที่เน้นการแก้ปัญหาจากสังคมสูงวัย เช่น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี
ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุคนี้ Ageing 3.0 (Preventive Approach) เป็นยุคที่เน้นมาตรการป้องกัน
ผลกระทบของปัญหาสังคมสูงวัย เช่น การส่งเสริมให้ออมเงินและลงทุนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทางาน ให้รู้จัก
การดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่ยังแข็งแรง และ Ageing 4.0 (Innovative Approach) ยุคของการสร้าง
นวัตกรรมเพื่อพลิกจากวิกฤตของสังคมสูงวัยให้เป็นโอกาส ผู้สูงอายุไม่ได้ “รกโลก” หากแต่เป็นกาลัง
สาคัญ ซึ่งต้องอาศัยการเตรียมตัวตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มสาว เช่น การสะสมทุนมามากพอจน
สามารถลงทุนได้ในวัยสูงอายุ ในขั้นนี้นอกจากจะไม่เป็นภาระแล้วผู้สูงอายุยังเป็นผู้สร้างสรรค์เศรษฐกิจ
อีกด้วย
แนวทางสาหรับผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่ม
สาหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและมีฐานะที่ดีนั้นย่อมสามารถพึ่งพาตัวเองได้ คนกลุ่มนี้จึงสามารถ
มีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนบทบาทจากลูกจ้างกลายเป็นนักลงทุนด้วย
10สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เงินทุนที่สะสมมาตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ส่วนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี
แต่มีฐานะที่ไม่ดีนั้นอาจจะต้องเกษียณอายุช้ากว่าปกติเนื่องจากยังมีความสามารถทางานและมี
ประสบการณ์การทางานที่สะสมมาตลอดชีวิต อีกทั้งในสังคมสูงวัยจะมีแรงงานในวัยหนุ่มสาวน้อยลง
ทาให้จาเป็นต้องพึ่งแรงงานผู้สูงอายุด้วย สาหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดีแต่มีฐานะที่ดี คนกลุ่มนี้จะมี
ความต้องการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และยังมีกาลังซื้อเพียงพออีกด้วย จึงเป็น
โอกาสที่เอื้อให้ธุรกิจด้านสุขภาพได้เติบโต แต่ต้องคานึงถึงความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย
เพราะผู้สูงอายุคือผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตที่มาก หล่อหลอมแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันไป
ส่วนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดีและมีฐานะที่ไม่ดี รัฐและสังคมต้องเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถมีชีวิต
ต่อไปได้ตามอัตภาพ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีนัก เช่น สร้างที่อยู่อาศัยให้มีราคา
ไม่สูงจนเกินไป สร้างระบบคมนาคมที่ครอบคลุม เอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้ สร้างพื้นที่สาธารณะ
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมาพบปะทากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
ผู้สูงอายุที่อาศัยในสังคมที่เอื้อต่อพวกเขานั้นจะมีสุขภาวะที่ดีและดูแลตัวเองได้พอประมาณ
นอกจากนี้ยังต้องมุ่งเน้นที่การเพิ่มจานวนประชากรที่มีคุณภาพด้วย เช่น ยกระดับการศึกษาให้
สอดคล้องกับตลาดแรงงาน จัดสรรที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ใกล้สถานที่ทางานอันจะช่วยให้ครอบครัวสามารถ
อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า หรือมีมาตรการลดภาษีเพื่อจูงใจแก่กิจกรรมที่ช่วยลดปัญหาสังคมสูงอายุ เช่น
สถานรับเลี้ยงเด็ก ครัวเรือนที่ต้องเลี้ยงเด็ก หรือ ครัวเรือนที่ดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุคือกาลังสาคัญ
ในภาวะสังคมสูงวัยนั้นประชากรสูงวัยคือตลาดที่มีกาลังซื้อมาก เพราะประชากรวัยทางานนั้นมี
จานวนลดลง โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2583 นั้นจะมีถึง 89 ประเทศที่ผู้สูงอายุคือผู้บริโภคกลุ่มใหญ่
ซึ่งการตลาดสาหรับผู้สูงอายุนั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้เพราะผู้สูงอายุแต่
ละคนล้วนมีประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมามากและแตกต่างกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแล
สุขภาพและการประกันภัย แต่พบว่างบประมาณและการทุ่มเทเพื่อการตลาดสาหรับผู้สูงอายุยังมีอยู่
น้อยเกินไป บ่งชี้ถึงการปรับตัวไม่ทันของภาคเอกชน นอกจากเรื่องการตลาดแล้วการรักษาผู้สูงวัยให้
ยังอยู่ในตลาดแรงงานนั้นต้องอาศัยวิธีคิดใหม่เช่นกัน จากเดิมที่มองว่าผู้สูงวัยคือผู้ที่ไม่มีความสามารถ
ในการทางานเป็นผู้สูงวัยนั้นคือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มาก ยากที่คนรุ่นใหม่จะมี
ประสบการณ์ทัดเทียมใด หากผู้สูงอายุยังมีสุขภาพที่ดีพอประมาณก็ยังสามารถทางานได้ต่อไปอย่าง
ปกติ อีกทั้งหากต้องการดาเนินธุรกิจที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุแล้ว การมีผู้สูงอายุเป็นพนักงานย่อม
11สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
บทอภิปราย
12สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากสถิติ วัยแรงงานอายุ 15-60 ปี มีจานวน 42 ล้านคน แต่ในความเป็นจริงไทยเรามีแรงงานที่
ทางานจริง (Productive Labour Force) เพียง 37 ล้านกว่าคน หายไปเกือบ 5 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่
ยังเป็นนักเรียนนักศึกษา และบางส่วนเป็นแม่บ้าน คนพิการ ยิ่งตอกย้าปัญหาแรงงานน้อยและอัตรา
การเกิดที่ต่า และแรงงานที่ใกล้เกษียณก็มีจานวนมาก จึงเกิดเป็นคาถามว่าเมื่อคนเหล่านี้กลายเป็น
ผู้สูงอายุ เราจะรับมือและดูแลคนเหล่านี้อย่างไร ซึ่งสามารถสรุปประเด็นเกี่ยวข้องได้ 5 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง อัตราทดแทน ในอดีตที่ไทยรณรงค์เรื่องคุมกาเนิดเป็นช่วงที่เรียกว่า In-
dustrial Generation พอดี ทาให้คนที่มีลูกมาแล้วก็หยุดมีลูก และคนที่พึ่งเข้าสู่วัยทางานก็เข้าทางานใน
โรงงานเสียมากทาให้ไม่พร้อมจะมีลูกเช่นกัน ลูกที่เกิดมาเข้าทางานในโรงงานทั้งหมด และกลายเป็นว่า
คนพวกนี้ไม่พร้อมจะมีลูก บางคนต้องทาแท้ง เพราะเขาเลี้ยงลูกไม่ได้ ถ้าจะมีลูก ต้องเอากลับไปให้พ่อ
แม่เลี้ยง ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดครอบครัวแตกแยก
ประเด็นที่สอง ครัวเรือนเดี่ยว ครัวเรือนของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีลักษณะ
เป็นครัวเรือนเดี่ยวคือคืออาศัยตามลาพังประมาณร้อยละ 30 ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตไปตามยถากรรมวัน
ต่อวัน ไม่ได้คิดเรื่องการแต่งงานหรือสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง สังเกตได้จากชนชั้นแรงงานในสังคม
ปัจจุบันที่หลายครอบครัวมีความแตกแยกแล้วไม่มีใครดูแลลูกเพราะต่างคนต่างอยู่ หากเรานับรวม
ผู้สูงอายุตัวคนเดียวที่ต้องดูแลตัวเอง และคนตกงานอันเกิดจากเทคโนโลยีแย่งงานในอีก 5 ปีข้างหน้า
ไปด้วย คนเหล่านี้คือประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศทีเดียว
ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีประมาณ 11-12 ล้านคน คิดเป็นประมาณร้อยละ 12-14 ชี้ให้เห็นว่า
ประเทศไทยใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มทีแล้ว ฉะนั้นในอนาคตเราต้องเตรียมรับมือทั้งครอบครัวเดี่ยว
คนว่างงาน และผู้สูงอายุ แล้วเราจะหารายได้มาจากที่ใดมาดูแลคนเหล่านี้ ทางออกทางหนึ่ง
ต้องส่งเสริมการลงทุนและดึงการลงทุนจากต่างประเทศ แต่เราก็ต้องมีตลาดภายในประเทศรองรับ
เสียก่อน แล้วเราจะสร้างตลาดภายในประเทศอย่างไร ในเมื่อคนตกงานและผู้สูงอายุต่างก็เป็น Non-
Productive Labour คาตอบก็คือ ธุรกิจที่ทาได้ด้วยตนเองคนเดียว (One-Person Business) ปัจจุบันมี
แรงงานที่เพิ่งเกษียณบางส่วนก็หันมาเปิดร้านขายของเป็น One-Person Business อยู่แล้ว ฉะนั้น เรา
สามารถส่งเสริมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เช่น ให้คนเข้าถึงสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี ลดและละเว้นภาษีการ
ทาธุรกิจในระยะแรก ลดต้นทุนค่าขนส่ง ส่งเสริมให้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีราคาถูก เป็นต้น
13สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นที่สาม ในสังคมอุตสาหกรรมไทย มีประชากรที่เป็นแรงงานในโรงงาน 8-10 ล้านคน
โดยที่หลายครอบครัวนั้นพ่อทางานอยู่โรงงานหนึ่ง แม่ทาอยู่อีกโรงงานหนึ่ง ส่วนลูกอายุยังน้อยต้องไป
โรงเรียนแต่พ่อแม่ไม่สามารถไปรับ-ส่งลูกได้ เพราะออกไปทางานเช้ากว่าเวลาที่ลูกเข้าเรียนและเลิก
งานช้ากว่าเวลาเลิกเรียนทาให้ลูกต้องอยู่ตามลาพังบ่อยครั้ง ถ้าครอบครัวส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหา
เช่นนี้เขาก็จะไม่มีลูกเพิ่ม เพียงทาให้แรงงานสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ลาบากนักและจัดสรรที่อยู่อาศัย
ให้รัฐก็ยังไม่สามารถทาได้ ฉะนั้น รัฐควรลดภาษีให้ผู้สูงอายุที่ต้องดูแลเด็กและพ่อแม่ที่ต้องออกไป
ทางานหาเงินเลี้ยงครอบครัว เพื่อลดความยากลาบากในการลูกดูลูก อีกทางหนึ่ง รัฐควรทาโครงการ
จัดหาบ้านขนาด 50 ตารางวาให้ครอบครัวที่มีลักษณะดังกล่าวกู้ เพื่อให้ครอบครัวใหญ่ได้อยู่ร่วมกัน
พร้อมหน้า มิใช่ทาแบบโครงการประชารัฐที่อ้างว่าต้องการสร้างบ้านเพื่อคนจน แต่ในความเป็นจริงคือ
ต้องการสร้างบ้านเพื่อขายคนจนโดยหวังเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจเป็นหลัก
ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุกลุ่มหลักคือผู้ที่ทางานในภาคเอกชนมิใช่ภาคเกษตร ปัจจุบันกาลัง
แรงงานภาคเกษตรมีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ส่วนกาลังแรงงานที่เป็นผู้มีรายได้ประจามีประมาณ 18
ล้านคน และอาชีพอิสระอีกประมาณ 9 ล้านคน ฉะนั้น คนที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่
ปลดเกษียณจากโรงงาน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านเช่าเพราะไม่มีเงินซื้อบ้าน เมื่อเกษียณไปแล้ว
ได้เงินอย่างมากเดือนละ 2,500-3,000 บาท จึงไม่แปลกที่คนเหล่านี้จะไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและบุตร
เท่าใดนัก
ประเด็นที่สี่ นโยบายภาครัฐ ขณะนี้ในประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 33 ของประชากร
ทั้งหมด แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงออกนโยบายลดภาษีให้กับบริษัทที่จ้างผู้สูงอายุ
ล่วงเวลา และพยายามหาอาชีพมารองรับผู้สูงอายุเหล่านี้ เช่น เป็นที่ปรึกษาบริษัท ทางานพาร์ทไทม์
เป็นต้น แล้วอีก 5 ปีข้างหน้าที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจะมีโครงการทานองนี้หรือไม่
กองทุนที่ใหญ่ที่สุดในไทย คือ กองทุนประชาสังคม มูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้านบาท รัฐบาลนา
งบประมาณไปใช้โดยไม่เคยบอกประชาชนว่านาไปทาอะไร ทั้งที่ควรนาไปใช้กับสิ่งอานวยความสะดวก
(Facility) ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็นมาก แต่ไทยมีปัญหาเงินออมกับรายจ่ายไม่เท่ากัน เพราะเราเริ่มปฏิวัติ
อุตสาหกรรมช่วง พ.ศ. 2504 เราส่งเสริมการลงทุนเต็มที่ แต่กลับเริ่มประกันสังคมเมื่อ พ.ศ. 2534 ทา
ให้ไทยในช่วง 30 ปีนั้นเป็นอุตสาหกรรมโดยที่ไม่มีประกันสังคมทาให้ไม่มีเงินออม สะท้อนให้เห็นว่า
กระบวนทัศน์ของรัฐกับทุนไม่กว้างไกลพอ ทางออกคือการจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อสร้างระบบเงิน
ออมที่ครอบคลุมทั้งระบบแรงงาน เงินค่าจ้างแรงงานซึ่งมีอยู่มหาศาลก็มาเก็บไว้ที่นี่ แรงงานต้องการกู้
เงินก็มาที่นี่ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี หรือแรงงานจะพาผู้สูงอายุในครอบครัวมากู้ไปค้าขายเล็กน้อย
14สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
หรือขายของออนไลน์ก็ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานโดยตรงมากกว่าการพึ่งพาระบบธนาคาร
พานิชย์ทั่วไป
ประเด็นสุดท้าย กระบวนทัศน์ (Mind Set) ของทุนและรัฐ ทุนยังมองว่าผู้สูงอายุคือภาระ
ส่วนรัฐยังคิดว่าผู้สูงอายุต้องได้รับการสงเคราะห์ เป็นอุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งที่ทาให้ปัจจุบันทั้ง
รัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการทาธนาคารลูกจ้าง ทั้งที่เราอยู่ภายใต้ระบบ
เศรษฐกิจแบบแข่งขัน การมีธนาคารลูกจ้างจะทาให้ลูกจ้างสามารถกู้เงินไปทาธุรกิจได้ง่ายขึ้น ทาให้
ธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น เพียงแค่รัฐสนับสนุนจัดหาพื้นที่ตลาดและเครื่องมือให้เขา เขาก็หากินเองได้
เพราะแต่ละพื้นที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่น มีความน่าสนใจในตัวเองอยู่แล้ว แต่รัฐกลับนิยมใช้
นโยบายแจกเงิน จึงเกิดเป็นคาถามว่า ทาไมทั้งรัฐและทุนถึงไม่เห็นด้วย
รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ กรรมการบริหารสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย
โครงสร้างประเทศไทยเป็นโครงสร้างการเมืองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มผู้อานาจ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มี
อานาจทางเศรษฐกิจและกลุ่มผู้มีอานาจทางการเมือง กระบวนทัศน์ของ อาจารย์ณรงค์ กับนายทุนย่อม
แตกต่างกัน (ตอบ อาจารย์ณรงค์)
คาถามเกี่ยวกับประเด็นสังคมผู้สูงอายุมี 2 คาถาม คือ คาถามแรก ในอดีตเรามีประชากรเยอะ มี
นักวิชาการพูดออกโทรทัศน์ทุกวันว่า ลูกเกิดเยอะขนาดนี้ อนาคตเด็กจะหางานทาไม่ได้และว่างงานจน
อาจเป็นภาระ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าเรามีแต่ผู้สูงอายุ คาถามคือ เป็นไปได้ไหมว่า (อย่างน้อยในทาง
วิชาการ) เราสามารถออกแบบให้สุดท้ายแล้วอัตราการเกิดกับอัตราการตายเท่ากัน เพื่อให้ดุลยภาพ
ของโครงสร้างอายุประชากรเปลี่ยนจากรูปพีระมิดเป็นรูปกราฟแท่ง เพราะหากมองในฐานะนัก
สิ่งแวดล้อม ทุกระบบต้องเข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่นในกรณีนี้อัตราการเติบโตของประชากรต้องเป็นศูนย์
ประชากรในทุกช่วงอายุมีสัดส่วนเท่ากันหมด
คาถามที่สอง ในสหรัฐอเมริกามีปัญหาค่าใช้จ่ายภาครัฐติดลบ สาเหตุหนึ่งเกิดจากคนไม่
ดูแลสุขภาพ ทาให้เป็นโรคที่ไม่ควรจะเป็นโดยเฉพาะโรคอ้วน อีกสาเหตุหนึ่งคือสังคมผู้สูงอายุเบิกค่า
รักษาพยาบาลได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อ Social Expense ในขณะที่จีนเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงนาไปสู่
การแก้ไขที่มุ่งให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและมีกินมีใช้ (Healthy and Wealthy) อันดับแรก ต้องให้ผู้สูงอายุ
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ใช่ทาอะไรเองไม่ได้ หัวใจคือต้องเดินได้ กาลังขาต้องดี จีนจึงใช้ท่าออก
กาลังกาย “312 Meridian Exercise” ช่วยฝึกกาลังขาและบรรเทาอาการเจ็บเข่า ในขณะเดียวกัน
15สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
จีนก็สร้างพื้นที่สาธารณะให้ผู้สูงอายุมารวมตัวกันออกกาลังกาย ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูงอายุที่จีนมีอานาจต่อรอง
สูงมากถึงขนาดสามารถชักนานโยบายของรัฐได้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้ที่มีอานาจในการกาหนดนโยบายก็
คือลูกหลานของผู้สูงอายุเหล่านี้นั่นเอง เหล่านี้เป็นกรณีศึกษาให้ประเทศไทยได้หรือไม่
ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แม้ในภาพรวมประเทศไทยเรามีอัตราการทางานต่ากว่าศักยภาพ (Underemployment)
(หมายถึง ผู้ที่ทางานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และทางานต่ากว่าวุฒิ) ไม่ถึงร้อยละ 1 แต่คนที่
ทางานต่ากว่าศักยภาพกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเป็นคนที่จบปริญญาตรี
26 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นพวกที่เรียนเอาวุฒิและเน้นเรียนแต่ด้านสังคมศาสตร์เกินไป
ฉะนั้น เราต้องแก้ปัญหาที่ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุกวันนี้ คนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 กว่า 8 แสน
คน ออกไปสู่ตลาดแรงงาน 1 แสนคน อีก 7 แสนคนที่เหลือนั้นกว่าร้อยละ 70 เรียนสายสังคมศาสตร์
และ 30 เปอร์เซ็นต์ เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พอจบ ม.6 นักเรียน 5.5 แสนคนก็เข้าสู่
ตลาดแรงงาน อีก 1.5 แสนคนศึกษาต่อ ซึ่งเราวางแผนให้ร้อยละ 70 เรียนสายวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี และ 30 เปอร์เซ็นต์ เรียนสายสังคมศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับกัน หากเราไม่แก้จุด
นี้ Flow ของแรงงานที่จะกลายเป็น Stock จานวน 10 กว่าล้านคนก็จะกลายเป็นพวกที่ทางานไม่เต็ม
ศักยภาพ จนเกิดปัญหาการออมไม่เพียงพอ อีกส่วนหนึ่งก็คือ เราไม่ได้มี Lifelong Learning ด้วย
กรณีประเทศจีน แม้เขาจะใช้นโยบายลูกคนเดียวมาเกือบ 30 ปี แต่เงินออมเขาสูงมาก ใน
ขณะเดียวกัน เขา Healthy กับ Wealthy ด้วย ส่วนประเทศไทย Stock ของแรงงาน 42 ล้านคน ส่วน
ใหญ่จบประถมและทางานไม่เต็มศักยภาพ Stock ของแรงงานจะเป็น Flow ของผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้มี
ประมาณ 8 ล้านคน Flow ของผู้สูงอายุก็คือ Stock ของแรงงาน กาลังจะย้ายเข้าไปสู่สูงวัย ขณะนี้คนที่
อายุ 60 ปีขึ้นไปไม่มีปัญหาแล้ว แต่ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่ แรงงานไม่ได้ปรับปรุง การศึกษาไม่ได้ปรับปรุง
คนที่จะมีปัญหาคือคนที่ตอนนี้อายุประมาณ 40-50 ปี
16สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญา และ
อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปัญหาคือเราติดกรอบความคิดว่าการศึกษามีเพียง 2 ด้านคือถ้าไม่สังคมศาสตร์ก็ต้องเป็น
วิทยาศาสตร์ แล้วเราก็บ่นว่าเด็กไปเรียนทางสังคมศาสตร์มากแต่ไม่ยอมเรียนวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่ใช่
สังคมศาสตร์ แต่เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วย“หลั่นล้า”ทั้งหลายได้ไหม แทนที่ไปฝืนให้เขาเรียนวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่างประเทศเขาก็เริ่มหันมาเน้น STEAM (Science, Technology, Engineering, Art + Design
and Math) แทน STEM (Science, Technology, Engineering and Math) แล้ว ในขณะที่เรายังเน้น
STEM โดยไม่ดูว่าครู 6 แสนคน มีแค่ 5 หมื่นคนที่เป็นครูสายวิทยาศาสตร์จริง
รศ.ดร.อนุชาติ พวงสาลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถอยกลับไปสู่โจทย์เรื่อง Equilibrium Growth ของ อาจารย์จานง จากภาพใหญ่ที่ อาจารย์เกื้อ
ให้คือว่า ผู้สูงอายุนั้นขยายมาก สัดส่วนการพึ่งพิงของกลุ่มประชากรที่กาลังโตหรือวัยรุ่นไทยแคบลง ซึ่ง
จริง ๆ ไม่ได้ลดแค่จานวน แต่คุณภาพของเด็กรุ่นใหม่ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายอยู่หลายเรื่อง ด้วยความที่
ประเทศเรามีความเหลื่อมล้าสูงมาก ลูกคนรวยที่โตมาในยุคเบบี้บูมมักถูกฟูมฟักให้โตมาเป็นคนเอาแต่
ใจ รักสบาย เนื่องจากพ่อแม่ทางานหนักไม่มีเวลาให้ลูก จึงใช้เงินซื้อความสุขให้ลูกเป็นประจาจนลูกติด
นิสัยอยากได้อะไรต้องได้ แล้วรูปแบบการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์เขาจะมีปัญหามาก ด้านบวกก็มี แต่ในเชิง
ระบบคิดนั้นมีโจทย์ที่น่าสนใจว่าเขาหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ เขามีแบบแผนการบริโภค แบบแผนการ
ผลิตในใจเขามากน้อยอย่างไร
ในขณะที่หากไปสารวจโรงเรียนทั้งในและนอกระบบในต่างจังหวัด อัตรา Dropout ที่
กระทรวงศึกษาธิการบอกว่าน้อยมากนั้นไม่ค่อยน่าเชื่อเท่าใดนัก เพราะมีเด็กที่ด้อยโอกาสเยอะมาก ยิ่ง
ไปกว่านั้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ในต่างจังหวัด ถ้าเราไปดูโรงเรียนขยายโอกาสในกรุงเทพฯ เราก็จะเจอสภาพ
ที่จาลองปัญหาสังคมไทยที่เรากังวลทุกรูปแบบ เช่น การข่มขืนกระทาชาเรา ท้องก่อนวัยอันควร ยาเสพ
17สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ติด จับกลุ่มมั่วสุม เหล่านี้ต่างเป็นโจทย์ที่ทั่วไปมากในสายตาเรา นอกจากนี้ จากการที่เคยจัดอบรมกับ
คุณครูในระดับมัธยมศึกษาในเขตปทุมธานี พบว่าโจทย์ที่เป็นความกังวลของครู นอกจากถูกนโยบาย
รายวันของกระทรวงศึกษาธิการกดดันแล้ว ครูยังไม่รู้ว่าจะจัดการปัญหาชีวิตของลูกศิษย์อย่างไร เพราะ
เด็กมีปัญหาเรื่องทักษะชีวิตสูงมากเนื่องจากเขาดูแลตัวเองไม่ได้
ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ใน พ.ศ. 2513 แต่ละครอบครัวมีลูกเฉลี่ย 6.7 คน เวลาสอบถามว่าอยากมีลูกกี่คน ส่วนใหญ่ตอบ
ว่าไม่มีแผนกาหนด ในฐานะนักประชากรศาสตร์ มองว่าการรณรงค์ให้คุมกาเนิดไม่ผิด เพราะหาก
เราต้องการมีลูกแค่ 2 คน การคุมกาเนิดจะเป็นเครื่องมือที่ทาให้วางแผนครอบครัวได้ จากที่เคยมีลูก
โดยไม่ได้วางแผน ซึ่งปกติหากไม่คุมกาเนิดตลอดช่วงอายุ 15-45 ปี คนเราจะมีลูกประมาณ 10 คน
ฉะนั้นถ้าไม่มีการคุมกาเนิดแล้วอัตราการทาแท้งจะเพิ่มมากขึ้น การที่คนเรามีลูกน้อยลงจึงไม่ได้เป็น
เพราะการคุมกาเนิด แต่เป็นเพราะรายได้ ค่าครองชีพ รสนิยม สภาพแวดล้อม เสียมากกว่าที่ทาให้
ความปรารถนาจะมีลูกลดลง ในอีกแง่หนึ่ง ความคิดที่ว่า ‘ลูกมากเลยยากจน’ ก็เป็นความคิดที่ไม่
ถูกต้อง เพราะความจริงแล้วเขายากจนต่างหาก เขาเลยมีลูกมาก เช่น ยากจนรายได้ ยากจนการศึกษา
ความคิดดังกล่าวจึงเป็นการโทษคนจนแบบผิด หารู้ไม่ว่าเป็นเพราะการศึกษาเขาก็น้อย เงินเขาก็น้อย
ในส่วนของคุณภาพของเด็กที่มาจากครอบครัวมีฐานะ จากการเป็นนายกสมาคมครูผู้ปกครอง
โรงเรียนอัสสัมชัญมากว่าสิบปี เมื่อก่อนสมัยตนยังเป็นนักเรียน หลังจากเลิกเรียนแล้วมีเวลาเล่น
ฟุตบอลราวครึ่งชั่วโมงแล้วกลับบ้านไปทาการบ้าน แต่เด็กสมัยนี้ตอนเย็นยังต้องเรียนพิเศษ เสาร์-
อาทิตย์ก็ไปเรียนเพิ่มอีก เช่น เรียนว่ายน้าในห้องเรียนแล้ว ตอนเย็นก็ไปเรียนพิเศษว่ายน้า เสาร์-
อาทิตย์ก็ไปเรียนว่ายน้าที่สยามอีก แต่ไม่เคยว่ายจริงเลย ต่างกับสมัยก่อนที่เรียนในชั้นเรียนเสร็จ เตะ
ฟุตบอล แล้วก็กลับไปทางาน เราสามารถเปลี่ยนจาก Explicit Knowledge ซึ่งเป็นเชิงทฤษฎีให้เป็น
Tacit Knowledge ซึ่งปฏิบัติได้จริง แต่สมัยนี้เรียนแต่ Explicit Knowledge ไม่เปลี่ยนเป็น Tacit
Knowledge
สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่เรียนมากเกินพอดี ในขณะที่ต่างประเทศเรียนน้อยกว่าและเล่นมากกว่า
แต่การศึกษาดีกว่าไทย อีกทั้งครูไทยมักเก็บความรู้ไว้ตอนสอนพิเศษ ในขณะที่ในอดีตนักเรียนคนไหน
ที่ไม่สนใจการเรียนในห้อง คนนั้นต้องเรียนเสริมหลังเลิกเรียน โดยครูยอมสละเวลาหลังเลิกงานมาสอน
นักเรียนเพิ่มเพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพ เราจึงต้องให้ความสาคัญกับความหมายของชีวิต ความหมาย
18สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ของการเป็นครู การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น และในอีกทางหนึ่งต้องลดพฤติกรรมของ
ผู้ปกครองที่ใช้เงินปรนเปรอความสุขแก่ลูกเพื่อทดแทนเวลาที่ตนไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในระยะยาวจะทา
ให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นักวิชาการอิสระ
ครั้งนี้เป็นเรื่องของการปลุกให้ตื่น (Wake-Up Call) ครั้งใหญ่ แต่สังคมไทยถูกปลุกไม่รู้กี่ครั้ง
และกี่เรื่องแล้วแต่ไม่เคยตื่นตัวเสียที เราควรคิดต่อยอดว่า เมื่อเรามีข้อมูลสถานการณ์ชัดแล้ว ใครควร
จะทาอะไร อย่างไร ต้องร่วมมืออย่างไร ต้องทาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากี่ปี เพราะประเด็นสังคมผู้สูงอายุ
ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้สูงอายุแล้ว กลายเป็นเรื่องของการผลิต การใช้ชีวิต คุณภาพ และปัญหาสังคมต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยกล่าวถึงการใช้เงินของคนรุ่นใหม่ว่า ไม่ค่อยรู้จักเก็บออม ใช้เงิน
สุรุ่ยสุร่าย ไม่มีวินัยในการใช้ชีวิต เพราะสังคมเป็นแบบนี้ ต่อไปพ่อแม่ไม่มีเงินให้ ตัวเองก็ไม่มีเงินออม
แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่คนจะหันเหไปทาธุรกิจผิดกฎหมายทั้งหลายเพราะหา
เงินได้ง่ายและเร็วกว่า
ประเด็นอยู่ที่ว่า แล้วหน่วยงานใด กลุ่มใด จะทาอะไร เพราะงานนี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี
ผู้ปฏิบัติจึงต้องเป็นคนที่มี Passion ใส่ใจ จัดระบบและเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ เข้ากันให้ได้ทั้งระบบ
โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการศึกษา อีกทั้งการสร้างคนไม่ใช่แค่ทาให้ปริมาณสมดุล แต่คุณภาพ
ต้องดีขึ้นด้วย นี่ยังไม่นับคนที่ยังอยู่ในคุกและคนที่กาลังออกจากคุกในไม่ช้า จะเกิดปัญหาอีกมหาศาล
พันกัน ฉะนั้น เราควรจะทาอะไรหรือไม่ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกัน อาจจะเป็นสถาบัน หรือถ้าแข็งไปก็
อาจจะเป็นอะไรที่ไม่เป็นทางการที่จับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะว่าเรื่องนี้นั้นเชื่อมโยงทุกอย่าง จะต้องมี
ทางออกให้และใช้เวลานานมากพอจึงจะเห็นผล พร้อมทั้งต้องมีจัดการปัญญา ความรู้ และกาลังของคน
ที่จะมาขับเคลื่อนประเด็นนี้ด้วย
สมมติ ถ้าจะผลักดันไทยแลนด์ 4.0 หรือโครงการประชารัฐ ต้องเอาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจในเรื่อง
นั้นอย่างจริงจังและสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความเข้าใจที่จะสร้างเครือข่ายของคนที่อยากจะมาทา
เรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้กระทั่งการมีชีวิตคู่ เราจะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยอยากมีลูกกันซึ่งบังคับกันไม่ได้
แต่ที่สาหรับคนที่อยากมีลูก ก็ต้องพบเจอกับปัญหาโรงเรียนไม่มีคุณภาพ การดูแลลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน
ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งเชื่อมโยงกันหมด ตั้งแต่เด็กคลอด เข้าโรงเรียนอนุบาล รัฐจึงต้องมองเรื่อง
การลงทุนแบบประเทศแถบสแกดิเนเวียร์ เอาตัวแบบเขามา หากรัฐไม่ลงทุน อีก 10 - 20 ปีข้างหน้าจะ
19สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เป็นอย่างไร แต่ใครจะสามารถโน้มน้าวและทาความเข้าใจ จึงต้องมีข้อมูล มีทั้งระบบ มี lobbyist ที่มี
ฝีมือ และต้องมีกระบวนการสื่อสารทางสังคม โดยอาศัยคนรุ่นใหม่ที่มีฝีมือเรื่อง infographic และยัง
เกี่ยวข้องกับเรื่องอานาจ สถาบัน และเรื่องเศรษฐกิจก็ต้องตระหนัก การดูแลคนจน คนด้อยโอกาส หรือ
คนวัยแรงงานที่ไม่มีเงินซึ่งมีอยู่เป็นจานวนมาก และเรื่องการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ได้มีเพียง
หน่วยใดหน่วยหนึ่งที่ทาได้ แต่ต้องมีผู้เริ่มต้นและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ต้องมีความเป็น social
movement ที่ผู้สูงอายุก็ตระหนัก คนรุ่นใหม่ก็ตระหนัก ชนชั้นกลางก็ตระหนัก ทุกฝ่ายก็ตระหนัก แล้ว
มาหาวิธีปรับให้ระบบนิเวศแห่งการพัฒนาความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นได้ และที่สาคัญคือต้องเน้นไปที่
ท้องถิ่นด้วย หลาย ๆ เรื่อง ท้องถิ่นต้องจัดการ ซึ่งหลายเรื่องเหล่านั้นมีผลกระทบกับท้องถิ่นโดยตรงทา
ให้พวกเขาตื่นตัวได้ เพราะไม่ใช่แต่ข้อมูล (information) แต่กาลังสร้างความหมาย (meaning)
ปลุกเร้า (wake up) และสร้างจิตวิญญาณ (spirit) ขึ้นมา ซึ่งผมคิดว่าจะผลักดันเรื่องนี้อย่างไรต่อ จะ
ประสานใคร หรือใครสามารถจะไปคุยกับ สสส. แทนที่จะเป็นโครงการเล็ก อาจเปลี่ยนไปสู่การทาเป็น
ระบบแทน และอาจจะมารับทุนจาก สสส. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข บูรณาการมาให้หมด ให้คนที่มี
ฝีมือ ไว้ใจได้ มาทากระบวนการ ไม่ฉะนั้นยากที่จะสาเร็จ
ว่าที่ร้อยตรีอุดม สุวรรณพิมพ์ รองปลัด อบต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลาปาง
เรื่อง Aging Society ถือเป็นกระแสซึ่งทุกสังคมต่างตระหนัก ที่ผ่านมาเถินได้ทางานวิจัยชิ้น
หนึ่ง ที่ฟังการบรรยายเมื่อสักครู่ พูดถึงเรื่องโครงสร้างประชากรและการพยากรณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุต่าง
ๆ นั่นคือข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง โครงสร้างประชากรก็จะเป็นรูปแบบต่าง ๆ ทั้งบัวคว่า เจดีย์หงาย ฯลฯ
แต่ที่เถินนั้นไม่ใช่ โครงสร้างประชากรของเถินเหมือนผลแอปเปิ้ลที่ถูกกัดทั้งสองด้าน และยังมีข้อมูลต่อ
อีกว่าจานวนประชากรเมื่อเทียบระหว่างทะเบียนราษฎร์กับประชากรที่มีอยู่จริง ประชากรที่หายไปมาก
ที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 - 34 ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน ผล
การศึกษาพบว่า ส่วนหนึ่งของประชากรวัยแรงงานที่หายไปนั้น เป็นผู้ที่ไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน
จังหวัดอื่น ๆ รวมถึงกรุงเทพฯ แล้วออกจากชุมชนไปเลย โดยเรียนจบก็ทางานและตั้งรกรากอยู่นอก
พื้นที่อย่างถาวร ทั้งที่แท้จริงแล้ว คนวัยทางานเหล่านี้ควรจะเป็นทุนมนุษย์ซึ่งมีส่วนสาคัญในการช่วย
พัฒนาท้องถิ่น ทาให้ประชากรของอาเภอเถินมีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้คนวัยหนุ่มสาวอายุ
20 - 25 ปีก็ออกไปอยู่นอกพื้นที่มากถึงร้อยละ 50 - 60 เช่นเดียวกับผู้ใหญ่วัย 40 - 44 ปี ที่หายออก
จากพื้นที่ไปร้อยละ 30 - 40 และคนวัย 45 - 49 ปี ก็หายไปราวร้อยละ 20 - 30 เมื่อเป็นเช่นนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวจึงยิ่งห่างเหินกันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
จากข้อมูลยังพบอีกว่า ประชากรเหล่านี้ที่ออกจากชุมชนไป กว่าครึ่งหนึ่งทางานอยู่ในโรงงาน
ดังนั้น หากในระดับโครงสร้างหรือนโยบายยังไม่มีมาตรการที่จะทาให้คนเหล่านี้ซึ่งอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
จะกลายเป็นผู้สูงอายุมีระบบการออมที่มีคุณภาพก็ลาบาก แต่อีกสิ่งหนึ่ง ผมคิดว่าการจะแก้ไขให้ยั่งยืน
และลดความกังวลของเราที่ในอนาคตสังคมจะก้าวเข้าสู่ความเป็น Super Aging Society แต่คนยังไม่มี
หลักประกันใด ๆ แทนที่เราจะนั่งเถียงกันว่าเด็กรุ่นใหม่ควรเรียนสายวิทยาศาสตร์หรือสายสังคมศาสตร์
ผมว่าจะเรียนสาขาใดก็ได้ ถ้าเข้าใจบริบทของตนเอง ผมสนับสนุุนหลั่นล้าอีโคโนมี หาก
20สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือก
ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือกท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือก
ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือกUtai Sukviwatsirikul
 
009 byzentine อนิวัตร
009 byzentine อนิวัตร009 byzentine อนิวัตร
009 byzentine อนิวัตรAniwat Suyata
 
ใบความรู้ที่5 ตาราง Table
ใบความรู้ที่5 ตาราง  Tableใบความรู้ที่5 ตาราง  Table
ใบความรู้ที่5 ตาราง Tablekrunueng1
 
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศPongsatorn Sirisakorn
 
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมงานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red LineSarit Tiyawongsuwan
 
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurface
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurfaceภาคผนวก ก. รูปภาพSurface
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurfaceFarlamai Mana
 
ประวัติความเป็นมาลีลาศ
ประวัติความเป็นมาลีลาศประวัติความเป็นมาลีลาศ
ประวัติความเป็นมาลีลาศTepasoon Songnaa
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยchakaew4524
 
สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมkand-2539
 
ความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนาความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนาPrim Parima
 
Instructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationInstructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationPrachyanun Nilsook
 
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจคู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจThailandCoop
 
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสง
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสงระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสง
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสงUtai Sukviwatsirikul
 
โครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวโครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวthanaporn2118
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าNodChaa
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกWichai Likitponrak
 
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพWC Triumph
 

Mais procurados (20)

ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือก
ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือกท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือก
ท้องไม่พร้อม ต้องมีทางเลือก
 
009 byzentine อนิวัตร
009 byzentine อนิวัตร009 byzentine อนิวัตร
009 byzentine อนิวัตร
 
ใบความรู้ที่5 ตาราง Table
ใบความรู้ที่5 ตาราง  Tableใบความรู้ที่5 ตาราง  Table
ใบความรู้ที่5 ตาราง Table
 
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
 
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมงานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
 
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
 
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurface
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurfaceภาคผนวก ก. รูปภาพSurface
ภาคผนวก ก. รูปภาพSurface
 
ประวัติความเป็นมาลีลาศ
ประวัติความเป็นมาลีลาศประวัติความเป็นมาลีลาศ
ประวัติความเป็นมาลีลาศ
 
Research methodology & Design
Research methodology & DesignResearch methodology & Design
Research methodology & Design
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอม
 
ความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนาความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนา
 
Instructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationInstructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal Education
 
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจคู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ
คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ
 
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสง
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสงระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสง
ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก โดย สันติ พันไธสง
 
โครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวโครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหว
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
 
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
 
วิจัย การรวมกลุ่ม
วิจัย การรวมกลุ่มวิจัย การรวมกลุ่ม
วิจัย การรวมกลุ่ม
 

Semelhante a การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา

การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษาการคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษาKlangpanya
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2Pisan Chueachatchai
 
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันโครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันPawitporn Piromruk
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงfreelance
 
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 

Semelhante a การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา (10)

การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษาการคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา
 
Poppdf
PoppdfPoppdf
Poppdf
 
AT1
AT1AT1
AT1
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันโครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
 
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
Final Project computer_4
Final Project computer_4Final Project computer_4
Final Project computer_4
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 

Mais de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mais de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา

  • 1. สรุปความจากการนาเสนอและอภิปรายในเวทีวิชาการครั้งที่ 25 เรื่อง “การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต: ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา” โดยมี ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้นาเสนอ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรม วี โฮทล จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์ของคนไทยลดลงเรื่อยมา ทาให้โครงสร้างประชากรของไทยมี แนวโน้มที่จะมีผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนมากขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานมีจานวนลดลง หากสถานการณ์ยังเป็น เช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้สังคมไทยจะเข้าสู่ภาวะ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” หากไม่มีการเตรียม ตัวรับมือกับโครงสร้างสังคมเช่นนี้แล้วจะเกิดปัญหาตามมามากอย่างแน่นอน 1 เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 2/2560 การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต : ผลต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการศึกษา ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2. แนวโน้มของประชากรไทย อย่างไรคือ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ตามนิยามที่มักใช้อ้างอิงนั้นสังคมใด ๆ จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมี สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 10 ของโครงสร้างประชากร ปัจจุบันสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับนี้แล้ว และจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” เมื่อประชากรกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20 ซึ่งสังคมไทยกาลังเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ ดังที่มีการประเมินว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่าร้อยละ 19.1 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32.1 ในปี พ.ศ. 2583 ซึ่งเป็นสังคมสูงวัยขั้นสูงสุด ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น กลุ่มที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มากที่สุดด้วย (แผนภูมิที่ 1) ปัญหาที่ตามมาของสังคมสูงอายุคือผู้สูงอายุมักจะมีความชราภาพ คือร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ สามารถดูแลตัวเองได้ และไม่สามารถทางานหารายได้เอง จึงต้องอาศัยการพึ่งพาสังคมและรัฐบาล แต่ ประชากรในวัยแรงงานซึ่งเป็นกาลังหลักของชาติและเป็นกลุ่มที่ช่วยค้าจุนผู้สูงอายุกลับมีจานวนน้อยลง ทาให้ผู้สูงอายุจาต้องดูแลตัวเองมากขึ้น (แผนภูมิที่ 1) แนวโน้มสัดส่วนผู้สูงวัยในอนาคต สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 2
  • 3. ซึ่งหนทางในการแก้ไขนั้นต้องบูรณาการในหลายมิติด้วยกัน ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และ พื้นฐานครอบครัว เพื่อให้สังคมไทยมีประชากรวัยแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และ อีกทางหนึ่งคือการทาให้ผู้สูงอายุมีอัตราความชราภาพที่ช้าลง แม้ว่าจะมีอายุที่มากขึ้นแต่ยังมีปัจจัยยัง ชีพเพียงพอ (wealthy) และมีสุขภาพที่ดีตามอัตภาพ (healthy) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุลดการพึ่งพา ผู้อื่นและสวัสดิการของรัฐได้ แนวโน้มประชากรไทยกาลังผกผันและน่าเป็นห่วง จากการสารวจในปี พ.ศ. 2553 พบว่าประชากรไทยมีอยู่ 63 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นจนถึง 69 ล้านคน จากนั้นก็จะลดลงจนคาดการณ์ว่าประชากรไทยจะเหลือราว 63 ล้านคนเท่านั้นในปี พ.ศ. 2583 อัตราการเจริญพันธุ์ของคนไทยนั้นลดลงเรื่อยมา และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีกจนกระทั่งเฉลี่ย แล้วแต่ละครอบครัวจะมีลูกไม่ถึงสองคน มีผลให้จานวนประชากรของไทยลดลงและมีโครงสร้างอายุ ประชากรที่เปลี่ยนไป หากจะรักษาจานวนประชากรให้คงที่อย่างน้อยต้องมีอัตราเจริญพันธุ์เฉลี่ยที่ 2.1 คน โดยในปี พ.ศ. 2553 ตามอัตราส่วนแล้วยังมีประชากรในช่วงอายุ 15-64 ปี อยู่ที่ 7.83 คนต่อผู้ที่มี อายุ 65 ปีขึ้นไป 1 คน ซึ่งยังไม่เกิดปัญหานัก แต่ในปี พ.ศ. 2583 คาดการณ์ว่าอัตราส่วนนี้จะลดลงมา อยู่ที่ 2.48 และยังมีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีกหากไม่มีการแก้ไข (แผนภูมิที่ 2) ซึ่งยังมีความเป็นไปได้ที่ จะแก้ปัญหานี้เพราะคนไทยยังต้องการมีลูกครอบครัวละสองคน โดยหวังว่าจะเป็นหญิงหนึ่งคนเพราะ จะได้อยู่ช่วยดูแลในยามชรา และเป็นผู้ชายหนึ่งคนเพื่อหวังสืบทอดตระกูล แต่สาเหตุที่ทาให้คนไทย ตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีเพียงคนเดียวเพราะต้องทางานเพื่อหาเลี้ยงชีพจนไม่มีความพร้อมจะมีบุตร (แผนภูมิที่ 2) อัตราเกื้อหนุนผู้สูงอายุในแต่ละปี 3 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 3
  • 4. ส่วนความต่างของอายุระหว่างเพศชายและหญิงนั้น พบว่าอายุเฉลี่ยของผู้หญิงจะมากกว่า ผู้ชาย 6 ปี เนื่องจากผู้ชายมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่า เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงการเกิด อุบัติเหตุต่างๆ และผู้ชายมักจะแต่งงานกับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าตน 3 ปี ด้วยเหตุนี้เฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะ เป็นโสดในบั้นปลายชีวิตราว 9 ปี โครงสร้างครอบครัวไทยกาลังมีปัญหา ครัวเรือนที่มีคนสามรุ่นอยู่ด้วยกัน คือ 1) รุ่นปู่ย่าตายาย 2) รุ่นพ่อแม่ และ 3) รุ่นลูก จะมีส่วน ทาให้ครอบครัวเข้มแข็ง เนื่องจากแต่ละรุ่นจะสามารถช่วยเหลือกันและได้ เช่น เมื่อพ่อแม่ไม่อยู่ต้อง ออกไปทางานนอกบ้านและไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ก็จะมีปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยง ในทางกลับกันปู่ย่าตา ยายก็จะได้รับการดูแลจากลูกของตน แต่หากครัวเรือนมีไม่ครบสามรุ่นก็จะเกิดปัญหาตามมา จากการ สารวจพบว่าแนวโน้มครัวเรือนที่อยู่คนเดียวหรือมีอยู่รุ่นเดียวนั้นมีจานวนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนอัตราการ เจริญพันธุ์ที่ลดลงและการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนครัวเรือนแหว่งกลางที่มีเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กอยู่ ด้วยกันนั้นมีจานวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากร้อยละ 2.34 ในปี พ.ศ. 2533 เป็น 7.18 ใน พ.ศ. 2550 (แผนภูมิที่ 3) เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กต้องออกไปทางานต่างพื้นที่มากขึ้น โดยภาคอีสานเป็น ภาคที่มีปัญหาครัวเรือนแหว่งกลางมากที่สุดเนื่องจากผู้ปกครองต้องย้ายเข้ามาทางานยังภาคกลาง จะ ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพเพียงพอเนื่องจากไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ของตน และผู้สูงอายุ เองก็ขาดคนดูแล ซึ่งรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างแหล่งงานให้ครอบคลุมในพื้นต่าง ๆ เพื่อให้ ผู้ปกครองของเด็กไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังแหล่งงานในต่างพื้นที่ และมีมาตรการอื่นเพื่อจูงใจให้ ลดการแยกครัวเรือน ตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ที่ประเทศสิงคโปร์ดาเนินการอยู่คือการลดหย่อน ภาษีให้กับครัวเรือนที่มีผู้อาศัยครบทั้งสามรุ่น เพื่อจูงใจให้ลดการแยกครัวเรือนลง 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 4
  • 5. (แผนภูมิที่ 3) ข้อมูลร้อยละของครัวเรือนแต่ละประเภท แนวโน้มสังคมสูงวัยในภูมิภาคอาเซียน จากการประเมินสถิติโดยสหประชาชาติ (แผนภูมิที่ 4) ในกลุ่มประเทศอาเซียน สิงคโปร์ถือว่ามี ภาวะสังคมสูงวัยมากที่สุด เนื่องจากผู้ชายสิงคโปร์ทุกคนต้องเกณฑ์ทหารสองปี ในขณะที่ผู้หญิงนั้น สามารถทางานได้ทันที เมื่อผู้ชายพ้นภาระการเกณฑ์แล้วก็ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งกับการสร้างความ มั่นคงในชีวิตให้ใกล้เคียงกับฝ่ายหญิงก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงาน หรือไม่ผู้หญิงก็จะไม่แต่งงาน เนื่องจากไม่มีผู้ชายวัยเดียวกันที่มีฐานะใกล้เคียงกัน เมื่อแต่งงานช้าหรือไม่แต่งงานก็จะส่งผลต่อการมี ทายาท ส่วนประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของภูมิภาคและตามมาด้วยเวียดนาม 5สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 5
  • 6. (แผนภูมิที่ 4) ปีที่ประเทศในอาเซียนจะเข้าสู่สังคมสูงวัย(สีเขียว) สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์(สีม่วง) และ สังคมสูงวัยระดับสุดยอด(สีฟ้า): ที่มา World Population Prospects, the 2012 Revision, UN ปัญหาสุขภาพของประชากรแต่ละช่วงวัย ประชากรแต่ละช่วงวัยนั้นมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ทาให้มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต่างกันไป แม้คน ไทยจะมีอายุยืนขึ้นแต่ถือว่าสุขภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร จากสถิติ (แผนภูมิที่ 5) ในช่วงอายุ 15-20 ปี สาเหตุสาคัญของการเสียชีวิตคือการประสบอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงอายุ 25-39 ปีคือโรค AIDS และ ในช่วงอายุ 45-74 ปีนั้นส่วนมากแล้วจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ อาหารซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งมีมากขึ้น เช่น ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน สารเร่งเนื้อแดง การที่เราทราบถึง ความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัยจะทาให้เราระมัดระวังพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น มีการประเมินว่าหาก ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ได้เพียงร้อยละ 10 จะสามารถลดงบประมาณด้านสุขภาพได้ถึง 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การรักษาสุขภาพจึงช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก 6สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 8. ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาสังคมสูงวัย จะเพิ่มอัตราการเกิดได้อย่างไร ? ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่เผชิญปัญหาสังคมสูงวัย ยังมีประเทศอื่นที่มีปัญหามาก่อนและ มากกว่าไทย ซึ่งสามารถถอดบทเรียนเพื่อแก้ปัญหาของสังคมไทยได้ เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเผชิญ ปัญหาสังคมสูงวัยเป็นประเทศแรก ๆ แต่เดิมรัฐบาลญี่ปุ่นได้ลดภาษีแก่ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วแต่มี รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กาหนดเพื่อจูงใจให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านคอยดูแลครอบครัว เหตุนี้เองทาให้ผู้หญิง จานวนมากที่มีศักยภาพในการทางานตัดสินใจลาออกจากงานประจา แต่ในปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์ ของประชากรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อจานวนแรงงานในอนาคต แม้จะมีมาตรการ ลดภาษีก็ไม่ทาให้คนญี่ปุ่นมีลูกมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อเพิ่มจานวนแรงงานให้มากขึ้นรัฐบาลจึงมีแผนที่จะ ยกเลิกมาตรการลดภาษีดังกล่าวเพื่อจูงใจให้ผู้หญิงกลับมาทางานประจา ทาให้รัฐสามารถเก็บภาษีได้ มากขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจที่ดีคือปัจจัยสาคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ อีก ตัวอย่างที่น่าสนใจคือประเทศสวีเดนที่เลือกใช้นโยบายให้พ่อและแม่ของเด็กลางานรวมกันได้ถึง 480 วันและยังได้รับเงินเดือน 80% จากอัตราปกติอีกด้วย โดยในจานวน 480 วันนี้ผู้เป็นพ่อและแม่ของเด็ก สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดจะลาเป็นจานวนกี่วัน รวมถึงการที่รัฐจะสนับสนุนงบประมาณแก่ สถานรับเลี้ยงเด็กด้วย เพื่อทาให้ประชาชนรู้สึกว่าการเลี้ยงลูกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ลาบากจนเกินไปและ ตัดสินใจมีลูกในที่สุด เหล่านี้คือตัวอย่างที่รัฐและสังคมไทยสามารถเรียนรู้ได้ทั้งสิ้นเพื่อให้ปัญหาสังคม สูงวัยเบาบางลง เช่น การบรรจุเอามาตรการที่เอื้อให้คนไทยมีลูกมากขึ้นเข้าไปในหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและครอบคลุม ยกระดับคุณภาพประชากรวัยแรงงาน ประเทศไทยมีโรงเรียนประมาณสามหมื่นโรง ในจานวนนี้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาราวสองหมื่น โรง ปัญหาที่เกิดขึ้นบ้างแล้วและจะเกิดหนักขึ้นคือไม่มีเด็กมาสมัครเรียนเนื่องจากมีเด็กเกิดน้อยลง ทาง แก้คือควรยุบรวมโรงเรียนที่มีนักเรียนจานวนน้อยไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันติดปัญหาเรื่องการจัดลาดับขั้นของฝ่ายบริหารโรงเรียนเมื่อเกิดการยุบรวม ทาให้ไม่ค่อยมี โรงเรียนใดอยากที่จะยุบรวมนัก ต่อไปปัญหาก็จะเกิดกับสถาบันการศึกษาระดับสูงต่อไปตามลาดับ 8สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 9. แม้ปัจจุบันนี้ยังมีประชากรในวัยแรงงานอยู่มาก แต่กลับไม่มีคุณภาพและไม่สามารถตอบโจทย์ ตลาดแรงงาน เช่น สาเร็จการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา หรือเลือกเรียนในสายสังคมศาสตร์มาก เกินไป ในขณะที่ตลาดแรงงานกาลังขาดแคลนผู้เรียนในสายวิทยาศาสตร์ และยังต้องการกาลังแรงงาน จากสายอาชีวศึกษาอีกมาก แต่ทุกวันนี้มีเพียง 1 ใน 4 ของนักเรียนที่เรียนต่อหลังจบมัธยมต้นเท่านั้นที่ เลือกเรียนต่อในสายอาชีวศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าประเทศไทยขาดแคลนครูที่เชี่ยวชาญในด้าน วิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับประถมและมัธยมต้น ส่งผลให้เยาวชนขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง สาคัญต่อการศึกษาในอนาคตต่อไป จึงควรจะยกเลิกการกาหนดให้ผู้ที่จะสอบบรรจุรับราชการครูต้องมี วุฒิครู เพื่อเอื้อให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนทางครุศาสตร์แต่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์สามารถเป็นครูได้ ที่สาคัญที่สุดคือทุกคนควรจะรู้จักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จากัดเฉพาะ การศึกษาในระบบเท่านั้น ปัญหาหนึ่งของแรงงานไทยคือการมีความสามารถเฉพาะด้านแต่ไม่เรียนรู้ ทักษะด้านอื่น ๆ ทาให้วันหนึ่งเมื่อตาแหน่งงานเดิมนั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานแล้วจะประสบ ปัญหาการว่างงานได้ง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เทคโนโลยีระบบจักรกลเข้ามาทางานแทนมนุษย์มาก ขึ้น ทาให้หลายตาแหน่งงานนั้นหายไป สู่สังคมสูงวัยที่สุขภาพดีและมั่งคั่ง (Healthy & Wealthy) แม้ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลับพบว่ายังมีความชราภาพสูง คือ ร่างกายไม่แข็งแรง สุขภาพไม่ดี เป็นโรคโดยเฉพาะโรคในกลุ่ม NCDs (Non-Communicable diseas- es) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมักจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทาน อาหารที่หวานมันเค็มจัด ขาดการออกกาลังกาย ขาดการดูแลจิตใจที่ดี ทาให้สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่ สามารถดูแลตัวเองได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้คนไทยจึงควรดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่ก่อนวัยสูงอายุ เช่น รู้จักป้องกันดวงตาจากแสงแดดเพื่อไม่ให้สายตาเสื่อมเร็วเกินไป เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ โดยสามารถทาได้ง่าย ๆ เช่น การหมั่นเดินให้มากอย่างน้อยวันละ หนึ่งหมื่นก้าว ในส่วนของการเงินนั้น โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่สามารถออมเงินได้มากที่สุดคือช่วงวัยทางาน หากไม่ได้ออมตั้งแต่วัยทางานแล้วจะมีปัญหาเรื่องการเงินเมื่อเกษียณอายุเนื่องจากไม่มีรายได้มาก เช่นเดิม จากสารวจข้อมูลของปี พ.ศ. 2552 พบว่าอัตราการขาดดุลตลอดชีวิต (Lifecycle Deficit) คือ รายจ่ายตลอดชีวิตโดยหักลบกับรายได้ตลอดชีวิตของคนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.07 ล้านบาท และ 9สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 10. มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 1.43 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2583 ทาให้ต้องพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐบาลหรือการ ช่วยเหลือจากบุตรหลาน ญาติพี่น้อง หรือคนรอบข้าง ซึ่งมักจะไม่เพียงพอ และยิ่งไปกว่านั้นวัยแรงงาน ที่ลดลงย่อมหมายถึงภาษีที่รัฐเก็บได้น้อยลง ย่อมส่งผลถึงสวัสดิการที่ลดลงด้วย และหากไม่มีบุตร หลานก็จะยิ่งไม่มีคนดูแล แต่หากมีการออมและการลงทุนของประชากรแต่ละคนตั้งแต่วัยทางานแล้วก็ จะลดการพึ่งพาทั้งต่อรัฐและครอบครัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุได้อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของชาติอีกด้วย เช่นที่สหรัฐฯ นั้นเงินทุนจากกลุ่มคนวัยเกษียณถือว่ามีมูลค่ามหาศาล ทาให้เกิดธุรกิจ และการจ้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นประโยชน์กับคนในรุ่นถัดไปด้วย ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือวัยแรงงานใน ปัจจุบันที่มีช่วงอายุ 40 ปีลงมาซึ่งเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วจะเผชิญปัญหาสังคมสูงวัยมากกว่าปัจจุบัน เนื่องจากจะมีอัตราส่วนของผู้สูงอายุที่มากกว่า การออมและลงทุนตั้งแต่วัยทางานจึงเป็นเรื่องจาเป็น อย่างยิ่ง ซึ่งควรจะต้องมีเงินเก็บราว 7 ล้านบาทในวันที่เกษียณอายุเพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งจะให้ ผลตอบแทนที่เพียงพอในการดารงชีพได้ แต่ในความเป็นจริงคนไทยมีเงินออมน้อยจนไม่สามารถพึ่งพา ตัวเองในยามชราได้ แน่นอนว่าการรับมือกับสังคมสูงอายุเป็นเรื่องจาเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบที่ตามมา ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ Ageing 1.0 (Awareness Creation) เป็นยุคที่เน้นให้ ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสังคมผู้สูงวัย เพื่อให้ทราบว่าแนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร Ageing 2.0 (Curative Approach) เป็นยุคที่เน้นการแก้ปัญหาจากสังคมสูงวัย เช่น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุคนี้ Ageing 3.0 (Preventive Approach) เป็นยุคที่เน้นมาตรการป้องกัน ผลกระทบของปัญหาสังคมสูงวัย เช่น การส่งเสริมให้ออมเงินและลงทุนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทางาน ให้รู้จัก การดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่ยังแข็งแรง และ Ageing 4.0 (Innovative Approach) ยุคของการสร้าง นวัตกรรมเพื่อพลิกจากวิกฤตของสังคมสูงวัยให้เป็นโอกาส ผู้สูงอายุไม่ได้ “รกโลก” หากแต่เป็นกาลัง สาคัญ ซึ่งต้องอาศัยการเตรียมตัวตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มสาว เช่น การสะสมทุนมามากพอจน สามารถลงทุนได้ในวัยสูงอายุ ในขั้นนี้นอกจากจะไม่เป็นภาระแล้วผู้สูงอายุยังเป็นผู้สร้างสรรค์เศรษฐกิจ อีกด้วย แนวทางสาหรับผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่ม สาหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและมีฐานะที่ดีนั้นย่อมสามารถพึ่งพาตัวเองได้ คนกลุ่มนี้จึงสามารถ มีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนบทบาทจากลูกจ้างกลายเป็นนักลงทุนด้วย 10สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 11. เงินทุนที่สะสมมาตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ส่วนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่มีฐานะที่ไม่ดีนั้นอาจจะต้องเกษียณอายุช้ากว่าปกติเนื่องจากยังมีความสามารถทางานและมี ประสบการณ์การทางานที่สะสมมาตลอดชีวิต อีกทั้งในสังคมสูงวัยจะมีแรงงานในวัยหนุ่มสาวน้อยลง ทาให้จาเป็นต้องพึ่งแรงงานผู้สูงอายุด้วย สาหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดีแต่มีฐานะที่ดี คนกลุ่มนี้จะมี ความต้องการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และยังมีกาลังซื้อเพียงพออีกด้วย จึงเป็น โอกาสที่เอื้อให้ธุรกิจด้านสุขภาพได้เติบโต แต่ต้องคานึงถึงความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย เพราะผู้สูงอายุคือผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตที่มาก หล่อหลอมแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันไป ส่วนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดีและมีฐานะที่ไม่ดี รัฐและสังคมต้องเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถมีชีวิต ต่อไปได้ตามอัตภาพ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีนัก เช่น สร้างที่อยู่อาศัยให้มีราคา ไม่สูงจนเกินไป สร้างระบบคมนาคมที่ครอบคลุม เอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้ สร้างพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมาพบปะทากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ผู้สูงอายุที่อาศัยในสังคมที่เอื้อต่อพวกเขานั้นจะมีสุขภาวะที่ดีและดูแลตัวเองได้พอประมาณ นอกจากนี้ยังต้องมุ่งเน้นที่การเพิ่มจานวนประชากรที่มีคุณภาพด้วย เช่น ยกระดับการศึกษาให้ สอดคล้องกับตลาดแรงงาน จัดสรรที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ใกล้สถานที่ทางานอันจะช่วยให้ครอบครัวสามารถ อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า หรือมีมาตรการลดภาษีเพื่อจูงใจแก่กิจกรรมที่ช่วยลดปัญหาสังคมสูงอายุ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก ครัวเรือนที่ต้องเลี้ยงเด็ก หรือ ครัวเรือนที่ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุคือกาลังสาคัญ ในภาวะสังคมสูงวัยนั้นประชากรสูงวัยคือตลาดที่มีกาลังซื้อมาก เพราะประชากรวัยทางานนั้นมี จานวนลดลง โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2583 นั้นจะมีถึง 89 ประเทศที่ผู้สูงอายุคือผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ซึ่งการตลาดสาหรับผู้สูงอายุนั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้เพราะผู้สูงอายุแต่ ละคนล้วนมีประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมามากและแตกต่างกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแล สุขภาพและการประกันภัย แต่พบว่างบประมาณและการทุ่มเทเพื่อการตลาดสาหรับผู้สูงอายุยังมีอยู่ น้อยเกินไป บ่งชี้ถึงการปรับตัวไม่ทันของภาคเอกชน นอกจากเรื่องการตลาดแล้วการรักษาผู้สูงวัยให้ ยังอยู่ในตลาดแรงงานนั้นต้องอาศัยวิธีคิดใหม่เช่นกัน จากเดิมที่มองว่าผู้สูงวัยคือผู้ที่ไม่มีความสามารถ ในการทางานเป็นผู้สูงวัยนั้นคือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มาก ยากที่คนรุ่นใหม่จะมี ประสบการณ์ทัดเทียมใด หากผู้สูงอายุยังมีสุขภาพที่ดีพอประมาณก็ยังสามารถทางานได้ต่อไปอย่าง ปกติ อีกทั้งหากต้องการดาเนินธุรกิจที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุแล้ว การมีผู้สูงอายุเป็นพนักงานย่อม 11สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 13. รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากสถิติ วัยแรงงานอายุ 15-60 ปี มีจานวน 42 ล้านคน แต่ในความเป็นจริงไทยเรามีแรงงานที่ ทางานจริง (Productive Labour Force) เพียง 37 ล้านกว่าคน หายไปเกือบ 5 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่ ยังเป็นนักเรียนนักศึกษา และบางส่วนเป็นแม่บ้าน คนพิการ ยิ่งตอกย้าปัญหาแรงงานน้อยและอัตรา การเกิดที่ต่า และแรงงานที่ใกล้เกษียณก็มีจานวนมาก จึงเกิดเป็นคาถามว่าเมื่อคนเหล่านี้กลายเป็น ผู้สูงอายุ เราจะรับมือและดูแลคนเหล่านี้อย่างไร ซึ่งสามารถสรุปประเด็นเกี่ยวข้องได้ 5 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง อัตราทดแทน ในอดีตที่ไทยรณรงค์เรื่องคุมกาเนิดเป็นช่วงที่เรียกว่า In- dustrial Generation พอดี ทาให้คนที่มีลูกมาแล้วก็หยุดมีลูก และคนที่พึ่งเข้าสู่วัยทางานก็เข้าทางานใน โรงงานเสียมากทาให้ไม่พร้อมจะมีลูกเช่นกัน ลูกที่เกิดมาเข้าทางานในโรงงานทั้งหมด และกลายเป็นว่า คนพวกนี้ไม่พร้อมจะมีลูก บางคนต้องทาแท้ง เพราะเขาเลี้ยงลูกไม่ได้ ถ้าจะมีลูก ต้องเอากลับไปให้พ่อ แม่เลี้ยง ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดครอบครัวแตกแยก ประเด็นที่สอง ครัวเรือนเดี่ยว ครัวเรือนของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีลักษณะ เป็นครัวเรือนเดี่ยวคือคืออาศัยตามลาพังประมาณร้อยละ 30 ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตไปตามยถากรรมวัน ต่อวัน ไม่ได้คิดเรื่องการแต่งงานหรือสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง สังเกตได้จากชนชั้นแรงงานในสังคม ปัจจุบันที่หลายครอบครัวมีความแตกแยกแล้วไม่มีใครดูแลลูกเพราะต่างคนต่างอยู่ หากเรานับรวม ผู้สูงอายุตัวคนเดียวที่ต้องดูแลตัวเอง และคนตกงานอันเกิดจากเทคโนโลยีแย่งงานในอีก 5 ปีข้างหน้า ไปด้วย คนเหล่านี้คือประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศทีเดียว ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีประมาณ 11-12 ล้านคน คิดเป็นประมาณร้อยละ 12-14 ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มทีแล้ว ฉะนั้นในอนาคตเราต้องเตรียมรับมือทั้งครอบครัวเดี่ยว คนว่างงาน และผู้สูงอายุ แล้วเราจะหารายได้มาจากที่ใดมาดูแลคนเหล่านี้ ทางออกทางหนึ่ง ต้องส่งเสริมการลงทุนและดึงการลงทุนจากต่างประเทศ แต่เราก็ต้องมีตลาดภายในประเทศรองรับ เสียก่อน แล้วเราจะสร้างตลาดภายในประเทศอย่างไร ในเมื่อคนตกงานและผู้สูงอายุต่างก็เป็น Non- Productive Labour คาตอบก็คือ ธุรกิจที่ทาได้ด้วยตนเองคนเดียว (One-Person Business) ปัจจุบันมี แรงงานที่เพิ่งเกษียณบางส่วนก็หันมาเปิดร้านขายของเป็น One-Person Business อยู่แล้ว ฉะนั้น เรา สามารถส่งเสริมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เช่น ให้คนเข้าถึงสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี ลดและละเว้นภาษีการ ทาธุรกิจในระยะแรก ลดต้นทุนค่าขนส่ง ส่งเสริมให้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีราคาถูก เป็นต้น 13สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 14. ประเด็นที่สาม ในสังคมอุตสาหกรรมไทย มีประชากรที่เป็นแรงงานในโรงงาน 8-10 ล้านคน โดยที่หลายครอบครัวนั้นพ่อทางานอยู่โรงงานหนึ่ง แม่ทาอยู่อีกโรงงานหนึ่ง ส่วนลูกอายุยังน้อยต้องไป โรงเรียนแต่พ่อแม่ไม่สามารถไปรับ-ส่งลูกได้ เพราะออกไปทางานเช้ากว่าเวลาที่ลูกเข้าเรียนและเลิก งานช้ากว่าเวลาเลิกเรียนทาให้ลูกต้องอยู่ตามลาพังบ่อยครั้ง ถ้าครอบครัวส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหา เช่นนี้เขาก็จะไม่มีลูกเพิ่ม เพียงทาให้แรงงานสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ลาบากนักและจัดสรรที่อยู่อาศัย ให้รัฐก็ยังไม่สามารถทาได้ ฉะนั้น รัฐควรลดภาษีให้ผู้สูงอายุที่ต้องดูแลเด็กและพ่อแม่ที่ต้องออกไป ทางานหาเงินเลี้ยงครอบครัว เพื่อลดความยากลาบากในการลูกดูลูก อีกทางหนึ่ง รัฐควรทาโครงการ จัดหาบ้านขนาด 50 ตารางวาให้ครอบครัวที่มีลักษณะดังกล่าวกู้ เพื่อให้ครอบครัวใหญ่ได้อยู่ร่วมกัน พร้อมหน้า มิใช่ทาแบบโครงการประชารัฐที่อ้างว่าต้องการสร้างบ้านเพื่อคนจน แต่ในความเป็นจริงคือ ต้องการสร้างบ้านเพื่อขายคนจนโดยหวังเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจเป็นหลัก ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุกลุ่มหลักคือผู้ที่ทางานในภาคเอกชนมิใช่ภาคเกษตร ปัจจุบันกาลัง แรงงานภาคเกษตรมีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ส่วนกาลังแรงงานที่เป็นผู้มีรายได้ประจามีประมาณ 18 ล้านคน และอาชีพอิสระอีกประมาณ 9 ล้านคน ฉะนั้น คนที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่ ปลดเกษียณจากโรงงาน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านเช่าเพราะไม่มีเงินซื้อบ้าน เมื่อเกษียณไปแล้ว ได้เงินอย่างมากเดือนละ 2,500-3,000 บาท จึงไม่แปลกที่คนเหล่านี้จะไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและบุตร เท่าใดนัก ประเด็นที่สี่ นโยบายภาครัฐ ขณะนี้ในประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 33 ของประชากร ทั้งหมด แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงออกนโยบายลดภาษีให้กับบริษัทที่จ้างผู้สูงอายุ ล่วงเวลา และพยายามหาอาชีพมารองรับผู้สูงอายุเหล่านี้ เช่น เป็นที่ปรึกษาบริษัท ทางานพาร์ทไทม์ เป็นต้น แล้วอีก 5 ปีข้างหน้าที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจะมีโครงการทานองนี้หรือไม่ กองทุนที่ใหญ่ที่สุดในไทย คือ กองทุนประชาสังคม มูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้านบาท รัฐบาลนา งบประมาณไปใช้โดยไม่เคยบอกประชาชนว่านาไปทาอะไร ทั้งที่ควรนาไปใช้กับสิ่งอานวยความสะดวก (Facility) ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็นมาก แต่ไทยมีปัญหาเงินออมกับรายจ่ายไม่เท่ากัน เพราะเราเริ่มปฏิวัติ อุตสาหกรรมช่วง พ.ศ. 2504 เราส่งเสริมการลงทุนเต็มที่ แต่กลับเริ่มประกันสังคมเมื่อ พ.ศ. 2534 ทา ให้ไทยในช่วง 30 ปีนั้นเป็นอุตสาหกรรมโดยที่ไม่มีประกันสังคมทาให้ไม่มีเงินออม สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนทัศน์ของรัฐกับทุนไม่กว้างไกลพอ ทางออกคือการจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อสร้างระบบเงิน ออมที่ครอบคลุมทั้งระบบแรงงาน เงินค่าจ้างแรงงานซึ่งมีอยู่มหาศาลก็มาเก็บไว้ที่นี่ แรงงานต้องการกู้ เงินก็มาที่นี่ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี หรือแรงงานจะพาผู้สูงอายุในครอบครัวมากู้ไปค้าขายเล็กน้อย 14สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 15. หรือขายของออนไลน์ก็ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานโดยตรงมากกว่าการพึ่งพาระบบธนาคาร พานิชย์ทั่วไป ประเด็นสุดท้าย กระบวนทัศน์ (Mind Set) ของทุนและรัฐ ทุนยังมองว่าผู้สูงอายุคือภาระ ส่วนรัฐยังคิดว่าผู้สูงอายุต้องได้รับการสงเคราะห์ เป็นอุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งที่ทาให้ปัจจุบันทั้ง รัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการทาธนาคารลูกจ้าง ทั้งที่เราอยู่ภายใต้ระบบ เศรษฐกิจแบบแข่งขัน การมีธนาคารลูกจ้างจะทาให้ลูกจ้างสามารถกู้เงินไปทาธุรกิจได้ง่ายขึ้น ทาให้ ธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น เพียงแค่รัฐสนับสนุนจัดหาพื้นที่ตลาดและเครื่องมือให้เขา เขาก็หากินเองได้ เพราะแต่ละพื้นที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่น มีความน่าสนใจในตัวเองอยู่แล้ว แต่รัฐกลับนิยมใช้ นโยบายแจกเงิน จึงเกิดเป็นคาถามว่า ทาไมทั้งรัฐและทุนถึงไม่เห็นด้วย รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ กรรมการบริหารสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย โครงสร้างประเทศไทยเป็นโครงสร้างการเมืองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มผู้อานาจ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มี อานาจทางเศรษฐกิจและกลุ่มผู้มีอานาจทางการเมือง กระบวนทัศน์ของ อาจารย์ณรงค์ กับนายทุนย่อม แตกต่างกัน (ตอบ อาจารย์ณรงค์) คาถามเกี่ยวกับประเด็นสังคมผู้สูงอายุมี 2 คาถาม คือ คาถามแรก ในอดีตเรามีประชากรเยอะ มี นักวิชาการพูดออกโทรทัศน์ทุกวันว่า ลูกเกิดเยอะขนาดนี้ อนาคตเด็กจะหางานทาไม่ได้และว่างงานจน อาจเป็นภาระ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าเรามีแต่ผู้สูงอายุ คาถามคือ เป็นไปได้ไหมว่า (อย่างน้อยในทาง วิชาการ) เราสามารถออกแบบให้สุดท้ายแล้วอัตราการเกิดกับอัตราการตายเท่ากัน เพื่อให้ดุลยภาพ ของโครงสร้างอายุประชากรเปลี่ยนจากรูปพีระมิดเป็นรูปกราฟแท่ง เพราะหากมองในฐานะนัก สิ่งแวดล้อม ทุกระบบต้องเข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่นในกรณีนี้อัตราการเติบโตของประชากรต้องเป็นศูนย์ ประชากรในทุกช่วงอายุมีสัดส่วนเท่ากันหมด คาถามที่สอง ในสหรัฐอเมริกามีปัญหาค่าใช้จ่ายภาครัฐติดลบ สาเหตุหนึ่งเกิดจากคนไม่ ดูแลสุขภาพ ทาให้เป็นโรคที่ไม่ควรจะเป็นโดยเฉพาะโรคอ้วน อีกสาเหตุหนึ่งคือสังคมผู้สูงอายุเบิกค่า รักษาพยาบาลได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อ Social Expense ในขณะที่จีนเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงนาไปสู่ การแก้ไขที่มุ่งให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและมีกินมีใช้ (Healthy and Wealthy) อันดับแรก ต้องให้ผู้สูงอายุ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ใช่ทาอะไรเองไม่ได้ หัวใจคือต้องเดินได้ กาลังขาต้องดี จีนจึงใช้ท่าออก กาลังกาย “312 Meridian Exercise” ช่วยฝึกกาลังขาและบรรเทาอาการเจ็บเข่า ในขณะเดียวกัน 15สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 16. จีนก็สร้างพื้นที่สาธารณะให้ผู้สูงอายุมารวมตัวกันออกกาลังกาย ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูงอายุที่จีนมีอานาจต่อรอง สูงมากถึงขนาดสามารถชักนานโยบายของรัฐได้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้ที่มีอานาจในการกาหนดนโยบายก็ คือลูกหลานของผู้สูงอายุเหล่านี้นั่นเอง เหล่านี้เป็นกรณีศึกษาให้ประเทศไทยได้หรือไม่ ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ในภาพรวมประเทศไทยเรามีอัตราการทางานต่ากว่าศักยภาพ (Underemployment) (หมายถึง ผู้ที่ทางานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และทางานต่ากว่าวุฒิ) ไม่ถึงร้อยละ 1 แต่คนที่ ทางานต่ากว่าศักยภาพกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเป็นคนที่จบปริญญาตรี 26 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นพวกที่เรียนเอาวุฒิและเน้นเรียนแต่ด้านสังคมศาสตร์เกินไป ฉะนั้น เราต้องแก้ปัญหาที่ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุกวันนี้ คนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 กว่า 8 แสน คน ออกไปสู่ตลาดแรงงาน 1 แสนคน อีก 7 แสนคนที่เหลือนั้นกว่าร้อยละ 70 เรียนสายสังคมศาสตร์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พอจบ ม.6 นักเรียน 5.5 แสนคนก็เข้าสู่ ตลาดแรงงาน อีก 1.5 แสนคนศึกษาต่อ ซึ่งเราวางแผนให้ร้อยละ 70 เรียนสายวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และ 30 เปอร์เซ็นต์ เรียนสายสังคมศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับกัน หากเราไม่แก้จุด นี้ Flow ของแรงงานที่จะกลายเป็น Stock จานวน 10 กว่าล้านคนก็จะกลายเป็นพวกที่ทางานไม่เต็ม ศักยภาพ จนเกิดปัญหาการออมไม่เพียงพอ อีกส่วนหนึ่งก็คือ เราไม่ได้มี Lifelong Learning ด้วย กรณีประเทศจีน แม้เขาจะใช้นโยบายลูกคนเดียวมาเกือบ 30 ปี แต่เงินออมเขาสูงมาก ใน ขณะเดียวกัน เขา Healthy กับ Wealthy ด้วย ส่วนประเทศไทย Stock ของแรงงาน 42 ล้านคน ส่วน ใหญ่จบประถมและทางานไม่เต็มศักยภาพ Stock ของแรงงานจะเป็น Flow ของผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้มี ประมาณ 8 ล้านคน Flow ของผู้สูงอายุก็คือ Stock ของแรงงาน กาลังจะย้ายเข้าไปสู่สูงวัย ขณะนี้คนที่ อายุ 60 ปีขึ้นไปไม่มีปัญหาแล้ว แต่ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่ แรงงานไม่ได้ปรับปรุง การศึกษาไม่ได้ปรับปรุง คนที่จะมีปัญหาคือคนที่ตอนนี้อายุประมาณ 40-50 ปี 16สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 17. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญา และ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัญหาคือเราติดกรอบความคิดว่าการศึกษามีเพียง 2 ด้านคือถ้าไม่สังคมศาสตร์ก็ต้องเป็น วิทยาศาสตร์ แล้วเราก็บ่นว่าเด็กไปเรียนทางสังคมศาสตร์มากแต่ไม่ยอมเรียนวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่ใช่ สังคมศาสตร์ แต่เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วย“หลั่นล้า”ทั้งหลายได้ไหม แทนที่ไปฝืนให้เขาเรียนวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างประเทศเขาก็เริ่มหันมาเน้น STEAM (Science, Technology, Engineering, Art + Design and Math) แทน STEM (Science, Technology, Engineering and Math) แล้ว ในขณะที่เรายังเน้น STEM โดยไม่ดูว่าครู 6 แสนคน มีแค่ 5 หมื่นคนที่เป็นครูสายวิทยาศาสตร์จริง รศ.ดร.อนุชาติ พวงสาลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถอยกลับไปสู่โจทย์เรื่อง Equilibrium Growth ของ อาจารย์จานง จากภาพใหญ่ที่ อาจารย์เกื้อ ให้คือว่า ผู้สูงอายุนั้นขยายมาก สัดส่วนการพึ่งพิงของกลุ่มประชากรที่กาลังโตหรือวัยรุ่นไทยแคบลง ซึ่ง จริง ๆ ไม่ได้ลดแค่จานวน แต่คุณภาพของเด็กรุ่นใหม่ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายอยู่หลายเรื่อง ด้วยความที่ ประเทศเรามีความเหลื่อมล้าสูงมาก ลูกคนรวยที่โตมาในยุคเบบี้บูมมักถูกฟูมฟักให้โตมาเป็นคนเอาแต่ ใจ รักสบาย เนื่องจากพ่อแม่ทางานหนักไม่มีเวลาให้ลูก จึงใช้เงินซื้อความสุขให้ลูกเป็นประจาจนลูกติด นิสัยอยากได้อะไรต้องได้ แล้วรูปแบบการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์เขาจะมีปัญหามาก ด้านบวกก็มี แต่ในเชิง ระบบคิดนั้นมีโจทย์ที่น่าสนใจว่าเขาหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ เขามีแบบแผนการบริโภค แบบแผนการ ผลิตในใจเขามากน้อยอย่างไร ในขณะที่หากไปสารวจโรงเรียนทั้งในและนอกระบบในต่างจังหวัด อัตรา Dropout ที่ กระทรวงศึกษาธิการบอกว่าน้อยมากนั้นไม่ค่อยน่าเชื่อเท่าใดนัก เพราะมีเด็กที่ด้อยโอกาสเยอะมาก ยิ่ง ไปกว่านั้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ในต่างจังหวัด ถ้าเราไปดูโรงเรียนขยายโอกาสในกรุงเทพฯ เราก็จะเจอสภาพ ที่จาลองปัญหาสังคมไทยที่เรากังวลทุกรูปแบบ เช่น การข่มขืนกระทาชาเรา ท้องก่อนวัยอันควร ยาเสพ 17สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 18. ติด จับกลุ่มมั่วสุม เหล่านี้ต่างเป็นโจทย์ที่ทั่วไปมากในสายตาเรา นอกจากนี้ จากการที่เคยจัดอบรมกับ คุณครูในระดับมัธยมศึกษาในเขตปทุมธานี พบว่าโจทย์ที่เป็นความกังวลของครู นอกจากถูกนโยบาย รายวันของกระทรวงศึกษาธิการกดดันแล้ว ครูยังไม่รู้ว่าจะจัดการปัญหาชีวิตของลูกศิษย์อย่างไร เพราะ เด็กมีปัญหาเรื่องทักษะชีวิตสูงมากเนื่องจากเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตผู้อานวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2513 แต่ละครอบครัวมีลูกเฉลี่ย 6.7 คน เวลาสอบถามว่าอยากมีลูกกี่คน ส่วนใหญ่ตอบ ว่าไม่มีแผนกาหนด ในฐานะนักประชากรศาสตร์ มองว่าการรณรงค์ให้คุมกาเนิดไม่ผิด เพราะหาก เราต้องการมีลูกแค่ 2 คน การคุมกาเนิดจะเป็นเครื่องมือที่ทาให้วางแผนครอบครัวได้ จากที่เคยมีลูก โดยไม่ได้วางแผน ซึ่งปกติหากไม่คุมกาเนิดตลอดช่วงอายุ 15-45 ปี คนเราจะมีลูกประมาณ 10 คน ฉะนั้นถ้าไม่มีการคุมกาเนิดแล้วอัตราการทาแท้งจะเพิ่มมากขึ้น การที่คนเรามีลูกน้อยลงจึงไม่ได้เป็น เพราะการคุมกาเนิด แต่เป็นเพราะรายได้ ค่าครองชีพ รสนิยม สภาพแวดล้อม เสียมากกว่าที่ทาให้ ความปรารถนาจะมีลูกลดลง ในอีกแง่หนึ่ง ความคิดที่ว่า ‘ลูกมากเลยยากจน’ ก็เป็นความคิดที่ไม่ ถูกต้อง เพราะความจริงแล้วเขายากจนต่างหาก เขาเลยมีลูกมาก เช่น ยากจนรายได้ ยากจนการศึกษา ความคิดดังกล่าวจึงเป็นการโทษคนจนแบบผิด หารู้ไม่ว่าเป็นเพราะการศึกษาเขาก็น้อย เงินเขาก็น้อย ในส่วนของคุณภาพของเด็กที่มาจากครอบครัวมีฐานะ จากการเป็นนายกสมาคมครูผู้ปกครอง โรงเรียนอัสสัมชัญมากว่าสิบปี เมื่อก่อนสมัยตนยังเป็นนักเรียน หลังจากเลิกเรียนแล้วมีเวลาเล่น ฟุตบอลราวครึ่งชั่วโมงแล้วกลับบ้านไปทาการบ้าน แต่เด็กสมัยนี้ตอนเย็นยังต้องเรียนพิเศษ เสาร์- อาทิตย์ก็ไปเรียนเพิ่มอีก เช่น เรียนว่ายน้าในห้องเรียนแล้ว ตอนเย็นก็ไปเรียนพิเศษว่ายน้า เสาร์- อาทิตย์ก็ไปเรียนว่ายน้าที่สยามอีก แต่ไม่เคยว่ายจริงเลย ต่างกับสมัยก่อนที่เรียนในชั้นเรียนเสร็จ เตะ ฟุตบอล แล้วก็กลับไปทางาน เราสามารถเปลี่ยนจาก Explicit Knowledge ซึ่งเป็นเชิงทฤษฎีให้เป็น Tacit Knowledge ซึ่งปฏิบัติได้จริง แต่สมัยนี้เรียนแต่ Explicit Knowledge ไม่เปลี่ยนเป็น Tacit Knowledge สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่เรียนมากเกินพอดี ในขณะที่ต่างประเทศเรียนน้อยกว่าและเล่นมากกว่า แต่การศึกษาดีกว่าไทย อีกทั้งครูไทยมักเก็บความรู้ไว้ตอนสอนพิเศษ ในขณะที่ในอดีตนักเรียนคนไหน ที่ไม่สนใจการเรียนในห้อง คนนั้นต้องเรียนเสริมหลังเลิกเรียน โดยครูยอมสละเวลาหลังเลิกงานมาสอน นักเรียนเพิ่มเพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพ เราจึงต้องให้ความสาคัญกับความหมายของชีวิต ความหมาย 18สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 19. ของการเป็นครู การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น และในอีกทางหนึ่งต้องลดพฤติกรรมของ ผู้ปกครองที่ใช้เงินปรนเปรอความสุขแก่ลูกเพื่อทดแทนเวลาที่ตนไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในระยะยาวจะทา ให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นักวิชาการอิสระ ครั้งนี้เป็นเรื่องของการปลุกให้ตื่น (Wake-Up Call) ครั้งใหญ่ แต่สังคมไทยถูกปลุกไม่รู้กี่ครั้ง และกี่เรื่องแล้วแต่ไม่เคยตื่นตัวเสียที เราควรคิดต่อยอดว่า เมื่อเรามีข้อมูลสถานการณ์ชัดแล้ว ใครควร จะทาอะไร อย่างไร ต้องร่วมมืออย่างไร ต้องทาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากี่ปี เพราะประเด็นสังคมผู้สูงอายุ ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้สูงอายุแล้ว กลายเป็นเรื่องของการผลิต การใช้ชีวิต คุณภาพ และปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยกล่าวถึงการใช้เงินของคนรุ่นใหม่ว่า ไม่ค่อยรู้จักเก็บออม ใช้เงิน สุรุ่ยสุร่าย ไม่มีวินัยในการใช้ชีวิต เพราะสังคมเป็นแบบนี้ ต่อไปพ่อแม่ไม่มีเงินให้ ตัวเองก็ไม่มีเงินออม แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่คนจะหันเหไปทาธุรกิจผิดกฎหมายทั้งหลายเพราะหา เงินได้ง่ายและเร็วกว่า ประเด็นอยู่ที่ว่า แล้วหน่วยงานใด กลุ่มใด จะทาอะไร เพราะงานนี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี ผู้ปฏิบัติจึงต้องเป็นคนที่มี Passion ใส่ใจ จัดระบบและเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ เข้ากันให้ได้ทั้งระบบ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการศึกษา อีกทั้งการสร้างคนไม่ใช่แค่ทาให้ปริมาณสมดุล แต่คุณภาพ ต้องดีขึ้นด้วย นี่ยังไม่นับคนที่ยังอยู่ในคุกและคนที่กาลังออกจากคุกในไม่ช้า จะเกิดปัญหาอีกมหาศาล พันกัน ฉะนั้น เราควรจะทาอะไรหรือไม่ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกัน อาจจะเป็นสถาบัน หรือถ้าแข็งไปก็ อาจจะเป็นอะไรที่ไม่เป็นทางการที่จับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะว่าเรื่องนี้นั้นเชื่อมโยงทุกอย่าง จะต้องมี ทางออกให้และใช้เวลานานมากพอจึงจะเห็นผล พร้อมทั้งต้องมีจัดการปัญญา ความรู้ และกาลังของคน ที่จะมาขับเคลื่อนประเด็นนี้ด้วย สมมติ ถ้าจะผลักดันไทยแลนด์ 4.0 หรือโครงการประชารัฐ ต้องเอาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจในเรื่อง นั้นอย่างจริงจังและสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความเข้าใจที่จะสร้างเครือข่ายของคนที่อยากจะมาทา เรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้กระทั่งการมีชีวิตคู่ เราจะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยอยากมีลูกกันซึ่งบังคับกันไม่ได้ แต่ที่สาหรับคนที่อยากมีลูก ก็ต้องพบเจอกับปัญหาโรงเรียนไม่มีคุณภาพ การดูแลลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งเชื่อมโยงกันหมด ตั้งแต่เด็กคลอด เข้าโรงเรียนอนุบาล รัฐจึงต้องมองเรื่อง การลงทุนแบบประเทศแถบสแกดิเนเวียร์ เอาตัวแบบเขามา หากรัฐไม่ลงทุน อีก 10 - 20 ปีข้างหน้าจะ 19สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 20. เป็นอย่างไร แต่ใครจะสามารถโน้มน้าวและทาความเข้าใจ จึงต้องมีข้อมูล มีทั้งระบบ มี lobbyist ที่มี ฝีมือ และต้องมีกระบวนการสื่อสารทางสังคม โดยอาศัยคนรุ่นใหม่ที่มีฝีมือเรื่อง infographic และยัง เกี่ยวข้องกับเรื่องอานาจ สถาบัน และเรื่องเศรษฐกิจก็ต้องตระหนัก การดูแลคนจน คนด้อยโอกาส หรือ คนวัยแรงงานที่ไม่มีเงินซึ่งมีอยู่เป็นจานวนมาก และเรื่องการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ได้มีเพียง หน่วยใดหน่วยหนึ่งที่ทาได้ แต่ต้องมีผู้เริ่มต้นและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ต้องมีความเป็น social movement ที่ผู้สูงอายุก็ตระหนัก คนรุ่นใหม่ก็ตระหนัก ชนชั้นกลางก็ตระหนัก ทุกฝ่ายก็ตระหนัก แล้ว มาหาวิธีปรับให้ระบบนิเวศแห่งการพัฒนาความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นได้ และที่สาคัญคือต้องเน้นไปที่ ท้องถิ่นด้วย หลาย ๆ เรื่อง ท้องถิ่นต้องจัดการ ซึ่งหลายเรื่องเหล่านั้นมีผลกระทบกับท้องถิ่นโดยตรงทา ให้พวกเขาตื่นตัวได้ เพราะไม่ใช่แต่ข้อมูล (information) แต่กาลังสร้างความหมาย (meaning) ปลุกเร้า (wake up) และสร้างจิตวิญญาณ (spirit) ขึ้นมา ซึ่งผมคิดว่าจะผลักดันเรื่องนี้อย่างไรต่อ จะ ประสานใคร หรือใครสามารถจะไปคุยกับ สสส. แทนที่จะเป็นโครงการเล็ก อาจเปลี่ยนไปสู่การทาเป็น ระบบแทน และอาจจะมารับทุนจาก สสส. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข บูรณาการมาให้หมด ให้คนที่มี ฝีมือ ไว้ใจได้ มาทากระบวนการ ไม่ฉะนั้นยากที่จะสาเร็จ ว่าที่ร้อยตรีอุดม สุวรรณพิมพ์ รองปลัด อบต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลาปาง เรื่อง Aging Society ถือเป็นกระแสซึ่งทุกสังคมต่างตระหนัก ที่ผ่านมาเถินได้ทางานวิจัยชิ้น หนึ่ง ที่ฟังการบรรยายเมื่อสักครู่ พูดถึงเรื่องโครงสร้างประชากรและการพยากรณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุต่าง ๆ นั่นคือข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง โครงสร้างประชากรก็จะเป็นรูปแบบต่าง ๆ ทั้งบัวคว่า เจดีย์หงาย ฯลฯ แต่ที่เถินนั้นไม่ใช่ โครงสร้างประชากรของเถินเหมือนผลแอปเปิ้ลที่ถูกกัดทั้งสองด้าน และยังมีข้อมูลต่อ อีกว่าจานวนประชากรเมื่อเทียบระหว่างทะเบียนราษฎร์กับประชากรที่มีอยู่จริง ประชากรที่หายไปมาก ที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 - 34 ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน ผล การศึกษาพบว่า ส่วนหนึ่งของประชากรวัยแรงงานที่หายไปนั้น เป็นผู้ที่ไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน จังหวัดอื่น ๆ รวมถึงกรุงเทพฯ แล้วออกจากชุมชนไปเลย โดยเรียนจบก็ทางานและตั้งรกรากอยู่นอก พื้นที่อย่างถาวร ทั้งที่แท้จริงแล้ว คนวัยทางานเหล่านี้ควรจะเป็นทุนมนุษย์ซึ่งมีส่วนสาคัญในการช่วย พัฒนาท้องถิ่น ทาให้ประชากรของอาเภอเถินมีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้คนวัยหนุ่มสาวอายุ 20 - 25 ปีก็ออกไปอยู่นอกพื้นที่มากถึงร้อยละ 50 - 60 เช่นเดียวกับผู้ใหญ่วัย 40 - 44 ปี ที่หายออก จากพื้นที่ไปร้อยละ 30 - 40 และคนวัย 45 - 49 ปี ก็หายไปราวร้อยละ 20 - 30 เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวจึงยิ่งห่างเหินกันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง จากข้อมูลยังพบอีกว่า ประชากรเหล่านี้ที่ออกจากชุมชนไป กว่าครึ่งหนึ่งทางานอยู่ในโรงงาน ดังนั้น หากในระดับโครงสร้างหรือนโยบายยังไม่มีมาตรการที่จะทาให้คนเหล่านี้ซึ่งอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า จะกลายเป็นผู้สูงอายุมีระบบการออมที่มีคุณภาพก็ลาบาก แต่อีกสิ่งหนึ่ง ผมคิดว่าการจะแก้ไขให้ยั่งยืน และลดความกังวลของเราที่ในอนาคตสังคมจะก้าวเข้าสู่ความเป็น Super Aging Society แต่คนยังไม่มี หลักประกันใด ๆ แทนที่เราจะนั่งเถียงกันว่าเด็กรุ่นใหม่ควรเรียนสายวิทยาศาสตร์หรือสายสังคมศาสตร์ ผมว่าจะเรียนสาขาใดก็ได้ ถ้าเข้าใจบริบทของตนเอง ผมสนับสนุุนหลั่นล้าอีโคโนมี หาก 20สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต